SIDEBAR
»
S
I
D
E
B
A
R
«
การปรับปรุงห้องสมุดกฎหมาย ศูนย์บรรณสารสนเทศ
มิ.ย. 26th, 2019 by piyanuch


ห้องสมุดกฎหมายของศูนย์บรรณสารสนเทศ ที่ให้บริการอยู่ชั้น 3 ได้รับการปรับปรุงครั้งใหญ่ สืบเนื่องจากกฎหมายมีการเปลี่ยนแปลง มีการออกกฎหมาย พระราชบัญญัติออกมามากมาย ทำให้กฎหมาย หรือพระราชบัญญัติที่เคยประกาศใช้ ไม่สามารถนำมาใช้อ้างอิงได้อีก

ศูนย์บรรณสารสนเทศ ร่วมมือกับคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ในการช่วยพิจารณาหนังสือกฎหมาย และดึงหนังสือที่มีเนื้อหาเก่าหรือเป็นกฎหมายเก่า ไม่สามารถนำมาใช้ได้แล้ว แยกออกมาจากหนังสือกฎหมายที่ยังใช้ได้อยู่ ด้วยความกรุณาจากอาจารย์คณะนิติศาสตร์ ทำให้หนังสือในห้องสมุดกฎหมายของศูนย์บรรณสารสนเทศ เป็น Collection ทางด้านกฎหมายที่สมบูรณ์มากขึ้น เป็นแหล่งเรียนรู้ที่อาจารย์และนักศึกษาสามารถเข้ามาใช้ในเพื่อการเรียนการสอนทางด้านกฎหมายได้เป็นอย่างดี

เมื่อมีการคัดเลือกหนังสือออกแล้ว ทำให้มีพื้นที่เพิ่มขึ้น ศูนย์บรรณสารสนเทศ จึงได้จัดนิทรรศการถาวร พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ ซึ่งเป็นพระบิดาแห่งกฎหมายไทย เพื่อเป็นมุมความรู้เกี่ยวกับพระองค์ท่าน ที่นักศึกษากฎหมายควรที่จะได้เรียนรู้

 

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์

นอกจากนี้ ศูนย์บรรณสารสนเทศ ยังได้จัดทำเว็บไซต์สารสนเทศทางด้านกฎหมายเพื่อเป็นการเสริมการเรียนรู้สารสนเทศทางด้านกฎหมายเพิ่มเติมให้อีกด้วย

การให้บริการราชกิจจานุเบกษา และการสืบค้นทางเว็บไซต์
พ.ค. 15th, 2019 by อุไรรัตน์ ผาสิน

ราชกิจจานุเบกษา (Royal Thai Government Gazette เรียกสั้น ๆ ว่า Government Gazette) เป็นหนังสือที่ได้รวบรวมคำประกาศของทางราชการ แปลว่า “เป็นที่เพ่งดูราชกิจ”  เริ่มจัดพิมพ์ขึ้นในสมัย พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4) เมื่อวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2401

หน้าปกราชกิจจานุเบกษา

ราชกิจจานุเบกษา มีกำหนดออกเป็นรายสัปดาห์ โดยสำนักงานราชกิจจานุเบกษา สำหรับลงประกาศเกี่ยวกับกฎหมาย กฎระเบียบ ข้อบังคับ ตลอดจนประกาศของกระทรวง ทบวง กรมต่างๆ รวมทั้งประกาศเกี่ยวกับการจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนและบริษัท ปัจจุบันมีสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ทำหน้าที่รับผิดชอบในการจัดพิมพ์ จะมีรูปเล่มที่คุ้นตากัน ก็คือ มีตัวอักษรและตราครุฑสีดำอยู่บนหน้าปกสีขาว จะขึ้นลำดับเล่มใหม่ทุกปี เริ่มตอนที่1 ในช่วงของต้นเดือนมกราคม มีขนาดของตัวเล่มคือ กว้าง 14.5 ซม. ยาว 21 ซม.

