SIDEBAR
»
S
I
D
E
B
A
R
«
Squoosh เว็บแอพช่วยลดขนาดไฟล์รูปภาพที่ดีและใช้งานง่าย
ก.ค. 7th, 2019 by prapaporn

ปัจจุบันการถ่ายภาพด้วยมือถือเป็นที่นิยมมาก มีจำนวนพิกเซลที่มากขึ้นทำให้ภาพที่ถ่ายได้สามารถนำมาขยายได้โดยที่ภาพไม่แตก แต่ปัญหาที่มักจะพบนั่นก็คือ ภาพที่ได้นั้นมีขนาดไฟล์ที่ใหญ่ ทำให้หน่วยความจำเต็มเร็ว การอัพโหลดขึ้นโซเชียลหรือการแชร์ต้องพบกับปัญหาการรับส่งที่นาน ถ้าอินเทอร์เน็ตที่ความเร็วต่ำ ยิ่งทำให้การรับส่งภาพนานขึ้นไปอีก

วิธีที่จะช่วยให้ลดขนาดไฟล์ได้ง่ายๆ และคุณภาพของภาพไม่ได้เสียไปมาก โดยการใช้เว็บแอพที่ชื่อว่า Squoosh มีหน้าที่หลักๆ คือ การลดขนาดของไฟล์รูปภาพ ทำงานได้เกือบทุกดีไวซ์ที่มีโปรแกรมเล่นเว็บหรือเบราเซอร์  เพียงแค่พิมพ์ URL https://squoosh.app ของเว็บ Squoosh ก็สามารถใช้งานได้ทันที และหากไม่ได้ต่ออินเทอร์เน็ต ก็ยังสามารถใช้โปรแกรมได้ เพียงแค่บุ๊กมาร์คหน้าเว็บไว้ ที่สำคัญโปรแกรมนี้สามารถใช้ได้ฟรีโดยไม่มีค่าใช้จ่าย Read the rest of this entry »

บันทึกความทรงจำกับการทำ Oral history : ประวัติศาสตร์จากคำบอกเล่า
มิ.ย. 30th, 2019 by matupode

 


Oral history  ประวัติศาสตร์จากคำบอกเล่า เป็นงานอย่างหนึ่งของนักจดหมายเหตุ ถามว่าทำไมต้องเป็นอย่างนั้น เพราะโดยปกตินักจดหมายเหตุจะให้ความสำคัญกับเอกสารลายลักษณ์ หรือเอกสารต้นฉบับเป็นอันดับแรก นั่นเพราะบางครั้งองค์ ความรู้ ประสบการณ์ที่คนๆ หนึ่งมี ความเชี่ยวชาญก็ไม่ได้มีการบันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษร นักจดหมายเหตุจึงต้องหาวิธีการต่อยอดองค์ความรู้เหล่านั้นไม่ให้สูญหาย ประกอบกับเอกสารต้นฉบับบางครั้งเนื้อหาของเอกสารก็ไม่ได้สมบูรณ์เสมอไป การได้มาซึ่งความครบถ้วนของข้อมูลจึงเป็นงานส่วนหนึ่งของนักจดหมายเหตุ

Oral history หรือ “ประวัติศาสตร์จากคำบอกเล่า” หมายถึง การบันทึก อนุรักษ์ และตีความหมายของข้อมูลทางประวัติศาสตร์ที่มาจากประสบการณ์ส่วนตัวและความเห็นของผู้เล่าเหตุการณ์ที่ได้จากการสัมภาษณ์ เป็นการสร้างข้อมูลที่เกิดจากปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้สัมภาษณ์กับผู้ถูกสัมภาษณ์ไม่ใช่หลักฐานที่มีอยู่แล้วตามธรรมชาติ เป็นการสัมภาษณ์เรื่องราวเกี่ยวกับเหตุการณ์ในอดีตที่ผู้ถูกสัมภาษณ์ได้ผ่านประสบการณ์นั้นโดยตรง หรือเป็นเรื่องราวชีวิตของผู้ถูกสัมภาษณ์เอง การหาข้อมูลทางประวัติศาสตร์จากการสัมภาษณ์เป็นหลักฐานประเภทหนึ่ง นอกเหนือจากหลักฐานโบราณคดีตัวเขียน หลักฐานประเภทสิ่งของ และภาพบันทึกต่างๆ Read the rest of this entry »

