ห้องสมุดที่เคยเป็นและห้องสมุดในอนาคต
เป็นบทความรวบรวม ความคิดเห็นของบรรณารักษ์ สถาปนิก และนักวิชาการจากหลายสาขา ซึ่งมารวมตัวกันที่สถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ (Massachusetts Institute of Technology, MIT) เพื่อให้ความเห็น และชี้ให้เห็นอนาคตของห้องสมุด
นอกเหนือจากการเป็นคลังหนังสือแล้ว ห้องสมุดเก่าแก่แห่งเมืองอเล็กซานเดรีย ยังเป็นแหล่งค้นคว้าทางวิชาการให้กับบรรดานักวิชาการ คำว่า “Mouseion” เป็นคำที่มีรากศัพท์มาจากภาษากรีก แปลว่า สถานที่ทำงานของเทพเจ้า Muses (เทพ Muses เป็นเทพแห่งวรรณกรรม และศิลปะ เป็นธิดาของเทพ Zeus ในตำนานกรีก : ผู้แปล) ด้วยเหตุนี้ในห้องสมุดในสมัยแรกเริ่ม จึงประกอบไปด้วย ห้องสอนหนังสือ (Exedra) โรงรับประทานอาหาร (Oinks) และ ทางเดินแบบมีหลังคา (Peripatos) เมื่อสรุปรวมกันจึงแปลได้ว่า เป็นสถานที่นักวิชาการใช้สำหรับค้นคว้า และสนทนาทางวิชาการ นักวิชาการ สามารถเดินถือตำราไปไหนมาไหนหรือรับประทานอาหาร ภายใต้ร่มเงานั้นได้ แม้ว่า ปัจจุบันเราอยู่ในยุคดิจิทัลแล้วก็ตาม แต่ความหมายโดยรวมของมันยังคงไม่เปลี่ยนแปลงไปมากนัก
นับเป็นเวลา 1,000 ปีมาแล้ว ที่ห้องสมุด ได้มีการเปลี่ยนแปลงทางด้านกายภาพ และภาวะของสังคม ซึ่งแน่นอนว่า ข้อมูล และสภาวะทางสังคม ย่อมมีการเปลี่ยนแปลง ไม่คงที่ เช่น การเปลี่ยนจากโต๊ะดินเหนียว ไปเป็นตู้แบบที่มีล้อเลื่อน และกลายเป็นการสืบค้นแบบเข้ารหัส และเข้าสู่ยุคดิจิทัลในยุคปัจจุบัน ห้องสมุดจึงมีการปรับเปลี่ยน การอ่านออกเขียนได้ กลายเป็นมาตรฐาน เช่นเดียวกับ เหล่านักวิชาการ มีการรวมตัวกันมากขึ้น นิสัยการอ่านก็เปลี่ยนแปลง มีวิธีการที่จะเข้าถึงข้อมูล หลายหมื่นข้อความ ด้วยเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ ห้องสมุดมีการพัฒนา มันได้เปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีทางด้านข้อมูล และพฤติกรรมทางสังคม รวมทั้งนิสัยการอ่าน การเรียน ล้วนแต่มีผลต่อรากฐานของห้องสมุด
David Adjaye ผู้ที่ได้รับรางวัล The Eugene McDermott แห่งคณะศิลปศาสตร์ ของ MIT ในปี ค.ศ. 2016 เป็นหนึ่งในสถาปนิกที่มีผลงานโดดเด่น และมีความสนใจต่อการเปลี่ยนแปลงด้านความต้องการของห้องสมุด แนวความคิดเขาถูกนำไปใช้ในห้องสมุดที่ Francis Gregory ห้องสมุดที่เป็นเพื่อนบ้านอยู่ทางทิศตะวันออกของกรุงลอนดอน และห้องสมุด William O.Lockridge/Bellevue ในกรุงวอชิงตัน เพื่อเปลี่ยนเป็นห้องสมุดชุมชนแนวคิดใหม่ของสำหรับศตวรรษที่ 21 โดยที่ยังคงซึ่งความเป็นห้องสมุดแต่เดิมไว้ เช่น พื้นที่ชุมนุมส่วนรวม และหอวัฒนธรรมของชุมชน
