ศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ให้ความสำคัญของการเข้าร่วมเครือข่ายความร่วมมือระหว่างห้องสมุดด้านประกันคุณภาพการศึกษา เพื่อร่วมกันศึกษาแนวทางการทำงานห้องสมุด เพื่อวางแผน พัฒนา ปรับปรุงการให้บริการห้องสมุด มุ่งเน้นประโยชน์ของผู้รับบริการเป็นสำคัญ การจัดกิจกรรมที่ส่งเสริม การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารด้านการประกันคุณภาพการศึกษา ทั้งนี้เพื่อยกระดับคุณภาพการบริหารจัดการของห้องสมุด
เครือข่ายความร่วมมือระหว่างห้องสมุด ด้านประกันคุณภาพการศึกษา
สมาชิกเครือข่ายความร่วมมือระหว่างห้องสมุด ด้านประกันคุณภาพการศึกษา รอบที่ 1 ถึง รอบปีที่ 5 ดังนี้
ข้อตกลงเครือข่ายความร่วมมือระหว่างห้องสมุด ด้านประกันคุณภาพการศึกษา Read the rest of this entry »
ด้วยตำแหน่งคือ บรรณารักษ์ ทำหน้าที่ลงรายการทรัพยากรสารสนเทศภาษาจีน จึงขอแนะนำประโยคภาษาจีนไปใช้สนทนาในเบื้องต้น โดยได้กำกับคำอ่านภาษาไทยไว้ให้อ่านเข้าใจง่าย เพื่อให้ผู้ที่ทำงานด้านห้องสมุดนำไปประยุกต์ใช้ตามสถานการณ์ (บางคำจะเป็นคำที่ใช้ในศูนย์บรรณสารสนเทศ)
คำศัพท์ที่ใช้บ่อยในห้องสมุด
บรรณารักษ์วิเคราะห์และทำรายการทางบรรณานุกรม ต้องศึกษาพัฒนาการในการลงรายการทางบรรณานุกรม เพื่อให้สามารถจัดการกับข้อมูลที่ลงรายการให้เกิดประโยชน์แก่ผู้ใช้ห้องสมุดให้มากที่สุด การลงรายการทางบรรณานุกรม ก็เพื่อต้องการสร้างช่องทางในการเข้าถึงทรัพยากรสารสนเทศ การแสดงผลทรัพยากรสารสนเทศ เพื่อให้มีการสืบค้นได้อย่างมีประสิทธิภาพและเพื่อผู้ใช้ข้อมูล
ปัจจุบัน คำว่า RDA หรือ Resource Description and Access เป็นคำที่ได้ยินกันหนาหูในกลุ่มบรรณารักษ์วิเคราะห์และทำรายการทางบรรณานุกรม ว่าจะมาแทนที่ AACR II ผู้เขียน จึงได้ศึกษาและสรุป RDA จากผู้รู้ ไว้ดังนี้
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับมาตรฐาน RDA Read the rest of this entry »
Something nice for your mind
ศูนย์บรรณสารสนเทศ ได้จัดกิจกรรมเชิงรุกโดยนำหนังสือมาจัดแสดงด้านหน้าศูนย์บรรณสารสนเทศ โดยผู้อำนวยการศูนย์บรรณสารสนเทศ ได้ให้แนวคิดกับแผนกบริการสารสนเทศ ในการนำหนังสือจากการจัดซื้อจากงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ และงานสัปดาห์หนังสือนานาชาติ (Bangkok International Book Fair 2017) มาจัดแสดงทันที โดยลงรายการทางบรรณานุกรมของหนังสือ ให้พอเพียงกับที่จะออกให้บริการได้อย่างทันทีและรวดเร็ว หลังจากที่มาจัดแสดง มีการยืม และเมื่อมีการนำกลับมาคืนแล้ว จึงนำหนังสือเหล่านั้น ไปลงรายการทางบรรณานุกรมของหนังสือตามมาตรฐานของการลงรายการอย่างละเอียดต่อไป เนื่องจากหนังสือที่ออกจากงานสัปดาห์หนังสือฯ เหล่านี้ จะเป็นหนังสือออกใหม่ เพื่อให้ทันกับการเปิดตัวในงานที่มีผู้คนจำนวนมากสนใจติดตามว่ามีหนังสือชื่อเรื่องใดบ้างที่จะออกมาในช่วงนี้ ถ้ามีการจัดซื้อมาแล้ว แต่รอกระบวนความครบถ้วนของการจัดการหนังสือตามระบบห้องสมุด หนังสือใหม่ๆ ดังกล่าว อาจจะเป็นหนังสือเก่า ที่ไม่น่าติดตามแล้วแต่อย่างใด Read the rest of this entry »
