ห้องสมุดใช้บาร์โคด เป็นเหมือนทะเบียนของหนังสือ เนื่องจากมีการลงรายการข้อมูลทางบรรณานุกรมของหนังสือในระบบห้องสมุดแล้ว และติดบาร์โคดเพื่อเป็นเลขทะเบียนของตัวเล่ม ไม่ต้องมาลงข้อมูลของหนังสือในสมุดทะเบียนเหมือนสมัยก่อนอีกต่อไป และใช้บาร์โคดเป็นตัวที่ให้เจ้าหน้าที่ใช้สำหรับการยืมออก หนังสือทะเบียนนี้ ออกไป และใช้ยืงบบาร์โคดของหนังสือกลับเข้ามาในระบบ เมื่อมีการคืนหนังสือ (ห้องสมุดส่วนใหญ่ จะใช้ RFID มาติดแทนบาร์โคดและเพื่อการยืม-คืนหนังสือ)
ผู้เขียน มีหน้าที่ในการติดบาร์โคดที่ตัวเล่ม ในกรณีที่เป็นหนังสือซ่อม จึงขอแบ่งปันวิธีการดังนี้
อุปกรณ์
1.บาร์โคดที่พิมพ์จากสติกเกอร์
2. สก๊อตเทปใส สำหรับติดทับบาร์โคด เพื่อกันไม่ให้บารโคดไม่หลุด หรือ ถูกแกะ หรือถูกเอาสีป้ายเล่น
ภาพที่ 1 บาร์โคดที่พิมพ์ออกมา
Read the rest of this entry »
ศูนย์บรรณสารสนเทศ ขอแนะนำมุมหนังสือที่น่าสนใจอีกมุมหนึ่ง คือ มุมหนังสือ Just returned จัดให้บริการบริเวณเคาน์เตอร์บริการยืม-คืน ชั้น 1 ศูนย์บรรณสารสนเทศ เนื่องจากในแต่ละวันมีผู้ใช้บริการนำหนังสือมาคืน แล้วต้องคัดแยกส่งเก็บตามชั้นต่างๆ ทุกวัน ช่วงเวลา 16.00 น. ดังนั้น จึงได้มีแนวความคิดในการนำหนังสือที่เพิ่งคืนมาจัดแสดงอีกครั้ง เนื่องจากเห็นว่า น่าจะเป็นที่สนใจว่า ใครยืมหนังสืออะไรไปอ่านกันบ้าง ผู้ใช้ที่เรียนในสาขาวิชาเดียวกัน หรือผู้ที่สนใจในเรื่องทำนองเดียวกัน จะได้มีไอเดียในการอ่านหนังสือ เมื่อเห็นการจัดแสดงหนังสือที่เพิ่งมาคืน เหมือนเป็นการแนะนำหนังสือโดยผู้อ่านคนอื่นที่มีสไตล์การอ่านแบบเดียวกัน
บุคลากรศูนย์บรรณสารสนเทศ จึงเลือกหนังสือที่คืนบางส่วนในแต่ละวัน โดยเลือกหนังสือที่มีเนื้อหาทั่วไปเบาๆ ไม่เชิงวิชาการมากนัก เน้นเล่มใหม่ๆ เช่น หนังสือทางด้านดูแลสุขภาพ ทางด้านภาษาที่น่ารู้ นวนิยาย เป็นต้น นำมาจัดแสดงให้เห็นว่ามีหนังสืออะไรที่เพิ่งมาคืน น่าจะเป็นที่สนใจแก่ผู้อ่านคนอื่น ๆ บ้าง โดยไม่ต้องขึ้นไปเสาะแสวงหา การจัดมุมหนังสือ Just returned เป็นที่สนใจแก่ผู้ใช้บริการเป็นอย่างมาก ทำให้หนังสือเหล่านี้มีการหมุนเวียนถูกหยิบยืมอีก และยังได้เพิ่มการจัดทำ QR CODE เพื่อ Scan ดูเนื้อหาของหนังสือบางเล่ม อีกด้วย Read the rest of this entry »
การตรวจรับพัสดุ เป็นขั้นตอนที่สำคัญขั้นตอนหนึ่งในการจัดซื้อจัดจ้างทั่วไป ศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ มีภารกิจอย่างหนึ่งในการจัดซื้อทรัพยากรสารสนเทศ เพื่อการสนับสนุนการเรียนการสอน การค้นคว้า วิจัย ของนักศึกษา อาจารย์ และบุคคลทั่วไป การได้มาซึ่งทรัพยากรสารสนเทศที่ศูนย์ฯ ดำเนินการจัดซื้อเองนั้น เมื่อได้จัดซื้อทรัพยากรสารสนเทศตามขั้นตอนเรียบร้อย พร้อมได้รับตัวเล่มทรัพยากรแล้ว ศูนย์บรรณสารสนเทศ จะต้องตรวจรับทรัพยากรสารสนเทศทุกชิ้นและต้องสมบูรณ์ครบถ้วน โดยมีขั้นตอนการตรวจรับหนังสือ ดังนี้