ราชกิจจานุเบกษาที่มีในห้องสมุดกฎหมาย ศูนย์บรรณสารสนเทศ

                   

ราชกิจจานุเบกษานับเป็นหนังสือที่มีความสำคัญเป็นอย่างมากของทางราชการ ซึ่งใช้สำหรับการประกาศกฎหมาย ข่าวสารสำคัญของบ้านเมือง และเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการใช้ศึกษาค้นคว้าข้อมูลย้อนหลัง ใช้เป็นแหล่งอ้างอิงให้กับผู้ที่กำลังศึกษาทางด้านคณะนิติศาสตร์ รัฐศาสตร์

สำหรับราชกิจจานุเบกษา ที่มีอยู่และให้บริการในห้องสมุดกฎหมาย ปัจจุบันได้มีการจัดเก็บ รวบรวมไว้ให้บริการอยู่ที่ชั้น 6 งานวารสารและเอกสาร แผนกบริการสารสนเทศ ซึ่งฉบับแรกที่มีให้บริการจะเป็น ปี พ.ศ. 2534 จนถึง ปี พ.ศ. 2556  รวบรวมไว้เป็นฉบับเย็บเล่มจัดเรียงตามปี พ.ศ. มีการเว้นช่วงการบอกรับไประยะเวลาหนึ่ง สืบเนื่องจากสามารถค้นคว้าข้อมูลต่างๆ ได้จากเว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษาโดยตรง และรวดเร็วกว่าการค้นคว้าจากตัวเล่ม แต่ปัจจุบันทางคณะนิติศาสตร์ได้ขอความร่วมมือให้ทางห้องสมุดติดต่อบอกรับแบบตัวเล่มอีกครั้ง เพื่อให้นักศึกษาได้ศึกษาค้นคว้าจากต้นฉบับได้หลากหลายขึ้น

Read the rest of this entry »

การใช้งาน VPN ผ่านมือถือ ระบบปฏิบัติการ iOS
เม.ย. 25th, 2019 by Tossapol Silasart

การใช้งาน VPN ผ่านมือถือ ระบบปฏิบัติการ iOS เช่น iPhone หรือ iPad จำเป็นต้องมีแอพพลิเคชั่นช่วยในการเชื่อมต่อเครือข่าย

แอพพลิเคชั่นนั้น คือ FortiClient สามารถเข้าดาวน์โหลดได้ที่ App Store 

ขั้นตอนการตั้งค่าและเปิดใช้งาน

1. เข้าแอพ FortiClient เลือก VPN > Connections

Read the rest of this entry »

ทัศนศึกษาดูงานที่ศูนย์การเรียนรู้กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ และหอสมุดป๋วย อึ้งภากรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ศูนย์รังสิต)
มี.ค. 24th, 2019 by sirinun

ศูนย์การเรียนรู้กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์

ศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ได้เข้าร่วมศึกษาดูงานที่ศูนย์การเรียนรู้กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ และหอสมุดป๋วย อึ้งภากรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ศูนย์รังสิต)  เมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2562  ตั้งแต่เวลา 10.00 -12.00 น. โดยมี น.ส. ฉัตรรัตน์ แสงคง  เป็นผู้บรรยาย และนำชมห้องสมุด

คุณฉัตรรัตน์ แสงคง (วิทยากร)

ศูนย์การเรียนรู้กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต เปิดบริการทุกวัน ตั้งแต่เวลา 9.00 น. – 7.00 น. ของวันถัดไป  เป็น Learning Commons มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อให้บริหารพื้นที่ เปิดแก่นักศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สำหรับการเรียนรู้ในรูปแบบต่างๆ นอกเหนือจากการอ่านหนังสือ แบ่งพื้นที่ เป็น

  • ชั้นที่ 1 Business Zone ให้บริการร้านค้า ธนาคาร และมีจัดนิทรรศการ

  • ขั้นที่ 2 Tutoring Zone มีมุมให้อ่านหนังสือมากมาย นอกจากนี้ยังมีห้องประชุมกลุ่มย่อย ให้ทำรายงานมีคอมพิวเตอร์จำนวนมากตามโต๊ที่นั่งอ่านหนังสือ เพื่อให้บริการผู้ใช้อย่างเพียงพอ

  • ขั้นที่ 3 Reading Zone  มีพื้นที่อ่านหนังสือที่สบาย มีทั้งที่นั่งอ่านหนังสือแบบเดียว และแบบกลุ่ม

  • ชั้นที่ 4 Language Center ห้องฝึกภาษาด้วยตนเอง  มีห้องชมภาพยนต์ 2 ห้อง

  • ชั้นที่ 5 Roof garden เป็นร้านกาแฟ มีบริการเครื่องดื่ม นอกจากนี้ยังมีวิวทิวทัศน์ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ศูนย์รังสิต)

