เมทาดาทา (Metadata)คือ ข้อมูลที่บอกรายละเอียดเกี่ยวกับความเป็นมาของข้อมูลต่างๆ เช่นถ้าเป็นหนังสือ เมทาดาทาของหนังสือก็คือ ข้อมูลที่เป็นชื่อเรื่อง ชื่อผู้แต่ง ชื่อเจ้าของผลงาน ผู้รับผิดชอบ สิทธิของหน่วยงาน ปีที่เขียน เป็นต้น ผู้เขียนรับผิดชอบในการจัดการไฟล์วิทยานิพนธ์ วิจัย ซึ่งมีการลงเมทาดาทาในไฟล์วิทยานิพนธ์ วิจัย มีขั้นตอนการลงในเมทาดาทา ดังนี้
1.เปิดเอกสารที่เป็นไฟล์ PDF ขึ้นมา (ภาพที่ 1)
ภาพที่ 1
2.ให้คลิกที่เมนู File (ภาพที่ 2) จะเห็นเมนูต่างๆ ปรากฏขึ้นมา Read the rest of this entry »
ผู้เขียน รับผิดชอบการจัดการไฟล์วิทยานิพนธ์ และงานวิจัยของมหาวิทยาลัย โดยจัดเตรียมไฟล์และตรวจสอบความถูกต้องและใส่รายละเอียดของข้อมูลใน properties
ในการจัดการไฟล์นั้น ได้มีการทำ Bookmark ซึ่งเสมือนเป็นสารบัญ และเป็นตัวช่วยในการคลิกดูเนื้อหา ทำให้ผู้ใช้เข้าถึงเนื้อหาได้สะดวก รวดเร็ว ซึ่งมีขั้นตอนง่ายๆดังนี้
Read the rest of this entry »
ภูมิทัศน์อาคารเฉลิมราชกุมารี 60 พรรษา (อาคารจามจุรี10)
เมื่อวันอังคารที่ 25 เมษายน 2560 ผู้เขียนได้มีโอกาสเปิดโลกทัศน์ภายนอกสถานที่ ได้พบเห็นผู้บริหารของห้องสมุดมหาวิทยาลัยต่างๆ และได้เข้าเยี่ยมชมห้องสมุด สำนักงานวิทยทรัพยากร สาขาเฉลิมราชกุมารี 60 พรรษา หรืออาคารจามจุรี 10 นั่นเอง ตัวอาคารจะตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันตกของ ถนนพญาไท กลุ่มศึกษาดูงานได้พากันเดินชมความร่มรื่นสองข้างทางจากอาคารสำนักงานวิทยทรัพยากร เพื่อไปยังจุดหมายคืออาคารจามจุรี10
นำทีมโดยท่านรองศาสตราจารย์ ดร. อมร เพชรสม รักษาการผู้อำนวยการสำนักงานวิทยทรัพยากร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ท่านได้ให้การต้อนรับเป็นอย่างดี และเป็นกันเองเป็นอย่างมาก ท่านได้พาคณะศึกษาดูงานเดินขึ้นบันไดเพื่อลดแคลลอรี่และสร้างความแข็งแกร่งของร่างกาย ไปยังชั้น 2 ของตัวอาคารซึ่งเป็นพื้นที่ในส่วนของห้องสมุด มีเนื้อที่ใช้สอยประมาณ 1,500 ตารางเมตร เป็นอาคารที่ได้รวบรวมวิทยานิพนธ์ทั้งหมด งานวิจัย และหนังสืออ้างอิง ที่กระจัดกระจายตามคณะต่างๆ ซึ่งมีประมาณ 50,000 เล่ม นำมารวบรวมไว้ให้บริการในจุดเดียวกัน เพื่อสร้างความสะดวกในการเข้าถึงข้อมูลองค์ความรู้ทุกๆ แขนงแก่บุคลากร นิสิต และประชาชนทั่วไป ซึ่งวิทยานิพนธ์เหล่านี้เดิมเคยให้บริการอยู่ที่ชั้น 2 ของหอสมุดกลางอาคารมหาธีรราชานุสรณ์ นอกจากนี้ยังมีห้องสมุดในกลุ่มต่างๆ นำมารวบรวมไว้ให้บริการ เช่น
