SIDEBAR
»
S
I
D
E
B
A
R
«
QR Code Link หนังสือโดนใจ
มิ.ย. 18th, 2020 by chonticha

QR Code Link หนังสือโดนใจ เป็นอีกหนึ่งบริการของศูนย์บรรณสารสนเทศ ที่เข้ากับยุคปัจจุบันที่เทคโนโลยีเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องอย่างมากมายในชีวิตประจำวัน  เมื่อพูดถึง QR Code คงไม่มีใครไม่รู้จัก เพราะปัจจุบันนี้เมื่อเดินไปที่ไหน ๆ มักจะเห็นกันแทบทุก ๆ พื้นที่รอบ ๆ ตัวเรา อย่างเช่น ตามป้ายโฆษณา ร้านค้า ธนาคาร แม้แต่การอบรม สัมมนา ฯลฯ การใช้ QR code เป็นสีสันของการประชาสัมพันธ์ หรือการให้ข้อมูลที่สะดวกมากขึ้น ให้เข้าถึงรายละเอียดของข้อมูลได้ทันที ที่ สแกน QR code

ศูนย์บรรณสารสนเทศเล็งเห็นถึงประโยชน์ในการนำ QR Code มาใช้กับหนังสือ เพื่อนำเสนอข้อมูลที่เป็นประโยชน์แก่ผู้ใช้บริการ เช่น แนะนำเรื่องย่อของหนังสือแต่ละเล่ม เพื่อเป็นการประกอบการตัดสินใจในการเลือกหยิบหนังสือเล่มนั้น ๆ มายืมเพื่อกลับไปอ่านที่บ้าน

ขั้นตอนการทำ QR Code มีดังนี้

1.ค้นหาหนังสือจากศูนย์บรรณสารสนเทศที่น่าสนใจ

2. นำรายชื่อหนังสือที่ต้องการค้นหา มาสืบค้นเพื่อหาลิงค์ นำมาทำ QR Code ส่วนใหญ่แหล่งข้อมูลที่ได้มาจากเว็บไซต์ หรือบทคัดย่อที่ได้จากเว็บไซต์ของร้านหนังสือ เช่น SE-ED , B2S หรือ นายอินทร์ Read the rest of this entry »

การจัดการ Collection รายงานการศึกษาอิสระ มฉก.
มิ.ย. 11th, 2020 by kalyaraksa

มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ  เปิดการเรียนการสอน หลักสูตรสังคมสงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการจัดการโครงการสวัสดิการสังคม และ หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต  ตั้งแต่ปีการศึกษา 2538 ต่อมามีหลักสูตรอื่น ๆ อีกหลายหลักสูตร มหาบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาได้ส่งวิทยานิพนธ์ (Thesis)  และภาคนิพนธ์ ต่อมาภาคนิพนธ์ได้เปลี่ยนเป็นการศึกษาอิสระ (Independent Study) เก็บให้บริการที่ศูนย์บรรณสารสนเทศ และเพื่อเป็นการจัดการทรัพยากรสารสนเทศประเภทนี้ ให้เป็นระบบมากขึ้น  ได้มีการปรับเปลี่ยน Call Number ลดจำนวนการจัดเก็บ และทบทวนการลงรายการการศึกษาอิสระให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน โดยมีแนวทางการดำเนินงาน ดังนี้

1. เพื่อปรับเปลี่ยนการลงรายการการศึกษาอิสระให้มีสถานะทันสมัย  มีการวิเคราะห์หมวดหมู่ (Call Number) ให้ง่ายขึ้น แต่เดิมศูนย์บรรณสารสนเทศ ได้ทำการวิเคราะห์หมวดหมู่การศึกษาอิสระ ตามเนื้อหา มี 2 ระบบ คือ ระบบการจัดหมวดหมู่รัฐสภาอเมริกัน (Library of Congress Classification) สำหรับการศึกษาอิสระที่มีเนื้อหาทางด้านสังคมศาสตร์ และสาขาอื่น ๆ ที่อยู่ในขอบเขตของระบบดังกล่าว และใช้ระบบการจัดหมวดหมู่ระบบการแพทย์แห่งชาติอเมริกัน (National library of Medicine Classification) สำหรับการศึกษาอิสระที่มีเนื้อหา หลักสูตรพยาบาลศาสตร์ สาขาต่าง ๆ เช่น สาขาการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน สาขาการพยาบาลผู้ใหญ่ เป็นต้น ปรับเปลี่ยน Call Number ให้เป็นหมวดหมู่ที่ศูนย์บรรณสารเทศ กำหนดเอง (Local Call Number) ประกอบด้วย มฉก  (เพื่อแสดงถึงสิ่งพิมพ์ของมหาวิทยาลัย) ภ หมายถึง ภาคนิพนธ์ และตามด้วยชื่อผู้ทำรายงานการศึกษาอิสระ เลขผู้แต่ง ต่อด้วยตัวอักษรตัวแรกของชื่อเรื่อง และปีที่ทำรายงาน ตัวอย่าง มฉก.  ภ ก397ก 2562 ดังตัวอย่างภาพข้างล่าง Read the rest of this entry »