Read the rest of this entry »

การใช้แอปพลิเคชั่นไลน์แอดเพื่อยกระดับคุณภาพบริการ หอสมุดแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ก.พ. 27th, 2019 by ปัญญา วงศ์จันทร์

 

จากการฟังเสวนาในหัวข้อ “การใช้แอปพลิเคชั่นไลน์แอดเพื่อยกระดับคุณภาพบริการ หอสมุดแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์” โดย นางสาวกรวรรณ ดีวาจา ในงานสัมมนาทางวิชาการเรื่อง I-School and data science : knowledge and experience from  South Korea  วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2562 เวลา 08.30-16.00 น. ณ ห้องกิจกรรม ชั้น 2 หอสมุดป๋วย อึ๊งภากรณ์  มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต สามารถสรุปได้ดังนี้

นางสาวกรวรรณ ดีวาจา บรรณารักษ์ห้องสมุดนงเยาว์ชัยเสรี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้กล่าวถึง การนำแอปพลิเคชั่นไลน์แอดมามีบทบาทในการทำงานในด้านการประชาสัมพันธ์โดยการศึกษาพฤติกรรมผู้ใช้อินเตอร์เน็ตพบว่า ไลน์แอดเป็นสื่อสังคมออนไลน์ที่คนไทยใช้มากที่สุดจึงได้นำไลน์แอด (Line@) มาใช้ในงานหอสมุดแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์โดยมี

  • คุณสมบัติที่ดีของไลน์แอดมาคือ
  1. One-on-One Chat
  2. Broadcast
  3. Reply mode
  4. Scheduled
  5. Rich Message
  6. Coupon & Promotion
  7. Poll & survey
  8. Popularity
  •  ขั้นตอนและวิธีการดำเนินงาน
  1. ติดตั้งแอปพลิเคชั่น
  2. กำหนดผู้ตอบคำถาม
  3. กำหนดแนวทางการให้บริการ
  4. ประชาสัมพันธ์
  •  บริการที่ใช้สำหรับงานบริการไลน์แอด
  1. บริการช่วยหาหนังสือที่หาไม่พบ
  2. บริการตอบคำถาม เช่น ถาม วันนี้ห้องสมุดปิดกี่โมง ตอบ เปิดให้บริการ 9 โมงเช้าถึง 21.00 น.
  3. ช่องทางประชาสัมพันธ์ เช่น ประชาสัมพันธ์ข่าวสารและงานบริการของห้องสมุด ได้แก่ การแนะนำหนังสือใหม่ การแจ้งเวลาเปิด-ปิดบริการ การแจ้งตารางกิจกรรมการส่งเสริมการรู้สารสนเทศ
  4. บริการรับ-ส่งหนังสือ ตามคณะที่แจ้งความประสงค์
  5. การนำไลน์แอดมาใช้กับกิจกรรมเชิงรุกของห้องสมุด
  • การนำไลน์แอดมาวิเคราะห์เกี่ยวกับงานห้องสมุด
  1. วิเคราะห์คำถามของไลน์แอดของผู้ใช้บริการมาปรับปรุงกับงานบริการห้องสมุด
  2. ช่วงเวลาที่ผู้ใช้บริการสอบถาม คือ เวลา 12.00 น. และ 16.00 น. ซึ่งคาดว่าผู้ใช้บริการว่างเว้นจากการเข้าชั้นเรียนจึงมีเวลาสอบถามข้อมูลและบริการกับงานห้องสมุด
  3. เวลาในการตอบกลับ ภายใน 5 นาที ซึ่งสอดคล้องกับตัวชี้วัดการบริการที่ห้องสมุดกำหนดไว้ว่าจะต้องตอบกลับภายใน 30 นาที
  • การสำรวจความพึงพอใจของผู้ใช้บริการไลน์แอด
  1. ความพอใจรวม อยู่ที่ 4.49
  2. ความรวดเร็ว 4.46
  3. ความรู้ความสามารถในการตอบข้อซักถาม 4.42

Read the rest of this entry »

