SIDEBAR
»
S
I
D
E
B
A
R
«
วิธีการจัดเก็บหนังสือขึ้นชั้น
มิ.ย. 23rd, 2017 by chonticha

หนังสือ เป็นทรัพยากรสารเทศหลักที่มีอยู่ในห้องสมุด จึงต้องมีการจัดเก็บให้ตรงตามหมวดหมู่และตำแหน่งที่ถูกต้อง ตามหลักการของการจัดหมวดหมู่เนื้อหาของหนังสือ เพื่อให้สะดวกแก่การค้นหาของผู้ใช้บริการ

การที่ต้องมีการจัดเรียงหนังสือให้ถูกต้องตามหมวดหมู่นั้น เนื่องจากมีหนังสือเข้ามาในส่วนของงานบริการเพื่อให้บริการผู้ใช้อยู่เสมอและอย่างต่อเนื่อง และผู้ใช้มีการหยิบหนังสือออกจากชั้นหนังสือ เพื่ออ่านในห้องสมุด หรือยืมออกจากห้องสมุด ก็ตาม เมื่อมีการนำกลับมาคืน ต้องมีการจัดเรียงขึ้นชั้นให้ถูกต้องตามตำแหน่งดังเดิม

ผู้เขียน มีหน้าที่ในการจัดเรียงหนังสือขึ้นชั้น โดยจะรวบรวมหนังสือที่ผู้ใช้บริการอ่านเสร็จแล้ว และนำหนังสือวางไว้ที่ชั้นพักหนังสือ หรือรวบรวมหนังสือที่อยู่ตามโต๊ะต่างๆ  มาดำเนินการเพื่อเตรียมการจัดขึ้นชั้นหนังสือ โดยแยกเป็น หนังสือภาษาไทยกับหนังสือภาษาอังกฤษ และแยกประเภทของหนังสือก่อนที่จะจัดเรียงขึ้นชั้น

ประเภทของหนังสือจะแบ่งออกเป็น หนังสือทั่วไป หนังสืออ้างอิง หนังสือหายาก งานวิจัย ภาคนิพนธ์ วิทยานิพนธ์ นวนิยาย เรื่องสั้น และหนังสือมุมต่างๆ เช่น มุมพุทธทาสภิกขุ มุมคุณธรรม มุม สสส. เป็นต้น

1

วิธีการจัดเรียงหนังสือขึ้นชั้น  มีดังนี้

  1. จัดแยกประเภทของหนังสือ เช่น
  • หนังสือทั่วไปหมวด A – Z  ชั้น 3 , ชั้น 4 , ชั้น 5 (ภาษาไทย / ภาษาอังกฤษ)
  • หนังสืออ้างอิง ชั้น 3 , ชั้น 4 , ชั้น 5 (ภาษาไทย / ภาษาอังกฤษ)
  • งานวิจัย  (ภาษาไทย / ภาษาอังกฤษ)
  • วิทยานิพนธ์  (ภาษาไทย / ภาษาอังกฤษ)
  • ภาคนิพนธ์  (ภาษาไทย / ภาษาอังกฤษ)
  • นวนิยาย
  • เรื่องสั้น
  • หนังสือมุมต่างๆ เช่น มุมพุทธทาสภิกขุ  มุมคุณธรรม  มุม สสส.
  1. จัดเรียงตามลำดับตัวอักษรของเลขเรียกหนังสือ

การจัดเรียงจะทำการเรียงจากเลขน้อยไปหาเลขมาก เรียงจากซ้ายไปขวา และเรียงจากชั้นบนลงชั้นล่าง โดยดูจากเลขเรียกหนังสือที่สันหนังสือ ดังตัวอย่างและภาพประกอบ

223หรือ ถ้าหนังสือชื่อเรื่องเดียวกัน มีหลายฉบับ เรียงตามลำดับฉบับ หรือ Copy ดังตัวอย่างและภาพประกอบ

445ตัวอย่างการจัดเรียงหนังสือบนชั้น

66

 

