SIDEBAR
»
S
I
D
E
B
A
R
«
รูปปั้นของนายเลี้ยง นวพันธ์ (苏谷良) หรือโซวก๊กเลี้ยง และภาพ ดร. สุขุม นวพันธ์ ผู้บริจาคสร้างอาคารบรรณสาร
มี.ค. 26th, 2020 by namfon

เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๓  มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเฉลิมพระเกียรติ  ก่อตั้งด้วยมูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง  ในวาระครบรอบ ๘๐ ปี คณะกรรมการมูลนิธิฯ ได้มีมติความคิดเห็นตรงกัน ที่มูลนิธิฯ จะจัดให้มีการเฉลิมฉลองพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ที่ได้ทรงปกครองอาณาประชาราษฎร์ทุกหมู่เหล่า ทุกเชื้อชาติ ศาสนาให้มีความร่มเย็นสมานฉันท์ มีเจตจำนงที่จะช่วยส่งเสริมบำรุงการศึกษาระดับสูงของประเทศให้รุ่งเรืองขึ้น  จึงเกิด “โครงการมหาวิทยาลัยของมูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง”  โดย ดร.อุเทน  เตชะไพบูลย์ ประธานคณะกรรมการอำนวยการ ได้บริจาคเงิน ๑๐๐ ล้านบาท เป็นท่านแรก และได้รณรงค์ขอรับสนับสนุนเงินบริจาค  ผู้มีจิตศรัทธาทั้งภาครัฐและเอกชน  จากนักธุรกิจ คหบดี ธนาคาร องค์การธุรกิจและองค์กรการกุศล  ตลอดจนประชาชนชาวไทยและชาวต่างชาติ  เรียกว่า “คณะผู้ก่อตั้ง” มหาวิทยาลัยฯ ตั้งแต่ ๑๐ ล้านบาทเป็นต้นไป ดร.สุขุม นวพันธ์ เป็นผู้หนึ่งที่ได้รับการเชิญให้ร่วมบริจาคด้วย โดย ดร.สุขุมฯ ได้ให้สัมภาษณ์ไว้ในหนังสือ ๙๐ ปี มูลนิธิป่อเต็กตึ๊งบนเส้นทางประวัติศาสตร์สังคมไทย : ประวัติศาสตร์จากคำบอกเล่า ความว่า

…วันหนึ่ง คุณอุเทนกับผมเล่นกอล์ฟด้วยกัน ท่านบอกว่ากำลังดำริจะก่อตั้งมหาวิทยาลัยขึ้นแห่งหนึ่งชื่อหัวเฉียว  และท่านเองก็จะบริจาคหอประชุมในนามบิดาท่าน ๑๐๐ ล้านบาท  ผมก็เรียนท่านว่าเป็นความคิดและโครงการที่ดี   ผมจะขอบริจาค ๒๐ ล้านบาท สร้างตึกห้องสมุดเพื่อเป็นที่ระลึกคุณพ่อผม ฉะนั้น คุณอุเทนถือว่าเป็นผู้บริจาครายแรก และผมก็เป็นผู้บริจาครายที่สอง …  Read the rest of this entry »

นี่คือ ม.หัวเฉียว : เรียนภาษาและวัฒนธรรมจีนโดยผ่านการแสดงอุปรากรจีน “งิ้ว”
ก.พ. 10th, 2020 by supaporn

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธเนศ  อิ่มสำราญ (2563)  รองคณบดีคณะภาษาและวัฒนธรรมจีน   ได้กล่าวถึง การนำอุปรากร “งิ้ว” มาเป็นส่วนหนึ่งของการเรียนการสอนในรายวิชาจีนศึกษา และรายวิชาวัฒนธรรมจีน ดังนี้

คณะภาษาและวัฒนธรรมจีน เล็งเห็นถึงความสำคัญของการรักษา สืบทอด และเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับภาษาและวัฒนรรมจีนให้กับนักศึกษา ได้ตระหนักถึงความสำคัญของวัฒนธรรมจีน ซึ่งถือเป็นอัตลักษณ์ที่สำคัญของมหาวิทยาลัยหัวเฉียวฉลิมพระเกียรติ

