SIDEBAR
»
S
I
D
E
B
A
R
«
การลงรายการทางบรรณานุกรมสำหรับหนังสือสมาคมจีนที่จัดตั้งในประเทศไทย
ก.ค. 4th, 2020 by buaatchara

หนังสือสมาคมจีนที่จัดตั้งในประเทศไทย คือ หนังสือรวบรวมรายนามผู้ก่อตั้งและสมาชิกของสมาคมจีน   หนังสือที่ระลึก หนังสืออนุสรณ์ รายงานประจำปีของสมาคม หนังสือตระกูลแซ่ชาวจีนโพ้นทะเล ฯลฯ เนื้อหามักประกอบด้วยรายชื่อสมาชิก  ตำแหน่ง  สำนักงาน  สถานที่ติดต่อของสมาชิก บางเล่มมีกล่าวถึงประวัติและวัตถุประสงค์ของสมาคมที่จัดตั้งขึ้นและกิจกรรมของสมาคม

ศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ มีหนังสือสมาคมจีนที่จัดตั้งในประเทศไทย อยู่จำนวนพอสมควร มีการจัดเก็บเพื่อให้บริการค้นคว้า ความเป็นมาของแต่ละสมาคม คณะกรรมการแต่ละชุด และผลงานของสมาคมแต่ละแห่ง การลงรายการทางบรรณานุกรม ของหนังสือประเภทนี้ ศูนย์บรรณสารสนเทศได้กำหนดแนวทางไว้โดยให้บริการอ่านในห้องสมุดภาษาจีนเท่านั้น มิให้ยืมออก และมีการกำหนดหมวดหมู่ขึ้นใช้เอง ถ้าต้องการใช้สามารถสืบค้นในระบบห้องสมุด หรือมาที่ห้องสมุดภาษาจีน ชั้น 5 ศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ และติดต่อขอยืมอ่านได้

การลงรายการทางบรรณานุกรมสำหรับหนังสือสมาคมจีน ศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ มีขั้นตอนดังนี้ Read the rest of this entry »

หนังสือพิมพ์จีนในประเทศไทยจากอดีตถึงปัจจุบัน
มิ.ย. 29th, 2020 by buaatchara

หนังสือพิมพ์ภาษาจีนในประเทศไทย  เริ่มมีการตีพิมพ์ครั้งแรกเมื่อปี   2450 ชื่อหนังสือพิมพ์จีนที่มีปรากฎไว้ในหอสมุดแห่งชาติ คือ華暹新報  ชื่อไทย จีโนสยามวารศัพท์   โดยมีนายเซียวฮุดเส็ง สีบุญเรืองเป็นเจ้าของ จากนั้นก็มีการผลิตหนังสือพิมพ์จีนชื่ออื่นๆ ต่อมา ดังรายชื่อต่อไปนี้

1.國民日報星期增刊  ก๊กมิ้นฉบับพิเศษ รายสัปดาห์

2.光華周刊  กงหอจิวคัง รายสัปดาห์

3.光華報  กงหอป่อ รายวัน

4.光華周刊  กงหอป่อฉบับวันอาทิตย์ รายสัปดาห์

5.光明週報  กวงหมิง รายสัปดาห์

6.光華報  กวงฮั้วเป้า รายวัน

7.光華周刊  กวงฮั้วเป้า รายสัปดาห์

8.國民日報  กัวมิน รายวัน

9.商報  ข่าวสินค้าพาณิชย์ รายวัน

10.聲  คิ่วเซ็ง รายวัน

11.聲  เคียวเซ็ง รายวัน

12.中中  จงจงวิทยาสาร

13.華暹新報  จีโนสยามวารศัพท์ รายวัน

14.正氣  จิ้นชี้ รายทศ

15.知行導報  จือสิงเต้าเป้า รายวัน (ฉบับบ่าย) Read the rest of this entry »

ปรับเปลี่ยนวิกฤตให้เป็นโอกาสในการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ : ระบบ LessPaper
มิ.ย. 25th, 2020 by pacharamon

ทั่วโลกต่างก็ประสบกับการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19  (COVID -19) ซึ่งส่งผลให้หลายๆ องค์กร ต้องหยุดทำงาน  “อยู่บ้าน หยุดเชื้อ เพื่อชาติ”

มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ เป็นอีกหน่วยงานหนึ่งที่ต้องปิดทำการชั่วคราว แต่ในขณะเดียวกันการทำงานก็ต้องเดินหน้า  ไม่หยุดชะงัก  จึงเริ่มปรับเปลี่ยนรูปแบบการนำเสนอเอกสารต่อผู้บังคับบัญชา ในขณะที่ไม่สามารถเข้ามาในมหาวิทยาลัยได้ เพื่อให้งานเดินสะดวก รวดเร็ว ไม่สะดุด และก็ไม่ต้องออกมาเผชิญกับโรคระบาด  มหาวิทยาลัยฯ  จึงพิจารณานำ LessPaper ระบบจัดการเอกสารอิเล็กทรอนิกส์แบบครบวงจร เข้ามาใช้ในสถานการณ์แพร่ระบาดที่เกิดขึ้น

ในฐานะผู้ปฏิบัติงาน ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเอกสารโดยตรง ได้ใช้วิกฤตให้เป็นโอกาส  เรียนรู้ระบบวิธีการลงทะเบียนรับหนังสือ การเสนอเรื่องเพื่อพิจารณาลงนาม การดำเนินการการส่งหนังสือออกภายใน –  ภายนอก การแจ้งเวียนเพื่อทราบ ฯลฯ แบบใหม่ รวมถึงขั้นตอนต่างๆ อีกมากมายในการเข้าทำงานด้วย LessPaper  Read the rest of this entry »

ขั้นตอนการตรวจสอบคุณภาพเอกสารไฟล์ดิจิทัลหนังสือพิมพ์จีน
มิ.ย. 25th, 2020 by Dr.sanampol

ผู้เขียนมีหน้าที่ตรวจสอบคุณภาพ  ความถูกต้องและความคมชัดของไฟล์ภาพเอกสารหนังสือพิมพ์จีน (ภาษาจีน) โดยไฟล์ดิจิทัลดังกล่าว จะมีการนำเข้าสู่ฐานข้อมูลหนังสือพิมพ์จีน ที่ศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ เพื่อเตรียมไว้ให้บริการสืบค้นและเป็นแหล่งข้อมูลอ้างอิงในงานวิจัยต่างๆ โดยมีขั้นตอน ดังนี้

1.เปิดโปรแกรม KeyIn Dialog ดังภาพ

Read the rest of this entry »

มาทำความรู้จัก National Geographic ในรูปแบบ e-Magazine
มิ.ย. 25th, 2020 by อุไรรัตน์ ผาสิน

 

 

เนชั่นแนล จีโอกราฟิก (National Geographic) เป็นนิตยสารของสมาคมเนชั่นแนล จีโอกราฟิก  ออกวางจำหน่ายเป็นรายเดือน ซึ่งมีการตีพิมพ์ครั้งแรกเป็นฉบับภาษาอังกฤษ เมื่อ 22 กันยายน พ.ศ. 2431 สำหรับเนื้อหาภายในนิตยสารนั้นจะมีเกี่ยวกับทางด้านภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ ธรรมชาติ และวิทยาศาสตร์  ปัจจุบันมีการตีพิมพ์เป็นภาษาท้องถิ่นถึง 37 ภาษาทั่วโลก รวมทั้งภาษาไทย

งานวารสารฯ ศูนย์บรรณสารสนเทศ  เห็นถึงการพัฒนาทางด้านเทคโนโลยี ซึ่งเดิมได้มีการบอกรับเป็นตัวเล่มเป็นภาษาไทยอยู่แล้ว จึงได้ปรับเปลี่ยนมาเป็นการบอกรับในรูปแบบของ e- Magazine  ซึ่งสามารถอ่านจากที่ไหน ก็ได้ โดยการอ่านผ่านหน้าจอ Smart Phone หรือ Tablet  เพื่อเพิ่มความสะดวกให้แก่ผู้ใช้บริการ สำหรับการให้บริการนั้นทางห้องสมุดได้สมัครสมาชิกไว้เรียบร้อยแล้ว และได้รับ USER การใช้งาน 1 USER สามารถอ่านเนื้อหาได้ครั้งละ 5 เครื่องพร้อมกัน Read the rest of this entry »

การตรวจสอบเลขบาร์โคดจาก Open Details
มิ.ย. 1st, 2020 by jittiwan

ในระบบห้องสมุด WorldShare Management Services (WMS) มีฟังก์ชั่นการใช้งาน คือ Open Details เพื่อให้สามารถคลิกเข้าไปดูรายละเอียดของรายการทางบรรณานุกรมของระเบียนนั้น ๆ ได้

ในกรณีที่ต้องการสืบค้นเพื่อต้องการทราบว่า หนังสือที่สืบค้นนั้น ประกอบด้วย เลขบาร์โคด ใดบ้าง สามารถตรวจสอบผ่าน Open Details ได้ ดังนี้

