SIDEBAR
»
S
I
D
E
B
A
R
«
Knowledge Management 4.0 (KM 4.0) และ Soft Skill for Knowledge Management in Digital Change
มิถุนายน 23rd, 2018 by supaporn

จากการเข้าร่วมฟังการบรรยาย ในหัวข้อเรื่อง Knowledge Management 4.0 (KM 4.0) และฟังการเสวนา เรื่อง Soft Skill for Knowledge Management in Digital Change เมื่อวันที่ 21 เดือน มิถุนายน พ.ศ 2561 จัดโดย ฝ่ายบริการความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ โดยมี วิทยากรผู้บรรยายและเสวนา ดังนี้

การบรรยาย เรื่อง  Knowledge Management 4.0 (KM 4.0)  โดย ศาสตราจารย์ นายแพทย์วิจารณ์ พานิช

การเสวนา เรื่อง Soft Skill for Knowledge Management in Digital Change  โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. บุษกร วัชรศรีโรจน์ และ ดร. ณัฐพันธุ์ ศุภกา

ศาสตราจารย์ นายแพทย์วิจารณ์ พานิช ได้บรรยายในหัวข้อ KM 4.0 : Beyond  Knowledge โดยทบทวนความเป็นมาของการจัดการความรู้ในประเทศไทย ตั้งแต่แรกจนมาถึงเป็น 4.0 คือ

KM 1.0
คลังความรู้ เป็นการรวบรวมความรู้ในองค์กรใส่คลังความรู้ ซึ่งในยุคนี้ไม่ได้อะไรกับความรู้ในระบบ คนในองค์กร ไม่เอาความรู้ไปใส่ หรือมีการนำไปใส่ แต่ไม่มีคนดูหรือไม่มีคนนำความรู้ไปใช้

KM 2.0 Human KM เน้นการฝึกทักษะของคน มีการเปิดใจ ยินดี และกล้าแลกเปลี่ยน มี Soft Skills ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ มีการใช้ BAR (Before Action Review) เพื่อ review ความรู้และบทบาทของแต่ละคน เกิดปัญหาจะส่งไปหาใคร มีการใช้ DAR (During Action Review) และ AAR (After Action Review) ซึ่งควรดำเนินการทันที่เมื่อการทำงานเสร็จสิ้น เพื่อให้ทราบประเด็นปัญหาและเป็นการให้ความรู้ในกลุ่มคนทำงาน มีถอดความรู้ รวมทั้ง มีลักษณะเป็น Peer Assist เป็นการหาผู้ช่วย (ทีมผู้ช่วย) มาให้ความรู้ หรือ เพื่อนช่วยเพื่อน ในยุคนี้ ฝึกให้คนมีทักษะ ดี แต่ไม่เป็นระบบ เน้น individual เกินไป ต้องการให้มีระบบมากขึ้น

KM 3.0 มีเป้าหมาย มีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศ มาใช้อย่างมีระบบ มีการจัดการ “หัวปลา” (เป้าหมาย) และสารสนเทศ รวมทั้งมีการจัดการความรู้จากภายนอก

KM 4.0 มีการวางเป้าหมาย อย่างชัดเจน มีการทำเป็นระบบ อย่างขั้นตอน มีการวัดและการสื่อสาร กล่าวคือ

มีการวางเป้าหมายชัดเจน ทำเป้าหมายเล็กก่อนเพื่อให้บรรลุถึงภารกิจหลักขององค์การ จัดการ Critical Knowledge เพื่อผลสัมฤทธิ์ของภารกิจหลัก

มีการทำเป็นระบบ โดยมีกรอบงานของการจัดการความรู้ (KM Framework) มีการวางเป้าหมายของผลิตผล ประสิทธิผล ขั้นต่ำ หรือ เป็นระยะๆ มีผู้รับผิดชอบแสดงบทบาทและความรับผิดชอบในบทบาทนั้นๆ มีกระบวนการที่ใช้เป็นมาตรฐานกลาง มีการนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อการสนับสนุนอย่างครบวงจร และใช้ร่วมกันทั้งองค์กร และมีกลไกในการกำกับดูแล ตามกติกาและข้อตกลงที่มีการจัดทำไว้

KM Framework

มีการทำอย่างเป็นขั้นตอน กล่าวคือ มีการกำหนดยุทธศาสตร์ มีการวางแผน มีการทดสอบหรือมีโครงการนำร่อง มีการขยายผล และมีการบูรณาการกับงานประจำ

มีการวัดและสื่อสาร โดยมีการตั้งเป้าถึงผลประโยชน์ ผลิตผล ประสิทธิผล ที่จะได้รับ มีการสร้างวิธีวัด มีการสื่อสาร และสร้างการยอมรับ

ห่วงโซ่อุปทานความรู้อันสำคัญยิ่งยวด

 

