SIDEBAR
»
S
I
D
E
B
A
R
«
การนำประสบการณ์ผู้ใช้ หรือ User Experience (UX) มาใช้ในห้องสมุด
เม.ย. 28th, 2021 by supaporn

แอนดี้ พรีสต์เนอร์ (Andy Priestner) ที่ปรึกษาและผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบและวิจัยประสบการณ์ของผู้ใช้งาน (UX) สหราชอาณาจักร ได้บรรยายในหัวข้อ Libraries Are for Users: the Value and Application of UX Research and Design ในงาน TKForum 2021 หัวข้อเรื่อง “Library and Public Space for Learning” ในวันพฤหัสบดีที่ 8 เมษายน 2564  จัดโดย TK Park อุทยานการเรียนรู้

วิทยากร เน้นว่า ห้องสมุดมีไว้เพื่อผู้ใช้งาน แต่เดิมมักคิดที่จะสร้างหรือพัฒนาห้องสมุดจากมุมมองของผู้บริหาร ผู้ปฏิบัติงาน ละเลยการให้ความสำคัญกับความต้องการของผู้ใช้ห้องสมุด  และได้เสนอสิ่งที่ควรหยุดทำ และเริ่มทำ ได้แก่

หยุดทำ (Stop)

เริ่มทำ (Start)

1. ควรหยุดเดาว่าผู้ใช้ต้องการอะไร (speculating) 1. สื่อสารกับผู้ใช้ (Communicating with users)
2. ควรหยุดการประชุมที่ไม่จบสิ้น (holding endless meetings) 2. ลองค้นคว้าไปกับผู้ใช้ (Researching with users)
3. ควรหยุดทำสิ่งที่คิดเอาเอง สิ่งที่ห้องสมุดชอบ สิ่งที่อยากเห็นในห้องสมุด (Futher private and personal agendas) 3. ร่วมมือกับผู้ใช้ (Collaborating with users)
4. ควรหยุดออกแบบบริการโดยกันผู้ใช้งานออกไป (Devising services in isolation from users) 4. สร้างสิ่งต่างๆ ร่วมกัน (Co-creating with users) ให้ผู้ใช้เข้ามามีส่วนร่วมในการคิดค้นบริการต่างๆ ผ่านข้อมูล ผ่านไอเดีย หรือการมีปฏิสัมพันธ์กัน

เมื่อเก็บข้อมูลจากวิจัยผู้ใช้ ซึ่งมีหลากหลายวิธีแล้ว ต้องมีการจัดการต่อ โดย

1. การทำแผนที่จัดกลุ่มความคิด (Affinity Mapping) เป็นการถอดข้อมูลทุกอย่างที่ได้จากผู้ใช้งาน  แยกตามหมวดหมู่

2. การระดมไอเดีย (Idea Generation)  ระดมไอเดีย ควรมุ่งเน้นไปที่ปัญหาที่พบ ควรเป็นไอเดียที่นำไปสู่วิธีการตอบสนองที่สร้างสรรค์ ไอเดียไหนที่คุ้มค่าที่จะสำรวจต่อไปก็ขึ้นเป็นต้นแบบ

3. การสร้างต้นแบบและการทำซ้ำ (Prototype & Iterate)  สร้างต้นแบบและทดลองการใช้กับผู้ใช้ ไม่มีทางสมบูรณ์แบบได้ตั้งแต่แรก ต้องทำซ้ำ ปรับใหม่ แล้วทดลองใหม่

บทบาทของผู้สอน (Role of Educators)
เม.ย. 28th, 2021 by supaporn

จากหัวช้อ To Organize World’s Information and the Future of Education and Learning โดย  คุณจารุณี สินชัยโรจน์กุล ผู้บริหารโครงการด้านการศึกษา บริษัท กูเกิล ประเทศไทย จำกัด ที่นำเสนอในงาน TKForum 2021 หัวข้อเรื่อง “Library and Public Space for Learning” ในวันพฤหัสบดีที่ 8 เมษายน 2564 จัดโดย TK Park อุทยานการเรียนรู้

