หลังจากได้รับรางวัล 7 ส ยอดเยี่ยม เมื่อเช้าวันที่ 7 กรกฎาคม 2559 ศูนย์บรรณสารสนเทศ ได้ร่วมต้อนรับสำนักหอสมุด สถาบันเทคโนโลยีเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ในการศึกษาดูงานกิจกรรม 7 ส ของมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
ในการนี้ รองอธิการบดี รองศาสตราจารย์ ดร. อุไรพรรณ เจนวาณิชยานนท์ กล่าวถึงการดำเนินการ 7 ส ของมหาวิทยาลัย และมอบหมายให้มีการดูงานกิจกรรม 7 ส ของอาคารบรรณสาร โดย ศูนย์บรรณสารสนเทศเป็นผู้นำชม ในช่วงเวลา 13.30-15.30 น. ซึ่งผู้เยี่ยมชมได้รับทั้งความรู้ และการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ การดำเนินการงาน 7 ส ของมหาวิทยาลัย รวมทั้งได้ตัวอย่างกิจกรรมต่างๆ ที่ศูนย์บรรณสารสนเทศ ดำเนินการ
รองศาสตราจารย์ ดร. อุไรพรรณ เจนวาณิชยานนท์ กล่าวถึงการดำเนินการ 7 ส ของมหาวิทยาลัย
หลังจากดูงานจนเหนื่อย บุคลากรจาก สจล. นั่งพักบริเวณห้องสมุดในสวน หน้าอาคารบรรณสาร
ส่วนหนึ่งของการศึกษาดูงาน ห้องทรงอักษร สมเด็จพระเทพร้ตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
วันที่ 7 กรกฎาคม 2559 ศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ เข้ารับรางวัลชนะเลิศ 7 ส ในงาน Big Cleaning Day ของมหาวิทยาลัย โดย อธิการบดี รองศาสตราจารย์ ดร. ประจักษ์ พุ่มวิเศษ เป็นประธานในการมอบรางวัล
ภาพหมู่กับหน่วยงานและบุคลากรที่ได้รับรางวัลประเภทต่างๆ
อธิการบดี มฉก. มอบโล่รางวัลให้กับ ผอ. ศูนย์บรรณสารสนเทศ
ภาพชาวบรรณสาร
มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ได้ดำเนินการกิจกรรม 7 ส ซึ่งประกอบด้วย สะสาง สะดวก สุขลักษณะ สร้างนิสัย สวยงาม และ สิ่งแวดล้อม มาใช้เพื่อเป็นเครื่องมือในการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน เพื่อให้งานเกิดคุณภาพและมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยให้ความสำคัญในเรื่องของความสวยงามและสิ่งแวดล้อมเพิ่มเติมจากกิจกรรม 5 ส ที่ผ่านมา
ความหมายของ 7 ส.
ส 1 หมายถึง สะสาง แยกของที่ต้องการกับของที่ไม่ต้องการใช้งาน หรือ ของที่มีปริมาณมากเกินจำเป็นให้เหลือเฉพาะที่จำเป็นไว้เท่านั้น
ส 2 หมายถึง สะดวก จัดเก็บของ แยกประเภทของที่จำเป็น ให้สะดวกเก็บ สะดวกใช้ โดยใช้หลัก “หยิบง่าย หายรู้ ดูก็งามตา”
ส 3 หมายถึง สะอาด มีวิธีการทำความสะอาด แบ่งหน้าที่กันทำความสะอาด โดยการ ปัด กวาด เช็ด ถู ดูแลให้สะอาด พร้อมใช้ สม่ำเสมอ
ส 4 หมายถึง สุขลักษณะ รักษามาตรฐานที่ดี ให้เป็นระเบียบเรียบร้อย และพัฒนาให้ดีเสมอ เพื่อสุขลักษณะที่ดีในสถานที่ทำงาน โดย ค้นหาสาเหตุที่ไม่ถูกสุขลักษณะ เช่น มลภาวะ อุบัติเหตุ แสงสว่าง เสียงดัง ฝุ่น เศษขยะ กลิ่นอับ แล้วนำสิ่งเหล่านั้นมาปรับปรุงแก้ไขให้ดีขึ้น
