SIDEBAR
»
S
I
D
E
B
A
R
«
การลงรายการบรรณานุกรมทรัพยากรสารสนเทศตามมาตรฐาน RDA
ก.ค. 7th, 2017 by jittiwan

บรรณารักษ์วิเคราะห์และทำรายการทางบรรณานุกรม ต้องศึกษาพัฒนาการในการลงรายการทางบรรณานุกรม เพื่อให้สามารถจัดการกับข้อมูลที่ลงรายการให้เกิดประโยชน์แก่ผู้ใช้ห้องสมุดให้มากที่สุด การลงรายการทางบรรณานุกรม ก็เพื่อต้องการสร้างช่องทางในการเข้าถึงทรัพยากรสารสนเทศ การแสดงผลทรัพยากรสารสนเทศ เพื่อให้มีการสืบค้นได้อย่างมีประสิทธิภาพและเพื่อผู้ใช้ข้อมูล

ปัจจุบัน คำว่า RDA หรือ Resource Description and Access เป็นคำที่ได้ยินกันหนาหูในกลุ่มบรรณารักษ์วิเคราะห์และทำรายการทางบรรณานุกรม ว่าจะมาแทนที่ AACR II ผู้เขียน จึงได้ศึกษาและสรุป RDA จากผู้รู้ ไว้ดังนี้

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับมาตรฐาน RDA Read the rest of this entry »

การดูแลหนังสือ
ก.ค. 7th, 2017 by pisit

ปัญหาที่พบบ่อยในห้องสมุดอีกข้อหนึ่งก็คือ ก็คือ หนังสือชำรุด อาจมีสาเหตุมาจาก

  1. ชำรุดตามอายุของการผลิต เช่น วัสดุที่ใช้มีคุณภาพไม่ดี ความบอบบางของหนังสือทำให้หนังสือเสียหายเร็ว
  2. ชำรุดจากการใช้งานมากเกินไป

วิธีการดูแลหนังสืออย่างถูกวิธี

1. หยิบด้วยมือที่แห้ง

2.เปิดหนังสือให้ถูกวิธี โดย

Read the rest of this entry »

CLASSIFICATION WEB
มิ.ย. 29th, 2017 by jittiwan

Classification and Library of Congress Subject Headings  คือ  เว็บไซต์สำหรับการจัดหมวดหมู่และหัวเรื่องของหอสมุดรัฐสภาอเมริกันแบบออนไลน์  ซึ่งสามารถเข้าใช้งานโดยต้องบอกรับเป็นสมาชิกของแต่ละห้องสมุดหรือหน่วยงานนั้น  โดยสามารถอ่านรายละเอียดได้ที่เว็บไซต์  https://classificationweb.net/  ซึ่งปรากฏดังภาพประกอบที่  1

ภาพประกอบที่ 1 Classification Web

ภาพประกอบที่ 1 Classification Web

รายละเอียดเบื้องต้นในการสั่งซื้อและราคา

  1. หากสั่งซื้อเพียง 1 User ราคา : $ 325
  2. ผู้ใช้งานจะต้อง Log on เพื่อเข้าสู่เว็บไซต์ Classification Web โดยใช้ Username & Password ที่แต่ละหน่วยงานกำหนดไว้  ซึ่งในการเข้าถึงนั้นไม่จำกัดเว็บไซต์
  3. สามารถใช้งานหรือเข้าถึงได้ 20 ชั่วโมง/เดือน
  4. ผู้ใช้งานสามารถเข้าถึงได้ 1 User/ 1 Site
  5. หากห้องสมุดหรือหน่วยงานที่มีประสงค์จะสมัครสมาชิกมากกว่า 1 User มีรายละเอียดดังนี้
    5.1  ผู้ใช้ตั้งแต่  2-4 คน  ราคา =  $ 525
    5.2  ผู้ใช้ตั้งแต่  5-9 คน  ราคา =  $ 640
    5.3  ผู้ใช้ตั้งแต่  10-14 คน  ราคา =  $ 775
    5.4  ผู้ใช้ตั้งแต่  15-19 คน  ราคา =  $ 910
    5.5  ผู้ใช้ตั้งแต่   20-24 คน  ราคา =  $1,320
    5.6  ผู้ใช้ตั้งแต่   25-29 คน  ราคา =  $1,825
    5.7  ผู้ใช้ตั้งแต่ 30 คนขึ้นไป  ราคา =  $1,960  หากเพิ่มผู้ใช้ 5 คน จะต้องบวกราคาเพิ่มอีก $135