กล่าวถึงหลายโครงการของ Google ที่เกี่ยวกับการศึกษา ซึ่งตามพันธกิจของ Google คือ การจัดการข้อมูลบนโลก ให้สามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์อย่างสูงสุด และ Google ได้พัฒนาแพลตฟอร์มที่เชื่อมโยงกับการศึกษามากมาย  และจากประสบการณ์ที่เข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้อง ได้ให้แนวคิดว่า ผู้สอนต้องช่วยกันสร้างเงื่อนไข (condition) ในการเรียนรู้ ตั้งคำถามที่ต้องชวนให้ผู้เรียนคิด เป็นการกระตุ้นให้ผู้เรียนคิดตามมากขึ้น ดังนั้น ในการศึกษาควรจะประกอบด้วย 3 ส่วน ได้แก่ เงื่อนไข (Condition) เทคโนโลยี (Technology) และ กลยุทธ์ในการสอน (Pedagogy) ผู้สอนมี Content ที่จะต้องส่งต่อให้กับผู้เรียน ผู้สอนต้องรู้จักสร้างคำถาม หรือเงื่อนไข ให้ผู้เรียนคิดต่อ คิดตาม ไม่รู้สึกเบื่อ และทำให้ผู้เรียนรู้จัก explore มากขึ้น ผู้สอนมีเทคโนโลยี แต่สิ่งสำคัญ คือ กลยุทธ์ในการสอน ทั้ง 3 ส่วนนี้จะต้องไปด้วยกัน

บทบาทของผู้สอน (Role of Educators)

1. การเป็น Designer เดิมเคยทำแต่แผนการสอน แต่ปัจจุบันต้องเน้นที่ผู้เรียนมากขึ้น ผู้เรียนมีรูปแบบการเรียนรู้แบบไหน จะได้ออกแบบการสอนได้

2. การเป็น Facilitator ผู้สอนต้องทำหน้าที่เป็นผู้จัดการ คิดกระบวนการที่ทำให้ผู้เรียนมีส่วนร่วม

3. การเป็น Lifelong learner เป็นผู้เรียนรู้ตลอดชีวิต

ในแต่ละบทบาทของการเป็นผู้สอน Google มีแพลตฟอร์มที่สนับสนุนในแต่ละด้านเตรียมไว้ใช้อยู่แล้ว

แพลตฟอร์มต่างๆ ของ Google ที่สนับสนุนบทบาทของผู้สอน

ทักษะที่ต้องมี
เม.ย. 28th, 2021 by supaporn

คุณ คริสตัล ลิม-แลงจ์ (Crystal Lim-Lange) อดีตผู้อำนวยการ NUS Centre for Future-ready Graduates และผู้ก่อตั้งบริษัท Forest Wolf ประเทศสิงคโปร์ ได้นำเสนอภาพ ทักษะต่างๆ จากสภาเศรษฐกิจโลก ในการบรรยายเรื่อง Deep Human Resilience-the Skills and Mindsets We Need to Succeed in an Era of Change ขึ้นมานำเสนอในงาน TKForum 2021 หัวข้อเรื่อง “Library and Public Space for Learning” ในวันพฤหัสบดีที่ 8 เมษายน 2564 ตั้งแต่เวลา 9.00-16.30 น. จัดโดย TK Park อุทยานการเรียนรู้

ทักษะที่ต้องมีในปี 2022

 

ในคอลัมน์ขวามือเป็นทักษะที่อยู่ในช่วงขาลง หมายถึง ทักษะที่ไม่มีประโยชน์อีกต่อไป เป็นทักษะที่ได้จากการศึกษาแบบดั้งเดิม เช่น ความจำ การอ่าน การเขียน คณิตศาสตร์ ทักษะเหล่านี้ หุ่นยนต์ เอไอ หรือเครื่องจักร สามารถทำได้ดี ส่วนคอลัมน์ทางซ้ายมือเป็นทักษะที่อยู่ในช่วงขาขึ้น เป็นทักษะที่ทำให้คนแตกต่างจากหุ่นยนต์ เรียกว่า ทักษะขั้นสูง ทักษะเหล่านั้น คือ ความสามารถในการคิดเชิงลึก เชิงวิพากย์ เชิงวิเคราะห์ การสร้างนวัตกรรมเป็นทักษะการคิดขั้นสูง การมีความคิดสร้างสรรค์ ความฉลาดทางอารมณ์ ความเป็นผู้นำและการมีอิทธิพลต่อผู้อื่น หรือการแก้ปัญหาที่ซับซ้อน การสื่อสารที่ซับซ้อน Read the rest of this entry »

