SIDEBAR
»
S
I
D
E
B
A
R
«
Change the Game โลกเปลี่ยน ห้องสมุดเปลี่ยน คนก็ต้องเปลี่ยน
ม.ค. 18th, 2019 by dussa

งาน APRC หรือ Asia Pacific Regional Council Conference ประจำปี 2018 ของ OCLC จัดภายใต้หัวข้อ Change the Game ที่ประเทศไทย ณ โรงแรมเชอราตัน ระหว่างวันที่ 28 – 29 พฤศจิกายน 2561 Skip Prichard ซึ่งเป็น CEO ของ OCLC ได้พูดถึงความสำคัญของคำว่า Change the Game ภายใต้หัวข้อ How can we change the game? ในวันที่ 28 พฤศจิกายน 2561 สรุปสาระสำคัญ ได้ดังนี้

ห้องสมุดเป็นตัวขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลง    

Skip Prichard เกริ่นนำ โดยพูดถึงเรื่องรอบ ๆ ตัว ที่มีการเปลี่ยนแปลงไป เช่น แผนที่แบบกระดาษ เปลี่ยนเป็นแผนที่ดูจากคอมพิวเตอร์ จากโทรศัพท์มือถือ ตู้โทรศัพท์หยอดเหรียญที่ไม่มีใครใช้แล้ว ก็เปลี่ยนเป็น การใช้โทรศัพท์ในมือของตนเอง การเฝ้าบ้านที่เคยใช้สุนัข ก็เปลี่ยนเป็น การดูแลบ้านผ่านโทรศัพท์มือถือ จากนั้นก็กล่าวถึง เกมส์ ให้เราเข้าใจมากขึ้น จากพัฒนาการแบบง่าย ๆ เช่น ตู้เกมส์จอดำ เกมส์แบบตลับ เกมส์คอมพิวเตอร์ เปลี่ยนรูปแบบไปอย่างเห็นได้ชัดเจนมากขึ้น ดังนั้น ถึงคราวที่ห้องสมุดต้องเปลี่ยนแล้ว

จุดเปลี่ยนที่ วิทยากร กล่าวคือ สิ่งที่ห้องสมุดต้องเปลี่ยนใน 4 ด้าน ได้แก่

  • You Chang your Frame (เปลี่ยนกรอบ/เปลี่ยนสิ่งที่ต้องเห็น)
  • You Chang your Culture (เปลี่ยนวัฒนธรรมการทำงานใหม่)
  • You Chang your Mindset (เปลี่ยนแนวคิดของตัวเอง)
  • You Chang your Narrative (เปลี่ยนวิธีการเล่าเรื่องใหม่)

การเปลี่ยนของจุดเปลี่ยนทั้ง 4 ด้านต้องเริ่มจากตัวเราเอง เปลี่ยนที่ตัวเราเอง แล้วส่งต่อการเปลี่ยนแปลงให้คนอื่น อย่าสั่งให้คนอื่นเปลี่ยนโดยที่ตัวเองทำแค่สั่ง เพราะสุดท้ายมันไม่เกิดประโยชน์ ดังนั้น นอกจากเรื่องที่ต้องเปลี่ยนแล้ว ที่สำคัญสิ่งที่ต้องรักษาไว้ก็คือ

  • Keep Your Values (เก็บค่านิยม/คุณค่าของห้องสมุด)
  • Keep Your Principles (เก็บหลักการ/หลักการพื้นฐานของห้องสมุด)
  • Keep Your Purpose (เก็บวัตถุประสงค์/จุดประสงค์ของการทำงานห้องสมุด)
  • Keep Your Passion (เก็บความรัก/ความหลงไหลที่มีคุณค่าในงานห้องสมุด)

