OA & Open Content in the user workflow เป็น member session ของวันพฤหัสบดีที่ 29 พฤศจิกายน 2561 ของ APRC18 Change the Game โดยมีวิทยากร คือ Kuang-hua Chen และ Titia van der Werf ซึ่งทั้งสองท่าน มาพูดถึงงานที่ OCLC กำลังสำรวจโดยออกแบบสอบถามในเรื่องของ Open Access (OA) และ Open Content ให้แก่ห้องสมุดเข้าไปตอบแบบสอบถามได้ที่ http://oc.lc/OAAPRC18 (หมดเขต 15 มกราคม 2562) โดยวิทยากรได้ให้คำถามประมาณ 5 คำถาม เป็น Discussion guide เพื่อให้ผู้เข้าฟังทำความเข้าใจและมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น
Discussion guide
เริ่มจากคำถามแรกคือ How do you define/categories open content activities and services? ซึ่งเป็น 1 ใน 5 คำถามที่วิทยากรนำเสนอในห้อง และให้ผู้เข้าร่วมฟังนำเสนอว่าในห้องสมุดของตนเองนั้น มีการทำ OA หรือมีการให้บริการ OA ประเภทใดบ้าง ห้องสมุดแต่ละแห่งต่างก็นำเสนอ OA ที่มีในรูปแบบที่เหมือนกันบ้าง แตกต่างกันบ้าง สรุปออกมาได้ตามรูปที่วิทยากรพยายามจัดกลุ่มหรือหมวดหมู่มาให้ การทำ OA ของห้องสมุดที่มาร่วมฟัง มีทั้งที่เป็นการทำด้วยห้องสมุดเอง เช่น การทำ Digitization เอง หรือการไปดึง OA จากที่อื่นมาให้บริการ บางแห่งก็มีเนื้อหาที่แตกต่างกันออกไปบ้าง
สรุปหมวดของ OA
ประเด็นคำถามอื่นๆ น่าจะเป็นแนวทางในการนำความคิดได้ว่า การมี/การทำ Open content ต้องมีนโยบายอย่างไร มีแนวปฏิบัติอย่างไร แนวโน้มจะเป็นอย่างไร การลงทุนกับการทำ Open content และ OCOC จะมาช่วยในเรื่องพวกนี้ได้อย่างไร เป็นเรื่องที่น่าคิดกันต่อและให้เป็นระบบ
OCLC ที่เรามักจะคุ้นกับการเรียก OCLC มากกว่า จนลืมไปแล้วว่า คำเต็มๆ ของ OCLC คือ Online Computer Library Center หน่วยงานที่ไม่หวังผลกำไร มีชื่อเสียงในการวิจัยและพัฒนาทางด้านห้องสมุดมาเป็นเวลายาวนาน ซึ่งรับประกันได้ถึงความน่าเชื่อถือในด้านรายการบรรณานุกรมของทรัพยากรสารสนเทศของห้องสมุด รวมทั้งการขยายงานวิจัยออกไปในหลายๆ ด้าน
ผู้เขียนคุ้นเคยกับผลงานของ OCLC มาตั้งแต่สมัยการทำสหบรรณานุกรม หรือ Union Catalog พัฒนามาเป็น WorldCat และพัฒนาการจนเป็นการยืมระหว่างห้องสมุดที่สามารถยืมกันได้ทั่วโลก ผ่านระบบ WorldShareILL นับว่าเป็นก้าวสำคัญในวงการบรรณารักษศาสตร์และห้องสมุดเลยทีเดียว ขณะเดียวกัน OCLC ก็มีการวิจัยในหลายๆ ส่วนที่เอื้อประโยชน์ต่อการเชื่อมโยงข้อมูล (Linked data) และการนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆ
ในแต่ละปี OCLC จะมีการจัดประชุมวิชาการในแต่ละภูมิภาคเพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์งานวิจัย ความร่วมมือจากหลายๆ ส่วนที่ก่อให้เกิดการวิจัยร่วมกัน รวมทั้งการประชาสัมพันธ์กิจการและผลิตภัณฑ์ของ OCLC เองด้วย นอกเหนือจากหัวข้อเหล่านี้แล้ว OCLC จะมีการเชิญวิทยากรมาให้ความรู้ในเรื่องต่างๆ ที่เป็นประโยชน์และสอดคล้องกับหัวข้อของงานที่จัดในแต่ละปี ทำให้ผู้ที่เข้าร่วมงานได้รับประโยชน์จากข้อความรู้ต่างๆ เหล่านี้ แม้ว่าบางครั้งอาจจะยังตามไม่ทัน แต่การได้ไปฟังเรื่องใหม่ๆ ที่ยังไม่เคยรู้ ก็ถือว่าเป็นเรื่องดีๆ เพราะคำขวัญที่ OCLC ใช้เสมอก็คือ “Because what is known must be shared” ไม่ว่าจะเป็นการ share ทรัพยากรสารสนเทศตาม concept ของ OCLC เองก็ตาม แต่ขอรวมการเอาองค์ความรู้ที่ทำวิจัยมาเผยแพร่หรือการเชิญวิทยากรจากหลายๆ แห่งมาแบ่งปันความรู้และประสบการณ์ก็นับเป็นสิ่งที่ดี
สำหรับปี 2561 นี้ ในส่วนภูมิภาคเอเชีย แปซิฟิก OCLC ได้จัดการประชุมที่ประเทศไทย ณ โรงแรมเชอราตัน ระหว่างวันที่ 28-29 พฤศจิกายน 2561 ภายใต้ชื่อว่า APRC18 Change the Game มีหัวข้อในปีนี้ที่น่าสนใจหลายหลายข้อ เช่น (คงสามารถเขียนได้เฉพาะในส่วนที่ได้เข้าร่วมฟัง เพราะบางหัวข้อมีการแยกห้องตามความสนใจ)
OCLC Asia Pacific Regional Council Conference ในหัวข้อ Change the Game (APRC18 Change the Game)
How can we change the game? โดย Skip Richard สรุปเป็นภาษาไทย
Collaboration, visibility and data-driven decision making โดย Ellen Hartman
How can you and your library transform user engagement? โดย Adrianna Astle และ Kalliope Stavridaki
Evolving Scholarly Record โดย Aaron Tay และ Titia van der Werf
Transforming trend insights into innovations โดย Nathania Christy (สรุปเป็นภาษาไทย)
WMS: Game Changer for your Library โดย Supaporn Chaithammapakorn, Michael Mojica และ Chris Paroz
Reimaging your library space โดย Feiyun Huang, Dr. Amorn Petsom
Are your libraries connected to the global knowledge network? โดย Axel Kaschte
OA& Open Content in the user workflow โดย Kuang-hua Chen และ Titia van der Werf เอกสารฉบับเต็มของวิทยากร
A venue for the research library community โดย Roxanne Missingham, Titia van der Werf, Esther Woo และ Fung Ping Shan
ในบางครั้ง หลายท่านคงเคยประสบปัญหาการเข้าไปในพื้นที่ ที่อินเตอร์เน็ตขัดข้องหรืออับสัญญาณ wifi แต่ในขณะนั้นจำเป็นต้องใช้คอมพิวเตอร์เชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ต จึงทำให้เกิดปัญหาต่างๆ ในการใช้งาน
ปัญหาดังกล่าวจะคลี่คลาย หากท่านมีสายชาร์จมือถือและสัญญาณอินเตอร์เน็ตถือมือที่แรงพอ ด้วยการแชร์อินเตอร์เน็ตจากมือถือเข้าคอมพิวเตอร์ผ่านสาย USB ซึ่งมีขั้นตอน ดังนี้
1. เสียบสาย USB เชื่อมต่อระหว่างโทรศัพท์มือถือ กับ เครื่องคอมพิวเตอร์
2. เปิดมือถือ เข้าไปที่ setting แล้วเลือกเมนูที่เกี่ยวกับ Wireless & Networks
3. เลือกเมนู Tethering & portable hotspot Read the rest of this entry »