ดังนั้นทางคณะภาษาและวัฒนธรรมจีน จึงได้นำความรู้เกี่ยวกับการแสดง งิ้ว หรือ อุปรากรจีน เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของการเรียนการสอนในรายวิชาจีนศึกษา และรายวิชาวัฒนธรรมจีน  ซึ่งงิ้ว หรือ อุปรากรจีน (จีน: 戏曲 ; พินอิน: xìqǔ ; อังกฤษ: Chinese opera) เป็นการแสดงที่ผสมผสานการขับร้องและการเจรจาประกอบกับลีลาท่าทางของนักแสดงให้ออกเป็นเรื่องราว โดยสมัยนั้นได้นำเอาเหตุการณ์ต่าง ๆ ในพงศาวดารและประวัติศาสตร์มาดัดแปลงเป็นบทแสดง รวมทั้งยังมีการนำเอาความเชื่อทางประเพณีและศาสนาเข้าไปผสมผสานกับการแสดงงิ้วด้วย

การนำความรู้เกี่ยวกับการแสดง งิ้ว หรือ อุปรากรจีน เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของการเรียนการสอนในรายวิชาจีนศึกษา และรายวิชาวัฒนธรรมจีนนั้น จะช่วยให้นักศึกษาได้เข้าใจถึงความเป็นมาและความสำคัญของวัฒนธรรมจีน โดยผ่านการแต่งกาย การแต่งหน้าของตัวละคร คำร้องและเนื้อหาของการแสดงงิ้ว ได้อย่างง่าย และลึกซึ้งมากยิ่งขึ้น

ในรายวิชานักศึกษาจะได้เรียนรู้ประวัติความเป็นมาของงิ้ว และได้มีโอกาสชมการแสดงงิ้ว ได้พูดคุยกับนักแสดงจากคณะงิ้วที่มีชื่อเสียง ทำให้นักศึกษาได้เข้าใจถึงศิลปและวัฒนธรรมของการแสดงงิ้วอย่างถูกต้อง และเพื่อเป็นการแสดงให้เห็นถึงอัตลักษณ์ของนักศึกษาคณะภาษาและวัฒนะรรมจีนของทางมหาวิทยาหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติด้านจีนอีกด้วย

ชมคลิป ได้ที่ https://www.facebook.com/tanes.imsamran/videos/10156594345646946/

รายการอ้างอิง

ธเนศ  อิ่มสำราญ. (2563, 6 กุมภาพันธ์).  เรียนภาษาและวัฒนธรรมจีนโดยผ่านการแสดงอุปรากรจีน“งิ้ว” โดยคณะภาษาและวัฒนธรรมจีน มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ. [บทสัมภาษณ์]

การ Shift row down และ Shift row up. ใน Bibliographic Record ของระบบ WMS
ก.พ. 5th, 2020 by ladda

วิธีการ Shift row down และ Shift row up. ด้วยการแก้ไขการสลับบรรทัดใน Bibliographic Record ของระบบห้องสมุด WorldShare Management Services (WMS)

จากการที่ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการเปลี่ยน Location ของสาขาวิชา สหกิจศึกษา โครงงานพิเศษ และงานวิจัย ของนักศึกษาปริญญาตรีมาแก้ไขหมวดหมู่นั้น ได้พบว่าในบางส่วนของ Master record เช่น  tag 700 ยังมีจุดที่ต้องสลับสับเปลี่ยนบรรทัด คือ การสลับบรรทัดขึ้นลงก่อนหลังในตำแหน่งที่ปรึกษาและที่ปรึกษาร่วมอยู่  ซึ่งต้องมีการแก้ไขในส่วนนี้ให้ถูกต้องตามตำแหน่งและหน้าที่ก่อนหลัง ดังนั้นจึงขออธิบายสัญลักษณ์ที่ทำการเปลี่ยนให้ tag ต่างๆ สลับบรรทัด คือ Shift row down กับ Shift row up. ในบรรทัดที่มีเครื่องหมาย ลูกศร ขึ้นลง ซึ่งจะทำให้การทำงานสะดวกและย่นระยะเวลาในการแก้ไขง่ายขึ้น โดยไม่ต้องพิมพ์หรือ copy วางให้สับสนบรรทัด ดังนี้

ขั้นตอนที่ 1 ไปที่โมดูล Metadata แล้วค้นหาชื่อเรื่องที่ต้องการแก้ไข เช่น เรื่อง ยาอมสารสกัดหญ้าดอกขาว* Read the rest of this entry »

การสืบค้นวิทยานิพนธ์ด้วยสาขาวิชา หรือหลักสูตร จากระบบห้องสมุดอัตโนมัติ WMS
ม.ค. 24th, 2020 by kalyaraksa