บทสรุปจากการฟังในวันดังกล่าว สื่งที่ต้องเปลี่ยน ทั้ง 4 ด้านแล้ว ที่สำคัญที่สุด ในความคิดที่ได้จากการฟัง ต้องเปลี่ยนความคิดตัวเอง (Mindset) หมายความถึงบรรณารักษ์ยุคใหม่ต้องเปลี่ยนความคิดตัวเองก่อน ก้าวตามโลกให้ทัน ต้องมีแนวคิดที่ทันสมัย ตามโลกที่เปลี่ยนแปลงไป และ อีกสิ่งที่ต้องเก็บไว้รักษาไว้ คือ ความเป็นเอกลักษณ์ของห้องสมุด เช่น เป็นแหล่งที่มีข้อมูลหลากหลายจัดเก็บอย่างเป็นระบบด้วยมืออาชีพ และต้องเก็บความหลงใหล Passion ความรักในห้องสมุดอย่างยั่งยืน

 

การปรับปรุงพัฒนางาน Acquisition Module ในระบบห้องสมุด WMS
ม.ค. 7th, 2019 by ladda

จากการที่ได้ปฏิบัติงาน Acquisition module ในระบบ WorldShare Management Services (WMS) นี้มาเป็นเวลา 1 ปี ได้เห็นถึงการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงการทำงานนี้มาโดยตลอด ดังนั้น จึงขอเขียนขั้นตอนการทำงานในโมดูลนี้ขึ้นมาอีกครั้ง ซึ่งนับว่าเป็นโมดูลแรกเริ่มของการทำงานในห้องสมุด เกี่ยวกับการจัดซื้อ จัดหา และระบบการทำบัญชี งบประมาณของห้องสมุด เนื่องจากระบบ WMS มีการพัฒนางานอย่างต่อเนื่องในขั้นตอนการทำงาน Acquisitions ซึ่งได้เคยเขียนขั้นตอนการทำงานนี้มาแล้วครั้งหนึ่ง ดังนั้นจึงขอแสดงขั้นตอนงานตัดงบประมาณ Invoice อีกครั้ง เพื่อให้เห็นงานที่มีการเปลี่ยนแปลง ความละเอียด ชัดเจน กระชับ มากยิ่งขึ้น อีกครั้งตามขั้นตอนต่อไปนี้ รายละเอียด

OA & Open Content in the user workflow
ธ.ค. 9th, 2018 by supaporn

OA & Open Content in the user workflow เป็น member session ของวันพฤหัสบดีที่ 29 พฤศจิกายน 2561 ของ APRC18 Change the Game โดยมีวิทยากร คือ Kuang-hua Chen และ Titia van der Werf ซึ่งทั้งสองท่าน มาพูดถึงงานที่ OCLC กำลังสำรวจโดยออกแบบสอบถามในเรื่องของ Open Access (OA) และ Open Content ให้แก่ห้องสมุดเข้าไปตอบแบบสอบถามได้ที่ http://oc.lc/OAAPRC18 (หมดเขต 15 มกราคม 2562) โดยวิทยากรได้ให้คำถามประมาณ 5 คำถาม เป็น Discussion guide เพื่อให้ผู้เข้าฟังทำความเข้าใจและมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น

Discussion guide

เริ่มจากคำถามแรกคือ How do you define/categories open content activities and services? ซึ่งเป็น 1 ใน 5 คำถามที่วิทยากรนำเสนอในห้อง และให้ผู้เข้าร่วมฟังนำเสนอว่าในห้องสมุดของตนเองนั้น มีการทำ OA หรือมีการให้บริการ OA ประเภทใดบ้าง ห้องสมุดแต่ละแห่งต่างก็นำเสนอ OA ที่มีในรูปแบบที่เหมือนกันบ้าง แตกต่างกันบ้าง สรุปออกมาได้ตามรูปที่วิทยากรพยายามจัดกลุ่มหรือหมวดหมู่มาให้ การทำ OA ของห้องสมุดที่มาร่วมฟัง มีทั้งที่เป็นการทำด้วยห้องสมุดเอง เช่น การทำ Digitization เอง หรือการไปดึง OA จากที่อื่นมาให้บริการ บางแห่งก็มีเนื้อหาที่แตกต่างกันออกไปบ้าง

สรุปหมวดของ OA

ประเด็นคำถามอื่นๆ น่าจะเป็นแนวทางในการนำความคิดได้ว่า การมี/การทำ Open content ต้องมีนโยบายอย่างไร มีแนวปฏิบัติอย่างไร แนวโน้มจะเป็นอย่างไร การลงทุนกับการทำ Open content และ OCOC จะมาช่วยในเรื่องพวกนี้ได้อย่างไร เป็นเรื่องที่น่าคิดกันต่อและให้เป็นระบบ