ส 5 หมายถึง สร้างนิสัย รักษาระเบียบวินัยและมาตรฐานข้อตกลง โดย ช่วยกันปฏิบัติตามหลัก 7 ส ให้เป็นกิจวัตรประจำวันจนติดเป็นนิสัย
ส 6 หมายถึง สวยงาม รักษาสภาพแวดล้อม บรรยากาศในที่ทำงาน ดูดี สบายตา สบายใจ สดชื่น น่าทำงาน แต่ไม่ฟุ่มเฟือยเกินจำเป็น
ส 7 หมายถึง สิ่งแวดล้อม ประหยัดทรัพยากรในการทำงาน โดยการ ประหยัด น้ำ ไฟฟ้า กระดาษ ที่ยึดหลัก 1A3R คือ
A หมายถึง Avoid หลีกเลี่ยงการใช้ R หมายถึง Reduce ลดการใช้ R หมายถึง Reuse นำกลับมาใช้ R หมายถึง Recycle นำไปผลิตใหม่
ขอขอบคุณ ชาวบรรณสารทุกท่านค่ะ “ชาวบรรณสาร ร่วมมือ ร่วมใจ ประหยัดน้ำ ประหยัดไฟ ใส่ใจสิ่งแวดล้อม”
มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ได้มอบหมายศูนย์บรรณสารสนเทศ ในการเป็นผู้ดำเนินการหลักของอาคารบรรณสาร เข้าร่วมประกวดโครงการสำนักงานสีเขียว (Green Office) ซึ่งดำเนินการโดยกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม และ คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล โดยมีเกณฑ์ในการประเมิน 7 หมวด ได้แก่
1. การบริหารจัดการองค์การ (Organization Management) 2. การดำเนินงาน Green Office 3. การใช้พลังงานและทรัพยากร (Energy and Resource) 4. การจัดการของเสีย (Waste and Waste Water Management) 5. สภาพแวดล้อมภายในและภายนอกสำนักงาน (Indoor & Outdoor Environmental) 6. การจัดซื้อจัดจ้าง (Green Procurement) 7. การปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง (Continual Improvement)
ศูนย์บรรณสารสนเทศ ได้จัดทำกิจกรรมต่างๆ เพื่อรองรับการตรวจประเมินรอบแรก เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2559 โดยผู้ทรงคุณวุฒิในการตรวจประเมิน 4 ท่าน ดังนี้ Read the rest of this entry »
จากการเข้าร่วมการประชุมวิชาการประจำปี 2558 เรื่อง ห้องสมุดดิจิทัล : ประสบการณ์และข้อพึงระวัง (Digital Library : Best Practice and Pit Fall) จัดโดย ชมรมบรรณารักษ์สถาบันอุดมศึกษา (ช.บ.อ.) สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2558 ณ ห้องประชุมชั้น 7 สำนักงานวิทยทรัพยากร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยประกอบด้วยหัวข้อ ต่อไปนี้
Read the rest of this entry »
วันที่ 3 มิถุนายน 2559 มีการจัดกิจกรรม Knowledge Sharing ให้กับหัวหน้าแผนกบริการสารสนเทศ และนักวิชาการจดหมายเหตุ ในการแนะนำหน่วยงานหรือองค์กร ควรมีการเตรียมพร้อมทั้งในด้านผู้ที่ทำหน้าที่ในการแนะนำ การนำชม และข้อมูลที่จะนำเสนอ
ผู้ที่ทำหน้าที่ในการแนะนำ ควรมีการเตรียมพร้อมในเรื่อง
วันนี้ (17 พ.ค. 2559) ศูนย์บรรณสารสนเทศ โดยแผนกจัดหาและวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ ได้นำหนังสือมาบริจาคให้กับศูนย์รับบริจาคหนังสือและวารสาร ห้องสมุดสตางค์ มงคลสุข เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในการนำไปบริจาคต่อให้กับห้องสมุดหรือหน่วยงานที่มีต้องการต่อไป ศูนย์บรรณสารสนเทศ ขอขอบคุณ ศูนย์รับบริจาคหนังสือและวารสาร ห้องสมุดสตางค์ มงคลสุข เป็นอย่างยิ่ง มา ณ โอกาสนี้ด้วย