การสืบค้นวิทยานิพนธ์ ทำได้หลายวิธี แล้วแต่ความถนัด หรือเทคนิคของแต่ละคน ในบางครั้ง อาจจะมีความต้องการสืบค้นว่า วิทยานิพนธ์ในสาขาที่ศึกษาอยู่นั้น มีรายชื่อใดบ้าง แต่ทั้งนี้ การสืบค้นด้วยสาขาวิชา หรือหลักสูตร ต้องขึ้นอยู่กับว่าในระเบียนการลงรายการวิทยานิพนธ์นั้น มีการใส่ข้อมูลสาขาวิชา หรือหลักสูตร เป็นคำค้นด้วยหรือไม่

ศูนย์บรรณสารสนเทศ ได้อำนวยความสะดวกในการค้นหาวิทยานิพนธ์ ให้ได้ตรงตามสาขาวิชาที่เปิดให้มีการเรียนการสอนในมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ จึงขอแนะนำวิธีการสืบค้นวิทยานิพนธ์ จากสาขาวิชา โดยมีแนวทางดังนี้

  • เข้าที่หน้าหลักของศูนย์บรรณสารสนเทศ จะเห็นหน้าจอการสืบค้นของระบบห้องสมุด WorldShare Management Services หรือ WMS หรือจะเข้าจาก URL:  https://hcu.on.worldcat.org/discovery

ตัวอย่าง คำค้นที่เลือกใช้โดยต้องการค้นวิทยานิพนธ์ การสอนภาษาจีน ใช้คำค้นคือ Teaching Chinese (Huachiew Chalermprakiet Unversity) ที่ subject แล้ว search  ปรากฎหน้าจอที่ 2   Read the rest of this entry »

นี่คือ ม. หัวเฉียวฯ : ก่อนจะเป็นมหาวิทยาลัย
ธ.ค. 21st, 2019 by supaporn

เมื่อมูลนิธิป่อเต็กตึ๊งมีอายุครบ 80 ปี คณะกรรมการฯ ภายใต้การนำของ ดร. อุเทน เตชะไพบูลย์ มีมติให้พัฒนาวิทยาลัยหัวเฉียวขึ้นเป็นมหาวิทยาลัย ดร. อุเทนฯ กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า (กรรณิการ์ ตันประเสริฐ แสงอรุณ กนกพงศ์ชัย พลวัฒ ประพัฒน์ทอง และสวนีย วิเศษสินธุ์, 2543 หน้า 203)

… มูลนิธิฯ ครบ 80 ปี ผมเสนอที่ประชุมว่าโอกาสนี้อยากจะเพิ่มเติมอีก 2 เรื่อง เรื่องหนึ่งคือ สร้างมหาวิทยาลัย และอีกเรื่องหนึ่ง คือ ทำสาขาของมูลนิธิฯ ตามจุดต่างๆ เป็นสี่มุมเมือง … เรื่องมหาวิทยาลัยที่จะตั้งขึ้นนั้น เราก็จะไม่ได้ทำเอาแต่ชื่อเสียง ต้องทำเป็นเรื่องที่ช่วยเหลือสังคมบ้านเมืองได้จริงๆ เราควรสร้างมหาวิทยาลัยที่ดี สมบูรณ์ แต่เราไม่หวังผลกำไร เอาเพียงแค่ให้พึ่งและพัฒนาตัวเองให้มีคุณภาพมาตรฐานดี ผมเห็นว่า ควรทำเพื่อถวายความจงรักภักดีต่อในหลวง ท่านมีพระมหากรุณาธิคุณ เป็นพระบรมโพธิสมภารแก่ประชาชนทุกหมู่เหล่า…

มูลนิธิป่อเต็กตึ๊งเริ่มต้น “โครงการมหาวิทยาลัยของมูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง” ในปี พ.ศ. 2533 โดยได้ดำเนินการในเรื่องสำคัญและสัมพันธ์กัน 3 ส่วน ได้แก่ การรณรงค์เงินบริจาค การขออนุญาตจัดตั้งมหาวิทยาลัย และการก่อสร้างมหาวิทยาลัย โดยกำหนดจะเปิดมหาวิทยาลัยในกลางปี พ.ศ. 2535

ภาพอาคารต่าง ๆ ในมหาวิทยาลัย

อ่านก่อนจะเป็นมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ จากประวัติศาสตร์จากคำบอกเล่าอย่างละเอียด เพื่อให้เห็นถึงความมุ่งมั่นในการก่อตั้ง เป็นมหาวิทยาลัยที่มีคุณภาพ การหาเงินบริจาค และเพื่อถวายความจงรักภักดี ได้ที่ 90 ปี มูลนิธิป่อเต็กตึ๊งบนเส้นทางประวัติศาสตร์สังคมไทย : ประวัติศาสตร์จากคำบอกเล่า  หน้า 224 (ไฟล์) หรือหน้า 203 (เอกสาร) หรือในรูปแบบของ Flip 