Adjaye และนักวิชาการจากหลายสาขา ได้ร่วมกันอภิปรายในหัวข้อ “อนาคตของห้องสมุด” ที่ MIT โดยมี Ginnie Cooper อดีตหัวหน้าบรรณารักษ์เกษียณอายุ จากห้องสมุดชุมชนของ D.C. (District of Columbia) Nader Tehrani คณบดี โรงเรียนสถาปัตยกรรม The Irwin C. Chanin แห่งเมือง Cooper Union รวมทั้ง ศาสตราจารย์ด้านภาษาและวรรณคดีและวรรณคดีเปรียบเทียบ Jeffrey Schnapp จากมหาวิทยาลัยฮาวาร์ด และ Chris Bourg ผู้อำนวยการของห้องสมุด MIT ได้ร่วมกันแสดงความเห็นต่อหน่วยงานเฉพาะกิจของห้องสมุด MIT และสาธารณะชนทั่วไป ตลอดช่วงเวลาเย็น เหล่าสถาปนิก บรรณารักษ์ และนักวิชาการได้อภิปรายโดยหยิบยกเอาประสบการณ์ที่เคยทำมา และตั้งประเด็นต่อในอนาคต และแน่นอน มุ่งประเด็นที่ท้าทายต่อความเป็นห้องสมุดในอนาคต โดยตระหนักถึงศักยภาพ เช่น ช่องว่างของการร่วมมือกัน การสร้างสรรค์ ผลสะท้อน หรือ การพึ่งพาซึ่งกันและกัน
จากการสอบถามบรรณารักษ์หลายๆ ท่านจากห้องสมุด MIT เช่น Jana Dambrogio ผู้ดูแลห้องสมุด The Thomas F Peterson (1957) Lorroe McAllister นักวางแผนกลยุทธด้านดิจิทัลและสิ่งพิมพ์พิเศษ (Digital and special collections strategist) Cassandra Silvia หัวหน้าโครงการบริการเพื่อการเข้าถึงและการใช้สารสนเทศ (program head for access and information services) และ Stephen Skuce ผู้บริหารโครงการหนังสือหายาก (program manager for rare books) เพื่อถ่ายทอดประสบการณ์ที่ทำงานอยู่ที่ห้องสมุด MIT และมุมมองอนาคตของห้องสมุดที่ควรจะเป็น ต่อไปนี้ คือ บางสิ่งที่ได้รับการถ่ายทอดออกมา
การอนุรักษ์ข้อมูลทางวัฒนธรรม (Preserving the cultural record)
“การเก็บรักษาข้อมูลในรูปดิจิทัลของห้องสมุด เหมือนกับการเข้าสู่อาณาจักรใหม่ๆ ที่สร้างความกังวลอย่างมากให้กับพวกเรา พวกเราอยู่ที่นี่มานาน ทุกอย่างที่เราทำ พอจะเข้าใจได้ เราพยายามคิดถึงอนาคตมากกว่าอดีต เรามีหน้าที่ ที่จะทำในสิ่งที่บริการแก่ผู้คนได้รวดเร็วขึ้น เราไม่สามารถหยุดยั้งมันได้ หนังสือยังคงเป็นสิ่งที่ต้องมี ไม่ใช่ว่าทุกอย่างที่อยู่บนชั้นหนังสือ ต้องกลายเป็นรูปแบบดิจิทัลทั้งหมด สิ่งพิมพ์ในรูปแบบเป็นเล่มๆ ยังคงอยู่กับเรา” Stephen Skuce กล่าว