1. สืบค้นรายการหนังสือที่ต้องการ 

Read the rest of this entry »

บริการเชิงรุก ยุค COVID – 19 : การจองหนังสือออนไลน์
พ.ค. 14th, 2020 by rungtiwa

เนื่องด้วยสถานการณ์การระบาดของโรค COVID – 19 ทำให้ศูนย์บรรณสารสนเทศ มีความจำเป็นต้องปิดให้บริการชั่วคราว เพื่อหลีกเลี่ยงการแพร่ระบาดของโรค ทางศูนย์บรรณสารฯ มองเห็นถึงความจำเป็นที่ผู้ใช้บริการต้องใช้หนังสือประกอบการเรียนการสอน (ซึ่งในระหว่างนั้น ยังอยู่ในภาคเรียนที่ 2/2562) จึงได้มีการประชาสัมพันธ์ ให้ผู้ใช้บริการใช้บริการจองหนังสือผ่านระบบออนไลน์มากขึ้น โดยผู้ใช้บริการสามารถสืบค้นทรัพยากรสารสนเทศผ่านหน้าจอการสืบค้น WorldCat Discovery ของระบบห้องสมุด WMS  ตามขั้นตอนดังภาพด้านล่าง

ผู้ใช้บริการเพียงแจ้งในระบบว่า หนังสือเล่มใดบ้างที่ต้องการใช้ ระบุวัน เวลา ที่ต้องการรับหนังสือ ศูนย์บรรณสารสนเทศ จะดำเนินการตรวจสอบในระบบ และหยิบตัวเล่ม เพื่อส่งให้ผู้ใช้บริการต่อไป จากการประชาสัมพันธ์ผ่านช่องทาง Face book และ LINE @ ของ ศูนย์บรรณสาร พบว่าผู้ใช้บริการให้ความสนใจจองหนังสือเข้ามา เป็นจำนวนไม่น้อย

เจ้าหน้าที่ศูนย์บรรณสารสนเทศ มีวิธีการตรวจสอบการจองในระบบ ดังนี้ Read the rest of this entry »

การติดตั้ง Add-In Zotero ใน Microsoft Word
เม.ย. 25th, 2020 by pailin

Zotero เป็น software ประเภท open source สาหรับช่วยบริหารจัดการข้อมูลรายการบรรณานุกรมและรายการอ้างอิง หรือที่เรียกกันว่า Reference management และมีเครื่องมือที่ช่วยในการสร้างรูปแบบการเขียนอ้างอิงได้หลายรูปแบบ ซึ่ง Zotero สามารถทำงานร่วมกับ Microsoft Word ได้เป็นอย่างดี ทำให้ผู้ใช้งานสามารถส่งรายการบรรณานุกรมที่เก็บรวบรวมไว้ใน Zotero เข้ามาแทรกตามตำแหน่งต่างๆ ในเอกสาร word ได้สะดวก ซึ่งผู้ใช้งานจะต้องติดตั้ง Add-In ใน tool ของ Microsoft Word เพิ่มเติม โดยผู้เขียน ขอแบ่งการนำเสนอเป็น 3 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่ 1 ขั้นตอนการติดตั้งโปรแกรม Zotero  ส่วนที่ 2 การนำรายการทางบรรณานุกรมที่มีการดาวน์โหลดจากฐานข้อมูลหรือระบบที่ให้บริการจัดทำรูปแบบการอ้างอิงออกมา ส่วนที่ 3 การนำข้อมูลทางบรรณานุกรมที่นำออกจากฐานข้อมูล/ระบบห้องสมุด เข้าโปรแกรม Zotero และส่วนที่ 4 กล่าวถึงการ add-in โปรแกรม Zotero กับ Microsoft Word ต่อไป

ส่วนที่ 1 การติดตั้งโปรแกรม Zotero ในคอมพิวเตอร์

1. ดาวน์โหลดโปรแกรม Zotero จากเว็บไซต์ เนื่องจากเป็น open source จึงสามารถดาวน์โหลดได้ฟรี ที่ https://www.zotero.org/download โดยให้เลือกเวอร์ชั่นให้ตรงกับ OS ที่ใช้งานอยู่ ว่าเป็น Windows / macOS / Linux

Read the rest of this entry »

