SIDEBAR
»
S
I
D
E
B
A
R
«
ปรับเปลี่ยนวิกฤตให้เป็นโอกาสในการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ : ระบบ LessPaper
มิ.ย. 25th, 2020 by pacharamon

ทั่วโลกต่างก็ประสบกับการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19  (COVID -19) ซึ่งส่งผลให้หลายๆ องค์กร ต้องหยุดทำงาน  “อยู่บ้าน หยุดเชื้อ เพื่อชาติ”

มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ เป็นอีกหน่วยงานหนึ่งที่ต้องปิดทำการชั่วคราว แต่ในขณะเดียวกันการทำงานก็ต้องเดินหน้า  ไม่หยุดชะงัก  จึงเริ่มปรับเปลี่ยนรูปแบบการนำเสนอเอกสารต่อผู้บังคับบัญชา ในขณะที่ไม่สามารถเข้ามาในมหาวิทยาลัยได้ เพื่อให้งานเดินสะดวก รวดเร็ว ไม่สะดุด และก็ไม่ต้องออกมาเผชิญกับโรคระบาด  มหาวิทยาลัยฯ  จึงพิจารณานำ LessPaper ระบบจัดการเอกสารอิเล็กทรอนิกส์แบบครบวงจร เข้ามาใช้ในสถานการณ์แพร่ระบาดที่เกิดขึ้น

ในฐานะผู้ปฏิบัติงาน ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเอกสารโดยตรง ได้ใช้วิกฤตให้เป็นโอกาส  เรียนรู้ระบบวิธีการลงทะเบียนรับหนังสือ การเสนอเรื่องเพื่อพิจารณาลงนาม การดำเนินการการส่งหนังสือออกภายใน –  ภายนอก การแจ้งเวียนเพื่อทราบ ฯลฯ แบบใหม่ รวมถึงขั้นตอนต่างๆ อีกมากมายในการเข้าทำงานด้วย LessPaper  Read the rest of this entry »

ขั้นตอนการตรวจสอบคุณภาพเอกสารไฟล์ดิจิทัลหนังสือพิมพ์จีน
มิ.ย. 25th, 2020 by Dr.sanampol

ผู้เขียนมีหน้าที่ตรวจสอบคุณภาพ  ความถูกต้องและความคมชัดของไฟล์ภาพเอกสารหนังสือพิมพ์จีน (ภาษาจีน) โดยไฟล์ดิจิทัลดังกล่าว จะมีการนำเข้าสู่ฐานข้อมูลหนังสือพิมพ์จีน ที่ศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ เพื่อเตรียมไว้ให้บริการสืบค้นและเป็นแหล่งข้อมูลอ้างอิงในงานวิจัยต่างๆ โดยมีขั้นตอน ดังนี้

1.เปิดโปรแกรม KeyIn Dialog ดังภาพ

Read the rest of this entry »

มาทำความรู้จัก National Geographic ในรูปแบบ e-Magazine
มิ.ย. 25th, 2020 by อุไรรัตน์ ผาสิน

 

 

เนชั่นแนล จีโอกราฟิก (National Geographic) เป็นนิตยสารของสมาคมเนชั่นแนล จีโอกราฟิก  ออกวางจำหน่ายเป็นรายเดือน ซึ่งมีการตีพิมพ์ครั้งแรกเป็นฉบับภาษาอังกฤษ เมื่อ 22 กันยายน พ.ศ. 2431 สำหรับเนื้อหาภายในนิตยสารนั้นจะมีเกี่ยวกับทางด้านภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ ธรรมชาติ และวิทยาศาสตร์  ปัจจุบันมีการตีพิมพ์เป็นภาษาท้องถิ่นถึง 37 ภาษาทั่วโลก รวมทั้งภาษาไทย

งานวารสารฯ ศูนย์บรรณสารสนเทศ  เห็นถึงการพัฒนาทางด้านเทคโนโลยี ซึ่งเดิมได้มีการบอกรับเป็นตัวเล่มเป็นภาษาไทยอยู่แล้ว จึงได้ปรับเปลี่ยนมาเป็นการบอกรับในรูปแบบของ e- Magazine  ซึ่งสามารถอ่านจากที่ไหน ก็ได้ โดยการอ่านผ่านหน้าจอ Smart Phone หรือ Tablet  เพื่อเพิ่มความสะดวกให้แก่ผู้ใช้บริการ สำหรับการให้บริการนั้นทางห้องสมุดได้สมัครสมาชิกไว้เรียบร้อยแล้ว และได้รับ USER การใช้งาน 1 USER สามารถอ่านเนื้อหาได้ครั้งละ 5 เครื่องพร้อมกัน Read the rest of this entry »

