ลองดูภาพนี้ ชัดเจนทีเดียวสำหรับ Open Science
Open Science Taxonomy
รายการอ้างอิง
FOSTER. Open Science Taxonomy. Retrieved from https://www.fosteropenscience.eu/foster-taxonomy/open-science
ศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ได้จัดทำพื้นที่สีเขียวขึ้น บริเวณชั้น 1 ใกล้กับเคานเตอร์ยืม-คืน หนังสือ เพื่อเป็นการสร้างบรรยากาศ และภูมิทัศน์ที่ดีในการพื้นที่ให้บริการของศูนย์บรรณสารสนเทศ รวมทั้งเป็นการสร้างสิ่งแวดล้อมที่ดีให้เกิดขึ้นในศูนย์บรรณสารสนเทศอีกด้วย นอกเหนือจากการเพิ่มพื้นที่สีเขียวแล้ว ยังได้จัดให้มีเก้าอี้เพื่อสำหรับให้ผู้ใช้บริการได้นั่งในบริเวณดังกล่าว ในระยะแรกเพื่อเป็นการสร้างบรรยากาศและการเพิ่มพื้นที่สีเขียว รวมทั้งเน้นในเรื่องการจัดการสิ่งแวดล้อมที่ดี ในระยะต่อมา ได้มีการจัดเป็นมุมบริการหนังสือพลังงานและสิ่งแวดล้อม เพื่อเป็นการเพิ่มคุณค่าให้แก่พื้นที่สีเขียวดังกล่าว
หนังสือพลังงานและสิ่งแวดล้อม ที่นำจัดให้บริการที่มุมดังกล่าว นั้น เป็นหนังสือส่วนหนึ่ง ที่มีการหมุนเวียนจากชั้นหนังสือทั่วไป มาจัดไว้ให้บริการ เพื่อเป็นการสร้างความตระหนักและเป็นการสร้างเสริมการเรียนรู้สารสนเทศ ในด้านการประหยัดพลังงานและการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมให้กับผู้ใช้บริการอีกช่องทางหนึ่ง
บริเวณพื้นที่สีเขียวและมุมบริการหนังสือพลังงานและสิ่งแวดล้อม
ห
อีกมุมนึ่งของพื้นที่สีเขียวและมุมหน้งสือพลังงานและสิ่งแวดล้อม
การสงวนรักษาทรัพยากรสารสนเทศในรูปแบบดิจิทัล (Digital Preservation) : ตัวช่วยในการอนุรักษ์ เป็นหัวข้อหนึ่งในหลักสูตรการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การสงวนรักษาทรัพยากรสารสนเทศจากตัวเล่มสู่ดิจิทัลเพื่อความยั่งยืน บรรยายโดย อาจารย์ราชบดินทร์ สุวรรณคัณฑิ นักวิชาการอาวุโส ฝ่ายสื่อวิทยาศาสตร์ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดยอาจารย์ได้นำความรู้มาบรรยาย ในประเด็นต่อไปนี้
เริ่มต้น วิทยากรให้ความหมาย คำว่า “ทรัพยากรสารสนเทศ” ใน 2 มุมมอง คือ ความหมายในแง่ขององค์กร และของบุคคล กล่าวคือ ทรัพยากรสารสนเทศ (Information Resources) ในมุมมองขององค์กร หมายถึง ข้อมูล ข่าวสาร ความรู้ ความคิด ประสบการณ์ ที่ได้มีการรวบรวม กลั่นกรอง เรียบเรียง หรือประมวลผลไว้ โดยใช้ภาษา สัญลักษณ์ รูปภาพ รหัส แล้วนำมาบันทึกด้วยวิธีการต่างๆ ลงวัสดุชนิดต่างๆ เพื่อจัดเก็บ หรือเผยแพร่ให้ผู้รับได้ทราบ เพื่อประโยชน์ในการเรียนรู้ หรือความบันเทิง ขณะที่ ทรัพยากรสารสนเทศในมุมมองของบุคคล เน้นในเรื่องของความทรงจำของบุคคลนั้น เป็นความทรงจำที่มีความหมาย มีความสำคัญ หรือถูกด้วยปัจจัยต่างๆ โดยผู้เป็นเจ้าของของความทรงจำ เช่น ภาพถ่ายที่ถูกบันทึกลงในกระดาษ ภาพถ่ายในรูปแบบฟิล์ม ม้วนเทปวิดีโอ เทปบันทึกเสียง ภาพวาด สมุดบันทึก Sketchbook ฯลฯ ดังนั้น ทรัพยากรสารสนเทศ จึงแบ่งได้เป็น Read the rest of this entry »
มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ มีการเรียนการสอนสหกิจศึกษา (Cooperative Education) เป็นระบบการศึกษาที่เน้นประสบการณ์จริงที่นักศึกษาได้ปฏิบัติงานกับหน่วยงาน/องค์กรต่างๆ เสมือนเจ้าหน้าที่หรือ พนักงานชั่วคราว ระยะเวลาที่นักศึกษาไปฝึกปฏิบัติงาน ไม่น้อยกว่า 16 สัปดาห์ ( 1 ภาคการศึกษา) นักศึกษาสหกิจศึกษาต้องทำรายงานวิชาการในหัวข้อเนื้อหาที่นักศึกษาได้ปฏิบัติงานกับหน่วยงาน/องค์กร หรือ หัวข้อที่อาจารย์ที่ปรึกษาสหกิจศึกษาในสาขาวิชา/ภาควิชากำหนด และมีการส่งตัวเล่มรายงานสหกิจศึกษา ให้กับทางศูนย์บรรณสารสนเทศ เพื่อให้บริการต่อไป
ศูนย์บรรณสารสนเทศ ได้ให้บริการสหกิจศึกษา โดยมีการลงข้อมูลต่างๆ เพื่อให้สืบค้นและเข้าถึงได้ ซึ่งจะได้นำเสนอวิธีการสืบค้นรายงานสหกิจศึกษา ดังนี้ Read the rest of this entry »
ห้องสมุดที่เคยเป็นและห้องสมุดในอนาคต
เป็นบทความรวบรวม ความคิดเห็นของบรรณารักษ์ สถาปนิก และนักวิชาการจากหลายสาขา ซึ่งมารวมตัวกันที่สถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ (Massachusetts Institute of Technology, MIT) เพื่อให้ความเห็น และชี้ให้เห็นอนาคตของห้องสมุด
นอกเหนือจากการเป็นคลังหนังสือแล้ว ห้องสมุดเก่าแก่แห่งเมืองอเล็กซานเดรีย ยังเป็นแหล่งค้นคว้าทางวิชาการให้กับบรรดานักวิชาการ คำว่า “Mouseion” เป็นคำที่มีรากศัพท์มาจากภาษากรีก แปลว่า สถานที่ทำงานของเทพเจ้า Muses (เทพ Muses เป็นเทพแห่งวรรณกรรม และศิลปะ เป็นธิดาของเทพ Zeus ในตำนานกรีก : ผู้แปล) ด้วยเหตุนี้ในห้องสมุดในสมัยแรกเริ่ม จึงประกอบไปด้วย ห้องสอนหนังสือ (Exedra) โรงรับประทานอาหาร (Oinks) และ ทางเดินแบบมีหลังคา (Peripatos) เมื่อสรุปรวมกันจึงแปลได้ว่า เป็นสถานที่นักวิชาการใช้สำหรับค้นคว้า และสนทนาทางวิชาการ นักวิชาการ สามารถเดินถือตำราไปไหนมาไหนหรือรับประทานอาหาร ภายใต้ร่มเงานั้นได้ แม้ว่า ปัจจุบันเราอยู่ในยุคดิจิทัลแล้วก็ตาม แต่ความหมายโดยรวมของมันยังคงไม่เปลี่ยนแปลงไปมากนัก
นับเป็นเวลา 1,000 ปีมาแล้ว ที่ห้องสมุด ได้มีการเปลี่ยนแปลงทางด้านกายภาพ และภาวะของสังคม ซึ่งแน่นอนว่า ข้อมูล และสภาวะทางสังคม ย่อมมีการเปลี่ยนแปลง ไม่คงที่ เช่น การเปลี่ยนจากโต๊ะดินเหนียว ไปเป็นตู้แบบที่มีล้อเลื่อน และกลายเป็นการสืบค้นแบบเข้ารหัส และเข้าสู่ยุคดิจิทัลในยุคปัจจุบัน ห้องสมุดจึงมีการปรับเปลี่ยน การอ่านออกเขียนได้ กลายเป็นมาตรฐาน เช่นเดียวกับ เหล่านักวิชาการ มีการรวมตัวกันมากขึ้น นิสัยการอ่านก็เปลี่ยนแปลง มีวิธีการที่จะเข้าถึงข้อมูล หลายหมื่นข้อความ ด้วยเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ ห้องสมุดมีการพัฒนา มันได้เปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีทางด้านข้อมูล และพฤติกรรมทางสังคม รวมทั้งนิสัยการอ่าน การเรียน ล้วนแต่มีผลต่อรากฐานของห้องสมุด Read the rest of this entry »