การอนุรักษ์ข้อมูลทางวัฒนธรรม ทั้งในรูปแบบดิจิทัลและในรูปเล่มแบบเดิม ช่างเป็นการเผชิญหน้าและท้าทายที่ยิ่งใหญ่ทั้งของห้องสมุดและต่อสังคมโดยทั่วไป ที่ถูกปกป้องด้วยกฎหมายลิขสิทธิ์ และระบบดิจิทัลนี้ เราต้องทำอะไรกับมัน หรือจะคงสภาพมันไว้อย่างไรกับระบบดิจิทัลที่เกิดขึ้น และใครจะเป็นคนเลือก ระหว่างสองสิ่งที่เราพยายามเก็บรักษา เราจะแน่ใจได้อย่างไร กับความเสมอภาค การรวมกัน และมุมมองที่แตกต่างกันของประวัติศาสตร์ทางวัฒนธรรม ช่างเป็นสิ่งอันตราย ที่ต้องคอยหลีกเลี่ยงสิ่งละอันพันน้อย หรือมาถกกันว่า ไม่ควรมีรูปแบบหนังสือแบบเล่มอีกต่อไป ควรเก็บออกจากมหาวิทยาลัยให้หมด แล้วสำหรับผู้คนทั่วไปที่ด้อยโอกาส คงเหมือนกำลังถูกลงโทษ เมื่องานที่ทำอยู่ไม่สำเร็จ เหตุเพราะเว็บไซต์ดังกล่าวปิดตัว พวกเราต้องคอยเลี่ยงกรอบที่ครอบงำ หรือ เกิดผลรุนแรงกับผู้อื่นด้วย เราต้องการรวมความเห็นอื่นๆ เพื่อช่วยเติมเต็มในประเด็นนี้ เรามานั่งทำนายดูซิ หากเว็บไซด์ปิด อะไรๆ มันก็เปล่าประโยชน์” Lottie McAllister กล่าว
วัตถุทางวัฒนธรรม (Material Culture)
ข้อเฉลียวใจแรกของ MIT มาในรูปแบบจดหมายของ William Barton Rogers ที่ส่งให้กับ Henry Roger น้องชายของเขา เรามีจดหมายฉบับนี้ มันเป็นสิ่งที่คนเขียนถึงน้องชายว่า “ผมอยากทำโรงเรียน โรงเรียนที่แตกต่างจากโรงเรียน เราสามารถพิมพ์ข้อความขึ้น และเราสามารถแปลงเป็นดิจิทัล ดังนั้น เธอจะสามารถเห็นภาพของมัน แต่จะดีไม่น้อยถ้าจะมีช่องว่างด้วยชิ้นส่วนของกระดาษ มันช่างเป็นสิ่งที่หยุดทุกสิ่งอย่าง” Stephen Skuce บอก
“การเปลี่ยนแปลงที่น่าตื่นเต้นที่เกิดขึ้นกับห้องสมุด และหอจดหมายเหตุ ใกล้เคียงกับคำว่าการอนุรักษ์ คือสถานที่มีคุณค่าในการรักษาวัตถุทางวัฒนธรรม มันไม่ใช่เรื่องง่ายๆ ที่จะกล่าวว่า “มาช่วยอนุรักษ์มันดีกว่า ช่วยอนุรักษ์รอยฉีกขาดนี้หน่อย ช่วยอนุรักษ์ ลายพิมพ์นิ้วมือนี้หน่อย เราจะช่วยกันซ่อมแซมสันหนังสือ โดยไม่ต้องเอาวัสดุใดๆ ออก ได้ไหม” คงเป็นเรื่องน่าตื่นเต้น ถ้าจะนำเอาสิ่งที่เราเสวนา และฝึกกันอยู่ ไปบอกกล่าวให้กับ MIT และพบว่าสุดท้ายเขาก็ชื่นชอบมัน และเอาวิธีการทั้งหมดนำเอาไปใช้ การซ่อมแซมหนังสือมีหลากหลายวิธี พวกเราเคยทำกรณีศึกษา ไม่เฉพาะกับหนังสือเก่าแก่หายาก เท่านั้น แต่กับหนังสือทั่วไปเราก็ทำ สลับวนเวียนกันไป อะไรที่เป็นแนวทางให้แก่เรา สำหรับการซ่อมแซมหนังสือ ซึ่งหนังสือเหล่านี้ ต่อไปอาจเป็นสิ่งหายากในอนาคตก็ได้” Jona Dambrogio กล่าว
“ฉันไม่คิดว่า ผู้คนทั่วไป จะเชื่อว่า พวกเรามีทรัพยากรที่ใช้ได้อยู่กับตัวอยู่แล้ว เราพบว่า การเจริญเติบโตของผู้ที่สะสมหนังสือศิลปะร่วมสมัยของ Rotch และหนังสือเก่าเก็บอื่นๆ ของเรา พวกเรามีขุมทรัพย์ที่คุณๆ ต้องการสัมผัสและชื่นชม ที่ทำให้หวนนึกถึงความทรงจำเก่า ที่ชวนให้อยากกลับไปใช้ชีวิตแบบ slowdown มากขึ้น ห้องสมุดเพลง จะนำคุณกลับไปสู่ยุคของเครื่องเล่นจานเสียง และบันทึกเสียงโบราณ ของ Edison ยังมีผู้คนที่คลั่งไคล้เทคโนโลยีแบบโบราณ และตอนนี้เราสามารถบริการมันให้กับผู้คนทั่วไปได้” Jana Dambrogio กล่าวเพิ่มเติม