TOEIC , TOEFL and HSK เพื่อน้องๆ
มิ.ย. 30th, 2019 by chonticha

TOEIC , TOEFL and HSK เพื่อน้องๆ

ศูนย์บรรณสารสนเทศ ขอแนะนำมุมหนังสือที่น่าสนใจอีกมุมหนึ่ง คือ มุมหนังสือที่เป็นคู่มือการสอบภาษาต่างประเทศ ของภาษาอังกฤษ ภาษาจีน คือ  TOEIC , TOEFL  และ HSK  ไว้ให้บริการเป็นการเฉพาะสำหรับผู้ที่ต้องการหาคู่มือเพื่ออ่านเตรียมสอบภาษาต่างประเทศ โดยได้จัดหนังสือพร้อมมีที่นั่งอ่านแบบสบายๆ แถมชมวิวทิวทัศน์ที่เป็นธรรมชาติและเน้นความเป็นส่วนตัว ไว้ให้บริการที่ชั้น 3 อาคารบรรณสาร บริเวณชั้น 3


หลายคนคงมีคำถามในใจว่า TOEIC , TOEFL  และ HSK  คืออะไร มีความสำคัญมากน้อยแค่ไหน เพราะในการประกาศรับสมัครงานบางแห่งมีข้อกำหนดว่าจะต้องมีผลสอบ TOEIC , TOEFL ประกอบการสมัครงานด้วย เรามาทำความรู้จักคำย่อนี้กันค่ะ Read the rest of this entry »

ความสำคัญของการพิมพ์สารบัญของหนังสือในฐานข้อมูล
มิ.ย. 28th, 2019 by jittiwan

ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ มีความสามารถในการสืบค้นข้อมูลแบบ word search ซึ่งผิดกว่าแต่ก่อนที่ต้องพิมพ์รายการบรรณานุกรมของหนังสือลงบัตรรายการ ดังนั้น บรรณารักษ์ควรพยายามบันทึกข้อมูลที่สำคัญเพื่อให้ระบบสืบค้นได้ โดยเฉพาะหนังสือที่เป็นรวมบทความ  รวมเรื่อง เอกสารการประชุม เอกสารการสัมมนา (ซึ่งมีบทความทางวิชาการที่น่าสนใจ) ถ้าบรรณารักษ์ไม่บันทึกสารบัญของหนังสือประเภทดังกล่าว ลงในเขตข้อมูล 505 (สารบัญ) จะทำให้ผู้ใช้บริการสืบค้นหรือหาเนื้อหาดังกล่าวที่อยู่ในหนังสือเล่มนั้นไม่พบ

ตัวอย่าง หนังสือที่เป็นรวมบทความ (ยังไม่ได้พิมพ์สารบัญ tag 505)

  1. พิมพ์ชื่อบทความที่ต้องการสืบค้น
  2. คลิกที่ Search จะปรากฎ ดังรูป (ไม่พบบทความที่ต้องการ)
  3. ทั้งนี้ เรื่อง ดอกไม้ในห้องเผด็จการ เป็นบทความหรือเรื่องหนึ่งในหนังสือ น้ำใส่กะโหลก นั่นเอง เมื่อไม่มีการบันทึกเข้าไป ระบบจึงไม่สามารถสืบค้นได้ ดังนั้น บรรณารักษ์จึงควรบันทึกบทความดังกล่าว เข้าไป โดยการสืบค้น หนังสือ เรื่องดังกล่าว เพื่อมาพิมพ์สารบัญเข้าไป

Read the rest of this entry »