APRC18 Change the Game
ธ.ค. 9th, 2018 by supaporn

OCLC ที่เรามักจะคุ้นกับการเรียก OCLC มากกว่า จนลืมไปแล้วว่า คำเต็มๆ ของ OCLC คือ Online Computer Library Center หน่วยงานที่ไม่หวังผลกำไร มีชื่อเสียงในการวิจัยและพัฒนาทางด้านห้องสมุดมาเป็นเวลายาวนาน ซึ่งรับประกันได้ถึงความน่าเชื่อถือในด้านรายการบรรณานุกรมของทรัพยากรสารสนเทศของห้องสมุด รวมทั้งการขยายงานวิจัยออกไปในหลายๆ ด้าน

ผู้เขียนคุ้นเคยกับผลงานของ OCLC มาตั้งแต่สมัยการทำสหบรรณานุกรม หรือ Union Catalog พัฒนามาเป็น WorldCat และพัฒนาการจนเป็นการยืมระหว่างห้องสมุดที่สามารถยืมกันได้ทั่วโลก ผ่านระบบ WorldShareILL นับว่าเป็นก้าวสำคัญในวงการบรรณารักษศาสตร์และห้องสมุดเลยทีเดียว ขณะเดียวกัน OCLC ก็มีการวิจัยในหลายๆ ส่วนที่เอื้อประโยชน์ต่อการเชื่อมโยงข้อมูล (Linked data) และการนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆ

ในแต่ละปี OCLC จะมีการจัดประชุมวิชาการในแต่ละภูมิภาคเพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์งานวิจัย ความร่วมมือจากหลายๆ ส่วนที่ก่อให้เกิดการวิจัยร่วมกัน รวมทั้งการประชาสัมพันธ์กิจการและผลิตภัณฑ์ของ OCLC เองด้วย นอกเหนือจากหัวข้อเหล่านี้แล้ว OCLC จะมีการเชิญวิทยากรมาให้ความรู้ในเรื่องต่างๆ ที่เป็นประโยชน์และสอดคล้องกับหัวข้อของงานที่จัดในแต่ละปี ทำให้ผู้ที่เข้าร่วมงานได้รับประโยชน์จากข้อความรู้ต่างๆ เหล่านี้ แม้ว่าบางครั้งอาจจะยังตามไม่ทัน แต่การได้ไปฟังเรื่องใหม่ๆ ที่ยังไม่เคยรู้ ก็ถือว่าเป็นเรื่องดีๆ เพราะคำขวัญที่ OCLC ใช้เสมอก็คือ “Because what is known must be shared” ไม่ว่าจะเป็นการ share ทรัพยากรสารสนเทศตาม concept ของ OCLC เองก็ตาม แต่ขอรวมการเอาองค์ความรู้ที่ทำวิจัยมาเผยแพร่หรือการเชิญวิทยากรจากหลายๆ แห่งมาแบ่งปันความรู้และประสบการณ์ก็นับเป็นสิ่งที่ดี

สำหรับปี 2561 นี้ ในส่วนภูมิภาคเอเชีย แปซิฟิก OCLC ได้จัดการประชุมที่ประเทศไทย ณ โรงแรมเชอราตัน ระหว่างวันที่ 28-29 พฤศจิกายน 2561 ภายใต้ชื่อว่า APRC18 Change the Game มีหัวข้อในปีนี้ที่น่าสนใจหลายหลายข้อ เช่น (คงสามารถเขียนได้เฉพาะในส่วนที่ได้เข้าร่วมฟัง เพราะบางหัวข้อมีการแยกห้องตามความสนใจ)

OCLC Asia Pacific Regional Council Conference ในหัวข้อ Change the Game (APRC18 Change the Game)

How can we change the game? โดย Skip Richard สรุปเป็นภาษาไทย

Collaboration, visibility and data-driven decision making โดย Ellen Hartman

How can you and your library transform user engagement? โดย Adrianna Astle และ Kalliope Stavridaki