QR Code Link หนังสือโดนใจ
มิ.ย. 18th, 2020 by chonticha

QR Code Link หนังสือโดนใจ เป็นอีกหนึ่งบริการของศูนย์บรรณสารสนเทศ ที่เข้ากับยุคปัจจุบันที่เทคโนโลยีเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องอย่างมากมายในชีวิตประจำวัน  เมื่อพูดถึง QR Code คงไม่มีใครไม่รู้จัก เพราะปัจจุบันนี้เมื่อเดินไปที่ไหน ๆ มักจะเห็นกันแทบทุก ๆ พื้นที่รอบ ๆ ตัวเรา อย่างเช่น ตามป้ายโฆษณา ร้านค้า ธนาคาร แม้แต่การอบรม สัมมนา ฯลฯ การใช้ QR code เป็นสีสันของการประชาสัมพันธ์ หรือการให้ข้อมูลที่สะดวกมากขึ้น ให้เข้าถึงรายละเอียดของข้อมูลได้ทันที ที่ สแกน QR code

ศูนย์บรรณสารสนเทศเล็งเห็นถึงประโยชน์ในการนำ QR Code มาใช้กับหนังสือ เพื่อนำเสนอข้อมูลที่เป็นประโยชน์แก่ผู้ใช้บริการ เช่น แนะนำเรื่องย่อของหนังสือแต่ละเล่ม เพื่อเป็นการประกอบการตัดสินใจในการเลือกหยิบหนังสือเล่มนั้น ๆ มายืมเพื่อกลับไปอ่านที่บ้าน

ขั้นตอนการทำ QR Code มีดังนี้

1.ค้นหาหนังสือจากศูนย์บรรณสารสนเทศที่น่าสนใจ

2. นำรายชื่อหนังสือที่ต้องการค้นหา มาสืบค้นเพื่อหาลิงค์ นำมาทำ QR Code ส่วนใหญ่แหล่งข้อมูลที่ได้มาจากเว็บไซต์ หรือบทคัดย่อที่ได้จากเว็บไซต์ของร้านหนังสือ เช่น SE-ED , B2S หรือ นายอินทร์ Read the rest of this entry »

การจัดการ Collection รายงานการศึกษาอิสระ มฉก.
มิ.ย. 11th, 2020 by kalyaraksa

มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ  เปิดการเรียนการสอน หลักสูตรสังคมสงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการจัดการโครงการสวัสดิการสังคม และ หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต  ตั้งแต่ปีการศึกษา 2538 ต่อมามีหลักสูตรอื่น ๆ อีกหลายหลักสูตร มหาบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาได้ส่งวิทยานิพนธ์ (Thesis)  และภาคนิพนธ์ ต่อมาภาคนิพนธ์ได้เปลี่ยนเป็นการศึกษาอิสระ (Independent Study) เก็บให้บริการที่ศูนย์บรรณสารสนเทศ และเพื่อเป็นการจัดการทรัพยากรสารสนเทศประเภทนี้ ให้เป็นระบบมากขึ้น  ได้มีการปรับเปลี่ยน Call Number ลดจำนวนการจัดเก็บ และทบทวนการลงรายการการศึกษาอิสระให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน โดยมีแนวทางการดำเนินงาน ดังนี้

