จากการที่ได้ปฏิบัติงาน Acquisition module ในระบบ WorldShare Management Services (WMS) ได้ตัดงบประมาณ ในส่วนของ ตัวเล่มหนังสือ และให้บริการตัวเล่มหนังสือเป็นหลักตลอดมา แต่มาช่วงปี 2562 ได้มีซื้อหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ มากขึ้น ดังนั้น จึงขอเขียนขั้นตอนงานตัดงบประมาณของ E-Product ดังต่อไปนี้
ขั้นตอนการสร้างใบ Invoice
– คลิกที่ Acquisition module
– คลิกที่ Invoice และกดเลือกที่ New Invoice
– ใส่รายละเอียด Invoice Number, Vender, Tax Handling ตามรูป และกด Save
เลือก Receive and Invoice
*** ส่วนของ Processing Type ให้เลือกที่ E-Product
ส่วนของ Action เลือก Receive and Invoice
ส่วนของ Vender ใส่ Vender
ส่วนของ Invoice Number ใส่เลขที่ใบส่งของ จากนั้นกดที่ View Items
Read the rest of this entry »
ผู้เขียนได้มีโอกาสเรียบเรียงเนื้อหาแนะนำหอจดหมายเหตุหน่วยงาน และเอกสารโสตทัศนจดหมายเหตุ ประเภทภาพถ่าย ชื่อชุดพิธีเฉลิมพระเกียรติและสถาปนามหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ นับเป็นครั้งแรกที่หอจดหมายเหตุ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ได้เข้าร่วมในครั้งนี้ เนื่องจากเป็นสมาชิกเครือข่ายสมาคมจดหมายเหตุไทย โดยการเข้าร่วมจัดแสดงนิทรรศการเสมือนจริง เรื่อง หอจดหมายเหตุ : พลังแห่งความรู้ (Archives: Empowering Knowledge Societies) เพื่อเฉลิมฉลองเนื่องในโอกาสวันจดหมายเหตุแห่งชาติสากล ตรงกับวันที่ 9 มิถุนายน และวันแห่งการสถาปนาหอจดหมายเหตุแห่งชาติ วันที่ 18 สิงหาคม ของทุกปี
สื่อประชาสัมพันธ์ Cr. สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ
ในปี พ.ศ. 2563 หอจดหมายเหตุ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ได้มีโอกาสเข้าร่วมจัดแสดงนิทรรศการดังกล่าว ประกอบด้วยกัน 2 ส่วน ดังนี้ ส่วนแรก รู้จักภาคีเครือข่ายจดหมายเหตุ เป็นการแนะนำหอจดหมายเหตุ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ได้กล่าวถึงการจัดตั้งหอจดหมายเหตุและพิธีเปิดหอจดหมายเหตุ โดยอธิการบดี ศาสตราจารย์ นายแพทย์เกษม วัฒนชัย เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2543 โดยมีเนื้อหาพอสังเขป “…หอจดหมายเหตุของมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ เป็นหน่วยงานสนับสนุนหน่วยงานหนึ่งของมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ มหาวิทยาลัยที่ตั้งขึ้นในวาระครบรอบ 80 ปี ของ “มูลนิธิฮั่วเคี้ยวป่อเต็กเซี่ยงตึ๊ง” ซึ่งเป็นองค์กรการกุศลจีนที่ใหญ่ที่สุดในสังคมไทย เพื่อทูลเกล้าฯ ถวายเป็นพระราชกุศลและเฉลิมพระเกียรติ น้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ และมีความหมายต่อชาวจีนที่เข้ามาอยู่ใต้ร่มพระบรมโพธิสมภารเป็นอย่างยิ่ง ด้วยประวัติการก่อตั้ง… วัตถุประสงค์ของการจัดตั้งหอจดหมายเหตุ และข้อมูลการติดต่อ…” Read the rest of this entry »