การตรวจสอบเลขบาร์โคดจาก Open Details
มิ.ย. 1st, 2020 by jittiwan

ในระบบห้องสมุด WorldShare Management Services (WMS) มีฟังก์ชั่นการใช้งาน คือ Open Details เพื่อให้สามารถคลิกเข้าไปดูรายละเอียดของรายการทางบรรณานุกรมของระเบียนนั้น ๆ ได้

ในกรณีที่ต้องการสืบค้นเพื่อต้องการทราบว่า หนังสือที่สืบค้นนั้น ประกอบด้วย เลขบาร์โคด ใดบ้าง สามารถตรวจสอบผ่าน Open Details ได้ ดังนี้

1. สืบค้นรายการหนังสือที่ต้องการ 

Read the rest of this entry »

บริการเชิงรุก ยุค COVID – 19 : การจองหนังสือออนไลน์
พ.ค. 14th, 2020 by rungtiwa

เนื่องด้วยสถานการณ์การระบาดของโรค COVID – 19 ทำให้ศูนย์บรรณสารสนเทศ มีความจำเป็นต้องปิดให้บริการชั่วคราว เพื่อหลีกเลี่ยงการแพร่ระบาดของโรค ทางศูนย์บรรณสารฯ มองเห็นถึงความจำเป็นที่ผู้ใช้บริการต้องใช้หนังสือประกอบการเรียนการสอน (ซึ่งในระหว่างนั้น ยังอยู่ในภาคเรียนที่ 2/2562) จึงได้มีการประชาสัมพันธ์ ให้ผู้ใช้บริการใช้บริการจองหนังสือผ่านระบบออนไลน์มากขึ้น โดยผู้ใช้บริการสามารถสืบค้นทรัพยากรสารสนเทศผ่านหน้าจอการสืบค้น WorldCat Discovery ของระบบห้องสมุด WMS  ตามขั้นตอนดังภาพด้านล่าง

ผู้ใช้บริการเพียงแจ้งในระบบว่า หนังสือเล่มใดบ้างที่ต้องการใช้ ระบุวัน เวลา ที่ต้องการรับหนังสือ ศูนย์บรรณสารสนเทศ จะดำเนินการตรวจสอบในระบบ และหยิบตัวเล่ม เพื่อส่งให้ผู้ใช้บริการต่อไป จากการประชาสัมพันธ์ผ่านช่องทาง Face book และ LINE @ ของ ศูนย์บรรณสาร พบว่าผู้ใช้บริการให้ความสนใจจองหนังสือเข้ามา เป็นจำนวนไม่น้อย

เจ้าหน้าที่ศูนย์บรรณสารสนเทศ มีวิธีการตรวจสอบการจองในระบบ ดังนี้ Read the rest of this entry »

การติดตั้ง Add-In Zotero ใน Microsoft Word
เม.ย. 25th, 2020 by pailin

Zotero เป็น software ประเภท open source สาหรับช่วยบริหารจัดการข้อมูลรายการบรรณานุกรมและรายการอ้างอิง หรือที่เรียกกันว่า Reference management และมีเครื่องมือที่ช่วยในการสร้างรูปแบบการเขียนอ้างอิงได้หลายรูปแบบ ซึ่ง Zotero สามารถทำงานร่วมกับ Microsoft Word ได้เป็นอย่างดี ทำให้ผู้ใช้งานสามารถส่งรายการบรรณานุกรมที่เก็บรวบรวมไว้ใน Zotero เข้ามาแทรกตามตำแหน่งต่างๆ ในเอกสาร word ได้สะดวก ซึ่งผู้ใช้งานจะต้องติดตั้ง Add-In ใน tool ของ Microsoft Word เพิ่มเติม โดยผู้เขียน ขอแบ่งการนำเสนอเป็น 3 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่ 1 ขั้นตอนการติดตั้งโปรแกรม Zotero  ส่วนที่ 2 การนำรายการทางบรรณานุกรมที่มีการดาวน์โหลดจากฐานข้อมูลหรือระบบที่ให้บริการจัดทำรูปแบบการอ้างอิงออกมา ส่วนที่ 3 การนำข้อมูลทางบรรณานุกรมที่นำออกจากฐานข้อมูล/ระบบห้องสมุด เข้าโปรแกรม Zotero และส่วนที่ 4 กล่าวถึงการ add-in โปรแกรม Zotero กับ Microsoft Word ต่อไป

