SIDEBAR
»
S
I
D
E
B
A
R
«
การวิเคราะห์วิทยานิพนธ์และการศึกษาอิสระที่เกี่ยวกับมะเร็งเต้านมในประเทศไทย
ก.พ. 16th, 2016 by rungtiwa

การวิเคราะห์วิทยานิพนธ์และการศึกษาอิสระที่เกี่ยวกับมะเร็งเต้านมในประเทศไทย

The analysis of Breast cancer from Thesis and Independent Studies in Thailand

ณัฏฐณิชา ศรีจัตุรัส  อรพินท์ สีขาว และ วนิดา ดุรงค์ฤทธิชัย. (2557).  การวิเคราะห์วิทยานิพนธ์และการศึกษาอิสระที่เกี่ยวกับมะเร็งเต้านมในประเทศไทย. วารสาร มฉก. วิชาการ 17 (34), 43-60.

อ่านบทความฉบับเต็ม

ผลของโปรแกรมแรงสนับสนุนทางสังคมต่อความไม่มั่นคง ในผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ได้รับการรักษาด้วยยาเคมีบำบัด
ก.พ. 11th, 2016 by supaporn

ผลของโปรแกรมแรงสนับสนุนทางสังคมต่อความไม่มั่นคง ในผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ได้รับการรักษาด้วยยาเคมีบำบัด (Effectiveness of Social Support Program on Vulnerability in Patient with Breast Cancer Receiving Chemotherapy)

บทคัดย่อ:

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงกึ่งทดลอง โดยใช้รูปแบบกลุ่มเดียว วัด 2 ครั้ง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะของความไม่มั่นคงและผลของโปรแกรมแรงสนับสนุนทางสังคม ต่อการลดความไม่มั่นคงในผู้ป่วยมะเร็งเต้านม ที่รับการรักษาด้วยยาเคมีบำบัดที่มารับบริการ ณ ศูนย์มะเร็ง โรงพยาบาลระดับตติยภูมิแห่งหนึ่งในภาคตะวันตก คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงตามคุณสมบัติที่กำหนดจำนวน34 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลประกอบด้วยแบบประเมินความไม่มั่นคง และโปรแกรมแรงสนับสนุนทางสังคม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาคือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและสถิติค่าที ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ ลักษณะความไม่มั่นคงของกลุ่มตัวอย่างพบว่า กลุ่มตัวอย่างรู้สึกกระวนกระวายใจกับผลการรักษามากที่สุดร้อยละ 64.71 (x–=1.44, S.D.=0.660) รองลงมาคือ รู้สึกถึงความไม่แน่นอนของระยะเวลาในการมีชีวิตอยู่ร้อยละ 61.76 (x–=1.50, S.D.=0.749) และรู้สึกว่าการเจ็บป่วยด้วยโรคนี้ต้องบอกให้สมาชิกในครอบครัวหรือบุคคลที่ไว้วางใจรับทราบคิดเป็นร้อยละ 61.76 (x–=3.29, S.D.=1.031) สิ่งที่ผู้ป่วยรู้สึกน้อยที่สุดคือ ไม่ต้องการพูดถึงการเจ็บป่วยครั้งนี้ร้อยละ 5.88 (x–=3.32, S.D.=0.912) ค่าคะแนนเฉลี่ยของความไม่มั่นคงก่อนและหลังให้โปรแกรมแรงสนับสนุนทางสังคมในกลุ่มตัวอย่างมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ p < .000 ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่า การใช้โปรแกรมแรงสนับสนุนทางสังคม ช่วยให้ความไม่มั่นคงในผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ได้รับการรักษาด้วยยาเคมีบำบัดลดลง ซึ่งสามารถนำไปประยุกต์ใช้ลดความไม่มั่นคงในผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่รับการรักษาด้วยยาเคมีบำบัดในหน่วยเคมีบำบัดต่อไป

This quasi-experimental research was a group pretest-posttest design. The purposes of this study were to explore the characteristics of vulnerability and the effect of social support program on vulnerability in people with breast cancer under chemotherapy. Thirty-four eligible patients with purposive sampling were recruited from a cancer center (a tertiary care hospital) located in the western part of Thailand. The tools were composed of a demographic information recording form, the vulnerability questionnaire, and social support program (SSP). Descriptive statistics including
percentages, means, and standard deviations and the paired t-test were used to analyze data. The results revealed that in terms of vulnerability, patients reported feelings affecting the treatment at most including anxiety feeling 64.71% (x–=1.44, S.D.=0.660), uncertain feeling 61.76% (x–=1.50, S.D.=0.749), the need to inform family members or trust persons 61.76 (x–=3.29, S.D.=1.031), respectively. Patients reported least scores of the item of not wanting to discuss about the symptom 5.88% (x–=3.32, S.D.=0.912). After receiving the social support program, the average score of vulnerability was significantly higher than that of before at the significant level of p<.000). SSP could decrease the vulnerability in patients with breast cancer under chemotherapy. Therefore, the SSP can be applied to lower the vulnerability of patients with breast cancer under chemotherapy in other centers.

นภรรสสร กูรมาภิรักษ์ นภาพร แก้วนิมิตชัย และ วนิดา ดุรงค์ฤทธิชัย. (2558). ผลของโปรแกรมแรงสนับสนุนทางสังคมต่อความไม่มั่นคง ในผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ได้รับการรักษาด้วยยาเคมีบำบัด. วารสาร มฉก. วิชาการ,19 (37), 105-116.

อ่านบทความฉบับเต็ม

»  Substance:WordPress   »  Style:Ahren Ahimsa