ฐานข้อมูลที่มีการใช้ภาษาของเอกสารมาเป็นกรองในการสืบค้น เช่น ฐานข้อมูลของทรัพยากรสารสนเทศของห้องสมุดนั้น การที่จะดึงหรือกรองการสืบค้นด้วยภาษานั้น ในแต่ละระเบียนจึงต้องกำหนดรหัสภาษาไว้ในเขตข้อมูลที่ใช้ในการดึงรหัสภาษามาเป็นดรรชนีในการค้น ดังนั้น การไม่ใส่รหัสภาษา จะส่งผลให้การค้นของระบบห้องสมุดที่สามารถกรองการค้นด้วยภาษาของทรัพยากรสารสนเทศนั้น ไม่สามารถประมวลได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ในระบบห้องสมุด WorldShare Management Services หรือ WMS มีการดึงรหัสภาษามาเป็นตัวกรองการสืบค้น แต่ผู้ใช้บริการ จะไม่ทราบแต่อย่างใดว่า มีข้อมูลรายการใดบ้างที่ไม่สามารถดึงออกมาได้ แต่ในส่วนการทำงาน (Staff) จะเห็นว่ามีรายการใดบ้าง ที่ขึ้นคำว่า No Linguistic content และ Undetermined Read the rest of this entry »
ในการทำรายงาน การเขียนรายงาน การทำวิทยานิพนธ์ การทำวิจัย หรือการเขียนทางวิชาการ ซึ่งจำเป็นต้องมีการอ้างอิงทรัพยากรสารสนเทศต่างๆ ผู้ใช้บริการมีตัวช่วยที่ทำให้การเขียนรายการอ้างอิง ได้ง่ายขึ้น โดยการสืบค้นจากระบบห้องสมุด WorldShare Management Services (WMS) ซึ่งมีฟังก์ชั่นที่ช่วยในการเขียนรายการอ้างอิงที่สะดวก และทำให้ผู้ใช้บริการจัดทำรายการอ้างอิงได้อย่างง่ายๆ โดย Read the rest of this entry »
การลงรายการหนังสือ มสธ. (เอกสารประกอบการสอนของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช) เป็นทรัพยากรสารสนเทศประเภทหนึ่งที่ศูนย์บรรณสารสนเทศจัดซื้อเข้าห้องสมุดเพื่อให้บริการผู้ใช้ ดังนั้นในการลงรายการบรรณานุกรมทรัพยากรสารสนเทศดังกล่าวอาจเป็นปัญหาอยู่บ้าง ดังนั้น เพื่อให้การทำงานเป็นไปในแนวทางเดียวกันจึงต้องมีการลงรายการที่เป็นแบบแผนเดียวกัน ซึ่งแผนกจัดหาและวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ มีการหารือประเด็นการทำงานเมื่อวันที่ 25 มกราคม 2561 และสรุปประเด็นในการทำงานไว้ ดังนี้
หลักเกณฑ์ในการพิจารณาการลงรายการเอกสารการสอน ของ มสธ. ดังรายละเอียดต่อไปนี้
Read the rest of this entry »
ห้องสมุดจะมีกระบวนการในการจัดหาทรัพยากรสารสนเทศ เข้ามาในห้องสมุด ดังนั้น กว่าจะที่ทรัพยากรสารสนเทศ แต่ละรายการจะเสร็จออกให้สืบค้นได้นั้น จะใช้เวลาพอสมควร ศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ มีบริการที่เรียกว่า “หนังสือเร่งด่วน” เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้บริการที่ต้องการใช้หนังสือก่อนเสร็จสิ้นตามกระบวนการของห้องสมุด