ส่วนที่ 1 การติดตั้งโปรแกรม Zotero ในคอมพิวเตอร์

1. ดาวน์โหลดโปรแกรม Zotero จากเว็บไซต์ เนื่องจากเป็น open source จึงสามารถดาวน์โหลดได้ฟรี ที่ https://www.zotero.org/download โดยให้เลือกเวอร์ชั่นให้ตรงกับ OS ที่ใช้งานอยู่ ว่าเป็น Windows / macOS / Linux

Read the rest of this entry »

การลงรายการบรรณานุกรม Library of Things
เม.ย. 24th, 2020 by dussa

แผนกจัดหาและวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ ทำหน้าที่จัดหาและวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศทุกประเภท เช่น หนังสือ วารสาร Board Game สื่ออิเล็กทรอนิกส์ ต่าง ๆ เพื่อนำมาให้บริการผู้ใช้ห้องสมุด นอกจากสิ่งที่กล่าวมานั้น ศูนย์บรรณสารสนเทศยังให้บริการสิ่งของต่าง ๆ ที่เรียกว่า “Library of Things”

Library of Things หมายถึง สรรพสิ่งอื่น ๆ ที่นอกเหนือหนังสือ ที่ห้องสมุดมีให้ยืม โดยไม่คิดมูลค่าหรือมีค่าใช้จ่ายในการขอใช้บริการ แต่อย่างใด ซึ่งอาจจะเป็นได้ตั้งแต่ เครื่องใช้ในครัว อุปกรณ์ทำสวน และเมล็ดพันธุ์พืช อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ของเล่น เกมส์ ชุดวิทยาศาสตร์ อุปกรณ์งานฝีมือ เครื่องดนตรี และอื่นๆ อีกมากมาย เพื่อเป็นการขยายการให้บริการของห้องสมุด และเพื่อให้ห้องสมุดเป็นสถานที่ ที่ทุกคนสามารถเข้าใช้บริการ และยืมสิ่งอื่น ๆ ได้นอกเหนือจากหนังสือหรือสิ่งพิมพ์ สื่ออื่น ๆ

การลงรายการทางบรรณานุกรมของสรรพสิ่งต่าง ๆ ที่จัดอยู่ใน Library of Things เข้าระบบห้องสมุด เพื่อให้สามารถเก็บหลักฐานจำนวนของการมีสิ่งของเหล่านี้ จำนวนของการใช้บริการ บรรณารักษ์วิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ จึงต้องศึกษาลักษณะของสิ่งของต่าง ๆ เหล่านี้ เพื่อให้มีการลงรายการทางบรรณานุกรมตามหลักเกณฑ์ได้อย่างถูกต้องและเหมาะสมสำหรับสิ่งของต่าง ๆ

การลงรายการบรรณานุกรม  เข้าระบบห้องสมุด WorldShare Management Services (WMS) สำหรับผู้ปฏิบัติงาน แล้วเลือก Module Metadata

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

Read the rest of this entry »

การจัดการงบประมาณด้วยระบบ WMS ใน Module Acquisition
เม.ย. 24th, 2020 by dussa

ศูนย์บรรณสารสนเทศ เป็นศูนย์รวมทรัพยากรสารสนเทศเพื่อการค้นคว้าและเรียนรู้ด้านจีนศึกษาและวิทยาศาสตร์สุขภาพ ดังนั้น ในการจัดหาทรัพยากรสารสนเทศ จึงต้องมีการบริหารจัดการเพื่อให้สอดคล้องกับงบประมาณที่ได้รับจากมหาวิทยาลัย ศูนย์บรรณสารสนเทศ ใช้ระบบห้องสมุด WorldShare Management Services (WMS) เพื่อบริหารจัดการตั้งแต่งบประมาณ การจัดเก็บระเบียนทรัพยากร การให้บริการยืม-คืน และงานอื่น ๆ ที่สนับสนุนงานของศูนย์บรรณสารสนเทศ