1. กรอกแบบฟอร์มการขอรับการตรวจรับพัสดุ ส่งไปยังกองพัสดุ เพื่อนัดหมายให้มาตรวจรับหนังสือ เนื่องจากศูนย์บรรณสารสนเทศ ดำเนินการจัดซื้อทรัพยากรสารสนเทศด้วยตนเอง และระเบียบของมหาวิทยาลัย ต้องให้มีบุคลากรจากกองพัสดุมาเป็นกรรมการตรวจรับด้วย โดยกรรมการตรวจรับ ประกอบด้วย 3 คน คือ Read the rest of this entry »
บุคลากรจากแผนบริการสารสนเทศในแต่ละชั้น มีหน้าที่ในการรับหนังสือใหม่ที่ผ่านการวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศแล้ว เพื่อนำให้บริการต่อไป แต่ก่อนที่จะนำขึ้นให้บริการนั้น แผนกบริการสารสนเทศ จะมีการถูกสอบความถูกต้องของหนังสือ เช่น เลขเรียกหนังสือที่อาจจะผิดพลาดได้ กล่าวคือ สันหนังสืออาจจะมีเลขเรียกหนังสือต่างจากที่บันทึกในระบบห้องสมุด
แผนกบริการสารสนเทศ ศูนย์บรรณสารสนเทศ มีขั้นตอนในการตรวจสอบ ดังนี้
1.หนังสือที่ผ่านการ Catalog จากแผนกวิเคราะห์ฯ เรียบร้อยแล้ว หนังสือจะถูกส่งมายังแผนกบริการสารสนเทศ เพื่อขึ้นชั้นให้บริการ พร้อมแบบฟอร์มการส่งหนังสือ ดังภาพ
2.เมื่อตรวจเช็คจำนวนหนังสือแล้ว จึงนำตัวเล่มหนังสือนั้นๆ มาตรวจสอบความถูกต้องในระบบห้องสมุด WMS หรือ WorldShare Management Services ก่อนนำขึ้นชั้นหนังสือต่อไป
วิธีการตรวจสอบความถูกต้องในระบบ WMS Read the rest of this entry »
Acquisition module เป็น 1 ในอีกหลายโมดูล ที่ประกอบกันเป็นระบบห้องสมุดอัตโนมัติแบบบูรณาการ แต่นับว่าเป็นโมดูลแรกเริ่มของการทำงานในห้องสมุด เพราะเป็นโมดูลเกี่ยวกับการจัดซื้อ จัดหา และระบบการทำบัญชี งบประมาณของห้องสมุด สำหรับศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ใช้ระบบ WorldShare Management Services (WMS) ซึ่งมีฟังก์ชั่นในการใช้งาน Acquisition module โดยมีขั้นตอนการทำงานประกอบด้วยส่วนของ Budgets โดยสามารถจัดสรรงบประมาณในการจัดซื้อทรัพยากรสารสนเทศให้กับคณะต่างๆ ที่มีอยู่ 14 คณะแยกเป็นหนังสือภาษาไทยและหนังสือภาษาอังกฤษดังรูป
รูปที่ 1. แสดงตัวอย่างบางส่วนของงบประมาณคณะ
บรรณารักษ์วิเคราะห์และทำรายการทางบรรณานุกรม ต้องศึกษาพัฒนาการในการลงรายการทางบรรณานุกรม เพื่อให้สามารถจัดการกับข้อมูลที่ลงรายการให้เกิดประโยชน์แก่ผู้ใช้ห้องสมุดให้มากที่สุด การลงรายการทางบรรณานุกรม ก็เพื่อต้องการสร้างช่องทางในการเข้าถึงทรัพยากรสารสนเทศ การแสดงผลทรัพยากรสารสนเทศ เพื่อให้มีการสืบค้นได้อย่างมีประสิทธิภาพและเพื่อผู้ใช้ข้อมูล
ปัจจุบัน คำว่า RDA หรือ Resource Description and Access เป็นคำที่ได้ยินกันหนาหูในกลุ่มบรรณารักษ์วิเคราะห์และทำรายการทางบรรณานุกรม ว่าจะมาแทนที่ AACR II ผู้เขียน จึงได้ศึกษาและสรุป RDA จากผู้รู้ ไว้ดังนี้
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับมาตรฐาน RDA Read the rest of this entry »
ปัญหาที่พบบ่อยในห้องสมุดอีกข้อหนึ่งก็คือ ก็คือ หนังสือชำรุด อาจมีสาเหตุมาจาก
วิธีการดูแลหนังสืออย่างถูกวิธี
1. หยิบด้วยมือที่แห้ง
2.เปิดหนังสือให้ถูกวิธี โดย
หนังสือ เป็นทรัพยากรสารเทศหลักที่มีอยู่ในห้องสมุด จึงต้องมีการจัดเก็บให้ตรงตามหมวดหมู่และตำแหน่งที่ถูกต้อง ตามหลักการของการจัดหมวดหมู่เนื้อหาของหนังสือ เพื่อให้สะดวกแก่การค้นหาของผู้ใช้บริการ