อนาคตของการเก็บรวบรวม (Future of collections)
“ทรัพยากร และทุนการศึกษา จะยังคงมีการดำเนินการสร้างเพิ่มขึ้นต่อไป ในรูปแบบของดิจิทัล การพิมพ์จะยังคงไม่หายไปไหน ไม่ว่าจะอยู่ในรูปแบบการเก็บรวบรวมแบบทั่วไป การเก็บเป็นคอลเลคชั่นพิเศษ การเก็บรวบรวมสิ่งที่มีลักษณะเฉพาะ หรือ สิ่งที่เก็บไว้อยู่แล้ว พวกเรายังคงสะสมรูปแบบการพิมพ์แบบเก่าดั่งเดิม ต่อไป บางสิ่งที่ยังเป็นประเด็นคือ เมทาดาทา (Metadata- สารสนเทศเพื่ออธิบายที่มา และความเป็นไปของข้อมูล: ผู้แปล) เกี่ยวกับสิ่งของและข้อสงสัยว่า ข้อมูลเหล่านั้นยังคงใช้ได้กับคุณหรือไม่ ถ้าคุณยังยืนอยู่ท่ามกลางสิ่งพิมพ์จำนวนมากที่กองสุมอยู่ จะรู้ได้อย่างไรว่า หนังสือที่คุณกำลังมองหาอยู่ มันมีหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เกี่ยวข้องเชื่อมโยงอยู่ด้วยหรือเปล่า? หลักการของเรา ที่จะค้นหา สำรวจ และมีปฏิสัมพันธ์ จะกลายเป็นสิ่งที่มีความซับซ้อนมากยิ่งขึ้น” Lorrie McAllister กล่าว
“ผมคิดว่า มีห้องสมุดจำนวนมากที่ยังติดกับการรวบรวมข้อมูลในอนาคต ที่นี่ มีนักวิทยาศาสตร์จำนวนมาก ชอบเนื้อหาแบบอิเล็กทรอนิกส์ แต่เรายังมีรูปแบบที่มีความเป็นมนุษยชนอย่างมาก และเขาเหล่านั้นยังคงต้องการข้อมูลที่เป็นฉบับพิมพ์ ดังนั้นเราจะต้องสมดุลกับความต้องการ และการทำงาน โดยปราศจากช่องว่างใดๆ เช่นที่ Cambridge คุณไม่สามารถจะมีช่องว่างได้ขนาดนี้ ดังนั้นคุณจะต้องมีประสบการณ์ที่เกินพอสำหรับใช้ ขณะที่ต้องบังคับความรู้สึกเหล่านั้นไว้ในใจ หลายๆ ปีที่ผ่านมา เราได้ดำเนินการจัดซื้อเครื่องมือเกี่ยวกับการแปลงหนังสือเป็นระบบดิจิทัลโดยโดยเฉพาะอย่างยิ่ง วารสารอิเล็กทรอนิกส์ แน่นอนวารสารมีราคาแพง หนัก แถมยังกินเนื้อที่มากและมีความสำคัญในแง่ของสถาปัตยกรรม เพราะอาคารได้รับออกแบบออกมาเพื่อรองรับน้ำหนักทั้งหมด มันสามารถรองรับน้ำหนักได้มาก แต่กับบางอาคารของ MIT ถูกสร้างขึ้นบนพื้นที่ที่มีการถมหน้าดิน เพราะมันเป็นพื้นที่ลุ่มเดิม การแบกน้ำหนักมากๆ จึงกลายเป็นสิ่งสำคัญ เพราะชั้นดินที่จะพยุงมีข้อจำกัด ดังนั้น เราจึงตัดสินใจซื้อเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ และย้ายหนังสือเล่มหนักๆ ออกนอกมหาวิทยาลัยไป” Cassandra Silvia กล่าว