งบประมาณที่ได้รับจากมหาวิทยาลัย  เริ่มตั้งแต่ตั้งแต่ 1 สิงหาคม – 31 กรกฏาคม  (เริ่มนับตามปีการศึกษา)  แผนกจัดหาและวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ สามารถดำเนินการจัดทำงบประมาณ โดยยึดหลักเกณฑ์ ดังนี้

หลักเกณฑ์การจัดทำงบประมาณ

  1. ดำเนินจัดสรรงบประมาณที่ได้รับจากมหาวิทยาลัยได้อย่างเหมาะสม
  2. จัดสรรงบประมาณให้คณะทุกคณะ และศูนย์บรรณสารสนเทศ
  3. การใช้จ่ายงบประมาณควรดำเนินการให้เป็นไปตามงบประมาณที่ได้รับการจัดสรร

การจัดสรรงบประมาณในระบบ WorldShare Management Services WMS ใน Module Acquisition  มีวิธีการดังนี้

1. เข้าระบบ WMS ในส่วนของผู้ปฏิบัติงาน เลือก Module Acquisition

หน้าจอจะปรากฎดังนี้

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

2.  คลิก Budget เพื่อเข้าไปจัดการเรื่องงบประมาณ

 

หน้าจอจะปรากฎดังนี้

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

Read the rest of this entry »

ขั้นตอนการขออนุมัติจัดซื้อทรัพยากรสารสนเทศและวิธีการยืมเงินทดรองจ่ายหรือเงินสดย่อยพร้อมการเคลียร์คืน
เม.ย. 14th, 2020 by ratchanee

ศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ มีภารกิจที่จะต้องบริหารจัดการ การจัดซื้อทรัพยากรสารสนเทศ
เข้าห้องสมุดให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ รองรับกับคณะวิชาที่เปิดสอนในมหาวิทยาลัยโดยที่คณาจารย์และนักศึกษามี
ส่วนร่วมในการพิจารณาหรือคัดเลือกหนังสือ การสั่งซื้อหนังสือบางครั้งจำเป็นต้องมีการยืมเงินทดรองจ่ายหรือเงินสดย่อย
เพื่อนำไปจัดซื้อทรัพยากรสารสนเทศ

กรณียืมเงินทดรองจ่ายหรือเงินสดย่อยเพื่อนำไปจัดซื้อทรัพยากรสารสนเทศจากภายนอกสถานที่ มีขั้นตอนดังนี้
1. ทำใบขออนุมัติจัดซื้อทรัพยากรสารสนเทศซึ่งใบขออนุมัติ ประกอบด้วย

1.1 ใบขอเบิกงบประมาณ (ซึ่งเอกสารนี้สามารถขอแบบฟอร์มได้จากกองแผนและพัฒนา

ใบขอเบิกงบประมาร

หมายเลข 1 ใส่เลขที่ออกของหน่วยงาน พร้อมวันที่ออก
หมายเลข 2 ใส่ปีงบประมาณการศึกษา
หมายเลข 3 ใส่ชื่อหน่วยงานที่ขอเบิกงบประมาณ
หมายเลข 4  ใส่รายการเรื่องที่ต้องการขออนุมัติ
หมายเลข 5  ลงนามผู้อำนวยการศูนย์บรรณสารสนเทศ

 

1.2 ใบขออนุมัติ

 

ใบขออนุมัติจัดซื้อตำราและ ทรัพยากรการเรียนรู้

 

หมายเลข 1  ใส่เลขที่ออกของหน่วยงาน พร้อมวันที่ออก
หมายเลข 2  ใส่เลขที่ใบเสนอราคา
หมายเลข 3  ใส่เครื่องหมายถูกด้านหน้าทรัพยากรที่ต้องการจัดซื้อ
หมายเลข 4  ลงชื่อผู้ขออนุมัติ และชื่อหัวหน้าแผนกจัดหาฯ
หมายเลข 5  ลงนามชื่อผู้อำนวยการศูนย์บรรณสารสนเทศ

Read the rest of this entry »