ขั้นตอนการตัดงบประมาณของ E-Product ในระบบ WMS
ก.พ. 8th, 2021 by ladda

จากการที่ได้ปฏิบัติงาน Acquisition module ในระบบ WorldShare Management Services (WMS) ได้ตัดงบประมาณ ในส่วนของ ตัวเล่มหนังสือ และให้บริการตัวเล่มหนังสือเป็นหลักตลอดมา แต่มาช่วงปี 2562 ได้มีซื้อหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ มากขึ้น ดังนั้น จึงขอเขียนขั้นตอนงานตัดงบประมาณของ E-Product ดังต่อไปนี้

ขั้นตอนการสร้างใบ Invoice

– คลิกที่ Acquisition module

– คลิกที่ Invoice และกดเลือกที่ New Invoice

– ใส่รายละเอียด Invoice Number, Vender, Tax Handling ตามรูป และกด Save

 

เลือก Receive and Invoice

*** ส่วนของ Processing Type ให้เลือกที่  E-Product

ส่วนของ  Action เลือก Receive and Invoice

ส่วนของ Vender ใส่ Vender

ส่วนของ Invoice Number ใส่เลขที่ใบส่งของ จากนั้นกดที่ View Items

Read the rest of this entry »

การเข้าร่วมจัดนิทรรศการเสมือนจริง หอจดหมายเหตุ : พลังแห่งความรู้
ก.พ. 4th, 2021 by namfon

ผู้เขียนได้มีโอกาสเรียบเรียงเนื้อหาแนะนำหอจดหมายเหตุหน่วยงาน และเอกสารโสตทัศนจดหมายเหตุ ประเภทภาพถ่าย ชื่อชุดพิธีเฉลิมพระเกียรติและสถาปนามหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ นับเป็นครั้งแรกที่หอจดหมายเหตุ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ได้เข้าร่วมในครั้งนี้  เนื่องจากเป็นสมาชิกเครือข่ายสมาคมจดหมายเหตุไทย  โดยการเข้าร่วมจัดแสดงนิทรรศการเสมือนจริง เรื่อง หอจดหมายเหตุ : พลังแห่งความรู้ (Archives: Empowering Knowledge Societies) เพื่อเฉลิมฉลองเนื่องในโอกาสวันจดหมายเหตุแห่งชาติสากล ตรงกับวันที่ 9 มิถุนายน  และวันแห่งการสถาปนาหอจดหมายเหตุแห่งชาติ วันที่ 18 สิงหาคม ของทุกปี

สื่อประชาสัมพันธ์ Cr. สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ

ในปี พ.ศ. 2563 หอจดหมายเหตุ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ได้มีโอกาสเข้าร่วมจัดแสดงนิทรรศการดังกล่าว ประกอบด้วยกัน 2 ส่วน ดังนี้  ส่วนแรก  รู้จักภาคีเครือข่ายจดหมายเหตุ  เป็นการแนะนำหอจดหมายเหตุ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ได้กล่าวถึงการจัดตั้งหอจดหมายเหตุและพิธีเปิดหอจดหมายเหตุ โดยอธิการบดี ศาสตราจารย์ นายแพทย์เกษม วัฒนชัย เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2543 โดยมีเนื้อหาพอสังเขป “…หอจดหมายเหตุของมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ  เป็นหน่วยงานสนับสนุนหน่วยงานหนึ่งของมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ มหาวิทยาลัยที่ตั้งขึ้นในวาระครบรอบ 80 ปี ของ “มูลนิธิฮั่วเคี้ยวป่อเต็กเซี่ยงตึ๊ง” ซึ่งเป็นองค์กรการกุศลจีนที่ใหญ่ที่สุดในสังคมไทย  เพื่อทูลเกล้าฯ ถวายเป็นพระราชกุศลและเฉลิมพระเกียรติ  น้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ และมีความหมายต่อชาวจีนที่เข้ามาอยู่ใต้ร่มพระบรมโพธิสมภารเป็นอย่างยิ่ง ด้วยประวัติการก่อตั้ง… วัตถุประสงค์ของการจัดตั้งหอจดหมายเหตุ และข้อมูลการติดต่อ…” Read the rest of this entry »