“ หนังสือเร่งด่วน “ หมายถึง หนังสือที่อยู่ในระหว่างการดำเนินการจัดซื้อตามขั้นตอนกระบวนการจัดซื้อของศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ หนังสือเหล่านั้นจะยังไม่ปรากฏรายชื่อในระบบฐานข้อมูลของห้องสมุด และอาจารย์มีความประสงค์จะใช้บริการหนังสือเล่มนั้นในเรื่องการเรียนการสอนอย่างเร่งด่วน
แผนกจัดหาและวิเคราะห์ฯ จึงได้ตอบสนองการให้บริการแก่อาจารย์ผู้สอนที่มีความประสงค์จะใช้บริการทรัพยากรเหล่านั้น โดยการบริการวิเคราะห์ หนังสือเร่งด่วน ให้แก่อาจารย์ โดยกำหนดหลักเกณฑ์ไว้ ดังนี้
ขั้นตอนการขอใช้ “หนังสือเร่งด่วน”
หมายเหตุ : ผู้ใช้จะต้องมารับหนังสือตามวัน เวลา ที่กำหนด ถ้าเกินกำหนดวันนัดรับหนังสือ เป็นเวลา 15 วัน บรรณารักษ์จะนำหนังสือขึ้นชั้นบริการตามปกติ
ตัวอย่าง : หนังสือเร่งด่วน
คัดเลือกหนังสือพร้อมแนบแบบฟอร์ม “หนังสือเร่งด่วน”
หนังสือที่ดำเนินการเรียบร้อยแล้ว พร้อมส่งให้ผู้ใช้บริการ
ห้องสมุด จะมีข้อมูลในส่วนของร้านค้า หรือ Vendors ที่ห้องสมุดมีการติดต่อในการจัดซื้อทรัพยากรสารสนเทศ ดังนั้น จึงต้องมีการสร้างข้อมูลของร้านค้าไว้ในระบบเพื่อใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆ
วัตถุประสงค์
สร้างข้อมูลหลักของร้านค้าเพื่อใช้เป็นฐานข้อมูลของระบบจ่ายเงิน ในห้องสมุด ระบบ WorldShare Management Services (WMS) ในส่วนของ Vendors ภายใต้การใช้งานของ Acquisition module
องค์ประกอบข้อมูลหลักของร้านค้า
ข้อมูลหลักร้านค้าประกอบด้วย 4 ส่วน ได้แก่ Read the rest of this entry »
งานที่สำคัญอีกงานหนึ่งของการยืม คืน ทรัพยากรสารสนเทศ คือ การตรวจสอบพันธะ เนื่องจากจำเป็นต้องมีการตรวจสอบสมาชิกประเภทต่างๆ ของห้องสมุดที่จะมีสถานะ พ้นสภาพ ซึ่งรวมถึง การลาออก การจบการศึกษา ว่ามีหนังสือคงค้าง หรือค่าปรับคงค้างกับห้องสมุดหรือไม่
หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กองทรัพยากรบุคคล (กรณีที่เป็นบุคลากร) กองคลัง และ สำนักทะเบียนและประมวลผล (กรณีที่เป็นนักศึกษา) จะส่งรายชื่อมายังศูนย์บรรณสารสนเทศ โดยแผนกบริการสารสนเทศ ตรวจสอบพันธะต่อไป
การตรวจสอบพันธะและลบระเบียนสมาชิกจะกระทำเมื่อ ผู้ใช้บริการไม่ได้เป็นสมาชิกของศูนย์บรรณสารสนเทศแล้ว ผู้ให้บริการจึงต้องทำการตรวจสอบพันธะและลบระเบียนสมาชิกออกจากระบบ ดูเพิ่มเติม งานตรวจสอบพันธะและลบระเบียนสมาชิก
บทความที่เกี่ยวข้อง
ขั้นตอนการเคลียร์รายการค่าปรับและส่งบิลค่าปรับให้สมาชิกผ่านทาง E-mail วิธีและขั้นตอนการ Key Basic Tag ในการสร้าง Order
การจองทรัพยากรสารสนเทศผ่านระบบ WMS
เปิดเทอมแล้วมาโหลด APP ช่วยในการทำงานกันเถอะ
Notification Alert
ขั้นตอนการตรวจรับและตรวจสอบหนังสือใหม่