Circulation Dashboard ง่าย ๆ ใช้ให้เป็น ทำเป็น ใช้ข้อมูลเป็น
มี.ค. 27th, 2020 by ปัญญา วงศ์จันทร์

การแสดงข้อมูล สถิติในรูปแบบของตัวเลข กราฟ เพื่อสรุปข้อมูลต่าง ๆ ในภาพรวม (Dash Board) เพื่อประโยชน์ในการบริหารจัดการต่อไปนั้น เป็นสิ่งที่ผู้เขียนกำลังศึกษาฟังก์ชั่นงานในระบบ  WMS (WorldShare Management Services) โดยการหาข้อมูลเกี่ยวกับ Analytics Reports เพื่อจะได้ทำสถิติการยืม-คืน  และพบว่า มีฟังก์ชั่น Circulation Reports  ที่สามารถทำ Circulation Dashboard ได้

รูปที่ 1 แสดงสถิติการยืมในรูปของ Dash Board

จากรูปที่ 1 จะเห็นได้ว่ายอดการจองหนังสือน้อย เนื่องจากขณะที่เขียนเป็นช่วงมหาวิทยาลัยปิดการเรียนการสอน ช่วง COVID-19  ห้องสมุดก็จะสามารถเห็นข้อมูลเหล่านี้และวางแผนกันต่อไปได้
Read the rest of this entry »

รูปปั้นของนายเลี้ยง นวพันธ์ (苏谷良) หรือโซวก๊กเลี้ยง และภาพ ดร. สุขุม นวพันธ์ ผู้บริจาคสร้างอาคารบรรณสาร
มี.ค. 26th, 2020 by namfon

เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๓  มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเฉลิมพระเกียรติ  ก่อตั้งด้วยมูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง  ในวาระครบรอบ ๘๐ ปี คณะกรรมการมูลนิธิฯ ได้มีมติความคิดเห็นตรงกัน ที่มูลนิธิฯ จะจัดให้มีการเฉลิมฉลองพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ที่ได้ทรงปกครองอาณาประชาราษฎร์ทุกหมู่เหล่า ทุกเชื้อชาติ ศาสนาให้มีความร่มเย็นสมานฉันท์ มีเจตจำนงที่จะช่วยส่งเสริมบำรุงการศึกษาระดับสูงของประเทศให้รุ่งเรืองขึ้น  จึงเกิด “โครงการมหาวิทยาลัยของมูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง”  โดย ดร.อุเทน  เตชะไพบูลย์ ประธานคณะกรรมการอำนวยการ ได้บริจาคเงิน ๑๐๐ ล้านบาท เป็นท่านแรก และได้รณรงค์ขอรับสนับสนุนเงินบริจาค  ผู้มีจิตศรัทธาทั้งภาครัฐและเอกชน  จากนักธุรกิจ คหบดี ธนาคาร องค์การธุรกิจและองค์กรการกุศล  ตลอดจนประชาชนชาวไทยและชาวต่างชาติ  เรียกว่า “คณะผู้ก่อตั้ง” มหาวิทยาลัยฯ ตั้งแต่ ๑๐ ล้านบาทเป็นต้นไป ดร.สุขุม นวพันธ์ เป็นผู้หนึ่งที่ได้รับการเชิญให้ร่วมบริจาคด้วย โดย ดร.สุขุมฯ ได้ให้สัมภาษณ์ไว้ในหนังสือ ๙๐ ปี มูลนิธิป่อเต็กตึ๊งบนเส้นทางประวัติศาสตร์สังคมไทย : ประวัติศาสตร์จากคำบอกเล่า ความว่า

…วันหนึ่ง คุณอุเทนกับผมเล่นกอล์ฟด้วยกัน ท่านบอกว่ากำลังดำริจะก่อตั้งมหาวิทยาลัยขึ้นแห่งหนึ่งชื่อหัวเฉียว  และท่านเองก็จะบริจาคหอประชุมในนามบิดาท่าน ๑๐๐ ล้านบาท  ผมก็เรียนท่านว่าเป็นความคิดและโครงการที่ดี   ผมจะขอบริจาค ๒๐ ล้านบาท สร้างตึกห้องสมุดเพื่อเป็นที่ระลึกคุณพ่อผม ฉะนั้น คุณอุเทนถือว่าเป็นผู้บริจาครายแรก และผมก็เป็นผู้บริจาครายที่สอง …  Read the rest of this entry »

»  Substance:WordPress   »  Style:Ahren Ahimsa