กิจกรรมพิธีลงนามความร่วมมือจัดตั้งมุมสารสนเทศไต้หวันระหว่างหอสมุดกลางแห่งชาติไต้หวัน (National Central Library, Taiwan ROC : NCL) และ สำนักงานวิทยทรัพยากร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (Signing and Opening Ceremony of the Taiwan Resource Center for Chinese Studies (TRCCS) @ CU Library จัดโดยสำนักงานวิทยทรัพยากร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อ วันอังคารที่ 30 ตุลาคม 2561
กิจกรรมนี้ ประกอบด้วย
จากการเข้าร่วมกิจกรรมครั้งนี้ ทำให้ได้รับทราบโครงการความร่วมมือจัดตั้งมุมสารสนเทศไต้หวัน ระหว่าง หอสมุดกลางแห่งชาติไต้หวัน (National Central Library, Taiwan R.O.C. : NCL) และ สำนักงานวิทยทรัพยากร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ชมการจัดมุมทรัพยากรสารสนเทศไต้หวัน และ ชมนิทรรศการ “ไทยวิจิตรตระการ-ตำนานไทยในรอยรำลึกไต้หวัน” (The Beauty and Grace of Thailand – An Exhibition of Thailand in Taiwan Memory) และ ได้ฟังการบรรยาย เรื่อง Taiwan Lecture on Chinese Studies ; Thai images in Taiwan (ภาษาอังกฤษ) โดย Prof. Pei-hsiu Chen ผู้อำนวยการภาควิชาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา มหาวิทยาลัยแห่งชาติจี้หนาน
วิทยากร Prof. Pei-hsiu Chen
Read the rest of this entry »
จากการบรรยาย เรื่อง ลิขสิทธิ์ในยุคดิจิทัลกับวงการศึกษา โดย รองศาสตราจารย์ ดร. พินัย ณ นคร อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ วันศุกร์ที่ 28 กันยายน 2561 ณ ห้องประกอบ หุตะสิงห์ ชั้น 3 อาคารอเนกประสงค์ 1 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์
ลิขสิทธิ์ในยุคดิจิทัลกับวงการศึกษา โดย รองศาสตราจารย์ ดร. พินัย ณ นคร
รองศาสตราจารย์ ดร. พินัย ณ นคร ได้บรรยายให้ความรู้ตามหัวข้ออย่างชัดเจน ด้วยความเป็นอาจารย์คณะนิติศาสตร์ ทำให้มีความกระจ่างและชัดเจนในประเด็นการละเมิดลิขสิทธิ์มากขึ้น สไลด์ที่อาจารย์เตรียมมาประกอบในการบรรยายนั้น มี 111 สไลด์ ล้วนแต่เป็นข้อมูลที่มีประโยชน์แต่ต้องอ่านและค่อยๆ ทำความเข้าใจ ประกอบกับการฟังบรรยายจากอาจารย์ ทำให้การบรรยาย ประมาณ 3 ชั่วโมง จบไปอย่างรวดเร็ว และยังมีผู้ฟังอยู่ฟังค่อนข้างหนาแน่น Read the rest of this entry »
จากการเข้าร่วมฟังการบรรยาย ในหัวข้อเรื่อง Knowledge Management 4.0 (KM 4.0) และฟังการเสวนา เรื่อง Soft Skill for Knowledge Management in Digital Change เมื่อวันที่ 21 เดือน มิถุนายน พ.ศ 2561 จัดโดย ฝ่ายบริการความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ โดยมี วิทยากรผู้บรรยายและเสวนา ดังนี้
การบรรยาย เรื่อง Knowledge Management 4.0 (KM 4.0) โดย ศาสตราจารย์ นายแพทย์วิจารณ์ พานิช
การเสวนา เรื่อง Soft Skill for Knowledge Management in Digital Change โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. บุษกร วัชรศรีโรจน์ และ ดร. ณัฐพันธุ์ ศุภกา
ศาสตราจารย์ นายแพทย์วิจารณ์ พานิช ได้บรรยายในหัวข้อ KM 4.0 : Beyond Knowledge โดยทบทวนความเป็นมาของการจัดการความรู้ในประเทศไทย ตั้งแต่แรกจนมาถึงเป็น 4.0 คือ KM 1.0 คลังความรู้ เป็นการรวบรวมความรู้ในองค์กรใส่คลังความรู้ ซึ่งในยุคนี้ไม่ได้อะไรกับความรู้ในระบบ คนในองค์กร ไม่เอาความรู้ไปใส่ หรือมีการนำไปใส่ แต่ไม่มีคนดูหรือไม่มีคนนำความรู้ไปใช้