ทำไมจึงต้องใช้โซเชียล (Why Social?) 
ม.ค. 11th, 2019 by pailin

คุณ Kalliope Stavridaki ผู้เชียวชาญด้านการตลาด เป็นวิทยากรในงาน OCLC Asia Pacific Regional Council Conference 28 – 29 November 2018 ณ โรงแรมเชอราตัน กรุงเทพฯ  โดยมีการจัดภายใต้หัวข้อ APRC 2018 Change the Game (เมื่อวันพุธที่ 28 พฤศจิกายน 2561) มาบอกเล่าแนวคิดในประเด็น การใช้ประโยชน์จาก Social Media มาเสริมสร้างความสัมพันธ์และความผูกพันระหว่างผู้ใช้บริการกับห้องสมุด หรือ การทำให้ผู้ใช้บริการติดอกติดใจห้องสมุดมาใช้บริการอยู่เสมอนั่นเอง โดย คุณ Kalliope Stavridaki เป็นวิทยากรร่วมกับ Adrianna Astle ในหัวข้อ How can you and your library transform user engagement?

เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่า รูปแบบการใช้ชีวิตของผู้คนส่วนใหญ่ในปัจจุบันนั้น ล้วนแล้วแต่มีการติดต่อสื่อสารข้อมูลกันบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ตอยู่ตลอดเวลา ดังนั้น จึงหนีไม่พ้นการนำ Social Media มาใช้ประโยชน์ เป็นสื่อกลางในการเชื่อมโยงผู้ใช้บริการกับห้องสมุดเข้าหากัน ซึ่งมีเทคนิคง่ายๆ ไม่ซับซ้อน แต่สามารถใช้ดึงดูดความสนใจจากผู้ใช้บริการได้จริง ดังต่อไปนี้

1. Get organized
วางแผนกำหนดตาราง งาน / กิจกรรม / สิ่งที่จะดำเนินการ ในแต่ละช่วงเวลาให้ชัดเจน แล้วนำไปเผยแพร่ใน Social Media
2. Follow and listen
ติดตามผลงานและรับฟังกระแสตอบรับที่เกิดขึ้น ซึ่งคุณ Kalliope ได้นำเสนอตัวอย่างให้เห็นว่า ในยุคสมัยนี้ บุคลากรของห้องสมุดสามารถใช้ประโยชน์จาก facebook, instagram ในการโต้ตอบหรือสื่อสารข้อมูลที่น่าสนใจออกไปเพื่อดึงดูดความสนใจจากผู้คนบนเครือข่าย Social Media ได้ ดังรูป Read the rest of this entry »

Transforming trend insights into innovation
ม.ค. 8th, 2019 by navapat

Transforming trend insights into innovation  โดย Nathania Christy , Head of Global Insight Network   เป็น member session วันพุธที่ 28 พฤศจิกายน 2561 ของ OCLC Asia Pacific Regional Council Conference 28 – 29 November 2018  :  BANGKOK  THAILAND  (APRC 2018 Change the Game)  วิทยากรได้แนะนำ Trend Watching ว่าเป็นฐานข้อมูลที่รวบรวม Trend ของอุตสาหกรรมหลายๆ ประเภท ซึ่งในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก มีสำนักงานอยู่ที่ประเทศสิงคโปร์

ในปัจจุบันโลกเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว การที่เราจำเป็นต้องรู้  Trend จะทำให้เราทราบความคาดหวังและความต้องการของผู้ใช้บริการ ซึ่งเปลี่ยนแปลงไปด้วยเช่นกัน  โดย Trend หลักๆ ที่วิทยากรนำเสนอ และตั้งคำถามให้เราคิดตามด้วยทุกข้อตามความเข้าใจของผู้เขียน สรุปได้ดังนี้

1.  STATUS  SANDCASTLES  สถานภาพทางสังคม  (Social Status)

ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก มีผู้ใช้โซเชียลมีเดีย 1.8 พันล้านคน มากกว่าครึ่งหนึ่งของประชากรโลก ใช้สมาร์ทโฟนในการถ่ายภาพ ทักทายผู้คนด้วยอินสตราแกรม แชร์ประสบการณ์ทุกสิ่งอย่างบนเฟสบุ๊กส์   แล้ว “เราจะใช้ทรัพยากรหรือพื้นที่ในห้องสมุดของเราให้ผู้ใช้บริการบอกเล่าเรื่องราวของพวกเขาได้อย่างไร??” ตัวอย่างที่วิทยากรนำเสนอ เช่น  IKEA สอนการทำอาหารอย่างง่าย ฯลฯ