รายการอ้างอิง
กรรณิการ์ ตันประเสริฐ แสงอรุณ กนกพงศ์ชัย พลวัฒ ประพัฒน์ทอง และสวนีย วิเศษสินธุ์. (2543). 90 ปี มูลนิธิป่อเต็กตึ๊งบนเส้นทางประวัติศาสตร์สังคมไทย : ประวัติศาสตร์จากคำบอกเล่า. สมุทรปราการ : มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ.

 

 

นี่คือ ม. หัวเฉียวฯ : ห้องสมุดวัฒนธรรมศาสนาเต๋า มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
ธ.ค. 7th, 2019 by supaporn

วันพฤหัสบดีที่ 30 เมษายน 2558 มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ มีงานพิธีที่สำคัญเกิดขึ้นที่แสดงให้เห็นความเข้มแข็งด้านจีนของมหาวิทยาลัย นั่นคือ พิธีเปิดห้องสมุดวัฒนธรรมศาสนาเต๋า ซึ่งมหาวิทยาลัย ร่วมกับ  ศาลเจ้าชิงซงศาสนาเต๋าแห่งฮ่องกง และศาลเจ้าฮั่วกวงศาสนาเต๋าแห่งประเทศไทย จัดตั้งห้องสมุดวัฒนธรรมศาสนาเต๋าเพื่อเป็นแหล่งรวบรวมและเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับศาสนาเต๋าให้แก่บุคลากร  นักศึกษา  และผู้สนใจทั่วไป

ในวันพิธีเปิด ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์เกษม วัฒนชัย องคมนตรี พร้อมท่านอู๋ เฉิงเจิน ประธานศาสนาเต๋าแห่งมลฑลหูเป่ย สาธารณรัฐประชาชนจีนเป็นประธานกล่าวต้อนรับและเปิดห้องสมุดวัฒนธรรมศาสนาเต๋า โดยมีนักพรตและแขกผู้มีเกียรติจากสาธารณรัฐประชาชนจีน ฮ่องกง ไต้หวัน  มาเก๊า สิงคโปร์ มาเลเชีย อินโดนีเชีย สวิตเซอร์แลนด์ และไทย เข้าร่วมงาน ณ อาคารบรรณสาร และร่วมพิธีมหามงคล ณ บริเวณด้านหน้าหอประชุม มฉก. ได้แก่พิธีสักการะฟ้า (ต้าก้งเทียน)  ถวายพระพรแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ โดยคณะนักพรตของศาสนาเต๋าแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีนจีน พิธีเบิกเนตรสิงโต  โดย รองศาสตราจารย์ ดร.ประจักษ์ พุ่มวิเศษ อธิการบดี และชมการแสดงการเชิดสิงโตของสโมสรกีฬาสิงคโปร์เวยจิ้ง การแสดง  “หุ่นคนนารายณ์ทรงครุฑ” จากศูนย์วัฒนธรรม มฉก.  การรำไท้เก๊ก 24 ท่า จากชมรมไท้เก๊กที่มาร่วมพิธี  การแสดงร่วมบรรเลงดนตรีเต๋าของประเทศจีน และฮ่องกง การแสดงเชิดมังกรของสมาคมกีฬาเชิดสิงโตมังกรลูกเจ้าพ่อหลักเมืองขอนแก่น  การแสดง “สวัสดีเมืองไทย” จากศูนย์วัฒนธรรม มฉก.  การแสดงวูซูของสำนักเต๋าบู๊ตึ๊ง

ภาพที่ 1 ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์เกษม วัฒนชัย องคมนตรี เปิดห้องสมุดวัฒนธรรมเต๋า

Read the rest of this entry »

เพียงแค่ส่อง ก็ได้อ่าน
พ.ย. 30th, 2019 by uthairath

นับได้ว่าในปัจจุบัน ไม่มีใครไม่รู้จัก [ส่อง] ส่องในที่นี้ผู้เขียนหมายถึง ส่อง QR Code ส่องหรือเรียกอย่างเป็นทางการว่าสแกน QR Code