Evolving Scholarly Record โดย Aaron Tay และ Titia van der Werf

Transforming trend insights into innovations โดย Nathania Christy (สรุปเป็นภาษาไทย)

WMS: Game Changer for your Library โดย Supaporn Chaithammapakorn, Michael Mojica และ Chris Paroz

Reimaging your library space โดย Feiyun Huang, Dr. Amorn Petsom

Are your libraries connected to the global knowledge network? โดย Axel Kaschte

OA& Open Content in the user workflow โดย Kuang-hua Chen และ Titia van der Werf เอกสารฉบับเต็มของวิทยากร

A venue for the research library community โดย Roxanne Missingham, Titia van der Werf, Esther Woo และ Fung Ping Shan

WMS : Game Changer for Your Library
ธ.ค. 2nd, 2018 by supaporn

เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2561 ได้รับเชิญเป็นผู้พูดในงาน OCLC Asia Pacific Regional Council Conference ในหัวข้อ Change the Game (APRC18 Change the Game) ระหว่างวันที่ 28-29 พฤศจิกายน 2561 โดยในปีนี้ จัดที่ประเทศไทย ณ โรงแรมเชอราตัน กรุงเทพฯ

OCLC Asia Pacific Regional Council Conference ในหัวข้อ Change the Game (APRC18 Change the Game)

หัวข้อที่ผู้จัดงาน คือ OCLC เชิญให้เป็นผู้พูด คือ WMS : Game Changer for Your Library โดยจัดในลักษณะที่เป็น Panel ร่วมกับผู้พูดอีก 2 ท่าน ซึ่งมาจากห้องสมุดที่ใช้ระบบ WorldShare Management Services หรือ WMS คือ Christopher Paroz ซึ่งเป็น Curator of Digital Resources, SAE Institute (https://www.oclc.org/en/events/councils/2018-19/asia-pacific-regional-council-meetings-home/agenda.html) และ Michael Anthony A. Mojica ซึ่งเป็น Director of Learning Resource Center of De La Salle-College of Saint Benilde (https://www.oclc.org/en/events/councils/2018-19/asia-pacific-regional-council-meetings-home/agenda.html)

ระหว่างการขึ้น Panel

Read the rest of this entry »

ลิขสิทธิ์ในยุคดิจิทัลกับวงการศึกษา
ต.ค. 4th, 2018 by supaporn

จากการบรรยาย เรื่อง ลิขสิทธิ์ในยุคดิจิทัลกับวงการศึกษา โดย รองศาสตราจารย์ ดร. พินัย ณ นคร อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ วันศุกร์ที่ 28 กันยายน 2561 ณ ห้องประกอบ หุตะสิงห์ ชั้น 3 อาคารอเนกประสงค์ 1 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์

ลิขสิทธิ์ในยุคดิจิทัลกับวงการศึกษา โดย รองศาสตราจารย์ ดร. พินัย ณ นคร

รองศาสตราจารย์ ดร. พินัย ณ นคร ได้บรรยายให้ความรู้ตามหัวข้ออย่างชัดเจน ด้วยความเป็นอาจารย์คณะนิติศาสตร์ ทำให้มีความกระจ่างและชัดเจนในประเด็นการละเมิดลิขสิทธิ์มากขึ้น สไลด์ที่อาจารย์เตรียมมาประกอบในการบรรยายนั้น มี 111 สไลด์ ล้วนแต่เป็นข้อมูลที่มีประโยชน์แต่ต้องอ่านและค่อยๆ ทำความเข้าใจ ประกอบกับการฟังบรรยายจากอาจารย์ ทำให้การบรรยาย ประมาณ 3 ชั่วโมง จบไปอย่างรวดเร็ว และยังมีผู้ฟังอยู่ฟังค่อนข้างหนาแน่น  Read the rest of this entry »