วันที่ 21 เมษายน 2559 เวลา 9.00-12.00 น. แผนกบริการสารสนเทศ ได้จัดกิจกรรม Knowledge sharing สำหรับบุคลากรแผนกกิจกรรม เพื่อรับฟังประสบการณ์ และแนวทางที่ควรจะเป็นสำหรับการให้บริการ โดย นางสาวสุภาพร ชัยธัมมะปกรณ์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการ ศูนย์บรรณสารสนเทศ ทำหน้าที่เป็น Facilitator จากหัวข้อ รู้จัก เข้าใจ วางแผน และประเมินผล
แบ่งกลุ่มแต่ละ Generation
ในช่วงแรก ได้ให้ความรู้เกี่ยวกับคนในแต่ละ Generation เนื่องจากในแต่ละ Generation นั้น อยู่ในช่วงอายุใด มีความสนใจ มีความต้องการอะไร เพื่อจะได้เทียบเคียงกับผู้ใช้บริการที่มีหลากหลาย แต่กลุ่มผู้ใช้กลุ่มใหญ่ คือ นักศึกษา ซึ่งเป็น Gen Y และผู้ใช้บริการที่เป็นกลุ่มอาจารย์ที่อาจจะอยู่ใน Gen อื่น ๆ จึงควรจะต้องมีความเข้าใจกลุ่มคนในแต่ละ Gen เพื่อให้สามารถจัดการ วางแผนการให้บริการให้ตรงหรือเหมาะสมกับผู้ใช้ในแต่ละ Gen ได้ ได้มีการจัดกลุ่มของบุคลากรแผนกบริการสารสนเทศ และผู้ที่ต้องหมุนมาปฏิบัติหน้าที่ในส่วนงานบริการ ในบางช่วงเวลา เพื่อให้ทราบว่า อยู่ใน generation ใด เพื่อเทียบเคียงกับกลุ่มผู้ใช้บริการ
เสนอบริการใหม่
ในช่วงที่สอง ได้เริ่มให้เข้าใจงานบริการมากขึ้น การออกแบบการให้บริการ ประกอบด้วย content และสื่อต่างๆ ในการเข้าถึง มีการให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมเสนอ บริการใหม่ ๆ และนำมาแลกเปลี่ยนกันถึง สาเหตุของการเสนอบริการนั้น ๆ และควรจะจัดบริการนั้น ออกมาในรูปแบบใด ซึ่งมีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันอย่างกว้างขวาง เพื่อจะได้ให้บุคลากรเรียนรู้ในการวางแผนการจัดบริการ และขั้นตอนสุดท้าย ต้องมีการประเมินผลการให้บริการ เพื่อตัดสินใจว่า งานบริการนั้น ควรให้บริการต่อหรือไม่ หรือ ต้องให้เวลาในการให้บริการต่อไปอีกระยะเวลาหนึ่ง
จากกิจกรรม Knowledge Sharing ดังกล่าว คาดว่าจะทำให้บุคลากรในแผนกบริการสารสนเทศ และบุคลากรท่านอื่น ๆ ที่ต้องมาปฏิบัติหน้าที่ในส่วนงานบริการ เกิดมุมมองในการให้บริการมากขึ้น และรู้จักกลุ่มเป้าหมายมากขึ้น มีการวางแผน มีการประเมินผล เพื่อพัฒนาการให้บริการต่อไป
งานที่รับผิดชอบในแผนกจัดหาและวิเคราะห์ทรัพยารสารสนเทศ คือ วิเคราะห์หมวดหมู่หนังสือสาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ ซึ่งมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ มีการเรียนการสอนทั้งในระดับปริญญาตรี และปริญญาโท โดยมีรายละเอียดในการเรียนการสอน แต่ละหลักสูตร ดังนี้
หลักสูตรปริญญาตรี
1. คณะสาธารณสุขศาสตร์และสิ่งแวดล้อม ประกอบด้วย
2. คณะพยาบาลศาสตร์ ประกอบด้วย
Read the rest of this entry »
What Causes the Smell of New & Old Books?