“ฉันรู้สึกตื่นเต้น เวลาที่ได้รวบรวมอะไรพิเศษๆ ที่มีให้โหลดจากเว็บไซต์ และดึงข้อมูลดิจิทัลเหล่านั้น มาแจกจ่ายแก่คนอื่นๆ การเก็บข้อมูลทั่วไป ยิ่งทำได้ง่าย แต่สิ่งที่ยาก ก็คือ มีข้อมูลจำนวนมาก แต่หาไม่พบ หรือพบแต่ไม่ดีพอ ดังนั้น มัน คือ ปัญหาสำหรับการเก็บรวบรวม ปัญหาสำหรับการอนุรักษ์” Larrie McAlister กล่าว
“ในขณะที่การเก็บรวบรวบข้อมูลระบบดิจิทัลกำลังเติบโต ผู้คนมองเห็นเราขนย้ายสิ่งของออกจากห้องสมุด เราแทบไม่เคยเคลื่อนย้ายหนังสือ เว้นเสียแต่เราย้ายมันและวางมันไว้อีกแห่งเท่านั้น มันยากที่จะช่วยให้ผู้คนเข้าใจว่า การรวบรวมข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ของเรานั้นช่างไม่มีขอบเขตเอาเสียเลย จะมีวิธีการอะไรที่เป็นรูปธรรมที่จะช่วยให้พวกเขาได้เห็น และเข้าใจในส่วนลึกของมัน ควรมีการนำเสนอที่เป็นรูปธรรมของการเก็บรวบรวมข้อมูล” เป็นส่วนหนึ่ง Cassandra Silvia กล่าวไว้
พื้นที่ใหม่สำหรับการวิจัยใหม่ (New space for new research)
“การวางเครือข่ายการสื่อสารที่ดี การมีพื้นที่สำหรับประชุมกลุ่มเล็กๆ กำลังเป็นที่ต้องการอย่างมากในทุกๆ พื้นที่ของมหาวิทยาลัย คุณต้องการพื้นที่ในการร่วมงานกันอย่างใกล้ชิด บนโต๊ะทำงานเล็กๆ และพื้นที่ส่วนตัวที่สงบๆ ร่วมกัน” Stephen Skuce กล่าว “มันคงจะเยี่ยมมาก หากจะมีการเสวนากันในห้องปฏิบัติการในบางครั้ง และเชิญชวนผู้คนเข้ามาร่วมเข้ามาเสวนา มันคงเป็นสิ่งวิเศษ ถ้ามีห้องที่เต็มไปด้วยเทคโนโลยี และมีที่ว่างพอที่จะสอนวิชา (คอร์สกิจกรรมต่างๆ) เรียนรู้วิธีการรวบรวมข้อมูล มีเครื่องมือ อุปกรณ์ให้ใช้ หรืออาจมีเทคโนโลยีที่ตกยุคไปแล้ว เช่น ระบบการพิมพ์แบบเก่า เป็นต้น ในความคิดเห็นส่วนตัว ผมอยากเห็นห้องแสดงผลงาน ห้องแล็ปสำหรับรูปภาพ เครื่องเก็บ/บันทึกข้อมูล และแน่นอน ต้องมีห้องที่ทำให้รู้สึกสบาย หายเครียด มีเปลญวนด้วยก็ดี เราต้องการความตั้งอกตั้งใจ ความสบาย และมีประสิทธิภาพ หนึ่งในความมุ่งหมายของแล็ปแห่งนี้ คือ การเข้าสัมผัสต่อความมีชีวิตของผู้คน และ ช่วยให้เขาเข้าใจ” เป็นความคิดเห็นของ Jana Dambrogio
“ต่อไปในอนาคต ห้องสมุด ARL จะต้องตระหนักสิ่งที่ต้องมีความลื่นไหลมากขึ้น ในการรวบรวมข้อมูลเฉพาะ และในห้องจำนวนมากมายนั้น ควรมีห้องเรียนและแสดงศิลปะด้วย บางสิ่งบางอย่างเรายังไม่มี แต่เราต้องทำงานแบบก้าวหน้า มันมีความสำคัญมาก ที่จะต้องหาสถานที่เพื่อการป้องกันและการแบ่งปันซึ่งกันและกัน เราต้องการการอนุรักษ์ การป้องกัน และการแบ่งปัน” Stephem Skuce กล่าวเสริม
