SIDEBAR
»
S
I
D
E
B
A
R
«
บทบาทของบรรณารักษ์และการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ : ประสบการณ์จากการวิจัย
ก.พ. 27th, 2019 by dussa

ผู้เขียนได้เข้าฟังการบรรยาย เรื่อง บทบาทของบรรณารักษ์และการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ : ประสบการณ์จากการวิจัย โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นฤตย์  นิ่มสมบุญ สาขาวิชาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  ในงานสัมมนาทางวิชาการเรื่อง I-School and data science : knowledge and experience from  South Korea  วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2562 เวลา 08.30-16.00 น. ณ ห้องกิจกรรม ชั้น 2 หอสมุดป๋วย อึ๊งภากรณ์  มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิตสรุปความได้โดยสังเขป ดังนี้

การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ คือ การศึกษา และค้นคว้าสารสนเทศอย่างเป็นระบบแล้วนำมาสังเคราะห์ เพื่อประกอบการตัดสินใจเลือกวิธีการที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดและนำไปใช้ในการปฏิบัติจริง โดยต้องเป็นสารสนเทศที่น่าเชื่อถือได้ มีมาตรฐาน โดยการกำหนดเกณฑ์การคัดเลือก ที่มีการตกลงกันไว้ก่อน มีการกำหนดวิธีการสืบค้นที่แม่นยำ เที่ยงตรง และเชื่อถือได้ ดังนั้น การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ จึงมีหลักเกณฑ์ ดังนี้

  1. กำหนดปัญหา
  2. รวบรวมข้อมูล
  3. ประเมินคุณภาพ
  4. การสังเคราะห์
  5. การแปลผล

บรรณารักษ์มีส่วนในการช่วยนักวิจัยในการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ บรรณารักษ์มีหลายบทบาท ตั้งแต่การเป็นผู้แนะนำฐานข้อมูลที่มีประโยชน์ต่อการสืบค้นข้อมูล บรรณารักษ์ในฐานะเป็นผู้ร่วมวิจัย ในฐานะเป็นที่ปรึกษา ในฐานะเป็นผู้ให้การศึกษา

Database Selection การพิจารณาคัดเลือกฐานข้อมูลในการสืบค้น เช่น

  1. EBSCOhost
  2. Proquest
  3. CiteSeerx
  4. ฐานข้อมูลงานวิจัยไทย (https://www.researchgateway.in.th/)
  5. Google scholar
  6. Books
  7. Journal articles
  8. Google สืบค้นฐานข้อมูลหน่วยงานรัฐบาลและองค์กรเอกชนทั้งในและต่างประเทศ เป็นต้น

Librarian as co-researcher (บรรณารักษ์ในฐานะเป็นผู้ร่วมวิจัย)

มีงานวิจัยรองรับว่า การทำงานกับบรรณารักษ์สามารถเพิ่มคุณภาพในการสืบค้น โดยเฉพาะเมื่อบรรณารักษ์มีความรู้เกี่ยวกับการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ เพราะบรรณารักษ์เชี่ยวชาญด้านกระบวนการกำหนดคำสำคัญและกำหนดหัวเรื่อง Read the rest of this entry »

การสนทนาภาษาจีนเบื้องต้นในห้องสมุด
ก.ค. 14th, 2017 by buaatchara

ด้วยตำแหน่งคือ บรรณารักษ์ ทำหน้าที่ลงรายการทรัพยากรสารสนเทศภาษาจีน จึงขอแนะนำประโยคภาษาจีนไปใช้สนทนาในเบื้องต้น โดยได้กำกับคำอ่านภาษาไทยไว้ให้อ่านเข้าใจง่าย เพื่อให้ผู้ที่ทำงานด้านห้องสมุดนำไปประยุกต์ใช้ตามสถานการณ์ (บางคำจะเป็นคำที่ใช้ในศูนย์บรรณสารสนเทศ)