ผู้เขียน ทำหน้าที่ลงรายการบรรณานุกรมในส่วนของหนังสือ นวนิยายและเรื่องสั้น ทำให้เห็นถึงพัฒนาการของหนังสือนวนิยาย  เช่น QR Code ทดลองอ่าน ของสำนักพิมพ์ต่างๆ จากทางด้านหลังของปกหนังสือ QR Code ทดลองอ่านนี้ วิธีการสแกน QR Code ก็ง่าย ๆ เพียงแค่เอากล้องไปส่องหรือจ่อที่ QR Code ที่เราต้องการสแกน เมื่อสแกนสำเร็จ ก็จะมีข้อความ หรือลิงค์ หรือข้อมูลที่อยู่ใน QR Code  ขึ้นมา แตะที่ลิงค์ก็จะเข้าไปที่สำนักพิมพ์นั้น ๆ เช่น สำนักพิมพ์สถาพรแล้วลิงค์ไปยังนวนิยายเล่มที่เราทำการสแกน ในนั้นมีเนื้อเรื่องของนวนิยายให้เราได้ทดลองอ่านกันประมาณ 40 กว่าหน้าเลยที่เดียว บางเรื่องก็มีให้ทดลองอ่านเยอะมาก แถมยังได้ทดลองอ่านได้วิเคราะห์พิจารณาว่าเรื่องนี้ตรงกับความต้องการของเราหรือเปล่า ถ้าทดลองอ่านแล้วยังไม่โดนใจ ก็สแกน QR Code เล่มต่อไปมาทดลองอ่านได้อีก สแกน QR Code ไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะได้นวนิยายเล่มที่ถูกใจ สามารถตอบโจทย์ความต้องการของผู้ที่นิยมและชื่นชอบทางด้านหนังสือนวนิยายได้เป็นอย่างดีในระดับหนึ่ง ทางศูนย์บรรณสารสนเทศ จึงจัดให้บริการหนังสือนวนิยายใหม่ๆ สามารถหายืมได้ที่ “มุมคนรักนิยาย” ที่ชั้น 1 ของศูนย์บรรณสารสนเทศ เรามีไว้ให้บริการ มากมายหลายเรื่อง

ตัวอย่างการ สแกน QR Code ของหนังสือนวนิยาย

รูปภาพที่ 1 หนังสือนวนิยายที่ต้องการ สแกน

Read the rest of this entry »

เก็บความจาก Knowledge Sharing : การเขียนโครงการ
พ.ย. 26th, 2019 by dussa

ศูนย์บรรณสารสนเทศ จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้  หรือ Knowledge Sharing เพื่อตอบโจยท์ยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย  ข้อที่ 6 บริหารจัดการมหาวิทยาลัยและสิ่งแวดล้อมอย่างมีประสิทธิภาพ พอเพียง ตามหลักธรรมาภิบาล ในมาตรการ ข้อที่ 2.5 สนับสนุนส่งเสริมให้ทุกหน่วยงานมีการดำเนินการจัดการความรู้ (KM) เพื่อมุ่งสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้ (LO)

ดังนั้น คณะกรรมการจัดการความรู้ศูนย์บรรณสารสนเทศ จึงมติเห็นว่า บุคลากรในหลายแผนกไม่มีความรู้ หรือความชำนาญในการเขียนโครงการ ซึ่งเป็นเรื่องจำเป็น ควรเรียนรู้ไว้ และจำเป็นที่จะต้องเขียนโครงการให้เป็น จึงได้กำหนดหัวข้อการอบรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้  “การเขียนโครงการ” ในวันที่ 16, 30 ตุลาคม 2562 เวลา 13.00-15.30 ณ ห้องประชุม 212 ชั้น 2 อาคารบรรณสาร

ผู้เขียนได้เข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าว โดยสรุป องค์ความรู์จากวิทยากร คือ ผู้อำนวยการศูนย์บรรณสารสนเทศ มีดังนี้

โครงการ  หมายถึง  การวางแผนล่วงหน้าที่จัดทำขึ้นอย่างมีระบบ  ประกอบด้วยกิจกรรมย่อยหลายกิจกรรมที่ต้องใช้ทรัพยากรในการดำเนินงาน  และคาดหวังที่จะได้ผลตอบแทนอย่างคุ้มค่า แต่ละโครงการมีเป้าหมายเพื่อการผลิตหรือการให้บริการเพื่อเพิ่มพูนสมรรถภาพของแผนงาน  การเขียนโครงการจึงเป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่งของการวางแผนที่จะทำให้องค์กรบรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมาย โครงการที่ดำเนินการ ต้องมีความเชื่อมโยกับยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัย ยุทธศาสตร์ของศูนย์บรรณสารสนเทศ แผนปฏิบัติงานของศูนย์บรรณสารสนเทศ ดังภาพ