วิธีการเปลี่ยน Status หนังสือส่งซ่อม
การพิมพ์สันหนังสือในระบบ WMS
ขั้นตอนการลงรายการสื่อโสตทัศนวัสดุ ประเภท Sound Recording
งานบริการรับแจ้งหนังสือหายในระบบ WMS
งานสร้างระเบียนสมาชิก
No Linguistic Content และ Undetermined สำคัญอย่างไร
รายการอ้างอิงง่ายๆ ด้วยระบบ WMS
การสร้างข้อมูลร้านค้า (New Vendor)
ขั้นตอนการทำการสั่งซื้อหนังสือ (Orders) ในระบบห้องสมุดอัตโนมัติ WMS
วิธีเก็บสถิติการใช้งานภายในห้องสมุด กรณีที่ผู้ใช้ไม่หยิบหนังสือไปยืมออก
คู่มือการใช้บริการ WorldShare Interlibrary Loan (WorldShareILL)
วิธียืมหนังสือต่อด้วยตนเองทางออนไลน์ (WMS)
คู่มือการปฏิบัติงานการยืม-คืนทรัพยากรสารสนเทศ ของระบบ WorldShare Management Services (WMS)
การลงรายการทางบรรณานุกรมทรัพยากรสารสนเทศในโมดูล Metadata ของระบบ WorldShare Management Services (WMS)
Acquisition Module เพื่อการจัดสรรงบประมาณ ในระบบห้องสมุด WMS เพื่อการจัดสรรงบประมาณ
การทำ Data Migration เข้า WorldShare Management Services (WMS)
ทำไมจึงเลือก WorldShare Management Services (WMS) : WMS ตอนที่ 5 การทำสัญญา
ทำไมจึงเลือก WorldShare Management Services – WMS ตอนที่ 4 การต่อรองราคา
ทำไมจึงเลือก WorldShare Management Services – WMS ตอนที่ 3
ทำไมจึงเลือก WorldShare Management Services – WMS ตอนที่ 2
ทำไมจึงเลือก WorldShare Management Services – WMS ตอนที่ 1
เคยตั้งคำถาม? หรือไม่ว่าทำไมห้องสมุดถึงยังต้องมีการจัดหาตัวเล่มของวารสารมาไว้ให้บริการแก่ผู้ใช้บริการ ทั้งๆ ที่ปัจจุบันไม่ว่าจะเป็นวารสาร หรือหนังสือพิมพ์ ส่วนใหญ่มีการปรับเปลี่ยนให้ทันยุคทันสมัย ทั้งในรูปแบบของวารสารที่เป็นอิเลคทรอนิคส์ มี QR Code อยู่ตามหน้าปกตัวเล่ม เพิ่มความสะดวกให้กับผู้ใช้ในการค้นคว้า ในยุคของโลกโซเชี่ยล หรือแม้แต่การอ่านข่าวสารจากหนังสือพิมพ์ ก็จะมี application ของหนังสือพิมพ์ต่างๆ ให้ download เพื่อติดตามข่าวสารทางหน้าจอโทรศัพท์ รวมทั้งสะดวกรวดเร็วในการค้นคว้าหาข้อมูล
แต่กระนั้นแม้จะมีความสะดวก ทันสมัยมากเท่าไร ความต้องการแบบเดิมๆ ก็ยังมีผลต่อการค้นคว้า การอ่านบทความ รวมทั้งภาพถ่ายที่หลากหลาย และการอ่านจากตัวเล่มก็ยังได้อรรถรส มากกว่าการอ่านจากหน้าจอคอมพิวเตอร์ หรือหน้าจอโทรศัพท์ที่ตัวหนังสือมีขนาดเล็ก ทำให้ต้องใช้สายตาในการอ่านมากกว่าปกติ