2.  FANTASY  IRL  การออกจากโลกของความเป็นจริง

เขตแดนระหว่างโลกแห่งความจริงและโลกจินตนาการกำลังจางหายไป และในปี 2562 ผู้บริโภคจะแสวงหาการมีส่วนร่วมที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้น ตัวอย่างที่วิทยากรนำเสนอ เช่น การนำชมพิพิธภัณฑ์  Louvre  ตามมิวสิควีดีโอของ Beyonce และ  Jay – Z,  Man city and fantom นาฬิกาบอกตารางการแข่งขันของทีม Man city เป็นต้น “กลุ่มเป้าหมายของของคุณหนีไปสู่โลกแบบไหน?  คุณจะทำให้เขตแดนนั้นพร่ามัวต่อไป หรือจะดึงดูดและกระตุ้นพวกเขาได้อย่างไร?? ”

3.   MAGIC  TOUCHPOINT  สัมผัสมายากล  / สัมผัสมหัศจรรย์

ผู้บริโภคคาดหวังว่าจะได้รับบริการจาก MAGIC TOUCHPOINT  ราวกับว่าเป็นจินนี่กับตะเกียงวิเศษ ตัวอย่างเช่น  พวกเขาต้องการแชทโดยไม่ต้องดาวน์โหลดโปรแกรม,  จองการเดินทางได้ทุกที่ ทุกเวลา, Intime mall  ที่มีบริการ magic mirror ในห้องน้ำหญิง เป็นต้น  “คุณคิดจะใช้เทคโนโลยีเพื่อความสุขได้นี้ได้อย่างไร Touch point ไหนที่คุณสามารถฝังบริการของคุณลงไป?? ”

4.    VILLAGE  SQUARED (Connection) การเชื่อมโยงหรือเครือข่าย ไม่มีใครอยู่ได้โดยไม่ติดต่อสัมพันธ์กับใคร

ผู้บริโภคในปี 2019 นิยามการเชื่อมโยงใหม่และยอมรับวิธีการใหม่ในการสร้างชุมชน  ตัวอย่างเช่น  สายการบิน KLM มี  Airline’s translation seats ติดต่อกับผู้โดยสารที่สนามบิน,  โรงเรียนในชนบทของ Chennai ออกแบบเหมือนหมู่บ้าน โดยเน้นการเรียนการสอนที่ทำอย่างไรให้เด็กๆ มีความสุข , โฆษณาเบียร์ไฮเนเกนส์ ในประเทศอินเดีย ที่แสดงให้เห็นช่องว่างระหว่างเจนเนอเรชั่น  ปัญหาที่แท้จริงก็คือพวกเขาเหล่านั้นไม่ได้มีการพูดคุยหรือสื่อสารซึ่งกันและกัน  เป็นต้น   “คุณสามารถทำอะไรกับพื้นที่ของคุณ, นโยบาย, ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์, รูปแบบประสบการณ์ที่สามารถทำให้ผู้คนสามารถเชื่อมต่อกันได้อย่างมีความหมาย?? ”

ท้ายที่สุดของการฟังสัมมนาในหัวดังกล่าว ผู้เขียนได้ข้อสรุปและประทับใจจากการนำเสนอของวิทยากรทั้งการบรรยายและ Presentation ว่า  Trend  ไม่ใช่ทุกสิ่งทุกอย่าง และงานห้องสมุดไม่ใช่เรื่องยาก โดยเฉพาะผู้เขียนซึ่งไม่ได้จบบรรณารักษศาสตร์  แต่เมื่อต้องมาปฏิบัติงานห้องสมุด ต้องหมั่นเรียนรู้ และพัฒนาตนเองให้พร้อมในการบริการตลอดเวลา สอดคล้องกับประโยคที่ว่า  “Open your mind …… open your world”

การศึกษาเชิงคติชนวิทยา : การตั้งชื่อคลองและชื่อบ้านใน อำเภอบางเสาธง จังหวัดสมุทรปราการ
ม.ค. 1st, 2019 by supaporn

พรรณศิริ แจ่มอรุณ วุฒิพงษ์ ทองก้อน และ กชพร ขวัญทอง. (2561). การศึกษาเชิงคติชนวิทยา : การตั้งชื่อคลองและชื่อบ้านใน อำเภอบางเสาธง จังหวัดสมุทรปราการ (A Study of Folklore: A Determinant of Names of the Canals and Villages in Bang Sao Thong District, Samutprakan Province). สมุทรปราการ : มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ.

