ถ้าจะกล่าวถึง ความแตกต่างของระบบห้องสมุด WorldShare Management Services หรือ WMS กับระบบห้องสมุดอัตโนมัติอื่นๆ อย่างไรบ้าง นั้น ข้อแรก คงต้องพูดถึง การเป็น Library Services Platform (LSP) ที่มีการพัฒนาไปจาก Library Integrated System (LIS)
ลักษณะขอ LIS เราน่าจะคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี เพราะเราใช้กันอยู่ในปัจจุบัน แต่การเป็น LSP นั้นมีลักษณะ
ลักษณะของ LSP
กล่าวคือ LSP ทำให้ห้องสมุดสามารถบริหารจัดการทรัพยากรสารสนเทศ สามารถขยายเนื้อหาที่มีรูปแบบหลากหลายทั้งฉบับพิมพ์ และฉบับอิเล็กทรอนิกส์ สนับสนุนกระบวนการจัดซื้อที่หลากหลาย การจัดซื้อสำหรับการเป็นเจ้าของอย่างถาวร ผ่านการจ่ายค่าอนุญาตหรือการเป็นสมาชิก เอื้อต่อการจัดการเมทาดาทาที่มีหลายเกณฑ์และเหมาะสมกับสื่อที่มีความแตกต่างกัน อย่างน้อย ตระกูล MARC หรือ Dublin Core รวมถึงการสนับสนุนการให้บริการที่บูรณาการกันโดยมีการใช้ API และโปรโตคอลอื่นๆ ที่สามารถใช้งานข้ามกันได้ (Interoperability) นอกจากนี้ LSP สนับสนุนการทำงานแบบ Multi-tenant กล่าวคือ ระบบซอฟต์แวร์ชุดเดียวแต่ให้บริการคนหลาย ๆ คนในขณะเดียวกันได้ โดยผู้ใช้ต่างห้องสมุดและมีข้อกำหนดของคุณสมบัติของระบบซอฟต์แวร์บางอย่างแตกต่างกันได้
หาอ่านโดยละเอียด ลึกๆ ได้จากหลายแหล่งค่ะ เช่น
https://journals.ala.org/index.php/ltr/article/view/5686/7063
https://www.niso.org/sites/default/files/stories/2017-09/FE_Grant_Future_Library_Systems_%20isqv24no4.pdf
http://helibtech.com/file/view/Rethinking_the_LSP_Jan2016a.pdf
แนวความคิดของการจัดทำสหบรรณานุกรมสำหรับห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาของประเทศไทย คือ การใช้รายการร่วมกัน อันจะช่วยรองรับการใช้ทรัพยากรร่วมกัน ลดความ ซ้ำซ้อนในการจัดทำรายการบรรณานุกรม และใช้ประโยชน์ในการยืมระหว่างห้องสมุดของสถาบันอุดมศึกษาไทย รวมทั้งอำนวยความสะดวกต่อผู้ใช้บริการ ทั้งนักศึกษา อาจารย์และนักวิชาการในการค้นหาหนังสือที่ต้องการโดย ที่ไม่ต้องเข้าเว็บไซต์ของแต่ละห้องสมุด ดังนั้นการจะทราบว่า ห้องสมุดแห่งใดมีทรัพยากรสารสนเทศรายการใดบ้าง จึงต้องมีการรวบรวมข้อมูลทางบรรณานุกรมของทรัพยากรสารสนเทศจากห้องสมุดแต่ละแห่ง
หน่วยวิจัยนวัตกรรมด้านสารสนเทศ สำนักวิชาสารสนเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ได้พัฒนาระบบฐานข้อมูล (Database System) ให้สามารถรองรับการดำเนินงานสหรายการ บรรณานุกรม (Union catalog) ของห้องสมุดสมาชิกเครือข่าย ThaiLis รวมทั้งพัฒนาโปรแกรมประยุกต์ (Application) บนพื้นฐานมาตรฐานสากลในการควบคุมรายการบรรณานุกรม (Bibliographic control) เพื่อให้ สามารถรองรับการทำรายการ การตรวจสอบและควบคุม และการใช้รายการร่วมกัน (Copy & Shared catalog) ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