Next Station สถานีความรู้
มิ.ย. 27th, 2019 by kityaphat

ศูนย์บรรณสารสนเทศ ตระหนักถึงการส่งเสริมการเรียนรู้สารสนเทศ ให้กับนักศึกษา เพื่อเป็นการสอนการใช้ห้องสมุดได้อย่างถูกต้อง รู้จักการค้นหาหนังสือ รู้จักแหล่งสารสนเทศต่างๆ ที่ห้องสมุดมีให้บริการ รู้จักการสืบค้นฐานข้อมูล เป็นต้น เพื่อประโยชน์ในการเรียน การศึกษาของนักศึกษา จึงได้จัดกิจกรรม “สถานีความรู้” ขึ้นประกอบด้วย 10 สถานี ตั้งแต่ชั้น 1-ชั้น 6 แต่ละสถานี ประกอบด้วยข้อมูล ความรู้ หรือเนื้อหาเกี่ยวกับการใช้ห้องสมุด พร้อมมีคำถาม เพื่อให้นักศึกษาทดสอบตนเองว่ามีความเข้าใจในเนื้อหาแต่ละสถานีหรือไม่ และสามารถนำกระดาษคำตอบมาส่งที่เจ้าหน้าที่เพื่อตรวจคำตอบและรับของที่ระลึกถ้าตอบได้ถูกทุกข้อ

กติกาการร่วมสนุก

  1. หยิบแผ่นกระดาษสถานีความรู้ เที่ยว ทัวร์ ศูนย์บรรณสารสนเทศ 1 คน : 1 ใบ เดินแต่ละสถานีความรู้ เพื่ออ่านข้อมูลตามหาคำตอบแต่ละข้อ
  2. เลือกคำตอบที่ท่านคิดว่าถูกต้องที่สุดลงในกระดาษคำตอบและประทับตราแต่ละสถานี
  3. เมื่อทำครบทุกข้อแล้ว ให้นำแผ่นสถานีความรู้มาส่งให้เจ้าหน้าที่ที่เคาน์เตอร์บริการชั้น 1 เพื่อตรวจคำตอบ ตอบถูกทุกข้อรับของที่ระลึก จำนวน 1 ชิ้น

Read the rest of this entry »

การซ่อมบำรุงและรักษาทรัพยากรสารสนเทศ
มิ.ย. 27th, 2019 by pisit

ศูนย์บรรณสารสนเทศมีบริการทรัพยากรสารสนเทศให้แก่ผู้ใช้ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นหนังสือ เมื่อกาลเวลาผ่านไป ด้วยจำนวนการยืม สภาพการหยิบจับหนังสือ หรือสภาพแวดล้อมของห้องสมุด หนังสือมีการชำรุด เช่น ปกขาด สันหนังสือชำรุด เป็นต้น  การซ่อมแซมหนังสือจึงเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อเป็นการรักษาและบำรุงทรัพยาการสารสนเทศให้มีสภาพที่สมบูรณ์ สามารถบริการให้ผู้ใช้ได้ศึกษาค้นคว้าได้ต่อไปอีกนาน

บทความนี้จึงขอแนะนำการซ่อมหนังสือ ประกอบด้วย

เครื่องมือและอุปกรณ์ซ่อมหนังสือ

  1. กาว
  2. แปรงทากาว
  3. กระดาษแข็งสำหรับทำปกเบอร์ 12
  4. กระดาษปอนด์รองสันปก
  5. ผ้าดิบหรือผ้ามุ้ง
  6. ผ้าแล็คซีน
  7. กระดาษแล็คซีน
  8. ผ้าคิ้ว
  9. มีดคัตเตอร์
  10. สว่านไฟฟ้าสำหรับเจาะรูหนังสือ
  11. เครื่องอัดหนังสือ
  12. เข็มขนาดใหญ่สำหรับเย็บหนังสือ
  13. ด้าย cotton สำหรับเย็บหนังสือ

ขั้นตอนการซ่อมหนังสือ Read the rest of this entry »

การปรับปรุงห้องสมุดกฎหมาย ศูนย์บรรณสารสนเทศ
มิ.ย. 26th, 2019 by piyanuch


ห้องสมุดกฎหมายของศูนย์บรรณสารสนเทศ ที่ให้บริการอยู่ชั้น 3 ได้รับการปรับปรุงครั้งใหญ่ สืบเนื่องจากกฎหมายมีการเปลี่ยนแปลง มีการออกกฎหมาย พระราชบัญญัติออกมามากมาย ทำให้กฎหมาย หรือพระราชบัญญัติที่เคยประกาศใช้ ไม่สามารถนำมาใช้อ้างอิงได้อีก