1. เพื่อปรับเปลี่ยนการลงรายการการศึกษาอิสระให้มีสถานะทันสมัย  มีการวิเคราะห์หมวดหมู่ (Call Number) ให้ง่ายขึ้น แต่เดิมศูนย์บรรณสารสนเทศ ได้ทำการวิเคราะห์หมวดหมู่การศึกษาอิสระ ตามเนื้อหา มี 2 ระบบ คือ ระบบการจัดหมวดหมู่รัฐสภาอเมริกัน (Library of Congress Classification) สำหรับการศึกษาอิสระที่มีเนื้อหาทางด้านสังคมศาสตร์ และสาขาอื่น ๆ ที่อยู่ในขอบเขตของระบบดังกล่าว และใช้ระบบการจัดหมวดหมู่ระบบการแพทย์แห่งชาติอเมริกัน (National library of Medicine Classification) สำหรับการศึกษาอิสระที่มีเนื้อหา หลักสูตรพยาบาลศาสตร์ สาขาต่าง ๆ เช่น สาขาการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน สาขาการพยาบาลผู้ใหญ่ เป็นต้น ปรับเปลี่ยน Call Number ให้เป็นหมวดหมู่ที่ศูนย์บรรณสารเทศ กำหนดเอง (Local Call Number) ประกอบด้วย มฉก  (เพื่อแสดงถึงสิ่งพิมพ์ของมหาวิทยาลัย) ภ หมายถึง ภาคนิพนธ์ และตามด้วยชื่อผู้ทำรายงานการศึกษาอิสระ เลขผู้แต่ง ต่อด้วยตัวอักษรตัวแรกของชื่อเรื่อง และปีที่ทำรายงาน ตัวอย่าง มฉก.  ภ ก397ก 2562 ดังตัวอย่างภาพข้างล่าง Read the rest of this entry »

การตรวจสอบเลขบาร์โคดจาก Open Details
มิ.ย. 1st, 2020 by jittiwan

ในระบบห้องสมุด WorldShare Management Services (WMS) มีฟังก์ชั่นการใช้งาน คือ Open Details เพื่อให้สามารถคลิกเข้าไปดูรายละเอียดของรายการทางบรรณานุกรมของระเบียนนั้น ๆ ได้

ในกรณีที่ต้องการสืบค้นเพื่อต้องการทราบว่า หนังสือที่สืบค้นนั้น ประกอบด้วย เลขบาร์โคด ใดบ้าง สามารถตรวจสอบผ่าน Open Details ได้ ดังนี้

1. สืบค้นรายการหนังสือที่ต้องการ 

Read the rest of this entry »

บริการเชิงรุก ยุค COVID – 19 : การจองหนังสือออนไลน์
พ.ค. 14th, 2020 by rungtiwa

เนื่องด้วยสถานการณ์การระบาดของโรค COVID – 19 ทำให้ศูนย์บรรณสารสนเทศ มีความจำเป็นต้องปิดให้บริการชั่วคราว เพื่อหลีกเลี่ยงการแพร่ระบาดของโรค ทางศูนย์บรรณสารฯ มองเห็นถึงความจำเป็นที่ผู้ใช้บริการต้องใช้หนังสือประกอบการเรียนการสอน (ซึ่งในระหว่างนั้น ยังอยู่ในภาคเรียนที่ 2/2562) จึงได้มีการประชาสัมพันธ์ ให้ผู้ใช้บริการใช้บริการจองหนังสือผ่านระบบออนไลน์มากขึ้น โดยผู้ใช้บริการสามารถสืบค้นทรัพยากรสารสนเทศผ่านหน้าจอการสืบค้น WorldCat Discovery ของระบบห้องสมุด WMS  ตามขั้นตอนดังภาพด้านล่าง

ผู้ใช้บริการเพียงแจ้งในระบบว่า หนังสือเล่มใดบ้างที่ต้องการใช้ ระบุวัน เวลา ที่ต้องการรับหนังสือ ศูนย์บรรณสารสนเทศ จะดำเนินการตรวจสอบในระบบ และหยิบตัวเล่ม เพื่อส่งให้ผู้ใช้บริการต่อไป จากการประชาสัมพันธ์ผ่านช่องทาง Face book และ LINE @ ของ ศูนย์บรรณสาร พบว่าผู้ใช้บริการให้ความสนใจจองหนังสือเข้ามา เป็นจำนวนไม่น้อย

เจ้าหน้าที่ศูนย์บรรณสารสนเทศ มีวิธีการตรวจสอบการจองในระบบ ดังนี้ Read the rest of this entry »