เปิดเทอมแล้วมาโหลด APP ช่วยในการทำงานกันเถอะ
ก.ย. 12th, 2018 by ปัญญา วงศ์จันทร์

มาทำความรู้จัก App Digby ซึ่งเป็นแอปพลิเคชันสำหรับมือถือตัวช่วยในการใช้งานในห้องสมุดกันครับว่าช่วยสนับสนุนการใช้งานห้องสมุดอย่างไรบ้าง

1. เข้าถึงรายการบรรณานุกรมของหนังสือ

2. นำขึ้นชั้นหนังสือได้ตามเลขหมู่

3. ทำ Inventory ของหนังสือ

4. คืนออกจากระบบผู้ใช้บริการ

5. Capture หน้าจอของบรรณานุกรมช่วยลดในการจดทำให้ประหยัดกระดาษ

มาเรียนรู้ App Digby เพื่อเพิ่มความสะดวกในการทำงานกันนะครับ

ทำความรู้จัก App Digby

จากแอพ Digby นี้ ทาง OCLC ได้พัฒนาการใช้งานของแอพพลิเคชัน ให้มีประสิทธิ์ภาพมากขึ้นเพื่อความสะดวกในการทำงานในห้องสมุดหรือพกพาแอพพลิเคชัน Digby ไปใช้งานนอกห้องสมุดได้เพื่อเพิ่มความสะดวกในการทำงาน ผมหวังว่าทาง OCLC จะเพิ่มลูกเล่นเพิ่มขึ้น เช่น การยืม การชำระค่าปรับ หรือการจองหนังสือผ่านแอพพลิเคชันในอนาคต

บทความที่เกี่ยวข้อง

ขั้นตอนการเคลียร์รายการค่าปรับและส่งบิลค่าปรับให้สมาชิกผ่านทาง E-mail

วิธีและขั้นตอนการ Key Basic Tag ในการสร้าง Order

สถิติห้องสมุดกับงาน Circulation Events Detail Report ใน WMS

การจองทรัพยากรสารสนเทศผ่านระบบ WMS

Notification Alert

ขั้นตอนการตรวจรับและตรวจสอบหนังสือใหม่

วิธีการเปลี่ยน Status หนังสือส่งซ่อม

การพิมพ์สันหนังสือในระบบ WMS

ขั้นตอนการลงรายการสื่อโสตทัศนวัสดุ ประเภท Sound Recording

งานบริการรับแจ้งหนังสือหายในระบบ WMS

งานสร้างระเบียนสมาชิก 

No Linguistic Content และ Undetermined สำคัญอย่างไร

การสร้างข้อมูลร้านค้า (New Vendor)

ขั้นตอนการทำการสั่งซื้อหนังสือ (Orders) ในระบบห้องสมุดอัตโนมัติ WMS

วิธีเก็บสถิติการใช้งานภายในห้องสมุด กรณีที่ผู้ใช้ไม่หยิบหนังสือไปยืมออก

คู่มือการใช้บริการ WorldShare Interlibrary Loan (WorldShareILL)

วิธียืมหนังสือต่อด้วยตนเองทางออนไลน์ (WMS)

คู่มือการปฏิบัติงานการยืม-คืนทรัพยากรสารสนเทศ ของระบบ WorldShare Management Services (WMS)

การลงรายการทางบรรณานุกรมทรัพยากรสารสนเทศในโมดูล Metadata ของระบบ WorldShare Management Services (WMS)

Acquisition Module เพื่อการจัดสรรงบประมาณ ในระบบห้องสมุด WMS เพื่อการจัดสรรงบประมา

การทำ Data Migration เข้า WorldShare Management Services (WMS)

ทำไมจึงเลือก WorldShare Management Services (WMS) : WMS ตอนที่ 5 การทำสัญญา

ทำไมจึงเลือก WorldShare Management Services – WMS ตอนที่ 4 การต่อรองราคา

ทำไมจึงเลือก WorldShare Management Services – WMS ตอนที่ 3

ทำไมจึงเลือก WorldShare Management Services – WMS ตอนที่ 2

ทำไมจึงเลือก WorldShare Management Services – WMS ตอนที่ 1

 

 