KM 2.0 Human KM เน้นการฝึกทักษะของคน มีการเปิดใจ ยินดี และกล้าแลกเปลี่ยน มี Soft Skills ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ มีการใช้ BAR (Before Action Review) เพื่อ review ความรู้และบทบาทของแต่ละคน เกิดปัญหาจะส่งไปหาใคร มีการใช้ DAR (During Action Review) และ AAR (After Action Review) ซึ่งควรดำเนินการทันที่เมื่อการทำงานเสร็จสิ้น เพื่อให้ทราบประเด็นปัญหาและเป็นการให้ความรู้ในกลุ่มคนทำงาน มีถอดความรู้ รวมทั้ง มีลักษณะเป็น Peer Assist เป็นการหาผู้ช่วย (ทีมผู้ช่วย) มาให้ความรู้ หรือ เพื่อนช่วยเพื่อน ในยุคนี้ ฝึกให้คนมีทักษะ ดี แต่ไม่เป็นระบบ เน้น individual เกินไป ต้องการให้มีระบบมากขึ้น
KM 3.0 มีเป้าหมาย มีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศ มาใช้อย่างมีระบบ มีการจัดการ “หัวปลา” (เป้าหมาย) และสารสนเทศ รวมทั้งมีการจัดการความรู้จากภายนอก
KM 4.0 มีการวางเป้าหมาย อย่างชัดเจน มีการทำเป็นระบบ อย่างขั้นตอน มีการวัดและการสื่อสาร กล่าวคือ Read the rest of this entry »
Mendeley (www.mendeley.com) เป็นเครื่องมือออนไลน์จาก ELSEVIER ที่พัฒนาขึ้นเพื่อช่วยสนับสนุนนักวิจัยในการทำวิจัย ช่วยอำนวยความสะดวกในกระบวนการต่างๆ ของการทำวิจัย โดยเปิดให้ทุกท่านใช้งานได้ฟรีไม่มีค่าใช้จ่าย ซึ่งมีวิธีการใช้งาน ดังนี้
1. การสมัครสมาชิก 2. การใช้งานเครื่องมือช่วยทำวิจัย 3. การสืบค้นเอกสาร
หลายท่านคงได้สังเกตเห็นลักษณะการใช้งานหนังสือภายในห้องสมุดกันมาบ้าง เช่น การหยิบหนังสือมาอ่านแล้ววางไว้ในห้องสมุดโดยไม่ยืมหนังสือออกไป ซึ่งการใช้งานในลักษณะนี้ จะส่งผลให้ทางห้องสมุดไม่ได้รับสถิติการยืมออก (check out) ของหนังสือเล่มดังกล่าว แต่ห้องสมุดสามารถเก็บสถิติการใช้หนังสือแต่ละเล่มที่มีการใช้แต่ไม่ได้ยืมออก โดยระบบห้องสมุด WorldShare Management Services (WMS) มีช่องทางให้สามารถดำเนินการดังกล่าว
เก็บสถิติการใช้งานภายในห้องสมุด กรณีที่ผู้ใช้ไม่หยิบหนังสือไปยืมออก โดย
– เข้าไปที่โมดู Circulation เลือกเมนู Check In – กำหนด Check In Mode เป็น Non Loan Return – แล้วค่อยทำการสแกนบาร์โค๊ดของหนังสือเล่มนั้น
หลังจากเข้ารับการตรวจประเมินห้องสมุดสีเขียว ในโครงการนำร่องห้องสมุด 10 แห่ง เมื่อปี พ.ศ. 2559 นั้น ศูนย์บรรณสารสนเทศ ได้มีกิจกรรมร่วมกับเครือข่ายห้องสมุดสีเขียว ตามกำลังของศูนย์บรรณสารสนเทศ นอกเหนือจากการเข้าร่วมประชุมประจำปี การส่งแผนและผล ให้ทุกปี แล้ว ศูนย์บรรณสารสนเทศ ยังได้เข้ากิจกรรมอื่นๆ เช่น การเข้าร่วมการชดเชยคาร์บอนรายบุคคล การเข้าอบรมเป็นผู้ตรวจประเมินห้องสมุดสีเขียว ด้วยมีความคิดเห็นว่า หลังจากการผ่านการตรวจประเมินแล้ว น่าจะขยับมาเป็นผู้ตรวจและน่าจะเป็นแรงหนึ่งในการเป็นผู้ตรวจประเมินให้กับเครือข่ายฯ จึงได้สมัครเข้ารับการอบรม ระหว่างวันที่ 29-30 มกราคม 2561 ได้รับความรู้และแนวทางในการจะต้องเป็นผู้ตรวจอย่างเต็มที่ และจะเป็นผู้ตรวจทั้งที จึงต้องผ่านการสอบด้วย