จาก บฝ. 1 ถึง บฝ. 2
มิ.ย. 22nd, 2017 by pacharamon

งานที่ผู้เขียนได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติ คือ การดำเนินการขั้นตอนต่างๆ ของการพัฒนาบุคลากร ที่ได้รับมอบหมายในการเข้าร่วมประชุม  สัมมนา อบรมดูงานหรือฝึกอบรม ซึ่งมีขั้นตอนในการดำเนินการ ดังนี้

กรณีการเข้าร่วมประชุม / สัมมนา / ดูงานหรือฝึกอบรม ภายนอก หรือภายใน ที่มีค่าใช้จ่าย

1.รับบันทึกข้อความเชิญเข้าร่วมประชุม/สัมมนา/ดูงานหรือฝึกอบรม จากหน่วยงานภายนอก โดยลงทะบียนรับเอกสารในสมุดทะเบียนรับ

2. นำเสนอผู้บังคับบัญชา(ผู้อำนวยการ/หัวหน้าหน่วยงาน) เพื่อพิจารณาอนุมัติ ให้บุคลากรที่เหมาะสมและเกี่ยวข้องเข้าร่วม (ซึ่งแล้วแต่กิจกรรมนั้นๆ)

3. แจ้งบุคลากรที่ได้รับมอบหมายเข้าร่วมเพื่อรับทราบ พร้อมทั้ง จัดทำแบบแสดงความจำนงค์เข้าร่วมการประชุม / สัมมนา/ดูงานหรือฝึกอบรม (บฝ.1) Read the rest of this entry »

กระบวนการและขั้นตอนการตรวจสอบรายชื่อหนังสือจากฐานข้อมูลก่อนการจัดซื้อ
มิ.ย. 22nd, 2017 by ladda

ขั้นตอนการตรวจสอบรายชื่อหนังสือหรือสื่อต่างๆ จากฐานข้อมูลระบบ VTLS ก่อนดำเนินการจัดซื้อหนังสือเข้าห้องสมุด ซึ่งประโยชน์หลักๆ ในการตรวจสอบฐานข้อมูลหนังสือมีดังนี้

  1. เพื่อป้องกันการจัดซื้อหนังสือ ซ้ำ
  2. เพื่อป้องกันไม่ให้สิ้นเปลืองงบประมาณของห้องสมุด
  3. เพื่อตรวจสอบความต้องการเพิ่มเติมของจำนวนหนังสือ เนื่องจากหนังสือชื่อใดที่มีอยู่แล้วในศูนย์บรรณสารฯและอาจจะไม่เพียงพอกับความต้องการของผู้ใช้ ก็สามารถจัดซื้อเพิ่มเติมได้เนื่องจากมีผู้ใช้จำนวนมาก

ดังมีวิธีการตรวจสอบหนังสือและสื่อต่างๆ ดังนี้

  1. รับรายชื่อหนังสือที่มาจากแผนกจัดซื้อผ่านคณะสาขาวิชาต่างๆ มา
  2. ตรวจสอบฐานข้อมูลหนังสือและสื่อต่างๆ โดยสืบค้นจาก ชื่อหนังสือ และชื่อผู้แต่ง ว่ามีหนังสือชื่อหรือสื่อนี้หรือไม่ ถ้าหนังสือหรือสื่อชื่อนั้นมีหรือไม่มีอย่างไรในฐานข้อมูล
  3. แจ้งผลการดำเนินงานของหนังสือชื่อนั้นๆ ในใบแจ้งซื้อ มีหรือไม่มี ถ้ามีแล้ว มีจำนวนกี่เล่ม มีปี พ.ศ.ใด มีสถิติการยืมกี่ครั้ง
  4. เสนอส่งให้หัวหน้าแผนกจัดหาและวิเคราะห์ฯ ตัดสินใจ และดำเนินตามขั้นตอนการจัดซื้อต่อไป

ดังรูปภาพนี้

ก่อนการพิจารณาตรวจสอบฐานข้อมูล (Before)