งานตรวจสอบพันธะและลบระเบียนสมาชิก
พ.ค. 26th, 2018 by rungtiwa

งานที่สำคัญอีกงานหนึ่งของการยืม คืน ทรัพยากรสารสนเทศ คือ การตรวจสอบพันธะ เนื่องจากจำเป็นต้องมีการตรวจสอบสมาชิกประเภทต่างๆ ของห้องสมุดที่จะมีสถานะ พ้นสภาพ ซึ่งรวมถึง การลาออก  การจบการศึกษา ว่ามีหนังสือคงค้าง หรือค่าปรับคงค้างกับห้องสมุดหรือไม่

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กองทรัพยากรบุคคล (กรณีที่เป็นบุคลากร) กองคลัง และ สำนักทะเบียนและประมวลผล (กรณีที่เป็นนักศึกษา) จะส่งรายชื่อมายังศูนย์บรรณสารสนเทศ โดยแผนกบริการสารสนเทศ ตรวจสอบพันธะต่อไป

การตรวจสอบพันธะและลบระเบียนสมาชิกจะกระทำเมื่อ ผู้ใช้บริการไม่ได้เป็นสมาชิกของศูนย์บรรณสารสนเทศแล้ว ผู้ให้บริการจึงต้องทำการตรวจสอบพันธะและลบระเบียนสมาชิกออกจากระบบ  ดูเพิ่มเติม  งานตรวจสอบพันธะและลบระเบียนสมาชิก

บทความที่เกี่ยวข้อง

ขั้นตอนการเคลียร์รายการค่าปรับและส่งบิลค่าปรับให้สมาชิกผ่านทาง E-mail

วิธีและขั้นตอนการ Key Basic Tag ในการสร้าง Order

การจองทรัพยากรสารสนเทศผ่านระบบ WMS

เปิดเทอมแล้วมาโหลด APP ช่วยในการทำงานกันเถอะ

Notification Alert

ขั้นตอนการตรวจรับและตรวจสอบหนังสือใหม่

วิธีการเปลี่ยน Status หนังสือส่งซ่อม

การพิมพ์สันหนังสือในระบบ WMS

ขั้นตอนการลงรายการสื่อโสตทัศนวัสดุ ประเภท Sound Recording

งานบริการรับแจ้งหนังสือหายในระบบ WMS

งานสร้างระเบียนสมาชิก 

No Linguistic Content และ Undetermined สำคัญอย่างไร

รายการอ้างอิงง่ายๆ ด้วยระบบ WMS

การสร้างข้อมูลร้านค้า (New Vendor)

ขั้นตอนการทำการสั่งซื้อหนังสือ (Orders) ในระบบห้องสมุดอัตโนมัติ WMS

วิธีเก็บสถิติการใช้งานภายในห้องสมุด กรณีที่ผู้ใช้ไม่หยิบหนังสือไปยืมออก

คู่มือการใช้บริการ WorldShare Interlibrary Loan (WorldShareILL)

วิธียืมหนังสือต่อด้วยตนเองทางออนไลน์ (WMS)

คู่มือการปฏิบัติงานการยืม-คืนทรัพยากรสารสนเทศ ของระบบ WorldShare Management Services (WMS)

การลงรายการทางบรรณานุกรมทรัพยากรสารสนเทศในโมดูล Metadata ของระบบ WorldShare Management Services (WMS)

Acquisition Module เพื่อการจัดสรรงบประมาณ ในระบบห้องสมุด WMS เพื่อการจัดสรรงบประมา

การทำ Data Migration เข้า WorldShare Management Services (WMS)

ทำไมจึงเลือก WorldShare Management Services (WMS) : WMS ตอนที่ 5 การทำสัญญา

ทำไมจึงเลือก WorldShare Management Services – WMS ตอนที่ 4 การต่อรองราคา

ทำไมจึงเลือก WorldShare Management Services – WMS ตอนที่ 3

ทำไมจึงเลือก WorldShare Management Services – WMS ตอนที่ 2

ทำไมจึงเลือก WorldShare Management Services – WMS ตอนที่ 1

คู่มือการปฏิบัติงานการยืม-คืนทรัพยากรสารสนเทศ ของระบบ WorldShare Management Services (WMS)
ก.พ. 11th, 2018 by ปัญญา วงศ์จันทร์

