ผู้เขียนได้รับมอบหมายให้ทำการเปลี่ยน Location ของหนังสือจากศูนย์บรรณสารสนเทศ (วข.ยศเส) มาที่ศูนย์บรรณสารสนเทศ (บางพลี) โดยระบุตำแหน่งหนังสือและสถานที่จัดวางหนังสือเล่มนั้น ๆ เพื่อให้ทราบแหล่งจัดเก็บสารสนเทศดังกล่าว โดยได้ทำการโอนย้ายข้อมูลบาร์โค้ดหนังสือในแต่ละเล่มเพื่อความถูกต้องและสมบูรณ์ ซึ่งมีขั้นตอนและรายละเอียดดังนี้
1.เข้าระบบ World Share Management Services (WMS) https://hcu.share.worldcat.org/wms/cmnd/ แล้ว Login จะปรากฏหน้าจอดังนี้ Read the rest of this entry »
วิธีการ Shift row down และ Shift row up. ด้วยการแก้ไขการสลับบรรทัดใน Bibliographic Record ของระบบห้องสมุด WorldShare Management Services (WMS)
จากการที่ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการเปลี่ยน Location ของสาขาวิชา สหกิจศึกษา โครงงานพิเศษ และงานวิจัย ของนักศึกษาปริญญาตรีมาแก้ไขหมวดหมู่นั้น ได้พบว่าในบางส่วนของ Master record เช่น tag 700 ยังมีจุดที่ต้องสลับสับเปลี่ยนบรรทัด คือ การสลับบรรทัดขึ้นลงก่อนหลังในตำแหน่งที่ปรึกษาและที่ปรึกษาร่วมอยู่ ซึ่งต้องมีการแก้ไขในส่วนนี้ให้ถูกต้องตามตำแหน่งและหน้าที่ก่อนหลัง ดังนั้นจึงขออธิบายสัญลักษณ์ที่ทำการเปลี่ยนให้ tag ต่างๆ สลับบรรทัด คือ Shift row down กับ Shift row up. ในบรรทัดที่มีเครื่องหมาย ลูกศร ขึ้นลง ซึ่งจะทำให้การทำงานสะดวกและย่นระยะเวลาในการแก้ไขง่ายขึ้น โดยไม่ต้องพิมพ์หรือ copy วางให้สับสนบรรทัด ดังนี้
ขั้นตอนที่ 1 ไปที่โมดูล Metadata แล้วค้นหาชื่อเรื่องที่ต้องการแก้ไข เช่น เรื่อง ยาอมสารสกัดหญ้าดอกขาว* Read the rest of this entry »
การสืบค้นวิทยานิพนธ์ ทำได้หลายวิธี แล้วแต่ความถนัด หรือเทคนิคของแต่ละคน ในบางครั้ง อาจจะมีความต้องการสืบค้นว่า วิทยานิพนธ์ในสาขาที่ศึกษาอยู่นั้น มีรายชื่อใดบ้าง แต่ทั้งนี้ การสืบค้นด้วยสาขาวิชา หรือหลักสูตร ต้องขึ้นอยู่กับว่าในระเบียนการลงรายการวิทยานิพนธ์นั้น มีการใส่ข้อมูลสาขาวิชา หรือหลักสูตร เป็นคำค้นด้วยหรือไม่
ศูนย์บรรณสารสนเทศ ได้อำนวยความสะดวกในการค้นหาวิทยานิพนธ์ ให้ได้ตรงตามสาขาวิชาที่เปิดให้มีการเรียนการสอนในมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ จึงขอแนะนำวิธีการสืบค้นวิทยานิพนธ์ จากสาขาวิชา โดยมีแนวทางดังนี้
ตัวอย่าง คำค้นที่เลือกใช้โดยต้องการค้นวิทยานิพนธ์ การสอนภาษาจีน ใช้คำค้นคือ Teaching Chinese (Huachiew Chalermprakiet Unversity) ที่ subject แล้ว search ปรากฎหน้าจอที่ 2 Read the rest of this entry »
นับได้ว่าในปัจจุบัน ไม่มีใครไม่รู้จัก [ส่อง] ส่องในที่นี้ผู้เขียนหมายถึง ส่อง QR Code ส่องหรือเรียกอย่างเป็นทางการว่าสแกน QR Code