หนังสือต่างๆ ที่ศูนย์บรรณสารสนเทศ มีการจัดซื้อจัดหาเข้าสู่ห้องสมุดนั้น บางเล่มจะมีแผ่นซีดีรอมที่มาพร้อมกับตัวหนังสือ (CD-Text Book หรือเรียกย่อๆว่า CD-T) ด้วย
วิธีการค้นหาสื่อโสตทัศน์อย่างง่าย ๆ ว่าในแต่ละตัวเล่มของหนังสือเล่มนั้น มีแผ่นซีดี-รอมด้วยหรือเปล่า ? ซึ่งมีขั้นตอนง่าย ๆ ดังนี้ คือ
1.ผู้เข้าใช้บริการคลิ้กเข้ามาที่เว็บไซต์ของศูนย์บรรณสารสนเทศ (www.lib.hcu.ac.th) หรือมาที่ https://hcu.on.worldcat.org/discovery
ภาพที่ 1 เว็บไซต์ศูนย์บรรณสารสนเทศ
ภาพที่ 2 การสืบค้น WCD https://hcu.on.worldcat.org/discovery
2. ที่ช่อง Seach พิมพ์คำว่า CD-T ในช่องค้นหาจะปรากฏหน้าจอขึ้นดังนี้
ภาพที่ 3 ใส่คำค้นว่า CD-T Read the rest of this entry »
การยืมระหว่างห้องสมุด (WorldShare Interlibrary Loan) มี 2 ประเภทคือ Borrowing Request (ห้องสมุดเป็นผู้ยืม) และ Lending Request (ห้องสมุดเป็นผู้ให้ยืม) มีระเบียบการให้ยืมเหมือนกับการยืมภายใน ตามนโยบายของห้องสมุดแต่ละแห่ง
การให้บริการยืมคืนระหว่างห้องสมุด เช่นเดียวกัน เมื่อให้บริการและมีการสูญหาย จึงมีระเบียบหรือขั้นตอนต่างๆ ตามที่ห้องสมุดกำหนด กรณีที่ให้ยืมหนังสือระหว่างประเทศ และมีการสูญหาย ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อไม่นานมานี้ ศูนย์บรรณสารสนเทศ จึงมีการติดต่อเป็นระยะๆ ในการติดตามหนังสือที่เกินกำหนด ผนวกกับการเกิดโรคระบาดโควิด-19 ทำให้เจ้าหน้าที่ไม่สามารถเดินทางออกจากบ้านได้ มีการขาดการติดต่อไประยะหนึ่ง แต่มีการติดต่อได้ในภายหลังโดยมีการแจ้งให้ทราบว่า ผู้ยืมมีการส่งคืนหนังสือหลังจากสถานการณ์โควิดผ่านไปประมาณ 3 เดือนแล้ว แต่หนังสือสูญหายระหว่างการขนส่ง และไม่สามารถติดตามได้เนื่องจากใบรับประกันของหายหมดอายุ จึงขอให้มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ คิดค่าใช้จ่ายในการดำเนินการเรื่องหนังสือหายตามระเบียบของมหาวิทยาลัยต่อไป ซึ่งขั้นตอนในการดำเนินการมีดังนี้ Read the rest of this entry »
ระบบห้องสมุด WorldShare Management Services (WMS) ซึ่งเป็นระบบห้องสมุดที่รวมบรรณานุกรมของสมาชิกที่มีข้อมูลรวมกันในระบบ การนำเข้าข้อมูลทางบรรณานุกรมเข้าระบบ จำเป็นต้องมีการตรวจสอบความซ้ำซ้อนของทรัพยากรสารสนเทศที่จะนำเข้าก่อนเสมอ ซึ่งจะใช้เขตข้อมูลต่อไปนี้ในการตรวจสอบ ได้แก่
กรณีที่เขตข้อมูลดังกล่าวตรงกับหนังสือที่กำลังนำเข้า สามารถใช้ bibliographic record ร่วมกันได้ และสามารถเพิ่ม ข้อมูลใน bibliographic record ให้สมบูรณ์มากขึ้นได้ ดังตัวอย่าง Read the rest of this entry »
เมื่อพูดถึงหอจดหมายเหตุ หลายๆ คนอาจยังสงสัยหรือมีคำถามอยู่ว่าคืออะไร เป็นหน่วยงานที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับอะไร ผู้เขียนทำงานด้านจดหมายเหตุมามากว่า 20 ปี ก็ยังคงได้ยินคำถามนี้อยู่บ่อยๆ วันนี้เลยจะมาบอกเล่าเกี่ยวกับหอจดหมายเหตุมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติว่างานจดหมายเหตุเราทำอะไรบ้าง และอะไรคือเอกสารจดหมายเหตุที่เราจัดเก็บ