ดังนั้น ทางศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ จึงยังมีพิจารณาการบอกรับวารสารที่เป็นตัวเล่มอยู่ โดยจะมีการพิจารณาการบอกรับวารสารอิเล็กทรอนิกส์ก่อน หรือจัดทำ QR code เพื่อให้ผู้ใช้บริการสแกนในการเข้าถึงวารสารฉบับอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อเป็นการเข้าถึงได้มากกว่าตัวเล่ม สะดวกในการใช้ตามอุปกรณ์ที่เกิดขึ้น และลดงบประมาณในการรวมวารสารเพื่อการเย็บเล่ม โดยมีกระบวนการสั่งซื้อวารสาร ดังนี้ Read the rest of this entry »
มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ มียุทธศาสตร์ในการเป็นผู้นำด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพและจีนศึกษา ศูนย์บรรณสารสนเศ ซึ่งเป็นหอสมุดกลางของมหาวิทยาลัย จึงมีหน้าที่ในการจัดหาทรัพยากรสารสนเทศ เพื่อสนับสนุนและสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัย โดยมีการให้บริการหนังสือทางด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ ที่ ชั้น 4
ดังนั้น เพื่อให้หนังสือทางด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ เป็นที่รู้จักและมีการใช้งานมากขึ้น ผู้ปฏิบัติงาน จึงได้จัดมุมหนังสือใหม่ (New Books) ขึ้น ที่บริเวณประตูทางเข้าชั้น 4 ดังปรากฏดังภาพ
โดยการจัดมุมหนังสือแนะนำนั้น จะเลือกหนังสือทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ มีการจัดทำบรรณนิทัศน์ประกอบหนังสือแต่ละเล่มไว้ด้วย เพื่อเป็นการนำเสนอให้ผู้ใช้บริการอ่านเนื้อหาโดยสรุปและพิจารณาที่จะอ่านต่อหรือยืมกลับไปอ่านต่อไป
หนังสือแนะนำดังกล่าว จะมีการประชาสัมพันธ์ขึ้น เฟซบุ๊ค ของศูนย์บรรณสารสนเทศและทางเว็บไซต์ของศูนย์บรรณสารสนเทศในแต่ละเดือนด้วยเช่นกัน
หากผู้ใช้สนใจต้องการยืม สามารถหยิบไปยืมได้ที่ชั้น 1 ค่ะ
Acquisition module เป็นหนึ่งในอีกหลายโมดูล ที่ประกอบกันเป็นระบบห้องสมุดอัตโนมัติแบบบูรณาการ แต่นับว่าเป็นโมดูลแรกเริ่มของการทำงานในห้องสมุด เพราะเป็นโมดูลเกี่ยวกับการจัดซื้อ จัดหา และระบบการทำบัญชี งบประมาณของห้องสมุด สำหรับศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ใช้ระบบ WorldShare Management Services (WMS) ซึ่งมีฟังก์ชั่นในการใช้งาน Acquisition module โดยมีขั้นตอนการทำงานประกอบด้วยส่วนของ Budgets โดยสามารถจัดสรรงบประมาณในการจัดซื้อทรัพยากรสารสนเทศต่างๆ เป็น 3 ส่วนหลัก ได้แก่ Books 2017 (การจัดซื้อหนังสือ), Database (ฐานข้อมูล), Journal (วารสาร) ดังรูป
รูปภาพที่ 1. แสดงส่วนของงบประมาณ
บทความนี้จะขออธิบายในส่วนของ Books 2017 ที่จัดสรรงบประมาณให้กับคณะต่างๆ ที่มีอยู่ 14 คณะแยกเป็นหนังสือภาษาไทยและหนังสือภาษาอังกฤษ ดังรูป