ผู้เขียน ทำหน้าที่ลงรายการบรรณานุกรมในส่วนของหนังสือ นวนิยายและเรื่องสั้น ทำให้เห็นถึงพัฒนาการของหนังสือนวนิยาย เช่น QR Code ทดลองอ่าน ของสำนักพิมพ์ต่างๆ จากทางด้านหลังของปกหนังสือ QR Code ทดลองอ่านนี้ วิธีการสแกน QR Code ก็ง่าย ๆ เพียงแค่เอากล้องไปส่องหรือจ่อที่ QR Code ที่เราต้องการสแกน เมื่อสแกนสำเร็จ ก็จะมีข้อความ หรือลิงค์ หรือข้อมูลที่อยู่ใน QR Code ขึ้นมา แตะที่ลิงค์ก็จะเข้าไปที่สำนักพิมพ์นั้น ๆ เช่น สำนักพิมพ์สถาพรแล้วลิงค์ไปยังนวนิยายเล่มที่เราทำการสแกน ในนั้นมีเนื้อเรื่องของนวนิยายให้เราได้ทดลองอ่านกันประมาณ 40 กว่าหน้าเลยที่เดียว บางเรื่องก็มีให้ทดลองอ่านเยอะมาก แถมยังได้ทดลองอ่านได้วิเคราะห์พิจารณาว่าเรื่องนี้ตรงกับความต้องการของเราหรือเปล่า ถ้าทดลองอ่านแล้วยังไม่โดนใจ ก็สแกน QR Code เล่มต่อไปมาทดลองอ่านได้อีก สแกน QR Code ไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะได้นวนิยายเล่มที่ถูกใจ สามารถตอบโจทย์ความต้องการของผู้ที่นิยมและชื่นชอบทางด้านหนังสือนวนิยายได้เป็นอย่างดีในระดับหนึ่ง ทางศูนย์บรรณสารสนเทศ จึงจัดให้บริการหนังสือนวนิยายใหม่ๆ สามารถหายืมได้ที่ “มุมคนรักนิยาย” ที่ชั้น 1 ของศูนย์บรรณสารสนเทศ เรามีไว้ให้บริการ มากมายหลายเรื่อง
ตัวอย่างการ สแกน QR Code ของหนังสือนวนิยาย
รูปภาพที่ 1 หนังสือนวนิยายที่ต้องการ สแกน
Read the rest of this entry »
ศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ มีภารกิจที่จะต้องบริหารจัดการการจัดซื้อหนังสือเข้าห้องสมุดให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ รองรับกับคณะวิชาที่เปิดสอนในมหาวิทยาลัย และเพื่อความสอดคล้องกับพันธกิจและประเด็นยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัย ข้อที่ 1 คือ พัฒนามหาวิทยาลัยให้เป็นศูนย์กลางการศึกษาด้านจีน และวิทยาศาสตร์สุขภาพ และสอดคล้องกับยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย ข้อที่ 1 สร้างความเข้มแข็งทางด้านจีนศึกษาและวิทยาศาสตร์สุขภาพ จึงได้จัดกิจกรรมเพื่อให้คณาจารย์และนักศึกษามีส่วนร่วมในการพิจารณาหรือคัดเลือกหนังสือ โดยประหยัดเวลาในการเดินทาง ประหยัดค่าใช้จ่ายในการไปร้านหนังสือ ได้ช่วยพิจารณาหรือคัดเลือกหนังสือเข้าห้องสมุดได้ตรงกับหลักสูตรที่สอน หรือความต้องการในการอ่านเพื่อเพิ่มพูนความรู้ โดยในปีการศึกษา 2562 กำหนดจัดกิจกรรมสัปดาห์คัดเลือกหนังสือเข้าห้องสมุดจำนวน 2 ครั้ง ระหว่างวันที่ 2-6 ก.ย.62 และวันที่ 4-8 พฤษภาคม 2563 และเพื่อให้อาจารย์ บุคลากร และนักศึกษา ได้หนังสือที่ตรงกับความต้องการในการเรียนการสอน การปฏิบัติงาน และการเสริมสร้างพัฒนาคุณภาพชีวิต
วัตถุประสงค์ของการจัดกิจกรรม คือ
1. เพื่อให้คณาจารย์นักศึกษา และบุคลากร มีส่วนร่วมในการพิจารณาหรือคัดเลือกหนังสือ 2. เพื่อให้คณาจารย์นักศึกษา และบุคลากร มีความพึงพอใจในการพิจารณาหรือคัดเลือกหนังสือ 3. เพื่อเป็นการบริการเชิงรุก ในการนำหนังสือมาให้พิจารณาคัดเลือกโดยไม่ต้องเดินทางไปถึงร้านหนังสือ Read the rest of this entry »
คงปฏิเสธไม่ได้ว่าการนำเสนอข้อมูลข่าวสารในยุคปัจจุบันมีรูปแบบการนำเสนอที่เปลี่ยนไป รวมทั้งการแนะนำหนังสือ ต้องมีความน่าสนใจ สั้น กะทัดรัดและไม่ใช้เวลาในการอ่านนานเกินไป ผู้เขียนได้รับความกรุณาจากผู้อำนวยการศูนย์บรรณสารสนเทศ และคุณทศพล ศิลาศาสตร์ นักเทคโนโลยีสารสนเทศ แผนกทรัพยากรการเรียนสารสนเทศ แนะนำการใช้โปรแกรม PowerPoint และการใส่ดนตรีประกอบการนำเสนอ การแปลงไฟล์ข้อมูลเป็นวีดิโอ ตลอดจนเนื้อหาที่จะใส่ในวีดีโอ ซึ่งมีขึ้นตอนในการนำเสนอแบบง่ายๆ ดังนี้