การลงรายการบรรณานุกรม Library of Things
เม.ย. 24th, 2020 by dussa

แผนกจัดหาและวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ ทำหน้าที่จัดหาและวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศทุกประเภท เช่น หนังสือ วารสาร Board Game สื่ออิเล็กทรอนิกส์ ต่าง ๆ เพื่อนำมาให้บริการผู้ใช้ห้องสมุด นอกจากสิ่งที่กล่าวมานั้น ศูนย์บรรณสารสนเทศยังให้บริการสิ่งของต่าง ๆ ที่เรียกว่า “Library of Things”

Library of Things หมายถึง สรรพสิ่งอื่น ๆ ที่นอกเหนือหนังสือ ที่ห้องสมุดมีให้ยืม โดยไม่คิดมูลค่าหรือมีค่าใช้จ่ายในการขอใช้บริการ แต่อย่างใด ซึ่งอาจจะเป็นได้ตั้งแต่ เครื่องใช้ในครัว อุปกรณ์ทำสวน และเมล็ดพันธุ์พืช อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ของเล่น เกมส์ ชุดวิทยาศาสตร์ อุปกรณ์งานฝีมือ เครื่องดนตรี และอื่นๆ อีกมากมาย เพื่อเป็นการขยายการให้บริการของห้องสมุด และเพื่อให้ห้องสมุดเป็นสถานที่ ที่ทุกคนสามารถเข้าใช้บริการ และยืมสิ่งอื่น ๆ ได้นอกเหนือจากหนังสือหรือสิ่งพิมพ์ สื่ออื่น ๆ

การลงรายการทางบรรณานุกรมของสรรพสิ่งต่าง ๆ ที่จัดอยู่ใน Library of Things เข้าระบบห้องสมุด เพื่อให้สามารถเก็บหลักฐานจำนวนของการมีสิ่งของเหล่านี้ จำนวนของการใช้บริการ บรรณารักษ์วิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ จึงต้องศึกษาลักษณะของสิ่งของต่าง ๆ เหล่านี้ เพื่อให้มีการลงรายการทางบรรณานุกรมตามหลักเกณฑ์ได้อย่างถูกต้องและเหมาะสมสำหรับสิ่งของต่าง ๆ

การลงรายการบรรณานุกรม  เข้าระบบห้องสมุด WorldShare Management Services (WMS) สำหรับผู้ปฏิบัติงาน แล้วเลือก Module Metadata

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

Read the rest of this entry »

การจัดการงบประมาณด้วยระบบ WMS ใน Module Acquisition
เม.ย. 24th, 2020 by dussa

ศูนย์บรรณสารสนเทศ เป็นศูนย์รวมทรัพยากรสารสนเทศเพื่อการค้นคว้าและเรียนรู้ด้านจีนศึกษาและวิทยาศาสตร์สุขภาพ ดังนั้น ในการจัดหาทรัพยากรสารสนเทศ จึงต้องมีการบริหารจัดการเพื่อให้สอดคล้องกับงบประมาณที่ได้รับจากมหาวิทยาลัย ศูนย์บรรณสารสนเทศ ใช้ระบบห้องสมุด WorldShare Management Services (WMS) เพื่อบริหารจัดการตั้งแต่งบประมาณ การจัดเก็บระเบียนทรัพยากร การให้บริการยืม-คืน และงานอื่น ๆ ที่สนับสนุนงานของศูนย์บรรณสารสนเทศ

งบประมาณที่ได้รับจากมหาวิทยาลัย  เริ่มตั้งแต่ตั้งแต่ 1 สิงหาคม – 31 กรกฏาคม  (เริ่มนับตามปีการศึกษา)  แผนกจัดหาและวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ สามารถดำเนินการจัดทำงบประมาณ โดยยึดหลักเกณฑ์ ดังนี้

หลักเกณฑ์การจัดทำงบประมาณ

  1. ดำเนินจัดสรรงบประมาณที่ได้รับจากมหาวิทยาลัยได้อย่างเหมาะสม
  2. จัดสรรงบประมาณให้คณะทุกคณะ และศูนย์บรรณสารสนเทศ
  3. การใช้จ่ายงบประมาณควรดำเนินการให้เป็นไปตามงบประมาณที่ได้รับการจัดสรร

การจัดสรรงบประมาณในระบบ WorldShare Management Services WMS ใน Module Acquisition  มีวิธีการดังนี้

1. เข้าระบบ WMS ในส่วนของผู้ปฏิบัติงาน เลือก Module Acquisition

หน้าจอจะปรากฎดังนี้

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

2.  คลิก Budget เพื่อเข้าไปจัดการเรื่องงบประมาณ

 

หน้าจอจะปรากฎดังนี้

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

Read the rest of this entry »

»  Substance:WordPress   »  Style:Ahren Ahimsa