บทบาทของผู้บริหาร ผู้บริหารต้องมีบทบาท ดังนี้

  1. กำหนด KM Vision
  2. กำหนดขอบเขตของการใช้ KM ซึ่งควรครอบคลุมกิจการทั้งหมด
  3. กำหนด critical knowledge ขององค์กร
  4. ให้ความเห็นชอบ KM Framework
  5. ให้ความเห็นชอบยุทธศาสตร์ Change Management
  6. กำหนด ประสิทธิภาพ / ผลิตภาพ ณ งานจำเพาะ เป็นระยะๆ
  7. กำหนดให้มีการประเมินผลกระทบต่อธุรกิจ อาจเริ่มด้วยการศึกษาสถานภาพ และคาดการณ์ผลกระทบ

หลักการเชิงยุทธศาสตร์ในการประยุกต์ KM วิทยากรได้นำเสนอหลักการเชิงยุทธศาสตร์ในการประยุกต์ KM ดังนี้

  1. ควรเริ่มในระดับองค์กร และสนองยุทธศาสตร์ขององค์กร
  2. ควรเน้นที่ความรู้ที่มีคุณค่าสูง และสนองต่อการตัดสินใจที่มีมูลค่าสูง
  3. ควรถือเป็นการดำเนินการเพื่อเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม
  4. เป้าหมายสุดท้าย คือ เพื่อให้มีการประยุกต์กรอบ KM ที่ครบถ้วน
  5. กรอบ KM ต้องบูรณาการอยู่ในโครงสร้างองค์กร
  6. กรอบ KM ต้องมีส่วนของการกำกับดูแล (governance) เพื่อความต่อเนื่องยั่งยืน
  7. กรอบ KM เป็นสิ่งที่วางแผนพัฒนาขึ้น ไม่ใช่ปล่อยให้ผุดบังเกิดขึ้นเอง
  8. ขั้นตอนการดำเนินการ KM ควรมีเป็นขั้นๆ ที่ต้องการการตัดสินใจเป็นระยะๆ
  9. การริเริ่มดำเนินการ KM ควรมีขั้นตอนโครงการนำร่อง
  10. การริเริมดำเนินการ KM ควรทำเป็นโครงการ

ภารกิจด้าน KM 4.0 วิทยากร ได้เสนอตัวอย่างภารกิจด้าน KM 4.0 (นอกเหนือจากที่รู้จักกันอยู่แล้ว) ไว้ดังนี้

  1. K Engineer ทำหน้าที่กำหนด critical knowledge ถอดความรู้ จัดระบบสินทรัพย์ที่เป็นองค์ความรู้ จัดประเมินความรู้
  2. Lessons-Learned Facilitator ทำหน้าที่จัดการประชุม จัดเสวนาจนได้ความรู้ที่สำคัญ ตรวจจับ ทำเป็นเอกสารที่ใช้งาน ติดตามผลการใช้งาน สู่การเปลี่ยนวิธีปฏิบัติงาน
  3. Learning Historian ทำหน้าที่สัมภาษณ์เก็บข้อมูล กลั่นกรองร้อยเรียง เขียนเป็นพรรณนาโวหาร ตรวจความแม่นยำ และเผยแพร่
  4. K Base Publisher เขียนบทความเผยแพร่ออกภายนอก


สรุป
KM 4.0 Beyond Knowledge

  1. ทำแล้วได้ผลลัพธ์ / ผลกระทบ ที่ต้องการ
  2. มีเป้าหมายชัดเจน เช่น ผลิตภาพ ประสิทธิผล ผลกระทบทางธุรกิจ
  3. มีการจัดการอย่างเป็นระบบ เป็นส่วนหนึ่งของการจัดการองค์กร
  4. มีการวัดและปรับตัวสม่ำเสมอ
  5. เป็นยุทธศาสตร์ระยะยาว
  6. เพื่อการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมองค์กร

Soft Skill for Knowledge Management in Digital Change สรุปได้ดังนี้
1. Story telling (เรื่องเล่า เร้าพลัง) การพูด การเล่าเรื่อง ที่สามารถทำให้คนเข้าใจ สนใจ เกิดพลังในเชิงบวก
2. Reading (การอ่าน)
3. Think out loud (การคิดให้เป็น)
4. Listening (ต้องรู้จักฟังใจ / ความต้องการของคนที่ใช้งาน)
5. Media Literacy (การรู้เท่าทันสื่อ)
6. Digital Empathy (มีความสามารถในการแสดงน้ำใจบนโลกออนไลน์ได้อย่างเหมาะสม)
7. Interaction Skills (ทักษะในการโต้ตอบ)

รายการอ้างอิง

วิจารณ์ พานิช. 2561. เอกสารประกอบการบรรยาย เรื่อง Knowledge Management 4.0 (KM 4.0) วันที่ 21 มิถุนายน 2561 สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ.


Comments are closed

»  Substance:WordPress   »  Style:Ahren Ahimsa