การที่ต้องมีการจัดเรียงหนังสือให้ถูกต้องตามหมวดหมู่นั้น เนื่องจากมีหนังสือเข้ามาในส่วนของงานบริการเพื่อให้บริการผู้ใช้อยู่เสมอและอย่างต่อเนื่อง และผู้ใช้มีการหยิบหนังสือออกจากชั้นหนังสือ เพื่ออ่านในห้องสมุด หรือยืมออกจากห้องสมุด ก็ตาม เมื่อมีการนำกลับมาคืน ต้องมีการจัดเรียงขึ้นชั้นให้ถูกต้องตามตำแหน่งดังเดิม
ผู้เขียน มีหน้าที่ในการจัดเรียงหนังสือขึ้นชั้น โดยจะรวบรวมหนังสือที่ผู้ใช้บริการอ่านเสร็จแล้ว และนำหนังสือวางไว้ที่ชั้นพักหนังสือ หรือรวบรวมหนังสือที่อยู่ตามโต๊ะต่างๆ มาดำเนินการเพื่อเตรียมการจัดขึ้นชั้นหนังสือ โดยแยกเป็น หนังสือภาษาไทยกับหนังสือภาษาอังกฤษ และแยกประเภทของหนังสือก่อนที่จะจัดเรียงขึ้นชั้น
ประเภทของหนังสือจะแบ่งออกเป็น หนังสือทั่วไป หนังสืออ้างอิง หนังสือหายาก งานวิจัย ภาคนิพนธ์ วิทยานิพนธ์ นวนิยาย เรื่องสั้น และหนังสือมุมต่างๆ เช่น มุมพุทธทาสภิกขุ มุมคุณธรรม มุม สสส. เป็นต้น
วิธีการจัดเรียงหนังสือขึ้นชั้น มีดังนี้
การจัดเรียงจะทำการเรียงจากเลขน้อยไปหาเลขมาก เรียงจากซ้ายไปขวา และเรียงจากชั้นบนลงชั้นล่าง โดยดูจากเลขเรียกหนังสือที่สันหนังสือ ดังตัวอย่างและภาพประกอบ
หรือ ถ้าหนังสือชื่อเรื่องเดียวกัน มีหลายฉบับ เรียงตามลำดับฉบับ หรือ Copy ดังตัวอย่างและภาพประกอบ
ตัวอย่างการจัดเรียงหนังสือบนชั้น
What Causes the Smell of New & Old Books?
เมื่อวัันก่อนอ่าน FB ของสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ แนะนำบทความเรื่อง What Causes the Smell of New & Old Books? แล้วรู้สึกว่าน่าสนใจเลยขอเก็บความมาเล่าดังนี้
เคยรู้สึกหรือไม่ เวลาที่เข้าไปหอสมุดที่ค่อนข้างเก่าแก่โบราณ หรือเข้าไปตามร้านขายหนังสือมือสอง มักจะได้กลิ่นของหนังสือเก่า ที่มีกลิ่นสาบๆ เหมือนเต็มไปด้วยสารพิษ หรือในเวลาที่ซื้อหนังสือเล่มใหม่มาอ่าน ขณะที่พลิกหน้ากระดาษแต่ละหน้า มักจะมีกลิ่นฉุนๆ ของสารเคมีอะไรสักอย่างโชยขึ้นมา เตะจมูก ซึ่งไม่แน่ใจว่ากลิ่นนั้นโชยมาจากเนื้อกระดาษ หรือกลิ่นน้ำหมึกที่ใช้พิมพ์กันแน่ แล้วกลิ่นเหล่านี้ ใช้เวลานานแค่ไหน กว่ามันจะจาง หรือหมดไป ช่างเป็นคำถามที่ตอบยากทีเดียว ทำไมนะหรือ?
ประเด็นที่หนึ่ง ดูเหมือนว่าจะขาดแคลนผลการตรวจสอบทางวิทยาศาสตร์ ที่มุ่งค้นคว้าถึงสาเหตุนี้โดยตรง
ประเด็นที่สอง น้ำยาเคมีที่ถูกผสมลงไปในเนื้อกระดาษที่แต่ละโรงงานหรือแต่ละโรงพิมพ์ ล้วนแต่ใช้แตกต่างชนิดกัน ซึ่งหากต้องการหาสารประกอบทางเคมีจากหนังสือ คงต้องทำการทดลองหาสารประกอบเหล่านั้น ชนิดเล่มต่อเล่มทีเดียว Read the rest of this entry »
Acquisition module เป็น 1 ในอีกหลายโมดูล ที่ประกอบกันเป็นระบบห้องสมุดอัตโนมัติแบบบูรณาการ แต่นับว่าเป็นโมดูลแรกเริ่มของการทำงานในห้องสมุด เพราะเป็นโมดูลเกี่ยวกับการจัดซื้อ จัดหา และระบบการทำบัญชี งบประมาณของห้องสมุด สำหรับศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ใช้ระบบ Virtua (VTLS) ซึ่งมีฟังก์ชั่นในการใช้งาน Acquisition module ดังนี้