วิธีทำมีดังนี้
ในยุคดิจิทัลที่โลกมีการขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีทุกอย่างมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ศูนย์บรรณสารสนเทศได้เห็นความสำคัญของเรื่องนี้จึงมีการนำเอาเทคโนโลยีมาใช้ในการจัดแสดงแนะนำหนังสือใหม่แต่ละเดือนของปีการศึกษาด้วย QR code แนะนำหนังสือใหม่ผ่าน Facebook เพียงแต่ใช้โทรศัพท์มือถือสแกน QR code หนังสือใหม่ที่แนะนำ ก็จะได้รายละเอียดข้อมูลของหนังสือเล่มนั้น ๆ ปรากฎในหน้าจอมือถือ
ผู้เขียนรับผิดชอบในการจัดทำ QR Code แนะนำหนังสือใหม่ที่ชั้น 1 ศูนย์บรรณสารสนเทศ ขอแบ่งปันการทำ QR แนะนำหนังสือใหม่ ผ่าน Facebook ของศูนย์บรรณสารสนเทศ ดังนี้
1. เข้าเว็บไซต์ https://web.facebook.com/pg/libhcufanpage/photos/?ref=page_internal
จัดทำหนังสือลงใน Facebook ของศูนย์บรรณสารสนเทศในแต่ละเดือน โดยใส่บรรณานุกรมหนังสือ และรายละเอียดแบบย่อให้ผู้ใช้ได้ทราบพอสังเขป หลังจากแนะนำหนังสือผ่าน Facebook เสร็จแล้ว นำมาทำ QR code Read the rest of this entry »
ขั้นตอนการลงรายการบรรณานุกรม ในส่วนของ (LHRs) ของระบบ WorldShare Management Services-WMS
จากการที่ได้ทำการลงรายการบรรณานุกรม หนังสือของระบบ WorldShare Management Services-WMS มาระยะหนึ่ง ซึ่งต้องลงรายการของบรรณานุกรมให้ครบทั้ง 3 ส่วน คือ 1. ส่วนของ Master หรือ Bibliographic Record 2. ส่วนของ LBD 3. ส่วนของ LHR
การลงรายการในส่วน LHR ให้ราบรื่นไม่สะดุด และต่อเนื่อง ไม่ต้องค้นหา Bib ชื่อหนังสือนั้นใหม่อีกครั้ง เพื่อให้มีการลง Items ในส่วนที่ 3 นี้ได้อย่างถูกต้องและไม่ผิดพลาดในการลง สามารถทำได้โดยมีขั้นตอนดังนี้
ส่วนที่ 1. Master หรือ Bibliographic Record
ตัวอย่าง แสดงหน้าแรกของการสืบค้นจาก Bib Number 1012427386
เมื่อได้ชื่อหนังสือแล้วให้คลิกไปที่ชื่อเรื่อง “อ่านหนัง (สือ) กัน 20 หนังโปรดในดวงใจ ของข้าพเจ้าตลอดกาล” ก็จะปรากฏดังรูป Read the rest of this entry »
วิธีและขั้นตอนการวิเคราะห์และลงรายการหนังสือภาษาจีนที่มีอยู่ใน OCLC WorldCat มีขั้นตอนดังนี้
1. เข้าระบบ WorldShare Management Services (WMS) ที่ https://hcu.share.worldcat.org/wms
2. สืบค้น (Search) หารายชื่อหนังสือที่ต้องการในโมดูล Metadata เลือก Record Manager และ Search เลือก Data Type ที่ Bibliographic Records โดยมีวิธีการสืบค้น ดังนี้
2.1 เลือก Scope (ขอบเขต) ของแหล่งที่เราต้องการหาที่ All WorldCat
2.2 เลือก Index (ดัชนี) ที่ต้องการหาจากเขตข้อมูล เช่น Keyword, Title, Author, ISBN, ISSN, OCLC Number
2.3 ใส่ Term(s) กรอกข้อมูลที่ต้องการหา เช่น ISBN
Search: ISBN = 9787301260456
รูปภาพที่ 1 แสดงขั้นตอนการ Search
วิธีและขั้นตอนการวิเคราะห์และลงรายการหนังสือภาษาจีนที่ยังไม่มีใน OCLC WorldCat มีขั้นตอนดังนี้
2.3 ใส่ Term(s) กรอกข้อมูลที่ต้องการหา เช่น Title
Search: Title = 中华实用起名全解