ก่อนการอบรม มีพิธีลงนามความร่วมมือทางวิชาการด้านการพัฒนาเครือข่ายห้องสมุดสีเขียว ครั้งที่ 5 ด้วย นับว่าตอนนี้ เครือข่ายเพิ่มจำนวนร่วม 50 แห่ง หลังจากนั้น จึงเริ่มการอบรม ซึ่งประกอบด้วยหัวข้อ ต่อไปนี้
สำนักงานเลขานุการ ศูนย์บรรณสารสนเทศ ได้จัดให้มีการอบรมโครงการกิจกรรมการสร้างสัมพันธ์ที่ดีในการทำงาน ในวันอังคารที่ 19 ธันวาคม 2560 ที่ผ่านมา โดยได้รับเกียรติจาก อาจารย์บรรจบ ปิยมาตย์ อาจารย์ประจำคณะศิลปศาสตร์ สาขาภาษาอังกฤษ วิทยากรในการอบรมครั้งนี้
โครงการดังกล่าว จัดขึ้นเพื่อให้เป็นไปตามแผนกลยุทธ์ศูนย์บรรณสารสนเทศ ยุทธศาสตร์ที่ 6 เรื่องการบริหารจัดการศูนย์บรรณสารสนเทศ อย่างมีประสิทธิภาพ พอเพียง ตามหลักธรรมาภิบาล ในมาตรการที่ 1.3 การสร้างสัมพันธ์ที่ดีในการทำงาน เพื่อให้เกิดความสัมพันธ์ที่ดี มีความเข้าใจซึ่งกันและกัน มีบรรยากาศในการทำงานที่ดี อันจะก่อให้เกิดความสุขในการทำงานและการทำให้ทำงานมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
วัตถุประสงค์โครงการ
1.เพื่อให้เกิดความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้ปฏิบัติงาน
2. เพื่อให้บุคลากรศูนย์บรรณสารสนเทศได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์และพบปะสังสรรค์
3. เพื่อพัฒนาความสามารถและเพิ่มศักยภาพในการปฏิบัติงาน
4. เพื่อสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานและเกิดความผูกพันต่อองค์กร
ผลที่คาดว่าได้รับ
1. เกิดความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้ปฏิบัติงาน
2. เกิดการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่างบุคลากร
3. มีการพัฒนาความสามารถและเพิ่มศักยภาพในการปฏิบัติงาน
4. สร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานและเกิดความผูกพันต่อองค์กร
วิทยากร ได้เริ่มต้นให้เรารู้จักการทำงานเป็นทีม ซึ่งประกอบไปด้วย สิ่งหลักๆ อันได้แก่
ศูนย์บรรณสารสนเทศ ได้จัดโครงการกิจกรรมปลูกจิตสำนึกการมีส่วนร่วมในการประหยัดพลังงานและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม หัวข้อ “เขยิบมาแยกขยะ” เพื่อให้นักศึกษา อาจารย์ และบุคลากรมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องของขยะ การจัดการขยะ และการคัดแยกขยะให้ถูกวิธี โดยได้รับเกียรติจากอาจารย์วนิดา สุวรรณพ เป็นวิทยากรในการให้ความรู้ดังกล่าว เมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน 2560 เวลา 10.30-12.00 น. นั้น เพื่อให้เป็นไปตามแผนกลยุทธ์ของศูนย์บรรณสารสนเทศ ในยุทธศาสตร์ที่ 6 มีการบริหารจัดการศูนย์บรรณสารสนเทศอย่างมีประสิทธิภาพ พอเพียง ตามหลักธรรมาภิบาล ในมาตรการที่ 3.2 ปลูกฝังจิตสำนึกการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมเพื่อส่วนรวม
1.เพื่อปลูกจิตสำนึกแก่ นักศึกษา อาจารย์และบุคลากรมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติในการประหยัดพลังงานและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
2.เพื่อให้ความรู้ และสร้างความตระหนักในการประหยัดพลังงานและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
วิทยากรได้กล่าวถึงภาวะโลกร้อน ที่นับวันจะทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น และขยะก็มีปริมาณเพิ่มขึ้นจนไม่สามารถจัดเก็บให้ทันกับปริมาณ ทั้งนี้จึงมีการเชิญชวนให้คัดแยกขยะ โดยร่วมกับโครงการ กล่องยูเอชที รีไซเคิลได้ เพื่อช่วยลดการตัดต้นไม้เพื่อผลิตกระดาษได้ถึง 17 ตัน แถมยังช่วยลดก๊าซคาร์บอนได้ออกไซด์ และลดพื้นที่หลุมฝังกลบขยะอีกด้วย