140586

วิธีการตรวจสอบฐานข้อมูลหนังสือ

  1. ตรวจสอบจากชื่อเรื่อง เป็นการตรวจสอบฐานข้อมูล ด้วยชื่อเรื่อง เช่น ชื่อหนังสือ Introduction to health and safety in construction ทำการตรวจสอบแล้ว พบว่ามีแล้วในห้องสมุด จำนวน 1 เล่มปีที่พิมพ์ 2016 ไม่มีสถิติการยืม/คืน หลักการค้นหาด้วยชื่อเรื่องทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ ใช้หลักการเดียวกัน คือ ค้นหาตามชื่อนั้นๆ ได้เลย โดยระบบจะทำการค้นหาจากชื่อเรื่อง เริ่มจากอักษรตัวแรกและตัวถัดไปตามลำดับ
  2. ตรวจสอบจากชื่อผู้แต่ง เป็นการตรวจสอบฐานข้อมูล ด้วยชื่อบุคคล กลุ่ม นามปากกา หรือหน่วยงาน/องค์กร ที่เป็นผู้แต่งหรือเขียนหนังสือ ทรัพยากรสารสนเทศนั้นๆ เช่น ผู้แต่งชื่อ Stack, Theresa ทำการตรวจสอบแล้ว พบว่าไม่มีในห้องสมุด ก็จะเขียนว่าคำ “ไม่มี” เมื่อตรวจฐานข้อมูลเรียบร้อย จึงนำเสนอส่งให้หัวหน้าแผนกจัดหาและวิเคราะห์ฯ ดำเนินการต่อไป

ดังรูปภาพนี้

พิจารณาดำเนินการตรวจสอบแล้ว (After)

140593-2

 

หนังสือประเภทสหกิจศึกษา โครงงานพิเศษและการวิจัย
มิ.ย. 21st, 2017 by ladda

ผู้เขียนได้รับผิดชอบงานหนังสือประเภทสหกิจศึกษา โครงงานพิเศษและการวิจัย ซึ่งเป็นงานของนักศึกษาปริญญาตรี ไม่ใช่ของอาจารย์ หรือ ปริญญาโท ดังนั้น จึงขออธิบายความเป็นมาให้ทราบที่มาที่ไปของงานชิ้นนี้ ว่าทำไมถึงต้องวิเคราะห์แยกออกมาจากงานวิทยานิพนธ์และภาคนิพนธ์ของนักศึกษาปริญญาโท และความแตกต่างกับปริญญาตรีของหนังสือสหกิจ โครงงานพิเศษและการวิจัยนี้ มีเนื้อหารายละเอียดแตกต่างกันอย่างไร มีชื่อว่าอะไรบ้าง การใช้ตัวย่อของการทำหนังสือประเภทนี้ ย่อมาจากอะไร มีประโยชน์อย่างไร  และเพื่อสะดวกในการสืบค้นเข้าถึงได้ง่าย สะดวก รวดเร็ว ดังนั้นจึงของชี้แจงความหมายของงานแต่ละประเภทดังนี้

1.งานสหกิจศึกษา สหกิจศึกษา (Co-operative Education: Co-op) เป็นระบบการศึกษาที่จัดให้มีการผสมผสาน ระหว่างการเรียนของนักศึกษาในห้องเรียนเข้ากับการปฏิบัติจริงในสถานประกอบการอย่างมีหลักการ และเป็นระบบเพื่อให้ได้ประสบการณ์ตรงโดยกำหนดให้นักศึกษาออกปฏิบัติงานในสถานประกอบการในฐานะเสมือนหนึ่งเป็นพนักงานชั่วคราว เต็มเวลาเป็นระยะเวลา 1 ภาคการศึกษาซึ่งนักศึกษาจะได้มีโอกาสสร้างความเข้าใจและคุ้นเคยกับโลกแห่งความเป็นจริงของการทำงานและการเรียนรู้เพื่อให้ได้มาซึ่งทักษะของงานอาชีพและทักษะด้านการพัฒนาตนเองเป็นการศึกษาที่บูรณาการการเรียนรู้ในสถานศึกษากับการให้นักศึกษาออกไปปฏิบัติงานจริงเต็มเวลา ณ สถานประกอบการ