 

ความพันธ์ที่เชื่อมโยงกับยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัย

ผู้ที่เกี่ยวข้องในการทำโครงการ มีดังนี้

  1. ผู้อนุมัติ
  2. ผู้ทำโครงการ
  3. กลุ่มเป้าหมาย
  4. ผู้ประเมิน

ความสัมพันธ์กับผู้ที่เกี่ยวข้องในการทำโครงการ

ในการอบรม การเขียนโครงการครั้งนี้ ยึดแนวทางปฎิบัติตามแบบฟอร์มที่ทางกองแผนและพัฒนา มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ  คือ แบบ 103  From-project-103    ซึ่งมีส่วนประกอบ ดังนี้ Read the rest of this entry »

นี่คือ ม. หัวเฉียวฯ : จากการเรียนรู้สู่การแข่งขันไท้เก๊ก มฉก. ความภาคภูมิใจของมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
พ.ย. 26th, 2019 by supaporn

เมื่อปีการศึกษา 2547  รองศาสตราจารย์ประสิทธิ์  โฆวิไลกูล  ดำรงตำแหน่งอธิการบดีมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติในขณะนั้นได้ริเริ่มให้มีการจัดกิจกรรมรำมวยจีน (ไท้เก๊ก)  โดยร่วมมือกับสมาคมรำมวยเพื่อสุขภาพ  ซึ่งมีนายแพทย์วิลาส  ศรีประจิตติชัย  เป็นนายกสมาคมได้ส่งวิทยากรของสมาคมท่านแรก คือ อาจารย์ทวีศักดิ์  ศิลาพร  มาช่วยแนะนำและฝึกให้บุคลากร นักศึกษาที่สนใจการรำมวยจีน  กิจกรรมนี้ได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง  และได้รับการสนับสนุนจากสมาคมฯ เรื่อยมา ต่อมาในปีการศึกษา 2549 เปิดสอนไท้เก๊กให้กับนักศึกษาหลักสูตรการแพทย์แผนจีน  และในปีการศึกษา 2551 ได้เปิดสอนไท้เก๊กเป็นวิชาบังคับของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ทุกหลักสูตร  ปัจจุบันมีนักศึกษาที่ผ่านการเรียนไท้เก๊กมากที่สุดในประเทศไทยนอกเหนือจากการจัดการเรียนการสอนในชั้นเรียนยังมีการจัดตั้งชมรมไท้เก๊กโดยนักศึกษาเพื่อจัดกิจกรรมแนะนำการรำมวยจีนเพื่อสุขภาพ

 

ศาสตราจารย์พิเศษ ประสิทธิ์ โฆวิไลกูล อดีตอธิการบดี มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ผู้ริเริ่มกิจกรรมไทเก๊กในมหาวิทยาลัย

Read the rest of this entry »

คลิก Hide Facets ช่วยได้เยอะ
ต.ค. 29th, 2019 by uthairath

การ Search หรือค้นหาข้อมูล ให้ง่ายขึ้น โดยเลือกในส่วนของ Hide Facets

ผู้เขียนได้ปฏิบัติหน้าที่ในส่วนของการลงรายการการสั่งซื้อหนังสือและสื่อต่างๆ เช่น เกม ฯลฯ ในฐานข้อมูลระบบ WorldShare Management Services (WMS) จึงต้องมีการสืบค้นข้อมูลต่างๆ ให้ได้ตรงตามความต้องการมากที่สุดและมีขั้นตอนที่สามารถช่วยให้หาข้อมูลได้ง่ายขึ้น จึงขอนำเสนอวิธีการสืบค้น ที่จะช่วยให้สืบค้นได้ง่ายมากขึ้นจากการใช้ hide facet จากตัวอย่าง การสืบค้น Marrakech

รูปภาพที่ 1 เกมชื่อ Marrakech

1.เข้าระบบ WMS ที่ https://hcu.share.worldcat.org/wms

2. สืบค้น (Search) หารายชื่อหนังสือหรือชื่อเกมที่ต้องการสืบค้น ในครั้งนี้จะทำการสืบค้นเกมที่มีชื่อว่า Marrakech

ในโมดูล Acquisition เลือก Discover Items Search โดยมีวิธีการสืบค้น ดังนี้ Read the rest of this entry »

»  Substance:WordPress   »  Style:Ahren Ahimsa