ขั้นตอนการสืบค้นสื่อโสตทัศน์ฯ ที่มาพร้อมกับหนังสือ จากระบบห้องสมุดอัตโนมัติ WorldShare Management Services-WMS
ก.พ. 3rd, 2021 by Dr.sanampol

หนังสือต่างๆ ที่ศูนย์บรรณสารสนเทศ  มีการจัดซื้อจัดหาเข้าสู่ห้องสมุดนั้น บางเล่มจะมีแผ่นซีดีรอมที่มาพร้อมกับตัวหนังสือ (CD-Text Book หรือเรียกย่อๆว่า CD-T) ด้วย

วิธีการค้นหาสื่อโสตทัศน์อย่างง่าย ๆ ว่าในแต่ละตัวเล่มของหนังสือเล่มนั้น มีแผ่นซีดี-รอมด้วยหรือเปล่า ? ซึ่งมีขั้นตอนง่าย ๆ ดังนี้ คือ

1.ผู้เข้าใช้บริการคลิ้กเข้ามาที่เว็บไซต์ของศูนย์บรรณสารสนเทศ (www.lib.hcu.ac.th)  หรือมาที่ https://hcu.on.worldcat.org/discovery 

ภาพที่ 1 เว็บไซต์ศูนย์บรรณสารสนเทศ

ภาพที่ 2  การสืบค้น WCD https://hcu.on.worldcat.org/discovery

2. ที่ช่อง Seach พิมพ์คำว่า CD-T  ในช่องค้นหาจะปรากฏหน้าจอขึ้นดังนี้

                                                                               ภาพที่ 3 ใส่คำค้นว่า CD-T
Read the rest of this entry »

ขั้นตอนการดำเนินการกรณีหนังสือหายจากการยืมระหว่างห้องสมุด (WorldShare Interlibrary Loan)
ก.พ. 3rd, 2021 by navapat

การยืมระหว่างห้องสมุด (WorldShare Interlibrary Loan) มี 2 ประเภทคือ Borrowing Request (ห้องสมุดเป็นผู้ยืม) และ Lending Request (ห้องสมุดเป็นผู้ให้ยืม)   มีระเบียบการให้ยืมเหมือนกับการยืมภายใน ตามนโยบายของห้องสมุดแต่ละแห่ง

การให้บริการยืมคืนระหว่างห้องสมุด เช่นเดียวกัน เมื่อให้บริการและมีการสูญหาย จึงมีระเบียบหรือขั้นตอนต่างๆ ตามที่ห้องสมุดกำหนด กรณีที่ให้ยืมหนังสือระหว่างประเทศ และมีการสูญหาย ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อไม่นานมานี้  ศูนย์บรรณสารสนเทศ จึงมีการติดต่อเป็นระยะๆ ในการติดตามหนังสือที่เกินกำหนด ผนวกกับการเกิดโรคระบาดโควิด-19 ทำให้เจ้าหน้าที่ไม่สามารถเดินทางออกจากบ้านได้ มีการขาดการติดต่อไประยะหนึ่ง แต่มีการติดต่อได้ในภายหลังโดยมีการแจ้งให้ทราบว่า ผู้ยืมมีการส่งคืนหนังสือหลังจากสถานการณ์โควิดผ่านไปประมาณ 3 เดือนแล้ว  แต่หนังสือสูญหายระหว่างการขนส่ง  และไม่สามารถติดตามได้เนื่องจากใบรับประกันของหายหมดอายุ   จึงขอให้มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ  คิดค่าใช้จ่ายในการดำเนินการเรื่องหนังสือหายตามระเบียบของมหาวิทยาลัยต่อไป ซึ่งขั้นตอนในการดำเนินการมีดังนี้ Read the rest of this entry »