Capture2

การจัดทำคู่มือการปฏิบัติงาน Circulation ของระบบห้องสมุด WorldShare Management Services (WMS) เพื่อใช้เป็นแนวทางสำหรับผู้ที่ปฏิบัติงานในโมดูลดังกล่าว สามารถศึกษาได้ด้วยตนเอง ได้แก่ การยืม การคืน การคืนมีค่าปรับ การยืมต่อ การคืนหนังสือในตู้ การ Notes การรับแจ้งหนังสือหาย การสร้างระเบียนสมาชิก และการทำ Offline circulation เมื่อระบบขัดข้อง กระผมหวังว่าคู่มือการปฏิบัติงานจะกระชับ ชัดเจน เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติงานนะครับ รายละเอียดของ คู่มือปฏิบัติงาน ยืม-คืน WMS  ตามไฟล์ที่แนบมานี้ครับ

บทความที่เกี่ยวข้อง

ขั้นตอนการเคลียร์รายการค่าปรับและส่งบิลค่าปรับให้สมาชิกผ่านทาง E-mail

วิธีและขั้นตอนการ Key Basic Tag ในการสร้าง Order

การจองทรัพยากรสารสนเทศผ่านระบบ WMS

เปิดเทอมแล้วมาโหลด APP ช่วยในการทำงานกันเถอะ

Notification Alert

ขั้นตอนการตรวจรับและตรวจสอบหนังสือใหม่

วิธีการเปลี่ยน Status หนังสือส่งซ่อม

การพิมพ์สันหนังสือในระบบ WMS

ขั้นตอนการลงรายการสื่อโสตทัศนวัสดุ ประเภท Sound Recording

งานบริการรับแจ้งหนังสือหายในระบบ WMS

งานสร้างระเบียนสมาชิก

No Linguistic Content และ Undetermined สำคัญอย่างไร

การสร้างข้อมูลร้านค้า (New Vendor)

งานตรวจสอบพันธะและลบระเบียนสมาชิก 

ขั้นตอนการทำการสั่งซื้อหนังสือ (Orders) ในระบบห้องสมุดอัตโนมัติ WMS

วิธีเก็บสถิติการใช้งานภายในห้องสมุด กรณีที่ผู้ใช้ไม่หยิบหนังสือไปยืมออก

คู่มือการใช้บริการ WorldShare Interlibrary Loan (WorldShareILL)

การใช้งานระบบ Offline Circulation WMS

วิธียืมหนังสือต่อด้วยตนเองทางออนไลน์ (WMS)

การลงรายการทางบรรณานุกรมทรัพยากรสารสนเทศในโมดูล Metadata ของระบบ WorldShare Management Services (WMS)

Acquisition Module เพื่อการจัดสรรงบประมาณ ในระบบห้องสมุด WMS เพื่อการจัดสรรงบประมาณ

การทำ Data Migration เข้า WorldShare Management Services (WMS)

ทำไมจึงเลือก WorldShare Management Services (WMS) : WMS ตอนที่ 5 การทำสัญญา

ทำไมจึงเลือก WorldShare Management Services – WMS ตอนที่ 4 การต่อรองราคา

ทำไมจึงเลือก WorldShare Management Services – WMS ตอนที่ 3

ทำไมจึงเลือก WorldShare Management Services – WMS ตอนที่ 2

ทำไมจึงเลือก WorldShare Management Services – WMS ตอนที่ 1

Connecting Researchers to Enhance the Value of Library Services : A Case Study of ISEAS Library (การเชื่อมโยงนักวิจัย เพื่อสร้างคุณค่าให้กับห้องสมุด)
ธ.ค. 25th, 2017 by supaporn