โดยมีรายละเอียดดังปรากฏดังภาพประกอบที่  2 Read the rest of this entry »

มาสร้างแบบสอบถามออนไลน์ ง่ายๆ กันค่ะ
มิ.ย. 29th, 2017 by kamolchanok

ปัจจุบันในหน่วยงานทุกหน่วยงาน มีการสำรวจข้อมูลขึ้นมากมาย ซึ่งต้องใช้กระดาษเป็นจำนวนมาก และเป็นการสิ้นเปลืองทรัพยากร ถ้าเรารู้จักวิธีการประหยัดกระดาษ โดยการใช้ แบบสำรวจข้อมูล ออนไลน์ กันมากขึ้น ก็จะช่วยชาติประหยัดพลังงานได้อีกเยอะค่ะ

การสร้างแบบสอบถามออนไลน์ หรือ แบบสำรวจออนไลน์ ง่ายๆ นี้เราจะใช้ ประโยชน์จาก Google form ซึ่งใช้งานง่ายกว่าที่เราคิด เพียงท่านมี Gmail ท่านก็สามารถ ทำ Google form ได้แล้ว

มีขั้นตอนการทำดังนี้ Read the rest of this entry »

บริการโสตทัศนวัสดุ
มิ.ย. 28th, 2017 by prapaporn

แผนกโสตฯ

แผนกทรัพยากรการเรียนรู้

แผนกทรัพยากรการเรียนรู้  มีหน้าที่ในการให้บริการด้านโสตทัศนวัสดุ หลายรูปแบบที่มีคุณค่าต่อการศึกษาและการเรียนการสอน ซึ่งจะอยู่ในรูปแบบของ ซีดีรอม ซีดีประกอบหนังสือ วีซีดี  ดีวีดี แผนที่ แผ่นภาพ หุ่นจำลอง  เป็นต้น ผู้ใช้บริการสามารถเลือกค้นคว้าเรียนรู้ได้ตามความสนใจ

โสตทัศนวัสดุที่ให้บริการ สามารถจำแนกตามลักษณะการใช้งาน ดังนี้

  • สื่อโสตฯที่มาพร้อมกับหนังสือ หมายถึง แผ่นซีดีรอม แผ่นวีซีดี หรือแผ่นดีวีดี ที่มีข้อมูลประกอบกับหนังสือเล่มนั้น โดยส่วนใหญ่จะต้องใช้เครื่องคอมพิวเตอร์เปิดดูข้อมูลในแผ่น
  • สื่อการเรียนการสอน หมายถึง แผ่นซีดีรอม หรือ แผ่นดีวีดี ที่มี multimedia / interactive เพื่อช่วยสอน โดยส่วนใหญ่จะต้องใช้เครื่องคอมพิวเตอร์เปิดดูข้อมูลในแผ่น
  • สื่อโสตฯ ประกอบการเรียนการสอน เช่น แผ่นซีดีรอม แผ่นวีซีดี  แผ่นดีวีดี แผนที่ หรือ ลูกโลก ฯลฯ ที่อาจารย์ผู้สอนใช้ประกอบกับการเรียนการสอนวิชานั้นๆ
  • สื่อโสตฯ ประเภทภาพยนตร์ หมายถึง แผ่นวีซีดี หรือ ดีวีดี ที่เป็นภาพยนตร์สารคดี ภาพยนตร์บันเทิง ภาพยนตร์ประกอบการเรียน เป็นต้น

 

Read the rest of this entry »

การปรับกระบวนการและขั้นตอนการกำหนดเลขหมวดหมู่ Call number สำหรับสิ่งพิมพ์ มฉก.
มิ.ย. 28th, 2017 by dussa

แผนกจัดหาและวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ ตระหนักและเห็นความสำคัญของสิ่งพิมพ์ทุกประเภทที่ห้องสมุดได้รับไม่ว่าจะเป็นการจัดซื้อหรือจัดหา (ทรัพยากรที่ได้เปล่า) ตลอดจนทรัพยากรที่ผลิตจากหน่วยงานของมหาวิทยาลัย