การเพิ่มและการบันทึกรายการระเบียนบรรณานุกรม (Bib Record) ในกรณีใช้ระเบียนบรรณานุกรมร่วมกับห้องสมุดอื่น
ก.พ. 2nd, 2021 by jittiwan

ระบบห้องสมุด WorldShare Management Services (WMS) ซึ่งเป็นระบบห้องสมุดที่รวมบรรณานุกรมของสมาชิกที่มีข้อมูลรวมกันในระบบ การนำเข้าข้อมูลทางบรรณานุกรมเข้าระบบ จำเป็นต้องมีการตรวจสอบความซ้ำซ้อนของทรัพยากรสารสนเทศที่จะนำเข้าก่อนเสมอ ซึ่งจะใช้เขตข้อมูลต่อไปนี้ในการตรวจสอบ ได้แก่

  1. tag 020 ISBN
  2. tag 100 ผู้แต่ง
  3. tag 245 ชื่อเรื่อง
  4. tag 250 ครั้งที่พิพ์
  5. tag 260 ปีพิมพ์

กรณีที่เขตข้อมูลดังกล่าวตรงกับหนังสือที่กำลังนำเข้า สามารถใช้ bibliographic record ร่วมกันได้ และสามารถเพิ่ม
ข้อมูลใน bibliographic record ให้สมบูรณ์มากขึ้นได้ ดังตัวอย่าง Read the rest of this entry »

ซีรีย์จดหมายเหตุ : “แนะนำชุดเอกสารในหอจดหมายเหตุมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ”
ม.ค. 31st, 2021 by matupode

เมื่อพูดถึงหอจดหมายเหตุ หลายๆ คนอาจยังสงสัยหรือมีคำถามอยู่ว่าคืออะไร เป็นหน่วยงานที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับอะไร ผู้เขียนทำงานด้านจดหมายเหตุมามากว่า 20 ปี ก็ยังคงได้ยินคำถามนี้อยู่บ่อยๆ วันนี้เลยจะมาบอกเล่าเกี่ยวกับหอจดหมายเหตุมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติว่างานจดหมายเหตุเราทำอะไรบ้าง  และอะไรคือเอกสารจดหมายเหตุที่เราจัดเก็บ

จริงๆ แล้วหากเราจะเปรียบงานจดหมายเหตุให้เข้าใจง่ายๆ งานจดหมายเหตุจะมีลักษณะงานคล้ายๆ กับงานของห้องสมุด  จะแตกต่างกันตรงที่ว่างานจดหมายเหตุจะจัดเก็บเอกสารต้นฉบับหรือเอกสารชั้นต้น และให้บริการในลักษณะปิด  ในขณะที่ห้องสมุดจะจัดเก็บหนังสือและให้บริการแบบเปิด

หอจดหมายเหตุมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ  อาจมีลักษณะแตกต่างจากหอจดหมายเหตุอื่นๆ สืบเนื่องจากตอนก่อตั้งผู้บริหารได้วางนโยบายในการจัดเก็บเอกสารไว้ว่า นอกจากจะจัดเก็บเอกสารเกี่ยวกับมหาวิทยาลัยแล้ว จะต้องจัดเก็บเอกสาร สิ่งพิมพ์ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับกับบริบทของมหาวิทยาลัยฯ ด้วย เช่น มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง โรงพยาบาลหัวเฉียว  และเอกสารหรือสิ่งพิมพ์จังหวัดสมุทรปราการ