Connecting Researchers to Enhance the Value of Library Services : A Case Study of ISEAS Library (การเชื่อมโยงนักวิจัย เพื่อสร้างคุณค่าให้กับห้องสมุด) โดย Ms. Liang Shuang  จาก  ISEAS Library, Singapore  ในการเสวนาเรื่อง Information Services for Research in the Age of No Boundaries : บริการสารสนเทศเพื่อการวิจัยในยุคไร้พรมแดน วันศุกร์ที่ 15 ธันวาคม 2560 เวลา 8.30-16.30 น. ห้องประชุม 601 ชั้น 6 ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) จัดโดย ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)  เป็นการแบ่งปันประสบการณ์การบริหารจัดการ Collection ทางด้านรัฐศาสตร์ วัฒนธรรม เศรษฐศาสตร์ การเมืองในภูมิภาคนี้ทั้งหมด แต่ที่น่าสนใจ คือ Private Collection ที่มีนักวิจัยบริจาค เป็น collection ที่มีหลากหลายภาษามาก อังกฤษ ไทย เวียดนาม และภาษาอื่นๆ ใน Southeast Asia และยังมีภาษาย่อยๆ ลงไปอีก ซึ่งเป็นการยากในการจัดการ Collection เดิมปิด Collection แต่ต่อมาเปิดโดยเก็บค่ามัดจำ  ยืมได้ และเปิดหมด ยืมได้ ไม่มีค่ามัดจำ แต่ต้องเป็นประชากรของสิงคโปร์ และขยายการยืมเป็นจำนวน 100 เล่ม เป็นระยะเวลา 1 ปี เป็นการพยายามส่งเสริมให้มีการคนมาใช้มากขึ้น  มีการจัดการในเรื่องต่างๆ ดังนี้

  1. การจัดการเรื่องพื้นที่ โดย
    1.1 ทำแกลอรี่ ของ Collection เด่น
    1.2 ทำ Research Lounge มีสถานที่ศึกษา เฟอร์นิเจอร์นั่งสบาย มุมกาแฟ เพื่อใช้ในการปรึกษา อภิปรายงานวิจัย
    1.3 ทำพื้นที่ให้เป็นสถานที่ถ่ายทำ หรือให้สัมภาษณ์ (Media Interview)
    1.4 ทำ Borrowed space โดยการนำหนังสือไปให้ยืมในสถานที่มีการจัดงาน เช่น สัมมนา
  1. การจัดการ Collection โดยให้นักวิจัยเสนอซื้อทรัพยากรสารสนเทศ การจัดหา Private Collection โดยการจัดเก็บงานวิจัยประเภทต่างๆ หลากหลายรูปแบบของนักวิจัย
  2. การเข้าถึง โดยการปฐมนิเทศนักวิจัย/ผู้ใช้ ที่สามารถทำได้อย่างเข้มแข็ง เนื่องจากนักวิจัยไม่มากนัก สามารถทำได้แบบตัวต่อตัว ในการปฐมนิเทศ มีจุดเด่น คือ มีการทำ check list เรื่องที่นักวิจัยควรจะทราบและบรรณารักษ์มีแนวทางในการให้ความรู้อย่างครบถ้วน การจัดทำฐานข้อมูล การจัดทำ info alert ทั้งที่เป็น article alert, news alert เป็นต้น
  3. การสำรวจความพึงพอใจของผู้ใช้บริการ

จากการฟังประสบการณ์ของ Ms. Liang Shuang เห็นว่า ใน ISEAS Library มีการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับนักวิจัย ตั้งแต่การให้ความรู้ หรือการปฐมนิเทศ การใช้บริการ การให้บริการระหว่างการวิจัย และการขอผลงานนักวิจัย ในการมาจัดทำเป็น Private Collection ซึ่งได้มีการสอบถามถึง การดำเนินการ Private Collection ที่มีการดำเนินการถึงการวิเคราะห์เนื้อหาของผลงาน และเพื่อจะนำไปสู่ state of the art ของงานวิจัยในเรื่องนั้นๆ ได้ แต่ปรากฏว่า เนื่องจากมีปัญหาในเรื่องภาษาของงานวิจัย จึงทำได้แต่เพียงจัดหมวดหมู่ การจัดเอกสาร เป็นต้น ยังไม่ได้สามารถทำได้ถึงขนาดการวิเคราะห์เนื้อหาของงานวิจัย และเพื่อนำการวิเคราะห์นั้นไปใช้ประโยชน์ต่อยอดต่อไป

»  Substance:WordPress   »  Style:Ahren Ahimsa