การทำวิจัย
พ.ค. 11th, 2020 by supaporn

จากการฟังสัมภาษณ์รองศาสตราจารย์ ดร. ศากุน บุญอิต อาจารย์ประจำสาขาบริหารการปฏิบัติการ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งมีผลงานวิจัยตีพิมพ์ในวารสารระดับโลกหลายฉบับ เรื่องการทำงานวิจัย   โดย ศ.ดร.นภดล ร่มโพธิ์  ผ่าน YouTube https://youtu.be/mLu5iing7Tk น่าสนใจทีเดียว ขอสรุปสั้น ๆ ดังนี้

ในแง่ของนักศึกษาระดับปริญญเอก

อาจารย์ ศากุน แชร์ให้ฟังว่า การสอนในระดับปริญญาเอก จะเริ่มต้นด้วยการให้อ่านมาก ๆ ให้ตึกผลึกก่อน แล้วค่อยหาหัวข้อ วิจัย หลังการเรียน course work ควรเป็นเรื่องของการอ่าน ไม่อย่างนั้นจะไม่เป็น high abstract thinking

การทำวิจัย การเรียนปริญญาเอก การตีพิมพ์ คล้าย ๆ กัน คือ เป็นการเดินทาง (journey) ดังนั้น ต้องไม่ท้อใจ ต้องเรียนรู้ว่าเป็น journey พอเป็น journey ก็ต้องพบอะไรต่อมิอะไร แต่อย่าเพิ่งท้อใจ และเลิกไป จะเลี้ยวซ้าย เลี้ยวขวา ไปทำงาน ไปสอน ก็ไม่จบ ต้องไปทางหลักจึงจะถึงจุดหมาย

ในแง่ของอาจารย์

การเป็นอาจารย์มีหน้าหลัก ๆ 3 อย่าง คือ สอน ทำวิจัย และบริการวิชาการ ซึ่ง 3 อย่างนี้เลือกไม่ได้ ต้องทำทุกอย่าง ครู กับ อาจารย์ นักวิชาการ ความหมายต่างกัน ครู หน้าที่หลัก คือ ทำหน้าที่สอน แต่พอเป็นอาจารย์และนักวิชาการ หน้าที่หลักมี 3 อย่าง ตามที่บอก วิจัย คือ 1 ในนั้น ดังนั้น อาชีพอาจารย์ การทำวิจัยไม่ใช่ทางเลือก แต่ต้องทำ ถึงต้องมีเกณฑ์ว่า เท่านั้น ปี ต้องตีพิมพ์ แล้วถึงต่อสัญญา ซึ่ง จริง ๆ ก็ถูก เพราะเป็นพันธกิจของอาจารย์ที่ต้องทำ ถ้าวิจัยในอาชีพอาจารย์ เป็น A Must ก็ต้องแบ่งเวลามาทำ ถ้าทำวิจัยวันละ 2 ชม. มี paper ออกมาแน่นอน ปัญหาหลัก คือ ไม่ทำมากกว่า เพราะมีทางเลือก จึงไม่ทำ ต้องเริ่มที่ mindset ว่า วิจัย เป็น A Must ที่ต้องทำ ไม่ใช่ทางเลือก เหมือนกับเป็นอาจารย์ ก็ต้องไปสอน

การทำวิจัยให้คิด 3 เรื่อง

1. โจทย์วิจัยมีความสำคัญหรือไม่ สำคัญทั้งในเชิงทฤษฎี และเชิงปฏิบัติ

2. กระบวนการทำวิจัย เข้มข้น เข้มแข็งพอหรือไม่ มีความชัดเจน หรือไม่

3. ผลที่ได้น่าเชื่อถือ กับโจทย์ที่ตั้งมาหรือต้องการวัดหรือไม่

อ้างอิง

ศากุน บุญอิต. (2563, พฤษภาคม 10) การทำวิจัย. [Video file). สืบค้นจาก https://youtu.be/mLu5iing7Tk