จากหนังสือพิมพ์ไทยโพสต์ ได้เสนอข้อมูลห้องสมุดสีเขียว หรือ Green Library ที่ผ่านจาก สัมภาษณ์ ดร. อารีย์ ธัญกิจจานุกิจ ผู้อำนวยการสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ผู้ให้กำเนิดห้องสมุดสีเขียวในประเทศไทย และมีความร่วมมือกับเครือข่ายห้องสมุดสีเขียว มีเกณฑ์มาตรฐานห้องสมุดสีเขียว ที่ใช้เป็นเกณฑ์ในการตรวจประเมินห้องสมุดที่ขอรับการตรวจประเมิน และมีการสัมภาษณ์ห้องสมุดที่เข้าโครงการนำร่องในการตรวจประเมิน 10 แห่ง โดย ผู้อำนวยการหอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล ผู้อำนวยการศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ และ ผู้อำนวยการศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ติดตามอ่านรายละเอียด
รายการอ้างอิง
วรธาร. มาตรฐานห้องสมุดสีเขียว ก้าวสำคัญของห้องสมุดไทย. ไทยโพสต์ ฉบับวันพฤหัสบดี ที่ 8 มิถุนายน 2560 ปีที่ 15 ฉบับที่ 5236 หน้า M1
จบลงไปอย่างสวยงามสำหรับโครงการ Be My Guest เพราะคุณคือคนพิเศษ ซึ่งแผนกบริการสารสนเทศ ศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ จัดขึ้นเมื่อวันที่ 21 – 23 มีนาคม 2560 ณ โถงชั้น 1 อาคารบรรณสาร เพื่อให้ผู้รับบริการมีความรู้ ความเข้าใจในทรัพยากรสารสนเทศ ที่ศูนย์บรรณสารสนเทศ จัดหาไว้ให้บริการ เพื่อให้ผู้รับบริการสามารถเข้าถึงองค์ความรู้ต่างๆ สามารถใช้บริการต่างๆ และก่อให้เกิดแนวความคิดในการเรียนการศึกษา ค้นคว้า ที่สอดคล้องกับการเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21 และเพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้ให้บริการและผู้รับบริการ สรุปง่ายๆ ก็เพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์งานบริการของศูนย์บรรณสารสนเทศ เพื่อเป็นการส่งเสริมการใช้ทรัพยากรสารสนเทศ นั่นเอง
กิจกรรมที่จัดขึ้นประกอบด้วย กิจกรรมบนเวที มีการเสวนาเรื่อง “อ่าน/เขียน อย่างไร …เพื่อให้เกิดแรงบันดาลใจ” โดยได้รับการสนับสนุนวิทยากรชื่อดัง จากสำนักพิมพ์สถาพร บุ๊คส์ การออกร้านจำหน่ายหนังสือจากสำนักพิมพ์ชื่อดังจำนวน 5 ร้าน บูธกิจกรรมบริการต่างๆ ของศูนย์บรรณสารสนเทศ ได้แก่ บูธบริการต่างๆของศูนย์บรรณสารสนเทศ บูธบริการสารสนเทศออนไลน์ บูธรักษ์โลก และบูธ DIY สุดชิค Read the rest of this entry »
ศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ได้จัดกิจกรรม Be My Guest เพราะคุณคือคนพิเศษ ขึ้นเมื่อวันที่ 21-23 มีนาคม 2560 เป็นเวลา 3 วัน โดยมีวัตถุประสงค์ดังนี้