ลายน้ำ คือ การนำข้อความ หรือรูปภาพมาใส่ไว้บนพื้นหลังของเอกสาร โดยจะแสดงในลักษณะจางๆ การใส่ลายน้ำ นั้น เพื่อแสดงความเป็นเจ้าของหรือลิขสิทธิ์ในเอกสารนั้นๆ หรืออาจนำไปใช้แสดงความสำคัญของเอกสาร ซึ่งโปรแกรมที่ใช้ในการสร้างมีหลากหลายโปรแกรม ในที่นี้ผมเลือกใช้โปรแกรม Adobe Acrobat Pro ในการทำลายน้ำ โดยมีวิธีการทำดังนี้
1. เข้าสู่โปรแกรม Adobe Acrobat Pro แล้วทำการเปิดเอกสาร PDF ที่เราต้องการใส่ Watermark
2.ไปที่ เมนู Tool คลิก Page เลือก Watermark และ Add watermark ดังรูป
3.จะปรากฏหน้าต่าง Add Watermark มีคำอธิบายดังนี้
หมายเลข 1 : การทำ Watermark รูปแบบข้อความ
หมายเลข 2 : การทำ Watermark รูปแบบรูปภาพ
หมายเลข 3 : การกำหนดค่าลักษณะการแสดงของ Watermark บนเอกสาร
หมายเลข 4 : สามารถเลือกหน้าที่ต้องการทำ Watermark ได้
เมื่อกำหนดรูปแบบต่างๆ เสร็จแล้วให้คลิกปุ่ม OK
รูปที่ 1 watermark รูปแบบข้อความ
รูปที่ 2 watermark รูปแบบรูปภาพ
มาทำความรู้จัก App Digby ซึ่งเป็นแอปพลิเคชันสำหรับมือถือตัวช่วยในการใช้งานในห้องสมุดกันครับว่าช่วยสนับสนุนการใช้งานห้องสมุดอย่างไรบ้าง
1. เข้าถึงรายการบรรณานุกรมของหนังสือ
2. นำขึ้นชั้นหนังสือได้ตามเลขหมู่
3. ทำ Inventory ของหนังสือ
4. คืนออกจากระบบผู้ใช้บริการ
5. Capture หน้าจอของบรรณานุกรมช่วยลดในการจดทำให้ประหยัดกระดาษ
มาเรียนรู้ App Digby เพื่อเพิ่มความสะดวกในการทำงานกันนะครับ
ทำความรู้จัก App Digby
จากแอพ Digby นี้ ทาง OCLC ได้พัฒนาการใช้งานของแอพพลิเคชัน ให้มีประสิทธิ์ภาพมากขึ้นเพื่อความสะดวกในการทำงานในห้องสมุดหรือพกพาแอพพลิเคชัน Digby ไปใช้งานนอกห้องสมุดได้เพื่อเพิ่มความสะดวกในการทำงาน ผมหวังว่าทาง OCLC จะเพิ่มลูกเล่นเพิ่มขึ้น เช่น การยืม การชำระค่าปรับ หรือการจองหนังสือผ่านแอพพลิเคชันในอนาคต
บทความที่เกี่ยวข้อง
ขั้นตอนการเคลียร์รายการค่าปรับและส่งบิลค่าปรับให้สมาชิกผ่านทาง E-mail
วิธีและขั้นตอนการ Key Basic Tag ในการสร้าง Order
สถิติห้องสมุดกับงาน Circulation Events Detail Report ใน WMS
การจองทรัพยากรสารสนเทศผ่านระบบ WMS
Notification Alert
ขั้นตอนการตรวจรับและตรวจสอบหนังสือใหม่
วิธีการเปลี่ยน Status หนังสือส่งซ่อม
การพิมพ์สันหนังสือในระบบ WMS
ขั้นตอนการลงรายการสื่อโสตทัศนวัสดุ ประเภท Sound Recording
งานบริการรับแจ้งหนังสือหายในระบบ WMS
งานสร้างระเบียนสมาชิก
No Linguistic Content และ Undetermined สำคัญอย่างไร
การสร้างข้อมูลร้านค้า (New Vendor)
ขั้นตอนการทำการสั่งซื้อหนังสือ (Orders) ในระบบห้องสมุดอัตโนมัติ WMS
วิธีเก็บสถิติการใช้งานภายในห้องสมุด กรณีที่ผู้ใช้ไม่หยิบหนังสือไปยืมออก
คู่มือการใช้บริการ WorldShare Interlibrary Loan (WorldShareILL)
วิธียืมหนังสือต่อด้วยตนเองทางออนไลน์ (WMS)
