SIDEBAR
»
S
I
D
E
B
A
R
«
การศึกษาเชิงคติชนวิทยา : การตั้งชื่อคลองและชื่อบ้านใน อำเภอบางเสาธง จังหวัดสมุทรปราการ
ม.ค. 1st, 2019 by supaporn

พรรณศิริ แจ่มอรุณ วุฒิพงษ์ ทองก้อน และ กชพร ขวัญทอง. (2561). การศึกษาเชิงคติชนวิทยา : การตั้งชื่อคลองและชื่อบ้านใน อำเภอบางเสาธง จังหวัดสมุทรปราการ (A Study of Folklore: A Determinant of Names of the Canals and Villages in Bang Sao Thong District, Samutprakan Province). สมุทรปราการ : มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ.

รายงานการวิจัยเรื่องนี้ มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาประวัติและความเป็นมาของการตั้งชื่อคลองและชื่อหมู่บ้านริมคลองในอำเภอบางเสาธง จังหวัดสมุทรปราการ และเพื่อศึกษาบทบาทและความสำคัญของคลองที่เปลี่ยนแปลงจากอดีตสู่ปัจจุบัน เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ที่เน้นศึกษาจากการลงภาคสนามและเอกสารเป็นสำคัญ โดยวิธีการสัมภาษณ์แบบไม่เป็นทางการ กลุ่มเป้าหมายคือผู้สูงอายุในท้องถิ่น นักวิชาการท้องถิ่น ผู้นำชุมชน พระภิกษุ รวมทั้งศึกษาจากเอกสารราชการ งานเขียนกึ่งวิชาการ บันทึกท้องถิ่น หนังสืออนุสรณ์งานฌาปนกิจ แผนที่คลองในอดีตและปัจจุบัน และลงภาคสนามสังเกตลักษณะทางกายภาพของคลองและสถานที่ ๆ เกี่ยวข้อง โดยมีการตรวสอบข้อมูลโดยใช้เทคนิคการตรวจสอบสามเส้า(Triangulation)
ผลจากการวิจัยพบว่า การตั้งชื่อคลองและชื่อหมู่บ้านในอำเภอบางเสาธง จังหวัดสมุทรปราการ ชื่อส่วนใหญ่คนในท้องถิ่นตั้งกันเองตามชื่อบุคคลที่อยู่ในคลองหรือลักษณะโดดเด่นของคลอง เช่น ชื่อพืชพันธุ์ไม้ ขนาดหรือทิศทางของคลอง ภูมิประเทศ สัตว์ สิ่งก่อสร้าง กริยาการกระทำ เครื่องใช้ไม้สอย และความเชื่อหรือตำนาน ตามลำดับ เพื่อจดจำได้ง่ายและสะดวกในการสื่อสารให้เข้าใจได้ตรงกัน

บทบาทและความสำคัญของคลองจากอดีตสู่ปัจจุบันมีความเปลี่ยนแปลงไปตามบริบทของการพัฒนาทางเศรษฐกิจของประเทศในช่วงหลัง คลองในอดีตที่เคยมีความสำคัญเป็นต้นกำเนิดของชุมชน แหล่งเศรษฐกิจทำกินและเส้นทางคมนาคมหลัก เปลี่ยนไปเมื่อถนนตัดผ่าน ก็ก่อเกิดความเจริญทางเศรษฐกิจ เกิดพื้นที่ธุรกิจ อุตสาหกรรมและหมู่บ้านแห่งใหม่ของคนต่างถิ่นอยู่ตามแนวถนนและมีรูปแบบสังคมเมือง ส่วนหมู่บ้านที่อยู่ติดคลองเปลี่ยนเป็นรูปแบบกึ่งเมืองกึ่งชนบท
Read the rest of this entry »

วิกิ : เครื่องมือเพื่อการแบ่งปันความรู้
ก.ย. 3rd, 2016 by supaporn

เมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2559 เวลา 9.00-12.00 น. ศูนย์บรรณสารสนเทศ โดย ผู้อำนวยการศูนย์บรรณสารฯ  นางสาวสุภาพร ชัยธัมมะปกรณ์ได้เป็นวิทยากรในกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับสถาบันพัฒนาวิชาการ (สพว.) ซึ่งผู้อำนวยการ โดย ผศ. ดร. วุฒิพงษ์ ทองก้อน มีความสนใจในการนำโปรแกรม Dokuwiki ที่ศูนย์บรรณสารสนเทศ ใช้อยู่ มาประยุกต์ใช้กับกิจกรรมของ สพว. ต่อไป

ถ่ายภาพร่วมกันหลังบรรยายเสร็จ

ถ่ายภาพร่วมกันหลังบรรยายเสร็จ

เนื่องจาก วิกิ เป็นเว็บไซต์ที่เกิดขึ้นในช่วง Web 2.0 จึงได้มีการบรรยายนำในเรื่องของประวัติและพัฒนาการของ Web ในแต่ละยุค จาก Web 1.0-Web 4.0 จากนั้นจึงได้นำเข้าสู่โปรแกรม Dokuwiki และการใช้งานของศูนย์บรรณสารสนเทศ เช่น การใช้ในการประชุม การใช้ในการจัดเก็บเอกสารภายในของศูนย์ฯ ผลจากการใช้ทำให้ศูนย์บรรณสารสนเทศ มีกระบวนการจัดเก็บไฟล์เอกสารที่มีระบบมากขึ้น ค้นหาไฟล์เอกสารต่างๆ ได้ง่ายขึ้น สามารถใช้เป็นแหล่งจัดเก็บเอกสารในระบบประกันคุณภาพ แหล่งจัดเก็บเอกสารเพื่อใช้ในการประเมินต่างๆ และทำให้ลดการใช้กระดาษลงได้อีก

เอกสารประกอบการบรรยาย

การศึกษาเชิงคติชนวิทยา : การตั้งชื่อคลองและชื่อบ้านในเขตอำ เภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ
พ.ค. 19th, 2016 by rungtiwa

การศึกษาเชิงคติชนวิทยา : การตั้งชื่อคลองและชื่อบ้านในเขตอำ เภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ

A Study of Folklore: A Determinant of Names of the Canals and Villages in Bangplee District, Samutprakarn

 

พรรณศิริ แจ่มอรุณ วุฒิพงษ์ ทองก้อน และกชพร ขวัญทอง. (2558). การศึกษาเชิงคติชนวิทยา : การตั้งชื่อคลองและชื่อบ้านในเขตอำ เภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ. วารสารศิลปศาสตร์ปริทัศน์  10 (19), 14-24.