โครงการ กล่องยูเอชที รีไซเคิลได้
จากภาพข้างต้น เป็นการนำกล่องนมยูเอชที กลับมาใช้ใหม่ โดยสอนวิธีการพับเก็บกล่องอย่างถูกวิธี ก่อนนำไปรีไซเคิล Read the rest of this entry »
ในปัจจุบันเรามักจะใช้โปรแกรม Microsoft Office Word ในการจัดทำเอกสารที่อยู่ในรูปแบบของการให้ข้อมูล และเมื่อเราต้องการทำเอกสารนั้นให้อยู่ในรูปแบบเดิม หรือรักษาคุณสมบัติของเอกสารนั้นไว้ ไม่ว่าจะเป็นรูปภาพ การจัดหน้ากระดาษ และฟอนต์ จะต้องทำการ Export ไฟล์เอกสารให้อยู่ในรูปแบบไฟล์ PDF ซึ่งเป็นไฟล์ที่มีขนาดเล็ก และสามารถเปิดได้กับทุกอุปกรณ์
หากเราต้องนำไฟล์เอกสารในรูปแบบ PDF ไปเผยแพร่ทางอินเตอร์เน็ต หรือต้องการแชร์ให้ผู้อื่น เราสามารถกำหนดขอบเขตการใช้เอกสารได้โดยการใส่ metadata ให้ไฟล์ PDF เพื่อป้องกับการคัดลอกข้อความ หรือรูปภาพได้โดยง่าย ทำให้ผู้อ่านสามารถเปิดอ่านได้เพียงอย่างเดียว
นอกจากนี้ เอกสารที่ใส่ Metadata และถูกใช้เผยแพร่ลงอินเตอร์เน็ต จะสามารถถูกค้นด้วย Google หรือ Web Search Engine ได้ Search Engine จะหาไฟล์เอกสารเจอได้ จากการใส่ Keywords โดยระบุเป็นคำๆ และคั่นด้วยเครื่องหมาย comma ( , ) ประโยชน์ของ Search Engine คือ เอกสารของเราจะถูกค้นหามากขึ้นจากผู้ใช้ทั่วโลก ที่ค้นหาคำสำคัญ หรือ Keywords ตรงกันกับ Keywords ที่เราใส่ไว้ใน metadata ค่ะ
จากการเข้าร่วมประชุม OCLC APRC17 ในหัวข้อเรื่อง Hello! I’m the Smarter Library และศึกษาดูงาน ณ Waseda University Library และ National Diet Library ระหว่างวันที่ 28 พฤศจิกายน จนถึงวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ 2560 รวมระยะเวลา 4 วัน จัดโดย OCLC Asia Pacific Regional Council สามารถสรุปรายงานที่ได้รับจากการเข้าประชุมและศึกษาดูงาน ดังนี้
ประเด็นทางกายภาพและการเข้าถึงสารสนเทศ
1. การวางแผนและการออกแบบห้องสมุดและศูนย์การเรียนรู้ที่มีลักษณะ Smart Library ควรประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ ได้แก่ Intelligent, Attractive, Comfortable และ Reliable (เนื่องจากประเทศญี่ปุ่นประสบกับภัยพิบัติ เช่น แผ่นดินไหวอยู่เสมอ การออกแบบห้องสมุดเพื่อให้ผู้ใช้บริการเกิดความมั่นใจในการใช้บริการ) ห้องสมุดจะเป็นสถานที่ที่ทำให้เกิดการสื่อสารและการต่อยอดทางความคิด ด้วยความหลากหลายของสิ่งอำนวยความสะดวก การจัดแกลอรี่ และพื้นที่โล่ง
2. การรู้จัก Design customer journey เพื่อให้ผู้ใช้ห้องสมุดมีช่องทางในการใช้ทั้งทางออนไลน์และออฟไลน์
3. การบริหารจัดการ การปรับปรุงพื้นที่เพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ของผู้ใช้บริการ กรณีศึกษาของ Hong Kong Polytechnic University นำเสนอ i-Space โดย I ย่อมาจาก Inspiration, Ideation และ Implementation ทางห้องสมุดจึงปรับปรุงพื้นที่ เพื่อให้เกิด Inspiration ในการเรียนรู้ และต่อยอดทางความคิดได้ และกรณีของ University of NSW, Australia ที่สำรวจความต้องการใช้พื้นที่ของนักศึกษา ได้รับคำตอบหลักๆ ที่ได้รับกลับมา ได้แก่ Read the rest of this entry »