คู่มือการปฏิบัติงานการยืม-คืนทรัพยากรสารสนเทศ ของระบบ WorldShare Management Services (WMS)
การลงรายการทางบรรณานุกรมทรัพยากรสารสนเทศในโมดูล Metadata ของระบบ WorldShare Management Services (WMS)
Acquisition Module เพื่อการจัดสรรงบประมาณ ในระบบห้องสมุด WMS เพื่อการจัดสรรงบประมาณ
การทำ Data Migration เข้า WorldShare Management Services (WMS)
ทำไมจึงเลือก WorldShare Management Services (WMS) : WMS ตอนที่ 5 การทำสัญญา
ทำไมจึงเลือก WorldShare Management Services – WMS ตอนที่ 4 การต่อรองราคา
ทำไมจึงเลือก WorldShare Management Services – WMS ตอนที่ 3
ทำไมจึงเลือก WorldShare Management Services – WMS ตอนที่ 2
ทำไมจึงเลือก WorldShare Management Services – WMS ตอนที่ 1
หลายๆ คนอาจจะกำลังมองหา วิธีการ แคปหน้าเว็บไซต์แบบยาวๆ ให้ได้ทั้งหน้า โดยที่เราไม่ต้องคอยเลื่อน Scroll Mouse มาแคป ทีละส่วนๆ ต่อๆกัน หลายท่านอาจไม่เคยใช้ เพราะโดยทั่วไปการแคปหน้าเว็บไซต์จะแคปเฉพาะ หน้าต่างเต็มหน้าจอคอมพิวเตอร์เท่านั้น เนื่องจากหน้าเว็บนั้นยาวเกินขนาดเบราว์ของเรานั่นเอง แต่ถ้าเราอยากแคปหน้าเว็บไซต์ยาวมากและดูสวยด้วยละก็ สามารถทำได้แล้วด้วย โปรแกรม Full Page Screen Capture เป็นเครื่องมือตัวหนึ่ง ที่อยู่บนเว็บเบราว์เซอร์ Google Chrome เว็บสโตร์
วิธีดาวน์โหลดและวิธีใช้งาน Full Page Screen Capture
1. เปิดเว็บบราวเซอร์ Google Chrome ขึ้นมา
2. ให้เราเข้า ไปที่ –> Chrome เว็บสโตร์ <– แล้วพิมพ์ค้นหาคำว่า Full Page Screen Capture Read the rest of this entry »
การสร้างหัวตารางใน Microsoft Excel จะเป็นการพิมพ์หัวตารางซ้ำให้อัตโนมัติ (เมื่อคุณคลิกสั่งพิมพ์) ซึ่งจะช่วยให้คุณไม่ต้องเสียเวลามาเพิ่มหัวตารางที่ละหน้า ขั้นตอนการทำ มีดังนี้
1. คลิกแถบเมนู “เค้าโครงหน้ากระดาษ” และเลือกคำสั่ง “พิมพ์ชื่อเรื่อง”
Read the rest of this entry »
จากภาพข้างต้น คุณคงได้เห็นความแตกต่างของการถ่ายเอกสาร ดังนั้น วันนี้จะพาคุณไปรู้จักกับ แอพพลิเคชั่น CamScanner แอพสำหรับถ่ายเอกสารที่จะเปลี่ยนโทรศัพท์ของคุณให้เป็นเครื่องแสกนเนอร์ และฉีกกรอบการถ่ายเอกสารแบบเดิมๆ ของคุณออกไป Read the rest of this entry »
ผู้เขียนมีโอกาสได้สแกนเอกสารที่เป็นตัวเล่มหนังสือในจัดทำเป็นไฟล์ดิจิทัล เพื่อสะดวกในการจัดเก็บไฟล์และสะดวกต่อการอ่านเอกสารผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ สิ่งหนึ่งที่ทำให้เกิดความยุ่งยากสำหรับมือใหม่ในการเริ่มต้นจัดเก็บไฟล์เอกสาร นั่นคือ เมื่อเราทำการสแกนไฟล์เอกสารที่เป็น PDF เรียบร้อยแล้ว แต่เอกสารที่สแกนบางหน้า อาจจะมีขนาดของเอกสารไม่เท่ากัน จนดูไม่สวยงาม วิธีการง่าย ๆ ที่ผู้เขียนได้เรียนรู้ในการจัดการเอกสารเหล่านั้นซึ่งเป็นขั้นตอนที่ง่าย ๆ ภายหลังจากที่ได้ดำเนินการจัดเรียงไฟล์การเอกสารที่เป็นไฟล์ PDF เรียบร้อยแล้ว มีดังนี้ Read the rest of this entry »