รายงานการวิจัยเรื่องนี้ มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาประวัติและความเป็นมาของการตั้งชื่อคลองและชื่อหมู่บ้านริมคลองในอำเภอบางเสาธง จังหวัดสมุทรปราการ และเพื่อศึกษาบทบาทและความสำคัญของคลองที่เปลี่ยนแปลงจากอดีตสู่ปัจจุบัน เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ที่เน้นศึกษาจากการลงภาคสนามและเอกสารเป็นสำคัญ โดยวิธีการสัมภาษณ์แบบไม่เป็นทางการ กลุ่มเป้าหมายคือผู้สูงอายุในท้องถิ่น นักวิชาการท้องถิ่น ผู้นำชุมชน พระภิกษุ รวมทั้งศึกษาจากเอกสารราชการ งานเขียนกึ่งวิชาการ บันทึกท้องถิ่น หนังสืออนุสรณ์งานฌาปนกิจ แผนที่คลองในอดีตและปัจจุบัน และลงภาคสนามสังเกตลักษณะทางกายภาพของคลองและสถานที่ ๆ เกี่ยวข้อง โดยมีการตรวสอบข้อมูลโดยใช้เทคนิคการตรวจสอบสามเส้า(Triangulation)
ผลจากการวิจัยพบว่า การตั้งชื่อคลองและชื่อหมู่บ้านในอำเภอบางเสาธง จังหวัดสมุทรปราการ ชื่อส่วนใหญ่คนในท้องถิ่นตั้งกันเองตามชื่อบุคคลที่อยู่ในคลองหรือลักษณะโดดเด่นของคลอง เช่น ชื่อพืชพันธุ์ไม้ ขนาดหรือทิศทางของคลอง ภูมิประเทศ สัตว์ สิ่งก่อสร้าง กริยาการกระทำ เครื่องใช้ไม้สอย และความเชื่อหรือตำนาน ตามลำดับ เพื่อจดจำได้ง่ายและสะดวกในการสื่อสารให้เข้าใจได้ตรงกัน

บทบาทและความสำคัญของคลองจากอดีตสู่ปัจจุบันมีความเปลี่ยนแปลงไปตามบริบทของการพัฒนาทางเศรษฐกิจของประเทศในช่วงหลัง คลองในอดีตที่เคยมีความสำคัญเป็นต้นกำเนิดของชุมชน แหล่งเศรษฐกิจทำกินและเส้นทางคมนาคมหลัก เปลี่ยนไปเมื่อถนนตัดผ่าน ก็ก่อเกิดความเจริญทางเศรษฐกิจ เกิดพื้นที่ธุรกิจ อุตสาหกรรมและหมู่บ้านแห่งใหม่ของคนต่างถิ่นอยู่ตามแนวถนนและมีรูปแบบสังคมเมือง ส่วนหมู่บ้านที่อยู่ติดคลองเปลี่ยนเป็นรูปแบบกึ่งเมืองกึ่งชนบท
Read the rest of this entry »

การศึกษาอักษรย่อในคัมภีร์หัวใจ 108 ในฐานะสื่อการสอนพระพุทธศาสนา
ม.ค. 1st, 2019 by supaporn

ธีรโชติ เกิดแก้ว. (2561).  การศึกษาอักษรย่อในคัมภีร์หัวใจ 108 ในฐานะสื่อการสอนพระพุทธศาสน. (A Study of Acronym in 108 Core Scripture as a Supplementary Buddhist Material). สมุทรปราการ : มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ.

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษารูปแบบและวิธีการย่ออักษรในคัมภีร์หัวใจ 108      (2) เพื่อศึกษาแหล่งที่มา สาระสำคัญ และการนำอักษรย่อในคัมภีร์หัวใจ 108 ไปใช้ในมิติต่าง ๆ (3) เพื่อศึกษาการใช้อักษรย่อในคัมภีร์หัวใจ 108 ในฐานะสื่อการสอนพระพุทธศาสนา เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยเก็บข้อมูลจากเอกสารและการสัมภาษณ์เชิงลึกแล้วนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์และนำเสนอเป็นรายงานการวิจัยแบบพรรณนาวิเคราะห์ (Analysis Description)