เมื่อวัันก่อนอ่าน FB ของสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ แนะนำบทความเรื่อง What Causes the Smell of New & Old Books? แล้วรู้สึกว่าน่าสนใจเลยขอเก็บความมาเล่าดังนี้
เคยรู้สึกหรือไม่ เวลาที่เข้าไปหอสมุดที่ค่อนข้างเก่าแก่โบราณ หรือเข้าไปตามร้านขายหนังสือมือสอง มักจะได้กลิ่นของหนังสือเก่า ที่มีกลิ่นสาบๆ เหมือนเต็มไปด้วยสารพิษ หรือในเวลาที่ซื้อหนังสือเล่มใหม่มาอ่าน ขณะที่พลิกหน้ากระดาษแต่ละหน้า มักจะมีกลิ่นฉุนๆ ของสารเคมีอะไรสักอย่างโชยขึ้นมา เตะจมูก ซึ่งไม่แน่ใจว่ากลิ่นนั้นโชยมาจากเนื้อกระดาษ หรือกลิ่นน้ำหมึกที่ใช้พิมพ์กันแน่ แล้วกลิ่นเหล่านี้ ใช้เวลานานแค่ไหน กว่ามันจะจาง หรือหมดไป ช่างเป็นคำถามที่ตอบยากทีเดียว ทำไมนะหรือ?
ประเด็นที่หนึ่ง ดูเหมือนว่าจะขาดแคลนผลการตรวจสอบทางวิทยาศาสตร์ ที่มุ่งค้นคว้าถึงสาเหตุนี้โดยตรง
ประเด็นที่สอง น้ำยาเคมีที่ถูกผสมลงไปในเนื้อกระดาษที่แต่ละโรงงานหรือแต่ละโรงพิมพ์ ล้วนแต่ใช้แตกต่างชนิดกัน ซึ่งหากต้องการหาสารประกอบทางเคมีจากหนังสือ คงต้องทำการทดลองหาสารประกอบเหล่านั้น ชนิดเล่มต่อเล่มทีเดียว Read the rest of this entry »
งานที่ได้รับมอบหมายอีกงานหนึ่งของผู้เขียน ซึ่งปฏิบัติงานในแผนกจัดหาและวิเคราะห์ทรัพยารสารสนเทศ คือ งานจัดทำข้อมูลรายชื่อและจำนวนหนังสือของศูนย์บรรณสารสนเทศ กล่าวคือ การจัดทำข้อมูลรวบรวมรายชื่อหนังสือทั้งหมดของศูนย์บรรณาสารสนเทศ ที่ได้จัดหาให้มีความทันสมัยและเพียงพอในทุกหลักสูตรสาขาวิชาตามเกณฑ์ของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) กำหนด เพื่อให้สอดคล้องกับการเรียนการสอนของมหาวิทยาลัย ในแต่ละหลักสูตรที่ได้มีการเปิดสอนในแต่ละปีการศึกษา และดำเนินการทุกสาขาวิชาให้เป็นปัจจุบัน เพื่อเป็นข้อมูลในการพิจารณาในเรื่องต่างๆ ดังนี้
จากการที่บุคลากรของศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ได้เข้าร่วมฟังการสัมมนาทางวิชาการ ในโครงการสัมมนาทางวิชาการ : เทิดพระเกียรติ 60 พรรษา สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เรื่อง “การบริหารทรัพยากรสารสนเทศเชิงสร้างสรรค์ : การจัดการสมดุลระหว่างเอกสารทรงคุณค่ากับเทคโนโลยีสมัยใหม่” ซึ่งจัดโดย สำนักหอสมุดกลาง และคณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร ร่วมกับกระทรวงวัฒนธรรม วันเสาร์ที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2558 ณ โรงแรมรอยัลซิตี้ กรุงเทพมหานคร นั้น สามารถสรุปประเด็นความรู้ได้ดังนี้
เริ่มด้วยการกล่าวรายงาน โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ชัยชาญ ถาวรเวช (อธิการบดีมหาวิทยาลัยศิลปากร ) และพิธีเปิดโดยผู้แทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม กิจกรรมในภาคเช้า เวลา 09.00-12.00 น. บรรยายโดย ศาสตราจารย์ ดร.นิยะดา เหล่าสุนทร และรองศาสตราจารย์ยืน ภู่วรวรรณ
ศาสตราจารย์ ดร.นิยะดา เหล่าสุนทร บรรยายหัวข้อ “เอกสารทรงคุณค่า คลังแห่งปัญญาไทย” Read the rest of this entry »