ความแตกต่างที่เห็นได้ชัดในฐานะที่เคยทำงานด้านวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศหรือ Cataloging ก็คือ โมดูลในการลงรายการบรรณานุกรมนั้น ในระบบ WorldShare Management Services – WMS นั้น ให้ความสำคัญกับการทำเมทาดาทา การบริหารจัดการเมทาดาทา ขั้นตอนการทำงานในโมดูลเทาดาทาจึงมีแตกต่างจากโมดูล Cataloging ของระบบห้องสมุดโดยทั่วไป กล่าวคือ ในโมดูลเมทาดาทา (Metadata Module) ซึ่งเป็นโมดูลของการนำเข้าทรัพยากรสารสนเทศ หรือเดิมมักจะรู้จักกันในชื่อว่า Cataloging Module จะมีการบริหารจัดการข้อมูลทางบรรณานุกรม หรือเมทาดาทาที่มีประสิทธิภาพมากขึ้นกว่าเดิม และเนื่องจากเป็นการรวมรายการบรรณานุกรมทรัพยากรสารสนเทศของห้องสมุดที่เป็นสมาชิก OCLC มากกว่า 7,200 แห่งทั่วโลก จึงทำให้สถาปัตยกรรมหรือโครงสร้างการสร้างระเบียนข้อมูลทางบรรณานุกรมแตกต่างจากเดิมเพื่อให้สนับสนุนการทำงานที่เป็นระบบ World Cataloging ซึ่งก็คือ พัฒนาการของการเป็นระบบสหบรรณานุกรม หรือ Union Catalogue นั่นเอง
สถาปัตยกรรมหรือโครงสร้างระเบียนทางบรรณานุกรมของระบบ WMS เพื่อสนับสนุนการเชื่อมโยงกับ WorldCat นั้น จึงแบ่งได้เป็น 3 ส่วน ประกอบด้วย คือ
1. Master Record 2. Local Bibliographic Data (LBD) 3. Local Holding Record (LHR)
โครงสร้างระเบียนบรรณานุกรม
Master Record หมายถึง ระเบียนทางบรรณานุกรมของทรัพยากรสารสนเทศ ที่ห้องสมุดนำเข้าระบบเป็นแห่งแรก จะถือว่าระเบียนนั้น เป็นระเบียนหลัก ประกอบด้วยข้อมูลทางบรรณานุกรมทรัพยากรสารสนเทศที่นำเข้าตามหลักเกณฑ์การลงรายการทางบรรณานุกรมแบบ AACR2 และ MARC21 หรืออาจจะเป็น RDA ห้องสมุดอื่นที่จะนำเข้าในระบบ WorldCat และตรวจสอบความซ้ำซ้อนและพบว่ามีระเบียนทางบรรณานุกรมของทรัพยากรสารสนเทศที่จะนำเข้าอยู่แล้ว (Master record) สามารถใช้ Master record เพื่อเป็นระเบียนทางบรรณานุกรมของทรัพยากรสารสนเทศของห้องสมุดตนเองได้ โดยไม่ต้องลงข้อมูลทางบรรณานุกรมใหม่ แต่สามารถเพิ่มข้อมูลอื่นๆ ที่เป็นข้อมูลเฉพาะของห้องสมุดได้ในส่วนประกอบที่เรียกว่า Local Bibliographic Data (LBD) และใส่ข้อมูลเกี่ยวกับ item information ในส่วนประกอบที่เรียกว่า Local Holding Record (LHR)
Local Bibliographic Record (LBD) หมายถึง ข้อมูลทางบรรณานุกรมที่ห้องสมุดแห่งอื่นๆ ที่ใช้ Master record ร่วมกัน มีข้อมูลที่เป็นส่วนของห้องสมุดต้องการใส่ เช่น หัวเรื่อง (ที่กำหนดใช้ขึ้นเอง) หมายเหตุ (Note) ที่ห้องสมุดกำหนดขึ้นเอง ชื่อชุด ที่กำหนดเอง
Local Holding Record (LHR) หมายถึง ข้อมูลเกี่ยวกับ item ของระเบียนนั้นๆ ได้แก่ เลขหมู่ หมายเหตุ (ที่เกี่ยวกับหนังสือ) บาร์โคด ราคา การกำหนดการยืม การกำหนดการให้ทำสำเนา เป็นต้น