นับตั้งแต่มีการจัดตั้งหอจดหมายเหตุเมื่อปี พ.ศ. 2540 จวบจนปัจจุบัน หอจดหมายเหตุมหาวิทยาลัยฯ ดำเนินการมาร่วม 23 ปี ได้รวบรวมเอกสารและสิ่งพิมพ์ไว้จำนวนมาก โดยได้แบ่งกลุ่มเอกสารเป็นกลุ่มหลักๆ  ดังนี้

1. เอกสารจดหมายเหตุมหาวิทยาลัยฯ

– เอกสารจดหมายเหตุหน่วยงานสายสนับสนุน เช่น เอกสารกองกลาง กองอาคารสถานที่  สำนักทะเบียนและประมวลผล  สำนักพัฒนาวิชาการ  สำนักพัฒนานักศึกษา  และศูนย์วัฒนธรรม

– เอกสารจดหมายเหตุคณะวิชา เช่น เอกสารคณะศิลปศาสตร์  คณะสาธารณสุขศาสตร์และสิ่งแวดล้อม  คณะบริหารธุรกิจ  คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์และสวัสดิการสังคม Read the rest of this entry »

อ่านวารสาร ผ่าน QR Code
ม.ค. 28th, 2021 by อุไรรัตน์ ผาสิน

ในยุคดิจิทัล ทำให้หลายๆ วงการปรับการผลิต การให้บริการ คอนเทนต์ ห้องสมุดก็ได้รับผลของยุคดิจิทัล อย่างจัง เนื่องจากทรัพยากรสารสนเทศจากฉบับพิมพ์เป็นดิจิทัล สื่อสิ่งพิมพ์ถูกเปลี่ยนเป็นสื่อดิจิทัล การให้บริการจึงเน้นในการเข้าสารสนเทศดิจิทัลแทน

วารสารที่ให้บริการเช่นเดียวกัน วารสารจำนวนมาก ยกเลิกการผลิตฉบับพิมพ์ เป็นวารสารอิเล็กทรอนิกส์แทน ห้องสมุดเลิกการบอกรับฉบับพิมพ์ หันไปบอกรับวารสารอิเล็กทรอนิกส์ ด้วยเหตุที่ว่าเข้าถึงได้สะดวกไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน ไม่จำเป็นต้องเข้ามาในห้องสมุด โดยเฉพาะช่วงที่ห้องสมุดต้องปิดให้บริการชั่วคราว จากโรคระบาด หรืออาจจะด้วยเหตุผลใดก็ตาม แต่ผู้ใช้ก็ยังคงสามารถอ่านวารสารอิเล็กทรอนิกส์ได้  รวมทั้งวารสารทางวิชาการที่เป็น Open access  ห้องสมุดได้ปรับแนวทางการให้บริการในเข้าถึง  โดยการทำ QR Code เป็นช่องทางในการเข้าถึงวารสารอิเล็กทรอนิกส์แทน  ภาพที่เคยเห็นวารสารบนชั้นวารสารในห้องสมุด จึงจะไม่ค่อยจะได้พบเห็น

งานวารสารและสิ่งพิมพ์ต่อเนื่อง ได้จัดทำช่องทางเพื่อให้ผู้ใช้เข้าถึงวารสาร ในรูปแบบต่าง ๆ ดังนี้

1. ได้จัดทำช่องทางในการเข้าถึงวารสารให้สะดวกมากขึ้น แทนฉบับพิมพ์ที่เคยให้บริการที่ชั้นวารสาร จากรูปจะเห็นการจัดวาง QR Code รายชื่อวารสารแต่ละชื่อแทนตัวเล่ม (รูปที่ 1) โดยจะแบ่งเป็นหมวดตามสาขาวิชา/คณะ

 

รูปที่ 1 ช้้นวารสารที่แทบจะไม่มีวารสารฉบับพิมพ์ แต่มีชื่อวารสารพร้อม QR Code แทน

ตัวอย่าง วารสารด้านการพยาบาล

Home Healthcare Nurse

 

 

 

 

 

                              Journal of Emergency Nursing

                                 Journal of Family Nursing

Read the rest of this entry »

»  Substance:WordPress   »  Style:Ahren Ahimsa