ผลการวิจัยพบว่า การย่ออักษรในคัมภีร์หัวใจ 108 ส่วนใหญ่ใช้วิธีการย่ออักษรตามคัมภีร์วชิรสารัตถสังคหะที่เป็นทฤษฎีการย่ออักษร 4 รูปแบบ คือ การย่ออักษรตัวแรกของศัพท์ การย่ออักษรตัวสุดท้ายของศัพท์ การย่ออักษรที่ใช้วิธีทั้งสองข้างต้นร่วมกัน การย่ออักษรแล้วประมวลอักษรมาไว้ตรงกลางโดยวางอักษรสลับกันไปมา หัวใจนอกจากนี้ใช้คำย่อ คำศัพท์ อักษรในภาษาบาลี อักษรไทย และคำไทยมาผสมกัน สำหรับแหล่งที่มาของอักษรย่อส่วนใหญ่มาจากคัมภีร์พระไตรปิฎก อรรถกถา ฎีกา และคัมภีร์อื่น ๆ รวมถึงบทสวดมนต์จากหนังสือสวดมนต์ แต่มีหัวใจบางส่วนที่มีแหล่งที่มาจากความเชื่อในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ไสยศาสตร์ วรรณคดีเรื่องรามเกียรติ์และขุนช้างขุนแผนที่โบราณาจารย์นำมาใช้สื่อเรื่องสำคัญในพระพุทธศาสนา ได้แก่ พระรัตนตรัย พระพุทธเจ้า พระธรรม พุทธสาวกบางรูป คัมภีร์ในพระพุทธศาสนา พิธีกรรม และเรื่องเล่าในพระพุทธศาสนา สะท้อนให้เห็นถึงภูมิปัญญาของโบราณาจารย์ที่นำเรื่องเหล่านี้มาใช้สื่อผ่านหัวใจต่าง ๆ ดังนั้น หัวใจและอักษรย่อของหัวใจจึงเป็นสื่อการเรียนรู้เรื่องต่าง ๆ ในพระพุทธศาสนาโดยย่อ ส่วนการนำไปใช้นั้นพบในรูปแบบสำคัญคือ การใช้ที่ตรงกับสาระสำคัญของหัวใจที่สัมพันธ์กับหลักการในพระพุทธศาสนา ได้แก่ ใช้สำหรับท่องจำหลักที่สำคัญในพระพุทธศาสนา ใช้เป็นอุบายฝึกจิตให้เป็นสมาธิโดยใช้อักษรในหัวใจเป็นเครื่องภาวนา และใช้เป็นอุบายเตือนสติผู้นำไปใช้ให้ละความชั่ว ทำความดีด้วยการรักษาศีล เสียสละ และพัฒนาจิตให้ผ่องใส ส่วนการนำไปใช้ที่ไม่ตรงกับสาระสำคัญของหัวใจนั้นพบว่า ส่วนใหญ่นำไปใช้ตามความเชื่อในไสยศาสตร์ที่มุ่งให้เกิดอานุภาพด้านทีดี เช่น ปลอดภัยจากอันตราย เมตตามหานิยม เป็นต้น และบางส่วนถูกนำไปใช้ในทางที่ผิด เช่น ทำให้คนหลงรัก ทำให้คนเกลียดชังกัน และนำไปใช้เสกของกินร่วมกับสุราที่เป็นการส่งเสริมให้คนผิดศีลข้อที่ 5 แต่ถ้ากล่าวสรุปตามสาระสำคัญของหัวใจแล้ว อักษรย่อในคัมภีร์ในคัมภีร์หัวใจ 108 ส่วนใหญ่เป็นสื่อการเรียนรู้พระพุทธ ศาสนาที่มุ่งให้คนเข้าใจและนำไปใช้พัฒนาชีวิตตั้งแต่หลักการพื้นฐาน เช่น ศีล 5 จนถึงหลักธรรมเพื่อพัฒนาชีวิตสู่ความหลุดพ้นทุกข์ เช่น อริยสัจสี่ เป็นต้น