จริงๆ แล้วหากเราจะเปรียบงานจดหมายเหตุให้เข้าใจง่ายๆ งานจดหมายเหตุจะมีลักษณะงานคล้ายๆ กับงานของห้องสมุด จะแตกต่างกันตรงที่ว่างานจดหมายเหตุจะจัดเก็บเอกสารต้นฉบับหรือเอกสารชั้นต้น และให้บริการในลักษณะปิด ในขณะที่ห้องสมุดจะจัดเก็บหนังสือและให้บริการแบบเปิด
หอจดหมายเหตุมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ อาจมีลักษณะแตกต่างจากหอจดหมายเหตุอื่นๆ สืบเนื่องจากตอนก่อตั้งผู้บริหารได้วางนโยบายในการจัดเก็บเอกสารไว้ว่า นอกจากจะจัดเก็บเอกสารเกี่ยวกับมหาวิทยาลัยแล้ว จะต้องจัดเก็บเอกสาร สิ่งพิมพ์ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับกับบริบทของมหาวิทยาลัยฯ ด้วย เช่น มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง โรงพยาบาลหัวเฉียว และเอกสารหรือสิ่งพิมพ์จังหวัดสมุทรปราการ
นับตั้งแต่มีการจัดตั้งหอจดหมายเหตุเมื่อปี พ.ศ. 2540 จวบจนปัจจุบัน หอจดหมายเหตุมหาวิทยาลัยฯ ดำเนินการมาร่วม 23 ปี ได้รวบรวมเอกสารและสิ่งพิมพ์ไว้จำนวนมาก โดยได้แบ่งกลุ่มเอกสารเป็นกลุ่มหลักๆ ดังนี้
1. เอกสารจดหมายเหตุมหาวิทยาลัยฯ
– เอกสารจดหมายเหตุหน่วยงานสายสนับสนุน เช่น เอกสารกองกลาง กองอาคารสถานที่ สำนักทะเบียนและประมวลผล สำนักพัฒนาวิชาการ สำนักพัฒนานักศึกษา และศูนย์วัฒนธรรม
– เอกสารจดหมายเหตุคณะวิชา เช่น เอกสารคณะศิลปศาสตร์ คณะสาธารณสุขศาสตร์และสิ่งแวดล้อม คณะบริหารธุรกิจ คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์และสวัสดิการสังคม Read the rest of this entry »
ในยุคดิจิทัล ทำให้หลายๆ วงการปรับการผลิต การให้บริการ คอนเทนต์ ห้องสมุดก็ได้รับผลของยุคดิจิทัล อย่างจัง เนื่องจากทรัพยากรสารสนเทศจากฉบับพิมพ์เป็นดิจิทัล สื่อสิ่งพิมพ์ถูกเปลี่ยนเป็นสื่อดิจิทัล การให้บริการจึงเน้นในการเข้าสารสนเทศดิจิทัลแทน
วารสารที่ให้บริการเช่นเดียวกัน วารสารจำนวนมาก ยกเลิกการผลิตฉบับพิมพ์ เป็นวารสารอิเล็กทรอนิกส์แทน ห้องสมุดเลิกการบอกรับฉบับพิมพ์ หันไปบอกรับวารสารอิเล็กทรอนิกส์ ด้วยเหตุที่ว่าเข้าถึงได้สะดวกไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน ไม่จำเป็นต้องเข้ามาในห้องสมุด โดยเฉพาะช่วงที่ห้องสมุดต้องปิดให้บริการชั่วคราว จากโรคระบาด หรืออาจจะด้วยเหตุผลใดก็ตาม แต่ผู้ใช้ก็ยังคงสามารถอ่านวารสารอิเล็กทรอนิกส์ได้ รวมทั้งวารสารทางวิชาการที่เป็น Open access ห้องสมุดได้ปรับแนวทางการให้บริการในเข้าถึง โดยการทำ QR Code เป็นช่องทางในการเข้าถึงวารสารอิเล็กทรอนิกส์แทน ภาพที่เคยเห็นวารสารบนชั้นวารสารในห้องสมุด จึงจะไม่ค่อยจะได้พบเห็น
งานวารสารและสิ่งพิมพ์ต่อเนื่อง ได้จัดทำช่องทางเพื่อให้ผู้ใช้เข้าถึงวารสาร ในรูปแบบต่าง ๆ ดังนี้