ปัจจุบันมีสิ่งพิมพ์ที่ผลิตโดยมหาวิทยาลัย  จากหลายแหล่ง เช่น ศูนย์สหกิจศึกษา และรายงานระดับปริญญาตรีจากคณะต่าง ๆ  มีเป็นจำนวนมาก ทำให้เป็นอุปสรรคต่อการให้บริการสารสนเทศ เนื่องจากทรัพยากรออกให้บริการล่าช้าไม่ทันกับความต้องการของผู้ใช้  เนื่องจากต้องใช้เวลาในการวิเคราะห์และจัดหมวดหมู่เนื้อหาดังกล่าว  แผนกจัดหาฯ จึงมีมติจากที่ประชุมของแผนกให้มีการปรับปรุงวิธีการและขั้นตอนการกำหนดหมวดหมู่ Call number ใหม่เพื่อให้การทำงานมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นและทำให้บรรณารักษ์ปฏิบัติงานได้รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ

ดังนั้นแผนกจัดหาฯ จึงมีการทบทวนและปรับปรุงวิธีการลงรายการทรัพยากรสารสนเทศ ประเภทของทรัพยากรที่เป็นรายงานของนักศึกษาระดับปริญญาตรี หลักสูตรสาขาวิชาต่าง ๆ เช่น สหกิจศึกษา โครงงานพิเศษ การวิจัย และการฝึกงานของนักศึกษา รวมทั้งงานวิจัยสถาบัน วิทยานิพนธ์ ภาคนิพนธ์ สาระนิพนธ์ และการศึกษาอิสระ จะมีการปรับปรุงเลขหมวดหมู่ของสิ่งพิมพ์ดังกล่าวโดยกำหนดขึ้นใช้เองเพื่อให้มีการทำงานที่รวดเร็วยิ่งขึ้นโดย มีเป้าหมายดังนี้ Read the rest of this entry »

การสงวนรักษาหนังสือโดยวิธีการเสริมปกแข็ง
มิ.ย. 26th, 2017 by pisit

ผู้เขียนได้เคยเข้าร่วมอบรมเชิงปฎิบัติการเรื่อง การซ่อมและการสงวนรักษาหนังสือ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยบูรพา ทำให้ได้รับความรู้เรื่องวิธีการสงวนรักษาหนังสือโดยวิธีการเสริมปกแข็งทั้งนี้เพื่อให้บรรณารักษ์หรือบุคลากรห้องสมุดนำความรู้ไปดำเนินการแก้ไขวิธีการซ่อมทำปกที่ถูกวิธีสามารถปฎิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยผู้เขียน ขอนำบางส่วนจากการอบรม คือ วิธีการสงวนรักษาหนังสือแบบวิธีการเสริมปกแข็ง

วิธีการเสริมปกแข็ง (Stiffening)

วัสดุและอุปกรณ์

  1. กระดาษปกเบอร์12  หรือกระดาษปกแข็งที่มีความหนา .05 นิ้ว
  2. ผ้าฝ้ายที่มีความละเอียดมาก
  3. กาว
  4. มีดคัตเตอร์
  5. กรรไกร
  6. แผ่นพลาสติค
  7. ไม้กระดาน
  8. เครื่องอัดหนังสือ
  9. ไม้เนียน
  10. เครื่องตัดกระดาษ

Read the rest of this entry »

ขั้นตอนการแยกเอกสารวางบิลส่งให้กับทางกองคลัง
มิ.ย. 25th, 2017 by chanunchida

การวางบิล เป็นเอกสารที่ทางมหาวิทยาลัยออกเพื่อให้กับทางร้านค้าในการจัดซื้อหนังสือ และทรัพยากรสารสนเทศประเภทต่าง ๆ เพื่อให้ร้านค้าทราบถึงจำนวนเงินที่จะได้รับ และใช้เป็นเอกสารสำหรับการชำระเงิน

ปัญหาที่มักพบบ่อยในการแยกเอกสารวางบิล คือ ความผิดพลาดของการออกเอกสารของทางร้านค้า เช่น การกรอกรายละเอียดต่าง ๆ ไม่ครบถ้วน ไม่ตรงตามใบเสนอราคา ไม่มีสำเนาของใบเสนอราคาและใบส่งของเพียงพอสำหรับใช้เก็บเป็นหลักฐาน ทำให้ทางศูนย์บรรณสารสนเทศต้องสูญเสียเงินในการถ่ายเอกสาร รวมไปถึงปัญหาการลืมส่งเอกสาร ส่งผลให้ร้านค้าได้รับเงินล่าช้า Read the rest of this entry »