วันที่ 17 พฤษภาคม 2559 รองศาสตราจารย์ ดร.ประจักษ์ พุ่มวิเศษ อธิการบดีมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ (มฉก.) พร้อมด้วย รองศาสตราจารย์ ดร.อุไรพรรณ เจนวาณิชยานนท์ รองอธิการบดี ให้การต้อนรับ รองศาสตราจารย์ ดร.อมร เพชรสม ผู้อำนวยการสำนักงานวิทยทรัพยากร และคณะในโอกาสหารือและเจรจาความร่วมมือ การใช้โปรแกรมอักขราวิสุทธิ์ และการใช้ฐานข้อมูลงานวิจัยร่วมกัน ในการนี้ ผู้อำนวยการและผู้ช่วยศูนย์บรรณสารสนเทศ เข้าร่วมการหารือในครั้งนี้ด้วย ณ ห้องประชุม 1 ชั้น 2 อาคารอำนวยการ มฉก. บางพลี
ศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ให้บริการทรัพยากรสารสนเทศ ซึ่งในแต่ละวันจะมีผู้ใช้บริการห้องสมุด ทั้งนักศึกษา อาจารย์ เจ้าหน้าที่และบุคคลภายนอก เข้ามาค้นหาหนังสือ และสืบค้นสารสนเทศที่ต้องการ ปัญหาหนึ่งที่ผู้ใช้บริการขอความช่วยเหลือหรือคำแนะนำ หรือสอบถามจากบรรณารักษ์และเจ้าหน้าที่ห้องสมุดประจำชั้น ได้แก่ การหาหนังสือไม่พบ เฉพาะกรณีที่สืบค้นพบรายการหนังสือหรือทรัพยากรสารสนเทศที่ตรงกับความต้องการ แต่เมื่อไปหาหนังสือที่ชั้นหนังสือแล้ว ไม่พบ จากการที่ให้บริการหาหนังสือที่ผู้ใช้หาไม่พบ สามารถสรุปสาเหตุและจัดทำเป็นแนวปฏิบัติวิธีการให้บริการของการหาหนังสือไม่พบ ดังนี้ Read the rest of this entry »
วันที่ 25 เมษายน 2559 เวลา 9.00-12.00 น. แผนกจัดหาและวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ ได้จัดกิจกรรม Knowledge sharing หัวข้อ “Work Flow ของวิทยานิพนธ์ และวิจัยดิจิทัล” และ “การจัดทำ Collection สิ่งพิมพ์ มฉก.” โดยผู้ช่วยผู้อำนวยการ ศูนย์บรรณสารสนเทศ ทำหน้าที่เป็น Facilitator ในการจัดการความรู้เกี่ยวกับการรับไฟล์วิทยานิพนธ์ งานวิจัยของ มฉก. จากเดิม ซึ่งอาจจะมีกระบวนการที่ไม่เป็นระบบ นำมาหารือและจัด work flow ของการไหลของงานได้ดีขึ้นกว่าเดิม โดย
1. ประสานงานกับบัณฑิตวิทยาลัย และสำนักพัฒนาวิชาการในการส่งไฟล์วิทยานิพนธ์และงานวิจัยอย่างสม่ำเสมอ หรือกำหนดเป็นระยะเวลาที่แน่นอน
2. ตัวเล่มของวิทยานิพนธ์ งานวิจัย ส่งมายังแผนกจัดหาและวิเคราะห์ ผ่านหัวหน้าแผนกฯ เพื่อส่งต่อผู้ที่ได้รับมอบหมายในการลงรายการบรรณานุกรมในระบบห้องสมุดและลงรายการเมทาดาทาของ THAILIS
3. ส่งไฟล์ไปยังแผนกทรัพยากรการเรียนรู้ เพื่อตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของไฟล์ การลงเมทาดาทาในไฟล์ การใส่ watermark รวมทั้งการทำเป็น PDF/A
4. ส่งไฟล์เข้าระบบ THAILIS
ส่วนแผ่นซีดีที่บันทึกวิทยานิพนธ์หรืองานวิจัยนั้น ให้ทำลายก่อนการทิ้ง