1. ได้จัดทำช่องทางในการเข้าถึงวารสารให้สะดวกมากขึ้น แทนฉบับพิมพ์ที่เคยให้บริการที่ชั้นวารสาร จากรูปจะเห็นการจัดวาง QR Code รายชื่อวารสารแต่ละชื่อแทนตัวเล่ม (รูปที่ 1) โดยจะแบ่งเป็นหมวดตามสาขาวิชา/คณะ
รูปที่ 1 ช้้นวารสารที่แทบจะไม่มีวารสารฉบับพิมพ์ แต่มีชื่อวารสารพร้อม QR Code แทน
ตัวอย่าง วารสารด้านการพยาบาล
Home Healthcare Nurse
Journal of Emergency Nursing
Journal of Family Nursing
ในปัจจุบันเทคโนโลยีพัฒนาไปมาก ในยุคสมาร์ทโฟน สามารถสร้างสรรค์งานกราฟิคที่สวยงามได้ไม่แพ้การสร้างสรรค์จากเครื่องคอมพิวเตอร์ และสามารถลงมือทำได้ทุกที่ทุกเวลาอีกด้วย มีวิธีการง่ายๆ ทำตามได้เลยครับ
1. เปิดฟังชั่น แกลเลอรี่ (Gallery) ในสมาร์ทโฟนขึ้นมา
2. ร่างแบบพื้นหลัง (Background) ตัวสีตามโทนที่จะนำไปใช้งาน ด้วยฟังค์ชั่นวาดภาพ
3. ใช้เครื่องมือ Pen ร่างและตกแต่งพื้นหลังให้สวยงาม ตามความเหมาะสม Read the rest of this entry »
เนื่องจากมีการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ละลอกใหม่ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ดำเนินการตามมาตรการของรัฐบาลและแนวทางของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์และนวัตกรรม (อว.) ในการปิดมหาวิทยาลัยเป็นการชั่วคราว และให้ทำงานจากที่บ้าน (Work from home)
ผู้เขียน เป็นบรรณารักษ์งานวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ จึงได้เตรียมงานที่สามารถทำจากที่บ้านได้ โดยนำใบสั่งซื้อจากร้านค้า มาตรวจสอบกับระบบห้องสมุด และบันทึกข้อมูลในส่วนที่สามารถทำได้ เนื่องจากไม่สะดวกในเรื่องการนำหนังสือมาวิเคราะห์และลงรายการทางบรรณานุกรมจากที่ทำงานมาทำที่บ้าน การสแกนหน้าปก เพื่อจะได้นำมาทำที่บ้าน ไม่สามารถจัดเตรียมได้ทัน เนื่องจากปิดมหาวิทยาลัยค่อนข้างกระทันหัน หัวหน้าแผนกฯ จึงได้มอบหมายให้นำใบสั่งซื้อจากร้านค้า มาดำเนินการในส่วนของ งานวิเคราะห์ฯ ในเบื้องต้น
โดยมีการทำงานจากที่บ้าน ดังนี้ Read the rest of this entry »
เมื่อพบว่า มีระเบียนบรรณานุกรมทรัพยากรสารสนเทศซ้ำซ้อนหรือมี bibliographic record (bib) ซ้ำกัน บรรณารักษ์จะรวมระเบียนนั้น ๆ หรือรวม bib นั้นให้เหลือเพียงระเบียนเดียว หรือ bib เดียวที่สมบูรณ์เท่านั้น โดยการเลือกใช้คำสั่ง Move ย้ายไปยังระเบียนที่สมบูรณ์ที่สุด
เข้าสู่ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ WMS https://hcu.share.worldcat.org/wms และเลือกโมดูล Matadata แล้ว เลือกระเบียนที่มี Bib ซ้ำ ซึ่งจะย้ายไปรวมกับ Bib อื่น จึงต้อง Move ส่วนที่เป็น LBD (คือ Local Bibliographic Data เป็นส่วนข้อมูลทางบรรณานุกรมของห้องสมุด ซึ่งจะมีส่วนนี้ เมื่อใช้ Bib ร่วมกับ Master record กับห้องสมุดแห่งอื่น ห้องสมุดที่ขอใช้ระเบียนร่วมจะใส่ข้อมูลทางบรรณานุกรมที่ห้องสมุดใส่นอกเหนือจากที่มีการลงใน master record) ไปอยู่ในระเบียนใหม่
ตัวอย่างแสดงหน้าจอ LBD