“เพื่อความแน่ใจว่าพื้นที่ว่างนั้นถูกออกแบบมาเพื่อความสะดวกสบาย มีกิจกรรมในอนาคตเป็นหลัก ห้องดังกล่าวจึงต้องมีความยืดหยุ่น เพราะว่ากิจกรรมต่างๆ อาจต้องมีการเปลี่ยนแปลง เครื่องไม้เครื่องมือทางเทคโนโลยีควรล้ำสมัย เพราะมีความจำเป็น” เป็นอีกมุมมองหนึ่งของ Lorrie McAllister
ห้องสมุดในอุดมคติ (The ideal library space)
“องค์กรที่มีความชัดเจน คือ สิ่งสุดยอดที่สุด” ช่วยประหยัดระยะเวลาของผู้ที่มาใช้งาน Charles Ammi Cutter บรรณารักษ์จากศตวรรษที่ 19 และเป็นบุคคลหนึ่งจากห้องสมุดวิทยาศาสตร์เก่าแก่แห่งหนึ่งที่มีชื่อติดปาก บอกไว้ “ถ้าคุณมีโอกาสทำ ทำให้มันง่ายเข้าไว้ ดีที่สุด” และแน่นอนที่สุด นักศึกษาระดับตรีจำนวนมากที่ MIT ห้องสมุดคือ ที่หลบภัย หอพักนักศึกษา ไม่ใช่สถานที่ที่เอื้อต่อการอ่านหนังสือ บรรณารักษ์บางคนมีทัศนคติไร้สาระ บางคนมีทัศนคติน่ารังเกียจ แต่บรรณารักษ์ที่ผมรู้จัก เป็นผู้มีมนุษย์สัมพันธ์ และมีปฏิสัมพันธ์ดี แต่นักศึกษาของ MIT ต้องการสถานที่ เงียบสงบ เพื่อเรียนหนัก พวกเขาต้องใช้ความพยายามเพื่อเรียนรู้ให้มาก และนั่นคือ หน้าที่ที่สำคัญที่สุดของห้องสมุดของ MIT และในเวลาเดียวกัน พวกเราต้องการสถานที่สำหรับพบปะ แลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกัน ไม่ใช่ว่างานทุกงานที่มอบหมาย คือ “ไปทำงานและแก้ปัญหาเอาเองตามลำพังคนเดียว” Stephen Skuce กล่าว
“ฉันชอบความเป็นสุนทรียภาพ ฉันชอบห้องที่มีแสงสว่าง และลมโชยสบาย ต้องมีการผสมผสานพื้นที่ห้อง เช่น มี
คาเฟ่เล็กๆ มีโต๊ะยาวๆ มีเก้าอี้ที่นั่งสบายๆ สำหรับนั่งอ่านแมกกาซีน และสิ่งสำคัญอีกอย่างก็คือ การออกแบบสภาพแวดล้อมในห้องให้ดูมีความสบาย ถ้าตรงไหนมีความสบาย คนก็จะชอบ และอยู่ที่นั้นนานๆ” Cassandra Silvia กล่าวเสริม
“ฉันชื่นชอบสิ่งแวดล้อมในห้องสมุดมีการออกแบบที่ดี ดูแล้วอบอุ่น ดูแล้วน่าไปเยี่ยมเยือน และต้องมีป้ายแนะนำที่ดีด้วยสำหรับห้องสมุด ทรัพยากรค่อนข้างมีความสำคัญ คุณต้องสามารถรู้ว่า ควรจะค้นหาสิ่งของตรงไหน มีช่องว่างสำหรับเป็นกำลังใจแก่คุณ ทั้งในการคิด ความรู้สึก รวมทั้งความคิดสร้างสรรค์ สิ่งสำคัญที่ถูกวางลงในห้องว่างนั้น ไม่ใช่แค่ห้องสมุด แต่เป็นอะไรที่สำคัญต่อคนจำนวนมาก ที่จะเข้าไปใช้ห้องน้ำที่แสนสะอาด หรือ เป็นสถานที่ใช้หลบฝน มันยังเป็นห้องดิจิทัลอันศักดิ์สิทธิ์ และผู้คนต้องการเข้าไปคัดลอกจดหมายสมัคร หรือหางานทำ หรืออะไรก็ตาม ที่คุณอยากให้เป็น” Lorrie McAllister กล่าวในที่สุด
เรียบเรียงและสรุปจาก
Lacey, Sharon. (2016). The once and future library. Retrieved from https://news.mit.edu/2016/once-and-future-library-0419