ความแตกต่างที่เห็นได้ชัดในฐานะที่เคยทำงานด้านวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศหรือ Cataloging ก็คือ โมดูลในการลงรายการบรรณานุกรมนั้น ในระบบ WorldShare Management Services – WMS นั้น ให้ความสำคัญกับการทำเมทาดาทา การบริหารจัดการเมทาดาทา ขั้นตอนการทำงานในโมดูลเทาดาทาจึงมีแตกต่างจากโมดูล Cataloging ของระบบห้องสมุดโดยทั่วไป กล่าวคือ ในโมดูลเมทาดาทา (Metadata Module) ซึ่งเป็นโมดูลของการนำเข้าทรัพยากรสารสนเทศ หรือเดิมมักจะรู้จักกันในชื่อว่า Cataloging Module จะมีการบริหารจัดการข้อมูลทางบรรณานุกรม หรือเมทาดาทาที่มีประสิทธิภาพมากขึ้นกว่าเดิม และเนื่องจากเป็นการรวมรายการบรรณานุกรมทรัพยากรสารสนเทศของห้องสมุดที่เป็นสมาชิก OCLC มากกว่า 7,200 แห่งทั่วโลก จึงทำให้สถาปัตยกรรมหรือโครงสร้างการสร้างระเบียนข้อมูลทางบรรณานุกรมแตกต่างจากเดิมเพื่อให้สนับสนุนการทำงานที่เป็นระบบ World Cataloging ซึ่งก็คือ พัฒนาการของการเป็นระบบสหบรรณานุกรม หรือ Union Catalogue นั่นเอง
สถาปัตยกรรมหรือโครงสร้างระเบียนทางบรรณานุกรมของระบบ WMS เพื่อสนับสนุนการเชื่อมโยงกับ WorldCat นั้น จึงแบ่งได้เป็น 3 ส่วน ประกอบด้วย คือ
1. Master Record 2. Local Bibliographic Data (LBD) 3. Local Holding Record (LHR)
โครงสร้างระเบียนบรรณานุกรม
Master Record หมายถึง ระเบียนทางบรรณานุกรมของทรัพยากรสารสนเทศ ที่ห้องสมุดนำเข้าระบบเป็นแห่งแรก จะถือว่าระเบียนนั้น เป็นระเบียนหลัก ประกอบด้วยข้อมูลทางบรรณานุกรมทรัพยากรสารสนเทศที่นำเข้าตามหลักเกณฑ์การลงรายการทางบรรณานุกรมแบบ AACR2 และ MARC21 หรืออาจจะเป็น RDA ห้องสมุดอื่นที่จะนำเข้าในระบบ WorldCat และตรวจสอบความซ้ำซ้อนและพบว่ามีระเบียนทางบรรณานุกรมของทรัพยากรสารสนเทศที่จะนำเข้าอยู่แล้ว (Master record) สามารถใช้ Master record เพื่อเป็นระเบียนทางบรรณานุกรมของทรัพยากรสารสนเทศของห้องสมุดตนเองได้ โดยไม่ต้องลงข้อมูลทางบรรณานุกรมใหม่ แต่สามารถเพิ่มข้อมูลอื่นๆ ที่เป็นข้อมูลเฉพาะของห้องสมุดได้ในส่วนประกอบที่เรียกว่า Local Bibliographic Data (LBD) และใส่ข้อมูลเกี่ยวกับ item information ในส่วนประกอบที่เรียกว่า Local Holding Record (LHR)
Local Bibliographic Record (LBD) หมายถึง ข้อมูลทางบรรณานุกรมที่ห้องสมุดแห่งอื่นๆ ที่ใช้ Master record ร่วมกัน มีข้อมูลที่เป็นส่วนของห้องสมุดต้องการใส่ เช่น หัวเรื่อง (ที่กำหนดใช้ขึ้นเอง) หมายเหตุ (Note) ที่ห้องสมุดกำหนดขึ้นเอง ชื่อชุด ที่กำหนดเอง
Local Holding Record (LHR) หมายถึง ข้อมูลเกี่ยวกับ item ของระเบียนนั้นๆ ได้แก่ เลขหมู่ หมายเหตุ (ที่เกี่ยวกับหนังสือ) บาร์โคด ราคา การกำหนดการยืม การกำหนดการให้ทำสำเนา เป็นต้น