วิธีค้นหาสหรายการบรรณานุกรม (Union catalog)
ผู้ใช้บริการสามารถสืบค้นทรัพยากรสารสนเทศของห้องสมุดสมาชิกเครือข่าย ThaiLis ได้ดังนี้
1. เข้าไปที่ http://uc.thailis.or.th/main/index.aspx ค้นหาได้จากเขตข้อมูลที่กำหนดเป็นคำค้น เช่น ชื่อเรื่อง ชื่อผู้แต่ง ISBN หัวเรื่อง คำสำคัญ Read the rest of this entry »
ในปัจจุบันเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทมากขึ้น การนำเอาเทคโนโลยีมาใช้ร่วมกับการทำงานจึงเป็นสิ่งที่ใกล้ตัว และหากมีสิ่งที่สามารถช่วยอำนวยความสะดวกได้มากกว่าเดิม ก็คุ้มค่าที่จะทดลองและนำมาใช้ วันนี้จึงขอนำเสนอการทำงานของ Google document งานเอกสาร จาก Google docs เว็บไซต์ที่รวบรวมงานเอกสารที่จำเป็น ไม่ว่าจะเป็น
Google docs > https://www.google.com/intl/th_th/docs/about/
Google docs เปิดให้ใช้บริการฟรี สามารถทำได้ทั้งแบบออฟไลน์ และออนไลน์ เพียงมีบัญชี google account และอินเตอร์เน็ต ก็สามารถสร้าง แก้ไข และแชร์เอกสารให้เพื่อนได้ทันที โดยสามารถดึงข้อมูลจาก Google drive จากบัญชีเดียวกันมาใช้ได้เลย นอกจากนี้ยัง Google Document ยังมี Application ที่ทำให้ผู้ใช้สามารถทำงานผ่าน Smartphone อีกด้วย Read the rest of this entry »
เมื่อศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ได้นำระบบ WorldShare Management Services (WMS) มาใช้นั้น จะมีบางช่วงที่ต้องยังต้องใช้ระบบ Offline คู่ขนาน หรือสำรอง เนื่องจาก
โดยระบบ Offline Circulation WMS ได้ทำการติดตั้งโปรแกรมอยู่ที่เคาน์เตอร์บริการยืม – คืน ชั้น 1 ศูนย์บรรณสารสนเทศ Read the rest of this entry »
Mendeley (www.mendeley.com) เป็นเครื่องมือออนไลน์จาก ELSEVIER ที่พัฒนาขึ้นเพื่อช่วยสนับสนุนนักวิจัยในการทำวิจัย ช่วยอำนวยความสะดวกในกระบวนการต่างๆ ของการทำวิจัย โดยเปิดให้ทุกท่านใช้งานได้ฟรีไม่มีค่าใช้จ่าย ซึ่งมีวิธีการใช้งาน ดังนี้
1. การสมัครสมาชิก 2. การใช้งานเครื่องมือช่วยทำวิจัย 3. การสืบค้นเอกสาร
Read the rest of this entry »
Kahoot เป็นเครื่องมือสร้างคำถามออนไลน์แบบฟรี สามารถใช้งานได้ผ่าน Smartphone หรือ Notebook, Desktop, Tablet ที่เชื่อมต่อกับ Internet ผู้ถามกับผู้ตอบต้องอยู่ในที่เดียวกัน เมื่อเข้าสู่ชุดคำถามใน Kahoot จะมีการแสดงจำนวนผู้เข้าร่วมเล่น ผลการตอบคำถามในแต่ละครั้ง จะแสดงลำดับของผู้เข้าร่วมตอบคำถาม แบบทันที หลังตอบคำถามเสร็จ สามารถนำ Kahoot มาใช้ในชั้นเรียนหรือบรรณารักษ์ สามารถใช้เพื่อประกอบการจัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้สารสนเทศ หรือกิจกรรมต่างๆ ของห้องสมุดที่ต้องการให้ผู้ใช้บริการมีส่วนร่วมในการตอบคำถามได้
วิธีใช้ Google form สร้างแบบสอบถามออนไลน์