ผลการศึกษาข้างต้นชี้ให้เห็นประโยชน์ของการศึกษาเรื่องนี้โดยสรุป คือ การไขความลี้ลับของหัวใจ 108 ที่คนส่วนใหญ่มองว่าเป็นเรื่องของไสยศาสตร์ที่มุ่งให้เกิดความขลัง ความศักดิ์สิทธิ์ที่มีอานุภาพต่าง ๆ  แต่ผลการศึกษาเรื่องนี้สามารถยืนยันได้ว่า หัวใจต่าง ๆ ในคัมภีร์หัวใจ 108 เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนาเป็นส่วนใหญ่อันเป็นกุศโลบายในการสอนพระพุทธศาสนาของ   โบราณาจารย์ไทย แต่เรื่องสำคัญในพระพุทธศาสนาถูกกลบไปด้วยอิทธิพลของความเชื่อไสยศาสตร์ ประกอบกับการถ่ายทอดองค์ความรู้เหล่านี้มักจะไม่มีการบอกความหมายและแหล่งที่มาของอักษรย่อจึงทำให้หลักคำสอนสำคัญในพระพุทธศาสนาเลือนหายไปกลายเป็นความเชื่อทางไสยศาสตร์เข้ามาแทนที่อย่างน่าเสียดาย

Read the rest of this entry »

การจองทรัพยากรสารสนเทศผ่านระบบ WMS
ต.ค. 15th, 2018 by rungtiwa

ศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ได้เปิดใช้ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ WorldShare Management Services หรือ WMS มาตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2560 ในระบบ WMS มีฟังก์ชั่นในการให้บริการจองทรัพยากรสารสนเทศ  โดยการจองทรัพยากรสารสนเทศทางออนไลน์ สามารถทำได้ 2 วิธี ดังต่อไปนี้

  1. จองด้วยตนเองผ่านระบบ (กรณีผู้ใช้บริการจองด้วยตนเอง)
  2. จองโดยให้เจ้าหน้าที่ห้องสมุดจองให้

การจองทั้ง 2 แบบสามารถจองทรัพยากรสารสนเทศได้ทั้งที่อยู่บน Shelf และที่ถูกยืมออกไป

รายละเอียดของ  การจองหนังสือ

บทความที่เกี่ยวข้อง

ขั้นตอนการเคลียร์รายการค่าปรับและส่งบิลค่าปรับให้สมาชิกผ่านทาง E-mail

สถิติห้องสมุดกับงาน Circulation Events Detail Report ใน WMS

เปิดเทอมแล้วมาโหลด APP ช่วยในการทำงานกันเถอะ

Notification Alert

ขั้นตอนการตรวจรับและตรวจสอบหนังสือใหม่

วิธีการเปลี่ยน Status หนังสือส่งซ่อม

การพิมพ์สันหนังสือในระบบ WMS

ขั้นตอนการลงรายการสื่อโสตทัศนวัสดุ ประเภท Sound Recording

งานบริการรับแจ้งหนังสือหายในระบบ WMS

งานสร้างระเบียนสมาชิก 

No Linguistic Content และ Undetermined สำคัญอย่างไร

การสร้างข้อมูลร้านค้า (New Vendor)

ขั้นตอนการทำการสั่งซื้อหนังสือ (Orders) ในระบบห้องสมุดอัตโนมัติ WMS

วิธีเก็บสถิติการใช้งานภายในห้องสมุด กรณีที่ผู้ใช้ไม่หยิบหนังสือไปยืมออก

คู่มือการใช้บริการ WorldShare Interlibrary Loan (WorldShareILL)

วิธียืมหนังสือต่อด้วยตนเองทางออนไลน์ (WMS)

คู่มือการปฏิบัติงานการยืม-คืนทรัพยากรสารสนเทศ ของระบบ WorldShare Management Services (WMS)

การลงรายการทางบรรณานุกรมทรัพยากรสารสนเทศในโมดูล Metadata ของระบบ WorldShare Management Services (WMS)

Acquisition Module เพื่อการจัดสรรงบประมาณ ในระบบห้องสมุด WMS เพื่อการจัดสรรงบประมา

การทำ Data Migration เข้า WorldShare Management Services (WMS)

ทำไมจึงเลือก WorldShare Management Services (WMS) : WMS ตอนที่ 5 การทำสัญญา

ทำไมจึงเลือก WorldShare Management Services – WMS ตอนที่ 4 การต่อรองราคา

ทำไมจึงเลือก WorldShare Management Services – WMS ตอนที่ 3

ทำไมจึงเลือก WorldShare Management Services – WMS ตอนที่ 2

ทำไมจึงเลือก WorldShare Management Services – WMS ตอนที่ 1

 

»  Substance:WordPress   »  Style:Ahren Ahimsa