ศูนย์บรรณสารสนเทศ ร่วมมือกับคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ในการช่วยพิจารณาหนังสือกฎหมาย และดึงหนังสือที่มีเนื้อหาเก่าหรือเป็นกฎหมายเก่า ไม่สามารถนำมาใช้ได้แล้ว แยกออกมาจากหนังสือกฎหมายที่ยังใช้ได้อยู่ ด้วยความกรุณาจากอาจารย์คณะนิติศาสตร์ ทำให้หนังสือในห้องสมุดกฎหมายของศูนย์บรรณสารสนเทศ เป็น Collection ทางด้านกฎหมายที่สมบูรณ์มากขึ้น เป็นแหล่งเรียนรู้ที่อาจารย์และนักศึกษาสามารถเข้ามาใช้ในเพื่อการเรียนการสอนทางด้านกฎหมายได้เป็นอย่างดี

เมื่อมีการคัดเลือกหนังสือออกแล้ว ทำให้มีพื้นที่เพิ่มขึ้น ศูนย์บรรณสารสนเทศ จึงได้จัดนิทรรศการถาวร พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ ซึ่งเป็นพระบิดาแห่งกฎหมายไทย เพื่อเป็นมุมความรู้เกี่ยวกับพระองค์ท่าน ที่นักศึกษากฎหมายควรที่จะได้เรียนรู้

 

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์

นอกจากนี้ ศูนย์บรรณสารสนเทศ ยังได้จัดทำเว็บไซต์สารสนเทศทางด้านกฎหมายเพื่อเป็นการเสริมการเรียนรู้สารสนเทศทางด้านกฎหมายเพิ่มเติมให้อีกด้วย

การออกแบบสื่อ Infographic
มิ.ย. 26th, 2019 by Latthawat Rimpirangsri

INFOGRAPHIC คืออะไร

อินโฟกราฟฟิก มาจากคำว่า Information (ข้อมูล) + Graphic (รูป) นั่นเองครับ อธิบายแบบเข้าใจง่าย ๆ เลย คือ “การนำข้อมูลต่าง ๆ มาทำเป็นรูป”

การออกแบบอินโฟกราฟฟิกต้องมีขั้นตอนสำคัญ ๆ ดังนี้

  1. Research เตรียมข้อมูล – เราจะทำ Infographic เล่าเรื่องอะไรบ้าง? เราจะเอาตัวเลขสถิติมาจากไหน? ขั้นตอนนี้ใช้เวลาเยอะพอสมควรเลยครับ เพราะบางทีข้อมูลก็มาจากหลายที่ เราต้องเอามารวมกันบ้าง เอามาเช็คบ้างว่าข้อมูลหลายแห่งเหมือนกันมั้ย
  2. Plan วางแผนการนำเสนอข้อมูล – เราอยากให้ Infographic ของเราสื่อ “ข้อความ” อะไรออกไป? จะนำเสนอผ่าน Flow / Narrative แบบไหน? ขั้นตอนนี้สำคัญมาก เช่น เราอาจจะกำลังทำอินโฟกราฟฟิกที่เชียร์แบรนด์ใดแบรนด์หนึ่ง ก็ต้องคิดว่าเราจะสื่ออย่างไรให้แบรนด์นั้นดูดี ซึ่งอาจจะต้องใช้ความช่วยเหลือจากคนทำงานด้าน Creative เข้ามาช่วยครับ
  3. Design ลงมือออกแบบ – ขั้นตอนนี้เป็นหน้าที่ของ Designer ในการทำให้ไอเดียออกมาเป็นกราฟฟิกของจริงล่ะครับ ปกติแล้วจะนิยมใช้ Adobe Illustrator กัน เพราะสามารถทำงานออกมาเป็น Vector นำไปใช้ในเว็บก็ได้ ปรินท์ก็ยังคม
  4. Feedback ปรับปรุงให้ดีขึ้น – หลังจากออกแบบอินโฟกราฟฟิกเวอร์ชั่นแรกเสร็จแล้ว นำไปให้กลุ่มเป้าหมายของเราดู (และลูกค้า) เพื่อให้เค้าบอกเราว่ามีส่วนไหนที่ควรปรับปรุงบ้าง เพื่อให้เราทำอินโฟกราฟฟิกออกมาให้ตรงใจกลุ่มเป้าหมายมากที่สุด