Google Form ช่วยให้เราสร้างแบบสอบถามออนไลน์ หรือใช้สำหรับรวบรวมข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว โดยที่ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย ในการใช้งาน Google Form ผู้ใช้งานหรือผู้ที่จะสร้างแบบฟอร์มนั้นจะต้องมีบัญชีของ Gmail หรือ Account ของ Google เสียก่อน Google Form สามารถนำไปปรับประยุกต์ใช้งานได้หลายรูปแบบอาทิ เช่น การทำแบบฟอร์มสำรวจความคิดเห็น การทำแบบฟอร์มสำรวจความพึงพอใจ และการทำแบบฟอร์มลงทะเบียน เป็นต้น
เริ่มต้นใช้งาน Google form (เบื้องต้น) Read the rest of this entry »
หลายท่านคงได้สังเกตเห็นลักษณะการใช้งานหนังสือภายในห้องสมุดกันมาบ้าง เช่น การหยิบหนังสือมาอ่านแล้ววางไว้ในห้องสมุดโดยไม่ยืมหนังสือออกไป ซึ่งการใช้งานในลักษณะนี้ จะส่งผลให้ทางห้องสมุดไม่ได้รับสถิติการยืมออก (check out) ของหนังสือเล่มดังกล่าว แต่ห้องสมุดสามารถเก็บสถิติการใช้หนังสือแต่ละเล่มที่มีการใช้แต่ไม่ได้ยืมออก โดยระบบห้องสมุด WorldShare Management Services (WMS) มีช่องทางให้สามารถดำเนินการดังกล่าว
เก็บสถิติการใช้งานภายในห้องสมุด กรณีที่ผู้ใช้ไม่หยิบหนังสือไปยืมออก โดย
– เข้าไปที่โมดู Circulation เลือกเมนู Check In – กำหนด Check In Mode เป็น Non Loan Return – แล้วค่อยทำการสแกนบาร์โค๊ดของหนังสือเล่มนั้น
การทำ Data Migration คือ การโอนย้ายข้อมูลจากระบบเดิมไปยังระบบใหม่ ซึ่งมีขั้นตอน กระบวนการ และความสัมพันธ์ของข้อมูลระหว่างระบบเดิมกับระบบใหม่ที่ซับซ้อน ดังนั้น จึงต้องให้ความสำคัญกับรายละเอียดในทุกขั้นตอนของการทำ Data Migration
หลักจากที่ผู้บริหารตัดสินใจเปลี่ยนระบบห้องสมุดอัตโนมัติ จากระบบ Virtua ที่ใช้งานอยู่ ไปเป็น WorldShare Management Services (WMS) ทำให้ทีมงานผู้ใช้ระบบเดิมอยู่ กับ ทีมงานของผู้พัฒนา WMS จาก OCLC และตัวแทนจำหน่าย ต้องทำงานร่วมกัน เพื่อวางแผน วิเคราะห์ข้อมูล ประสานการดำเนินงาน และกำหนดรายละเอียดต่างๆ ที่จำเป็นในการโอนย้ายข้อมูลเข้า WMS โดยขั้นตอนหลัก ดังนี้ Read the rest of this entry »
โปรแกรม Microsoft Excel พูดภาษาอังกฤษได้
บางท่านไม่เคยรู้มาก่อน หรือบ้างท่านก็คงรู้แล้ว…นอกจากโปรแกรม Microsoft Excel มีความโดดเด่นเรื่องการคำนวณต่างๆ เช่น การบวก ลบ คูณ หารตัวเลข และฟังชั่นที่ใช้ในการคำนวณอีกมากมาย เช่น การหาผลรวมของตัวเลขจำนวนมาก
โปรแกรม Microsoft Excel นั้นยังมีความสามารถในการแปลงข้อความภาษาอังกฤษเป็นคำพูดได้อีกด้วย ซึงการแปลงข้อความภาษาอังกฤษเป็นคำพูดนั้นมีประโยชน์มากสำหรับผู้พิการทางสายตา และผู้มีด้อยเรื่องภาษาในการอ่านออกเสียงไม่ถูก หรือสะกดไม่ถูก โปรแกรม Excel สามารถช่วยท่านได้
ขั้นตอนการทำ…โปรแกรม Microsoft Excel พูดภาษาอังกฤษได้…
* ให้ทุกท่านคลิกตามลำดับได้เลยน่ะครับ ดังรูป *
วิธีการใช้งาน…
* สำหรับโปรแกรม Microsoft Excel 2007 ขึ้นไป ถึงสามารถใช้ฟังชั่นนี้ได้น่ะครับ….ขอบคุณครับ