วันที่ 25 เมษายน 2559 เวลา 9.00-12.00 น. แผนกจัดหาและวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ ได้จัดกิจกรรม Knowledge sharing หัวข้อ “Work Flow ของวิทยานิพนธ์ และวิจัยดิจิทัล” และ “การจัดทำ Collection สิ่งพิมพ์ มฉก.” โดยผู้ช่วยผู้อำนวยการ ศูนย์บรรณสารสนเทศ ทำหน้าที่เป็น Facilitator ในการจัดการความรู้เกี่ยวกับการรับไฟล์วิทยานิพนธ์ งานวิจัยของ มฉก. จากเดิม ซึ่งอาจจะมีกระบวนการที่ไม่เป็นระบบ นำมาหารือและจัด work flow ของการไหลของงานได้ดีขึ้นกว่าเดิม โดย
1. ประสานงานกับบัณฑิตวิทยาลัย และสำนักพัฒนาวิชาการในการส่งไฟล์วิทยานิพนธ์และงานวิจัยอย่างสม่ำเสมอ หรือกำหนดเป็นระยะเวลาที่แน่นอน
2. ตัวเล่มของวิทยานิพนธ์ งานวิจัย ส่งมายังแผนกจัดหาและวิเคราะห์ ผ่านหัวหน้าแผนกฯ เพื่อส่งต่อผู้ที่ได้รับมอบหมายในการลงรายการบรรณานุกรมในระบบห้องสมุดและลงรายการเมทาดาทาของ THAILIS
3. ส่งไฟล์ไปยังแผนกทรัพยากรการเรียนรู้ เพื่อตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของไฟล์ การลงเมทาดาทาในไฟล์ การใส่ watermark รวมทั้งการทำเป็น PDF/A
4. ส่งไฟล์เข้าระบบ THAILIS
ส่วนแผ่นซีดีที่บันทึกวิทยานิพนธ์หรืองานวิจัยนั้น ให้ทำลายก่อนการทิ้ง
ในส่วนของ Collection สิ่งพิมพ์พิเศษ มฉก. นั้น เนื่องจาก มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ มีการผลิตสิ่งพิมพ์ในวาระและโอกาสต่าง ๆ จึงเห็นสมควรที่จะมีการเก็บเป็นสิ่งพิมพ์พิเศษ เฉพาะของมหาวิทยาลัย โดยมีการกำหนดประเภทของสิ่งพิมพ์ตามเนื้อหาและกำหนดรหัสตามเนื้อหา แบ่งตามคณะ หน่วยงานที่ออกสิ่งพิมพ์ เช่น หนังสือที่ระลึก มีรหัสเป็น 1 งานวิจัย กำหนดรหัสเป็น 15 เป็นต้น เพื่อให้สามารถรวบรวมสิ่งพิมพ์ มฉก. ไว้ในที่เดียวกันและได้รับการจัดประเภทและหมวดหมู่ของสิ่งพิมพ์ ซึ่งได้เริ่มดำเนินการแล้วในบางส่วนเป็นตัวอย่าง
การวิเคราะห์วิทยานิพนธ์และการศึกษาอิสระที่เกี่ยวกับมะเร็งเต้านมในประเทศไทย
The analysis of Breast cancer from Thesis and Independent Studies in Thailand
ณัฏฐณิชา ศรีจัตุรัส อรพินท์ สีขาว และ วนิดา ดุรงค์ฤทธิชัย. (2557). การวิเคราะห์วิทยานิพนธ์และการศึกษาอิสระที่เกี่ยวกับมะเร็งเต้านมในประเทศไทย. วารสาร มฉก. วิชาการ 17 (34), 43-60.
อ่านบทความฉบับเต็ม
การค้นหาวิทยานิพนธ์สามารถสืบค้นได้จากหลายแหล่งสารสนเทศ บางแหล่งฟรี บางแหล่งต้องเป็นสมาชิก
เริ่มต้นง่ายๆ สืบค้นจากฐานข้อมูลในห้องสมุด (Library catalogue) ของมหาวิทยาลัยก่อนขยับมาควรค้นจาก IR (Institutional repositories) ของมหาวิทยาลัย ซึ่งห้องสมุดมหาวิทยาลัยส่วนใหญ่ดำเนินการกันอยู่ แหล่งนี้เป็นวิทยานิพนธ์อิเล็กทรอนิกส์ เช่น