ภาษาจี คำอ่าน คำแปล
你好! หนี  ห่าว สวัสดีครับ/ค่ะ
老师好! เหล่า  ซือ  ห่าว สวัสดีครับ/ค่ะอาจารย์
学生好! เสวีย  เซิง  ห่าว สวัสดีครับ/ค่ะนักเรียน
谢谢! เซี่ย   เซี่ย ขอบคุณครับ/ค่ะ
再见! ไจ้   เจี้ยน ลาก่อน
早安! จ่าว   อัน สวัสดีตอนเช้า ครับ/ค่ะ
午安! อู่   อัน สวัสดีตอนบ่าย ครับ/ค่ะ
吃饭了吗? ชือฟ่าน เลอ มา กินข้าวหรือยัง ครับ/ค่ะ
你要去哪里? หนี่  เย้า  ชวี่  หนา  หลี่ คุณจะไปไหน
请你排队 ฉิ่ง  หนี่  ผาย  ตุ้ย กรุณาเข้าแถว ครับ/ค่ะ
乐意为您效劳 เล่อ อี้ เหว่ย หนิน เสี้ย เหลา ยินดีรับใช้คุณ ครับ/ค่ะ
有什么要帮忙吗? โหย่ว เสิน เมอ เย้า ปัง หมัง มา มีอะไรให้ช่วยไหม ครับ/ค่ะ
你有什么事吗? หนี่ โหย่ว เสิน เมอ ซื่อ มา คุณมีธุระอะไรไหม ครับ/ค่ะ
你要借书吗? หนี่ เย้า เจี้ย ซู มา คุณต้องการยืมหนังสือไหม
你要还书吗? หนี่ เย้า หวน ซู มา คุณต้องการคืนหนังสือไหม
你要续借吗? หนี่ เย้า ซวี่ เจี้ย มา คุณต้องการยืม (หนังสือต่อไหม
中文书在5 จง เหวิน ซู ไจ้ อู่ โหลว หนังสือจีนอยู่ชั้น 5
中文报纸在5 จง เหวิน เป้า จื่อ ไจ้ อู่ โหลว หนังสือพิมพ์จีนอยู่ ชั้น 5
5 中文图书馆 อู่ โหลว จง เหิวน ถู ซู กว่าน ชั้น5ห้องสมุดภาษาจีน
诗琳通公主御览室 ซือ หลิน ทง กง จู่ วี่ หลัน ซื่อ ห้องทรงพระอักษรสมเด็จพระเทพๆ
郑午楼博士文物纪念馆 เจิ้ง อู่ โหล่ว ป๋อ ซื่อ เหวิน อู่ จี้ เนี่ยน กว่าน หอเอกสาร ดร.อุเทน เตชะไพบูลย์

คำศัพท์ที่ใช้บ่อยในห้องสมุด

ภาษาจี คำอ่าน คำแปล
图书馆 ถูซูกว่าน ห้องสมุด
ซู หนังสือ
馆员 กว่านเหยียน บรรณารักษ์
借书 เจี้ย ซู ยืมหนังสือ
还书 หวน ซู คืนหนังสือ
续借 ซวี่ เจี้ย ยืมหนังสือต่อ
报纸  เป้า จื่อ หนังสือพิมพ์
杂志 จ๋า จื้อ นิตยสาร
书展 ซูจ่าน นิทรรศการหนังสือ
书架 ซูเจี้ย ชั้นวางหนังสือ
大学生 ต้า เสวีย เซิง นักศึกษา
学生 เสวีย เซิง นักเรียน
参观者 ชัน กวน เจ่อ แขกเยี่ยมชม

 

ห้องสมุดที่เคยเป็นและห้องสมุดในอนาคต
ก.ค. 4th, 2016 by navapat

ห้องสมุดที่เคยเป็นและห้องสมุดในอนาคต

เป็นบทความรวบรวม ความคิดเห็นของบรรณารักษ์  สถาปนิก และนักวิชาการจากหลายสาขา ซึ่งมารวมตัวกันที่สถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ (Massachusetts Institute of Technology, MIT) เพื่อให้ความเห็น และชี้ให้เห็นอนาคตของห้องสมุด

นอกเหนือจากการเป็นคลังหนังสือแล้ว ห้องสมุดเก่าแก่แห่งเมืองอเล็กซานเดรีย ยังเป็นแหล่งค้นคว้าทางวิชาการให้กับบรรดานักวิชาการ   คำว่า “Mouseion” เป็นคำที่มีรากศัพท์มาจากภาษากรีก แปลว่า สถานที่ทำงานของเทพเจ้า Muses (เทพ Muses เป็นเทพแห่งวรรณกรรม และศิลปะ เป็นธิดาของเทพ Zeus ในตำนานกรีก : ผู้แปล)  ด้วยเหตุนี้ในห้องสมุดในสมัยแรกเริ่ม จึงประกอบไปด้วย  ห้องสอนหนังสือ (Exedra) โรงรับประทานอาหาร (Oinks) และ ทางเดินแบบมีหลังคา (Peripatos)  เมื่อสรุปรวมกันจึงแปลได้ว่า เป็นสถานที่นักวิชาการใช้สำหรับค้นคว้า และสนทนาทางวิชาการ  นักวิชาการ สามารถเดินถือตำราไปไหนมาไหนหรือรับประทานอาหาร ภายใต้ร่มเงานั้นได้ แม้ว่า ปัจจุบันเราอยู่ในยุคดิจิทัลแล้วก็ตาม แต่ความหมายโดยรวมของมันยังคงไม่เปลี่ยนแปลงไปมากนัก

