การค้นหาวิทยานิพนธ์สามารถสืบค้นได้จากหลายแหล่งสารสนเทศ บางแหล่งฟรี บางแหล่งต้องเป็นสมาชิก
เริ่มต้นง่ายๆ สืบค้นจากฐานข้อมูลในห้องสมุด (Library catalogue) ของมหาวิทยาลัยก่อนขยับมาควรค้นจาก IR (Institutional repositories) ของมหาวิทยาลัย ซึ่งห้องสมุดมหาวิทยาลัยส่วนใหญ่ดำเนินการกันอยู่ แหล่งนี้เป็นวิทยานิพนธ์อิเล็กทรอนิกส์ เช่น
CUIR คลังปัญญาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ งานวิจัย บทความทางวิชาการ ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยานิพนธ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล แต่จะให้เฉพาะสาระสังเขปเท่านั้น
ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รวบรวมวิทยานิพนธ์ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
อีกแหล่งคือ Thai Digital Collection (TDC) ของ สกอ. หรือจะใช้ UC (Union Catalog) ของประเทศไทยคู่กับ OAIster ซึ่งเป็นสหบรรณานุกรม (Union Catalog) เช่นกัน ด้วยจำนวนระเบียนที่มากกว่า 30 ล้านระเบียน
ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ไทย ที่มีมาแต่เดิม โดย ศูนย์บริการสารสนเทศทางเทคโนโลยี หรือ TIAC ซึ่งปัจจุบันคือ ศูนย์บริการความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สวทช. ซึ่งรวบรวมวิทยานิพนธ์จากหลายมหาวิทยาลัยในประเทศไทย จำนวนกว่า 80,663 ระเบียน ตังแต่ปี ค.ศ. 1966-2007 (เฉพาะสาระสังเขป)
ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์และงานวิจัย สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ จากมหาวิทยาลัยและสถาบันวิจัยต่างๆ จัดทำโดย ศูนย์ข้อสนเทศการวิจัย สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.)
ในส่วนของ IR ควรจะได้สืบค้นจาก IR ของประเทศอื่นๆ ด้วยเช่นกัน เพราะ IR จะเป็นแหล่งที่รวบรวมคลังความรู้ ผลงานทางวิชาการ ผลงานวิจัยของสถาบัน ซึ่งมักจะรวมวิทยานิพนธ์ด้วย เช่น
ฝั่งอเมริกา: DSpace@MIT ประกอบด้วยวิทยานิพนธ์มากกว่า 40,000 รายการ ย้อนหลังไปถึงกลางทศวรรษ 1800 แต่ฉบับเต็มปีหลังปี ค.ศ. 2004
ฝั่งอังกฤษ: DSpace@Cambridge มีวิทยานิพนธ์อยู่ในคลังผลงานวิชาการนี้ด้วยเช่นกัน
ฮ่องกง: เช่น HKUST Institutional Repository ก็น่าสนใจทีเดียว
ยังมี IR เป็นจำนวนมากทีเดียวที่จะสามารถใช้ประโยชน์ในการค้นหาแหล่งสารสนเทศวิทยานิพนธ์ได้ เข้าไปที่ OpenDOAR จะเป็นทำเนียบนาม (รายชื่อ) ของ IR ที่หน่วยงานที่จัดทำ IR มาลงทะเบียนไว้
แหล่งอืนๆ เช่น
EThos (Electronic Theses Online Service) เป็นบริการของ British Library ในการเป็นจุดศูนย์รวมในการเข้าถึงวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาเอก ที่ลงในสถาบันการศึกษาของสหราชอาณาจักร ประกอบด้วยข้อมูลมากกว่า 250,000 รายการ
Index to Theses ประกอบด้วยวิทยานิพนธ์ที่มากกว่า 580,000 รายการที่ศึกษาในมหาวิทยาลัยในสหราชอาณาจักรและไอร์แลนด์ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1716 ถึง ปัจจุบัน มีสาระสังเขปของวิทยานิพนธ์หลังปี ค.ศ. 1986
Kiwi Research Information Service เป็นเกตเวย์ในการเข้าถึงสารสนเทศแบบเปิด (open access) ของมหาวิทยาลัย โพลีเทคนิค และหน่วยงานวิจัยอื่นๆ ของนิวซีแลนด์
The Networked Digital Libraries of Theses and Dissertations (NDLTD) ครอบคลุมวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาโทและเอกมากกว่า 1 ล้านระเบียน
แหล่งสารสนเทศวิทยานิพนธ์จากมหาวิทยาลัย 28 แห่งในสวีเดน และนอร์เวย์ DiVA
ส่วน dissertations.se วิทยานิพนธ์ระดับปริญญาเอกจากมหาวิทยาลัยสวีเดนที่เขียนเป็นภาษาอังกฤษ
DART-Europe E Theses Portal สามารถสืบค้นและเข้าถึงฉบับเต็มจากมหาวิทยาลัย 324 แห่งในยุโรป รวมทั้งสหราชอาณาจักร
Australian Digital Theses Program จากมหาวิทยาลัยในออสเตรเลีย
Digital Library and Archives เป็นฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ของ Virginia Tech
รายการอ้างอิง:
citylibresearchers. Finding Theses. Retrieved 20 August, 2014.from http://citylibresearchers.wordpress.com/2014/04/04/finding-theses/