หลักการและเหตุผล

สหกิจศึกษา เป็นระบบการศึกษาที่เน้นการปฏิบัติงานในองค์กรผู้ใช้บัณฑิตอย่างมีระบบโดยจัดให้มีการเรียนในสถานศึกษาร่วมกับการจัดให้นักศึกษาไปปฏิบัติงานจริง ณ สถานประกอบการที่ให้ความร่วมมือเพื่อนักศึกษาจะได้มีโอกาสสร้างความเข้าใจและคุ้นเคยกับโลกแห่งความเป็นจริงของการทำงานเพื่อให้ได้มาซึ่งการเรียนรู้และการพัฒนาทักษะทางวิชาชีพที่เป็นความต้องการของสถานประกอบการอันจะส่งผลให้นักศึกษาเป็นบัณฑิตที่มีคุณภาพสูงเป็นที่ต้องการของตลาดแรงงานมากขึ้นอีกทั้งเพื่อเป็นการส่งเสริมความสัมพันธ์และความร่วมมืออันดีระหว่างสถานศึกษากับองค์กรผู้ใช้บัณฑิตทำให้สถานศึกษาสามารถพัฒนาหลักสูตรได้ตลอดเวลา และสถานประกอบการก็จะได้แรงงานนักศึกษาร่วมงานตลอดปี ดังนั้น นักศึกษาสหกิจศึกษาจึงเปรียบเสมือนผู้แทนที่เป็นความภาคภูมิใจของมหาวิทยาลัย ที่จะสะท้อนให้เห็นคุณภาพของการจัดการเรียนการสอนของมหาวิทยาลัย และเป็นการเผยแพร่เกียรติคุณของมหาวิทยาลัย สู่สาธารณชนซึ่งก่อให้เกิดประโยชน์ต่อทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง

ฉะนั้นเพื่อความสะดวก ในการวิเคราะห์และให้หมวดหมู่ของวิชาสหกิจศึกษา จึงกำหนดให้ใช้อักษรย่อ (สห) แทนการให้หมวดหมู่ และตามด้วยชื่อหลักสูตรของสาขาวิชานั้นๆ เช่น หลักสูตรนิเทศศาสตร์บัณฑิต กลุ่มวิชาชีพด้านการออกแบบนิเทศศิลป์ วิชา CA4056 ตามด้วยชื่อผู้แต่ง และปี พ.ศ.  ส่วนสถานะของหนังสือสหกิจจัดวางอยู่ชั้นหนังสือทั่วไปชั้น 4 ดังนี้ Read the rest of this entry »

รายชื่อหนังสือแยกตามหลักสูตรและสาขาวิชา
มิ.ย. 20th, 2017 by uthairath

ผู้เขียนได้รับมอบหมายให้ดูแลเรื่อง “รายชื่อหนังสือแยกตามหลักสูตรและสาขาวิชา” เพราะว่าเราเป็นมหาวิทยาลัยเอกชน “รายชื่อและจำนวนของหนังสือ” จึงมีความสำคัญมาก จุดประสงค์หลักก็คือ

  1. จัดทำข้อมูลรายชื่อและจำนวนหนังสือเพื่อขอเปิดหลักสูตรใหม่ (ตารางหมายเลข 10)
  2. จัดทำข้อมูลรายชื่อและจำนวนหนังสือเพื่อรับรองมาตรฐาน (ตารางหมายเลข 9)
  3. จัดทำข้อมูลรายชื่อและจำนวนหนังสือเพื่อประเมินคุณภาพการศึกษา (QA)
  4. จัดทำข้อมูลรายชื่อและจำนวนหนังสือเพื่อรับรองมาตรฐานตามสภาวิชาชีพของหลักสูตรนั้นๆ ที่ต้องผ่านมาตรฐานสภาวิชาชีพ