นับเป็นเวลา 1,000 ปีมาแล้ว ที่ห้องสมุด ได้มีการเปลี่ยนแปลงทางด้านกายภาพ และภาวะของสังคม ซึ่งแน่นอนว่า ข้อมูล และสภาวะทางสังคม ย่อมมีการเปลี่ยนแปลง ไม่คงที่ เช่น การเปลี่ยนจากโต๊ะดินเหนียว ไปเป็นตู้แบบที่มีล้อเลื่อน และกลายเป็นการสืบค้นแบบเข้ารหัส และเข้าสู่ยุคดิจิทัลในยุคปัจจุบัน ห้องสมุดจึงมีการปรับเปลี่ยน การอ่านออกเขียนได้ กลายเป็นมาตรฐาน เช่นเดียวกับ เหล่านักวิชาการ มีการรวมตัวกันมากขึ้น นิสัยการอ่านก็เปลี่ยนแปลง  มีวิธีการที่จะเข้าถึงข้อมูล หลายหมื่นข้อความ ด้วยเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์  ห้องสมุดมีการพัฒนา  มันได้เปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีทางด้านข้อมูล และพฤติกรรมทางสังคม รวมทั้งนิสัยการอ่าน การเรียน  ล้วนแต่มีผลต่อรากฐานของห้องสมุด Read the rest of this entry »

ห้องสมุดดิจิทัล : ประสบการณ์และข้อพึงระวัง (Digital Library : Best Practice and Pit Fall)
มิ.ย. 12th, 2016 by pailin

จากการเข้าร่วมการประชุมวิชาการประจำปี 2558  เรื่อง  ห้องสมุดดิจิทัล : ประสบการณ์และข้อพึงระวัง  (Digital Library : Best Practice and Pit Fall) จัดโดย ชมรมบรรณารักษ์สถาบันอุดมศึกษา (ช.บ.อ.)  สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย  เมื่อวันที่ 27  พฤศจิกายน 2558  ณ  ห้องประชุมชั้น 7  สำนักงานวิทยทรัพยากร  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยประกอบด้วยหัวข้อ ต่อไปนี้

  1.  แนวโน้มของห้องสมุดในยุค Digital Library
  2.  เล่าเรื่อง Digitized Rare Book หอสมุดสาขาวังท่าพระ มหาวิทยาลัยศิลปากร
  3.  D-Library : National Digital Content
  4.  ห้องสมุดดิจิทัล  ความคุ้มค่าในการลงทุนของมหาวิทยาลัย ?

Read the rest of this entry »

ห้องสมุดยุคใหม่ (Modern Library)
พ.ค. 25th, 2016 by sirinun

ห้องสมุดยุคใหม่ (Modern Library)

ห้องสมุดยุคใหม่ (Modern Library)

ปัจจุบันห้องสมุดยุคใหม่มีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศ และคอมพิวเตอร์มาใช้ในการบริหาร จัดการ มีการบริหารงานแบบใหม่ มีสารสนเทศหลายรูปแบบ เพื่อให้บริการเข้าถึงสารสนเทศตามความต้องการของผู้ใช้บริการ และมีการจัดบรรยากาศห้องสมุดให้สวยงาม และน่ารื่นรมย์ ตลอดจนมีบรรณารักษ์และเจ้าหน้าที่ห้องสมุดคอยให้คำปรึกษาอย่างเป็นมิตร หนังสือ ห้องสมุดยุดใหม่ (Modern Library) เป็นหนังสือประกอบการเรียนการสอนสำหรับนิสิตนักศึกษาปริญญาตรีที่ศึกษาในรายวิชาสารสนเทศศาสตร์เพื่อการศึกษาค้นคว้า และเป็นประโยชน์กับผู้ที่สนใจในสาขาวิชาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์โดยทั่วไป เนื้อหากล่าวถึงห้องสมุดยุคใหม่ การใช้ห้องสมุดและการให้บริการสารสนเทศ การค้นหาสารสนเทศออนไลน์และสารสนเทศจากอินเทอร์เน็ต ผู้อ่านสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างมากมาย หมวดหมู่ Z678.9 พ247ห 2557

รายการอ้างอิง

พรพรรณ จันทร์แดง. (2557). ห้องสมุดยุคใหม่ (Modern Library). กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชั่น.

 

 

จาก Cataloging librarians สู่ Metadata Librarians
มี.ค. 30th, 2016 by supaporn

วันที่ 29 มีนาคม 2559 เวลา 13.30-16.00 น. ศูนย์บรรณสารสนเทศ จัดกิจกรรม Knowledge Sharing เรื่อง จาก Cataloging librarians สู่ Metadata Librarians โดยผู้ช่วยผู้อำนวยการศูนย์บรรณสารสนเทศ เพื่อให้บุคลากรแผนกจัดหาและวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ ทราบถึงบทบาทที่แตกต่างของการเป็น Cataloging Librarians และ Metadata Librarians ซึ่งมีการพัฒนาความรู้ทางเทคโนโลยี ผนวกเข้ากับความรู้ทางด้านการลงรายการ รวมทั้งทักษะอื่นๆ อีกหลายประการ Read the rest of this entry »

»  Substance:WordPress   »  Style:Ahren Ahimsa