ในส่วนของ Collection สิ่งพิมพ์พิเศษ มฉก. นั้น เนื่องจาก มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ มีการผลิตสิ่งพิมพ์ในวาระและโอกาสต่าง ๆ จึงเห็นสมควรที่จะมีการเก็บเป็นสิ่งพิมพ์พิเศษ เฉพาะของมหาวิทยาลัย โดยมีการกำหนดประเภทของสิ่งพิมพ์ตามเนื้อหาและกำหนดรหัสตามเนื้อหา แบ่งตามคณะ หน่วยงานที่ออกสิ่งพิมพ์ เช่น หนังสือที่ระลึก มีรหัสเป็น 1 งานวิจัย กำหนดรหัสเป็น 15 เป็นต้น เพื่อให้สามารถรวบรวมสิ่งพิมพ์ มฉก. ไว้ในที่เดียวกันและได้รับการจัดประเภทและหมวดหมู่ของสิ่งพิมพ์ ซึ่งได้เริ่มดำเนินการแล้วในบางส่วนเป็นตัวอย่าง
วันที่ 21 เมษายน 2559 เวลา 9.00-12.00 น. แผนกบริการสารสนเทศ ได้จัดกิจกรรม Knowledge sharing สำหรับบุคลากรแผนกกิจกรรม เพื่อรับฟังประสบการณ์ และแนวทางที่ควรจะเป็นสำหรับการให้บริการ โดย นางสาวสุภาพร ชัยธัมมะปกรณ์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการ ศูนย์บรรณสารสนเทศ ทำหน้าที่เป็น Facilitator จากหัวข้อ รู้จัก เข้าใจ วางแผน และประเมินผล
แบ่งกลุ่มแต่ละ Generation
ในช่วงแรก ได้ให้ความรู้เกี่ยวกับคนในแต่ละ Generation เนื่องจากในแต่ละ Generation นั้น อยู่ในช่วงอายุใด มีความสนใจ มีความต้องการอะไร เพื่อจะได้เทียบเคียงกับผู้ใช้บริการที่มีหลากหลาย แต่กลุ่มผู้ใช้กลุ่มใหญ่ คือ นักศึกษา ซึ่งเป็น Gen Y และผู้ใช้บริการที่เป็นกลุ่มอาจารย์ที่อาจจะอยู่ใน Gen อื่น ๆ จึงควรจะต้องมีความเข้าใจกลุ่มคนในแต่ละ Gen เพื่อให้สามารถจัดการ วางแผนการให้บริการให้ตรงหรือเหมาะสมกับผู้ใช้ในแต่ละ Gen ได้ ได้มีการจัดกลุ่มของบุคลากรแผนกบริการสารสนเทศ และผู้ที่ต้องหมุนมาปฏิบัติหน้าที่ในส่วนงานบริการ ในบางช่วงเวลา เพื่อให้ทราบว่า อยู่ใน generation ใด เพื่อเทียบเคียงกับกลุ่มผู้ใช้บริการ
เสนอบริการใหม่
ในช่วงที่สอง ได้เริ่มให้เข้าใจงานบริการมากขึ้น การออกแบบการให้บริการ ประกอบด้วย content และสื่อต่างๆ ในการเข้าถึง มีการให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมเสนอ บริการใหม่ ๆ และนำมาแลกเปลี่ยนกันถึง สาเหตุของการเสนอบริการนั้น ๆ และควรจะจัดบริการนั้น ออกมาในรูปแบบใด ซึ่งมีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันอย่างกว้างขวาง เพื่อจะได้ให้บุคลากรเรียนรู้ในการวางแผนการจัดบริการ และขั้นตอนสุดท้าย ต้องมีการประเมินผลการให้บริการ เพื่อตัดสินใจว่า งานบริการนั้น ควรให้บริการต่อหรือไม่ หรือ ต้องให้เวลาในการให้บริการต่อไปอีกระยะเวลาหนึ่ง
จากกิจกรรม Knowledge Sharing ดังกล่าว คาดว่าจะทำให้บุคลากรในแผนกบริการสารสนเทศ และบุคลากรท่านอื่น ๆ ที่ต้องมาปฏิบัติหน้าที่ในส่วนงานบริการ เกิดมุมมองในการให้บริการมากขึ้น และรู้จักกลุ่มเป้าหมายมากขึ้น มีการวางแผน มีการประเมินผล เพื่อพัฒนาการให้บริการต่อไป