ดังนั้นทางศูนย์บรรณสารฯ จึงได้รวบรวมรายชื่อหนังสือที่แยกตามสาขาวิชาที่มีการเปิดสอน เพื่อให้สอดคล้องกับหลักสูตร ที่มหาวิทยาลัยได้ทำการเปิดสอน เพื่อให้เป็นประโยชน์ด้านการศึกษาและให้ความรู้ด้านหนังสือที่เกี่ยวข้องกับหลักสูตรหรือสาขาวิชาเหล่านั้น เมื่อกล่าวถึงหนังสือแยกตามหลักสูตรหรือสาขาวิชาที่เปิดสอน เนื้อหาในหนังสือก็ต้องสอดคล้องกับหลักสูตรและสาขาวิชานั้นๆ ดังนั้นทางศูนย์บรรณสารจึงได้จัดทำรายชื่อหนังสือต่างๆ ให้สอดคล้องกับหลักสูตรและสาขาวิชาของมหาวิทยาลัยที่ได้มีการเปิดสอนทั้งระดับปริญญาตรี ระดับปริญญาโท และระดับปริญญาเอก ดังนี้ Read the rest of this entry »

เทคนิคการสืบค้น จากรหัสรายวิชาสหกิจศึกษา
ส.ค. 5th, 2016 by piyanuch

มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ  มีการเรียนการสอนสหกิจศึกษา (Cooperative Education) เป็นระบบการศึกษาที่เน้นประสบการณ์จริงที่นักศึกษาได้ปฏิบัติงานกับหน่วยงาน/องค์กรต่างๆ เสมือนเจ้าหน้าที่หรือ พนักงานชั่วคราว  ระยะเวลาที่นักศึกษาไปฝึกปฏิบัติงาน ไม่น้อยกว่า 16 สัปดาห์ ( 1 ภาคการศึกษา) นักศึกษาสหกิจศึกษาต้องทำรายงานวิชาการในหัวข้อเนื้อหาที่นักศึกษาได้ปฏิบัติงานกับหน่วยงาน/องค์กร หรือ หัวข้อที่อาจารย์ที่ปรึกษาสหกิจศึกษาในสาขาวิชา/ภาควิชากำหนด  และมีการส่งตัวเล่มรายงานสหกิจศึกษา ให้กับทางศูนย์บรรณสารสนเทศ เพื่อให้บริการต่อไป

ศูนย์บรรณสารสนเทศ ได้ให้บริการสหกิจศึกษา โดยมีการลงข้อมูลต่างๆ เพื่อให้สืบค้นและเข้าถึงได้ ซึ่งจะได้นำเสนอวิธีการสืบค้นรายงานสหกิจศึกษา ดังนี้ Read the rest of this entry »

การหาหนังสือไม่พบในศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
พ.ค. 17th, 2016 by somsri

ศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ให้บริการทรัพยากรสารสนเทศ ซึ่งในแต่ละวันจะมีผู้ใช้บริการห้องสมุด ทั้งนักศึกษา อาจารย์ เจ้าหน้าที่และบุคคลภายนอก เข้ามาค้นหาหนังสือ และสืบค้นสารสนเทศที่ต้องการ ปัญหาหนึ่งที่ผู้ใช้บริการขอความช่วยเหลือหรือคำแนะนำ หรือสอบถามจากบรรณารักษ์และเจ้าหน้าที่ห้องสมุดประจำชั้น ได้แก่ การหาหนังสือไม่พบ เฉพาะกรณีที่สืบค้นพบรายการหนังสือหรือทรัพยากรสารสนเทศที่ตรงกับความต้องการ แต่เมื่อไปหาหนังสือที่ชั้นหนังสือแล้ว ไม่พบ
จากการที่ให้บริการหาหนังสือที่ผู้ใช้หาไม่พบ สามารถสรุปสาเหตุและจัดทำเป็นแนวปฏิบัติวิธีการให้บริการของการหาหนังสือไม่พบ ดังนี้ Read the rest of this entry »

ขั้นตอนการปฏิบัติงานวิเคราะห์หมวดหมู่สาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ
เม.ย. 29th, 2016 by jittiwan

งานที่รับผิดชอบในแผนกจัดหาและวิเคราะห์ทรัพยารสารสนเทศ คือ วิเคราะห์หมวดหมู่หนังสือสาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ ซึ่งมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ มีการเรียนการสอนทั้งในระดับปริญญาตรี และปริญญาโท  โดยมีรายละเอียดในการเรียนการสอน แต่ละหลักสูตร ดังนี้