การติดตั้ง Add-In Zotero ใน Microsoft Word
เม.ย. 25th, 2020 by pailin

Zotero เป็น software ประเภท open source สาหรับช่วยบริหารจัดการข้อมูลรายการบรรณานุกรมและรายการอ้างอิง หรือที่เรียกกันว่า Reference management และมีเครื่องมือที่ช่วยในการสร้างรูปแบบการเขียนอ้างอิงได้หลายรูปแบบ ซึ่ง Zotero สามารถทำงานร่วมกับ Microsoft Word ได้เป็นอย่างดี ทำให้ผู้ใช้งานสามารถส่งรายการบรรณานุกรมที่เก็บรวบรวมไว้ใน Zotero เข้ามาแทรกตามตำแหน่งต่างๆ ในเอกสาร word ได้สะดวก ซึ่งผู้ใช้งานจะต้องติดตั้ง Add-In ใน tool ของ Microsoft Word เพิ่มเติม โดยผู้เขียน ขอแบ่งการนำเสนอเป็น 3 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่ 1 ขั้นตอนการติดตั้งโปรแกรม Zotero  ส่วนที่ 2 การนำรายการทางบรรณานุกรมที่มีการดาวน์โหลดจากฐานข้อมูลหรือระบบที่ให้บริการจัดทำรูปแบบการอ้างอิงออกมา ส่วนที่ 3 การนำข้อมูลทางบรรณานุกรมที่นำออกจากฐานข้อมูล/ระบบห้องสมุด เข้าโปรแกรม Zotero และส่วนที่ 4 กล่าวถึงการ add-in โปรแกรม Zotero กับ Microsoft Word ต่อไป

ส่วนที่ 1 การติดตั้งโปรแกรม Zotero ในคอมพิวเตอร์

1. ดาวน์โหลดโปรแกรม Zotero จากเว็บไซต์ เนื่องจากเป็น open source จึงสามารถดาวน์โหลดได้ฟรี ที่ https://www.zotero.org/download โดยให้เลือกเวอร์ชั่นให้ตรงกับ OS ที่ใช้งานอยู่ ว่าเป็น Windows / macOS / Linux

Read the rest of this entry »

การลงรายการบรรณานุกรม Library of Things
เม.ย. 24th, 2020 by dussa

แผนกจัดหาและวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ ทำหน้าที่จัดหาและวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศทุกประเภท เช่น หนังสือ วารสาร Board Game สื่ออิเล็กทรอนิกส์ ต่าง ๆ เพื่อนำมาให้บริการผู้ใช้ห้องสมุด นอกจากสิ่งที่กล่าวมานั้น ศูนย์บรรณสารสนเทศยังให้บริการสิ่งของต่าง ๆ ที่เรียกว่า “Library of Things”

Library of Things หมายถึง สรรพสิ่งอื่น ๆ ที่นอกเหนือหนังสือ ที่ห้องสมุดมีให้ยืม โดยไม่คิดมูลค่าหรือมีค่าใช้จ่ายในการขอใช้บริการ แต่อย่างใด ซึ่งอาจจะเป็นได้ตั้งแต่ เครื่องใช้ในครัว อุปกรณ์ทำสวน และเมล็ดพันธุ์พืช อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ของเล่น เกมส์ ชุดวิทยาศาสตร์ อุปกรณ์งานฝีมือ เครื่องดนตรี และอื่นๆ อีกมากมาย เพื่อเป็นการขยายการให้บริการของห้องสมุด และเพื่อให้ห้องสมุดเป็นสถานที่ ที่ทุกคนสามารถเข้าใช้บริการ และยืมสิ่งอื่น ๆ ได้นอกเหนือจากหนังสือหรือสิ่งพิมพ์ สื่ออื่น ๆ

การลงรายการทางบรรณานุกรมของสรรพสิ่งต่าง ๆ ที่จัดอยู่ใน Library of Things เข้าระบบห้องสมุด เพื่อให้สามารถเก็บหลักฐานจำนวนของการมีสิ่งของเหล่านี้ จำนวนของการใช้บริการ บรรณารักษ์วิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ จึงต้องศึกษาลักษณะของสิ่งของต่าง ๆ เหล่านี้ เพื่อให้มีการลงรายการทางบรรณานุกรมตามหลักเกณฑ์ได้อย่างถูกต้องและเหมาะสมสำหรับสิ่งของต่าง ๆ

การลงรายการบรรณานุกรม  เข้าระบบห้องสมุด WorldShare Management Services (WMS) สำหรับผู้ปฏิบัติงาน แล้วเลือก Module Metadata

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

Read the rest of this entry »

»  Substance:WordPress   »  Style:Ahren Ahimsa