Read the rest of this entry »

การดำเนินการกับเอกสารแลกเปลี่ยนเวร
มิ.ย. 25th, 2019 by pacharamon

บุคลากรของศูนย์บรรณสารสนเทศ มีหน้าที่ในการปฏิบัติงานนอกเวลาทำการ เพื่อให้บริการผู้ใช้บริการ โดยมีหลายกรณีที่บุคลากรไม่สามารถปฏิบัติงานตามตารางที่วางไว้ จึงต้องมีการกรอกข้อมูลเพื่อการปรับเปลี่ยนตารางการปฏิบัติงานนอกเวลาทำการ แต่หลายๆ ครั้งที่การกรอกแบบฟอร์มนั้น มีความไม่ชัดเจน และไม่สมบูรณ์ อาจส่งผลทำให้บุคลากร มีข้อมูลในระบบการปฏิบัติงานไม่ถูกต้องได้ ดังนั้น ผู้เขียน ซึ่งเป็นผู้ดูแลการส่งข้อมูลการปฏิบัติงานส่งกองทรัพยากรบุคคล จึงขอให้ข้อมูลเพื่อเป็นแนวปฏิบัติที่ดีกันต่อไป

ข้อปฏิบัติการเขียนแบบเปลี่ยนแปลงตารางปฏิบัติหน้าที่ ดังนี้

1.หากมีการเปลี่ยนแปลงการเข้าปฎิบัติงานเหลื่อมเวลาให้ขอแบบฟอร์มเปลี่ยนแปลงตารางปฏิบัติหน้าที่ ได้ที่ สำนักงานเลขานุการ ชั้น 2 พร้อมลงชื่อรับแบบฟอร์มในสมุดรายการเบิกทุกครั้ง Read the rest of this entry »

การจัดเก็บเอกสารเข้าแฟ้ม
มิ.ย. 25th, 2019 by pacharamon

ผู้เขียนปฏิบัติงานในส่วนของสำนักงานเลขานุการ  เกี่ยวข้องกับเอกสารเป็นจำนวนมาก มีทั้งรับเข้าและส่งออก ทั้งภายในและภายนอก ซึ่งหากไม่มีการจัดเก็บที่เป็นระเบียบ จะทำให้ไม่สามารถหาเอกสารพบ ไม่มีพื้นที่ทำงานเพียงพอ ไม่สวยงาม เพื่อให้สามารถค้นหาเอกสารที่ต้องการได้อย่างรวดเร็ว เพื่อให้สภาพแวดล้อมในที่ทำงานดีขึ้น  สะอาด สวยงานและมีพื้นที่ในการทำงานที่เพิ่มขึ้น  จึงต้องมีการจัดระเบียบเอกสารที่มีจำนวนมากมาย ให้เข้าที่ มีระเบียบ สามารถค้นหาเอกสารได้ง่าย รวดเร็วและถูกต้อง รวมทั้งเกิดภาพที่สวยงาม มีสภาพแวดล้อมที่ดีกันดีกว่าค่ะ

ขั้นตอนการจัดเก็บเอกสารจัดเก็บเข้าแฟ้มประกอบด้วยรายละเอียด ดังนี้

1. การจัดเตรียมอุปกรณ์ สถานที่ และเอกสารให้พร้อม

1.1 จัดเตรียมอุปกรณ์ที่มีอยู่แล้วในสำนักงาน  เช่น กล่องกระดาษ แฟ้มเอกสาร  รวมถึงพื้นที่โล่งว่าง  ชั้นวางเอกสาร  ตู้ใส่เอกสาร และต้องรวบรวมเอกสารที่จัดเก็บมารวมกันให้หมด เพื่อสะดวก ไม่เสียเวลาในการจัดใหม่กรณีที่มีเอกสารตกค้าง Read the rest of this entry »

»  Substance:WordPress   »  Style:Ahren Ahimsa