หลักสูตรปริญญาตรี

1. คณะสาธารณสุขศาสตร์และสิ่งแวดล้อม ประกอบด้วย

  • สาขาวิชาการจัดการโรงพยาบาล
  • สาขาวิชาอนามัยสิ่งแวดล้อม
  • สาขาวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย

2. คณะพยาบาลศาสตร์ ประกอบด้วย

  • การพยาบาลพื้นฐานฯ
  • การพยาบาลผู้ใหญ่
  • การพยาบาลเด็ก
  • การพยาบาลมารดาฯ
  • การพยาบาลอนามัยฯ
  • การพยาบาลสุขภาพจิตฯ
  • การพยาบาลผู้สูงอายุ
  • กฎหมายและจรรยาบรรณ

Read the rest of this entry »

งานจัดทำข้อมูลรายชื่อและจำนวนหนังสือ ของศูนย์บรรณสารสนเทศ
มี.ค. 22nd, 2016 by uthairath

งานที่ได้รับมอบหมายอีกงานหนึ่งของผู้เขียน ซึ่งปฏิบัติงานในแผนกจัดหาและวิเคราะห์ทรัพยารสารสนเทศ คือ งานจัดทำข้อมูลรายชื่อและจำนวนหนังสือของศูนย์บรรณสารสนเทศ กล่าวคือ การจัดทำข้อมูลรวบรวมรายชื่อหนังสือทั้งหมดของศูนย์บรรณาสารสนเทศ ที่ได้จัดหาให้มีความทันสมัยและเพียงพอในทุกหลักสูตรสาขาวิชาตามเกณฑ์ของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) กำหนด เพื่อให้สอดคล้องกับการเรียนการสอนของมหาวิทยาลัย ในแต่ละหลักสูตรที่ได้มีการเปิดสอนในแต่ละปีการศึกษา และดำเนินการทุกสาขาวิชาให้เป็นปัจจุบัน เพื่อเป็นข้อมูลในการพิจารณาในเรื่องต่างๆ ดังนี้

  1. ข้อมูลรายชื่อและจำนวนหนังสือเพื่อขอเปิดหลักสูตรใหม่
  2. ข้อมูลรายชื่อและจำนวนหนังสือเพื่อรับรองมาตรฐาน
  3. ข้อมูลรายชื่อและจำนวนหนังสือเพื่อประเมินคุณภาพการศึกษา (QA)

Read the rest of this entry »

กฤตภาค (Clipping)
ก.พ. 25th, 2016 by อุไรรัตน์ ผาสิน

ความหมายของกฤตภาค   กฤตภาค คือ ข้อความต่างๆ ที่ตัดจากหนังสือพิมพ์ วารสาร และสิ่งตีพิมพ์ อื่นๆ แล้วนำมาผนึกบนกระดาษ และให้หัวเรื่อง รวมจัดเข้าแฟ้ม ห้องสมุดมักจะติดตามข่าวและตัดข้อความที่มีประโยชน์ในการศึกษา ค้นคว้า ไว้เพื่อให้บริการ หรือเป็นเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัย

การคัดเลือกเนื้อหาที่ควรคัดเก็บไว้ ควรจะเป็นเนื้อหาที่หาไม่ได้ในหนังสือทั่วไป เช่น

  • ชีวประวัติบุคคลสำคัญ
  • เรื่องราว หรือภาพเกี่ยวกับประเทศ  หรือเรื่องทางด้านธรรมชาติศึกษา และสถานที่ต่างๆ ที่หาไม่ได้ในหนังสือ
  • บทความที่มีคุณค่าทางวิชาการ
  • ทางด้านการเมือง การปกครอง
  • ภาพและข่าวเกี่ยวกับท้องถิ่น  สุขภาพอนามัย หรือกิจกรรมภายในสถานศึกษา ที่ห้องสมุดนั้นๆ สังกัดตั้งอยู่
  • บทความสารคดีเรื่องต่างๆ ซึ่งไม่อาจหาได้จากที่อื่นอีก เป็นต้น

Read the rest of this entry »

»  Substance:WordPress   »  Style:Ahren Ahimsa