อ่านบทความฉบับเต็ม

การประเมินหลักสูตรหมวดวิชาศึกษาทั่วไป มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
ก.พ. 28th, 2016 by rungtiwa

การประเมินหลักสูตรหมวดวิชาศึกษาทั่วไป มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ

An Evaluation of General Education Curriculum, Huachiew Chalermprakiet University

บทคัดย่อ:

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินหลักสูตรหมวดวิชาศึกษาทั่วไประดับปริญญาตรีปีพุทธศักราช 2542 ของมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ โดยประยุกต์ใช้รูปแบบการประเมินชิปป์ (CIPP Model) 4 ด้าน คือ บริบท ปัจจัยเบื้องต้น กระบวนการ และผลผลิต โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ประกอบด้วย นักศึกษา จำนวน 329 คน อาจารย์ประจำผู้สอนหมวดวิชาศึกษาทั่วไป จำนวน 50 คน อาจารย์ที่ปรึกษา จำนวน 105 คน และผู้บังคับบัญชาบัณฑิต จำนวน 299 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล 3 รูปแบบคือ การวิเคราะห์เอกสาร การสำรวจความคิดเห็น โดยใช้แบบสอบถามความคิดเห็นต่อหลักสูตรหมวดวิชาศึกษาทั่่วไป คุณลักษณะนักศึกษาตามวัตถุประสงค์ แบบประเมินคุณลักษณะบัณฑิต และการสนทนากลุ่ม (Focus Group discussion) การวิเคราะห์ข้อมูลผู้วิจัยใช้วิธีการทางสถิติ โดยการคำนวณคะแนนเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบ t-test ได้ผลการประเมิน ดังนี้ Read the rest of this entry »

ชื่อคลองและชื่อบ้านในเขตอำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ
ม.ค. 11th, 2016 by supaporn

ถ้าเอ่ยชื่อ บางพลี บางบ่อ หนองงูเห่า คนส่วนใหญ่ก็จะคุ้นหูและรู้ว่า แต่ละชื่อ มีความเด่นหรือดังในด้านใด เช่น ปลาสลิดอร่อยๆ ก็ต้องเป็นปลาสลิดบางบ่อ หนองงูเห่า ก็เป็นชื่อเรียกแต่เดิมก่อนจะมาเป็นสนามบินสุวรรณภูมิ ทั้ง 3 ชื่อนี้ล้วนอยู่ในอำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ ทั้งสิ้น

การศึกษาเชิงคติชนวิทยา : การตั้งชื่อคลองและชื่อบ้านในเขตอำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ

แผนที่จังหวัดสมุทรปราการ ใน การศึกษาเชิงคติชนวิทยา : การตั้งชื่อคลองและชื่อบ้านในเขตอำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ

อำเภอบางพลี เป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดสมุทรปราการ ชุมชนบางพลีในอดีต ใช้คลองสำโรงซึ่งขุดขึ้นในรัชสมัยของอารยธรรมขอมโบราณ ระหว่าง พ.ศ. 978 ถึง 1700 เป็นเส้นทางหลักในการสัญจรและการค้าขายที่สำคัญ และยังมีคลองซอยต่างๆ อีกประมาณ 100 คลอง ด้วยความเจริญทางวัตถุที่แผ่ขยายเข้ามา ทำให้คลองที่เคยทำหน้าที่ระบายน้ำถูกปรับเปลี่ยนสภาพเป็นถนน หรือเป็นเพียงคูน้ำเล็กๆ ที่เหลือเพียงชื่อที่สะท้อนเรื่องราวความสำคัญของตัวตนคนบางพลี พิธีกรรม ประเพณี วัฒนธรรม ของชุมชนบางพลี

การศึกษาเชิงคติชนวิทยา : การตั้งชื่อคลองและชื่อบ้านในเขตอำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ (A Study of Folklore : A Determinant of Names of the Canals and Villages in Bangplee District, Samutprakarn Province) โดย พรรณศิริ แจ่มอรุณ วุฒิพงษ์ ทองก้อน และ กชพร ขวัญทอง คณาจารย์จากมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ได้ศึกษา รวบรวม และเรียบเรียง ชื่อของหมู่บ้านและลำคลองของอำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ ซึ่งจะสัมพันธ์กับแง่มุมของประวัติศาสตร์ท้องถิ่น วรรณกรรม ภูมิศาสตร์ และชาติพันธุ์ ตามความเชื่อ ความรู้ ประสบการณ์ ตามคำบอกเล่าของคนในท้องถิ่นซึ่งสามารถบอกเล่าเรื่องราวในอดีตและถ่ายทอดได้อย่างตรงไปตรงมา ประสานกับข้อมูลจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ชาติ ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น สภาพภูมิศาสตร์ ที่บันทึกโดยหน่วยงานราชการ Read the rest of this entry »

»  Substance:WordPress   »  Style:Ahren Ahimsa