คำว่า Be My Guest หมายถึง คุณ คือ แขกของเรา แต่ในความหมายของศูนย์บรรณสารสนเทศ คุณ คือ คนพิเศษของศูนย์บรรณสนเทศ ไม่ว่าจะเป็นนักศึกษา อาจารย์ และบุคลากร คือ ผู้ที่ศูนย์บรรณสารสนเทศต้องให้บริการด้วยจิตใจที่เต็มเปี่ยมด้วยบริการ พร้อมที่จะให้ข้อมูล ความรู้เพื่อส่งเสริมการใช้สารสนเทศที่ศูนย์บรรณสารสนเทศ จัดหาไว้ให้บริการ รวมทั้งเป็นการสร้างความตระหนักและกระตุ้นให้เกิดการอ่านและการใช้สารสนเทศเพื่อให้เกิดประโยชน์อย่างคุ้มค่า Read the rest of this entry »
TK Forum 2017 Better Library and Learning Space : Trends and Ideas
จากการเข้าร่วมสัมมนา ในหัวข้อเรื่อง TK Forum 2017 Better Library and Learning Space : Trends and Ideas เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 เวลา 08.30-16.30 น. ห้องกมลทิพย์บอลรูม โรงแรมสุโกศล กรุงเทพมหานคร จัดโดยอุทยานการเรียนรู้ (TK Park) นั้น ในการจัดงานครั้งนี้ อุทยานการเรียนรู้ ได้เชิญวิทยากร จำนวน 3 ท่าน ซึ่งบรรยายในหัวข้อดังต่อไปนี้
1. Les Watson บรรยายเรื่อง Better Library and Learning Space : Trends and Ideas 2. Rob Bruijnzeels บรรยายเรื่อง I have to Change to Stay the Same : Creative Learning Environment for Future Libraries 3. Jérémy Lachal บรรยายเรื่อง Ideas Box : Learning and Creativity in Any Place Read the rest of this entry »
ผู้ใช้บริการห้องสมุดที่ชอบเอาหนังสือไปเก็บไม่ถูกที่เดิม ทำให้หนังสือเล่มนั้นยากแก่การค้นหา โดยเฉพาะห้องสมุดขนาดใหญ่ที่มีหนังสือเป็นจำนวนมาก งานหาหนังสือที่หายไปหนึ่งเล่มในบรรดาหนังสือบนชั้นทั้งตึกก็ยิ่งยากเข้าไปอีก แต่งานลักษณะนี้จะไม่เป็นปัญหาต่อไปสำหรับหุ่นยนต์บรรณารักษ์ น่าสนใจทีเดียวค่ะ https://www.thairobotics.com/…/06/30/auross-librarian-robot/
sompol.(2559). มาแล้ว หุ่นยนต์บรรณารักษ์ประจำห้องสมุด. จาก https://www.thairobotics.com/2016/06/30/auross-librarian-robot/
คิดทันโลก : ท้าทายกระบวนทัศน์ว่าด้วยอนาคตห้องสมุดและการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21
หนังสือเล่มนี้กล่าวถึงการเปลี่ยนแปลงห้องสมุดในโลกยุคเทคโนโลยีดิจิทัล ซึ่งมีการนำเอาเครือข่ายอินเตอร์เน็ตเข้ามาใช้สืบค้นเทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นเหมือนคลังความรู้สำคัญและมีบทบาทในการบริหารงานพื้นที่ห้องสมุดให้สนองตอบต่อความต้องการของผู้ใช้บริการที่หลากหลาย ผู้บริหารห้องสมุดต้องมีวิสัยทัศน์ในการปรับปรุงพื้นที่ห้องสมุด รวมทั้งผู้ปฏิบัติงานต้องปรับตัวเองให้ทันกับความคิดในโลกยุคดิจิทัล เพื่อการเรียนรู้ในอนาคต หมวดหมู่ Z665 ค431 2558
วัฒนชัย วินิจจะกูล. (บรรณาธิการ). (2558). คิดทันโลก : ท้าทายกระบวนทัศน์ว่าด้วยอนาคตห้องสมุดและการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ : สำนักงานอุทยานการเรียนรู้ (องค์การมหาชน).