การแสดงสรุปค่าใช้จ่ายจัดซื้อทรัพยากรสารสนเทศ
มิ.ย. 25th, 2017 by chanunchida

การแสดงผลด้วยกราฟ มักได้รับความนิยมมากกว่าการแสดงผลด้วยตาราง เพราะว่าการแสดงผลด้วยกราฟนั้น สามารถทำความเข้าใจได้ง่าย  ดังนั้นกราฟจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นต่อการนำเสนองานเป็นอย่างยิ่ง เพราะช่วยประหยัดเวลาในการอธิบาย และทำให้การนำเสนอน่าสนใจ และเป็นที่น่าจดจำมากขึ้น

ผู้เขียน มีหน้าที่ในการจัดทำสรุปค่าใช้จ่ายจัดซื้อทรัพยากรสารสนเทศ แยกตามคณะ แผนก โดยรวบรวมค่าใช้จ่ายทรัพยากรสารสนเทศประเภทต่าง ๆ และนำมาบันทึกในตาราง เพื่อทำรายงานสรุปให้กับผู้บริหาร และผู้ที่เกี่ยวข้อง ในภายหลังได้ปรับรูปแบบการนำเสนอเป็นแบบกราฟ เมื่อให้ผู้บริหารเห็นภาพได้ง่ายมากขึ้นกว่าการนำเสนอแบบตาราง

ขั้นตอนของการทำกราฟ มีดังนี้

1.คิดวัตถุประสงค์ของการนำเสนอกราฟ เช่น ผู้เขียนจัดทำกราฟประเภทนี้เพื่อบอกสัดส่วนของค่าใช้จ่ายในการจัดซื้อทรัพยากรสารสนเทศของแต่ละคณะ  แผนก

2.เลือกประเภทของกราฟที่เหมาะสมกับการใช้งาน เช่น กราฟแทง กราฟเส้น และกราฟวงกลม ซึ่งกราฟแต่ละประเภทมีวัตถุประสงค์ในการนำเสนอต่างกัน กล่าวคือ Read the rest of this entry »

ความรู้สู่ชุมชน อีกหนึ่งบริการเชิงรุก (Proactive Service) ของศูนย์บรรณสารสนเทศ
มิ.ย. 24th, 2017 by kityaphat

ศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ มีความตระหนักและคำนึงถึงผู้ใช้บริการเป็นอย่างมาก พยายามจัดบริการเชิงรุกเพื่อให้ผู้ใช้บริการรู้จักศูนย์บรรณสารสนเทศ รู้จักบริการต่างๆ และใช้ทรัพยากรสารสนเทศ ที่จัดหาเข้ามาเพื่อตอบสนองการเรียน การสอน การค้นคว้า การวิจัย อย่างคุ้มค่า ศูนย์บรรณสารสนเทศ จึงได้จัดบริการเชิงรุกหลายบริการ เพื่อให้ผู้ใช้รู้จักและมาใช้ทรัพยากรสารสนเทศ มากขึ้น เป็นกิจกรรมที่ศูนย์บรรณสารสนเทศ เริ่มจัดทำในปีการศึกษา 2559

บริการเชิงรุกอีกหนึ่งบริการของศูนย์บรรณสารสนเทศ คือ การบริการความรู้สู่ชุมชน (เล่มที่ใช่ หนังสือที่ชอบ) เพื่อต้องการนำข้อมูลบริการต่างๆ และหนังสือที่เกินความต้องการ/หนังสือที่ไม่ตรงกับวัตถุประสงค์ของศูนย์บรรณสารสนเทศ ออกสู่สายตาชุมชนของมหาวิทยาลัย เนื่องจาก ผู้ใช้บริการอาจจะยังไม่ทราบบริการของศูนย์บรรณสารสนเทศ และผู้ใช้อาจจะไม่มีกำลังในการซื้อหนังสือเหล่านี้ได้ และอาจจะมีความต้องการเป็นเจ้าของ

ทีมงานบริการสารสนเทศ เมื่อได้รับนโยบายจากผู้บริหารศูนย์บรรณสารสนเทศ จึงมีการวางแผนกิจกรรม ดังนี้ Read the rest of this entry »

»  Substance:WordPress   »  Style:Ahren Ahimsa