ศูนย์บรรณสารสนเทศได้จัดทำบริการเชิงรุกให้กับผู้ใช้บริการโดยสามารถยืมหนังสือได้ไม่จำกัดระยะเวลาการยืม โดยการเข้าไป Renew หรือยืมหนังสือต่อด้วยตนเองง่ายๆ ผ่านเว็บไซต์ของห้องสมุด www.lib.hcu.ac.th หรือ เข้าสู่ระบบสมาชิกได้ที่เว็บไซต์ https://hcu.on.worldcat.org/ เพื่อขยายเวลาการยืมออกไปได้ตามสถานะของสมาชิก (เดิมยืมต่อด้วยตนเองผ่านเว็บได้สุงสุด 2 ครั้ง) จนกว่าจะมีผู้ต้องการใช้หนังสือและทำการจองหนังสือเล่มดังกล่าว เพื่อให้ผู้ใช้บริการสามารถอ่านหนังสือที่ต้องการได้อย่างต่อเนื่อง และช่วยลดเรื่องค่าปรับหากยังใช้หนังสือไม่เสร็จเมื่อถึงกำหนดคืนและไม่มีเวลามาคืนหนังสือที่ห้องสมุด
ขั้นตอนการยืมต่อด้วยตนเองง่าย ๆ มี ดังนี้
ขั้นตอนยืมต่อด้วยตนเอง
ผู้ใช้บริการศูนย์บรรณสารสนเทศ สามารถตรวจสอบข้อมูลการใช้ระบบห้องสมุด เช่น การยืม การยืมต่อ การจองและรายการค้างค่าปรับด้วยตนเอง ผ่านเว็บไซต์ศูนย์บรรณสารสนเทศ ที่ www.lib.hcu.ac.th หรือ เข้าสู่ระบบสมาชิกได้ที่เว็บไซต์ https://hcu.on.worldcat.org/ เพื่อตรวจสอบรายการยืมหนังสือ วันกำหนดส่ง ข้อมูลส่วนตัว และต่ออายุการยืมหนังสือ (ยืมต่อด้วยตนเองผ่านเว็บได้สูงสุด 2 ครั้ง)
ผู้ใช้บริการสามารถใช้ช่องทางนี้ในการตรวจสอบพันธะทางห้องสมุดได้ด้วย ในกรณี ที่นักศึกษาแจ้งจบสามารถตรวจสอบพันธะทางห้องสมุดผ่านเว็บไซต์ก่อนถ้ามีติดค้างให้มาเคลียร์พันธะก่อนยื่นเอกสารแจ้งจบการศึกษาเพื่อความสะดวกของผู้ใช้บริการและผู้ให้บริการ
วิธีการตรวจสอบ ง่าย ๆ ทำตามรูปนี้ ได้เลย
วิธีการตรวจสอบการยืม การยืมต่อ การจองและรายการค้างค่าปรับด้วยตนเอง
เนื่องจากเกิดสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 ทำให้ต้องปรับตัว เข้ากับสถานการณ์ในยุค New Normal ศูนย์บรรณสารสนเทศ ได้ตระหนักถึงปัญหาดังกล่าว จึงได้กำหนดแนวปฏิบัติเพื่อความปลอดภัย ในการใช้บริการห้อง Study Room โดยยึดหลัก Social Distancing ดังนี้
มีการวางเจลแอลกอฮอล์หน้าห้อง
การจัดเก้าอี้ เว้นระยะห่าง
ในปัจจุบัน ศูนย์บรรณสารสนเทศ ได้ให้บริการตอบคำถาม และรับข้อมูลคำถามจากผู้ใช้บริการผ่านหลายช่องทางด้วยกัน เช่น บริการตอบคำถามผ่านทาง Line @, Facebook, E-mail และทางโทรศัพท์ ศูนย์บรรณสารสนเทศ จึงได้สร้างแบบฟอร์มการบันทึกข้อมูลการตอบคำถามผ่านทาง Google docs เพื่อเป็นคลังข้อมูลของคำถามและคำตอบของผู้ให้บริการ ซึ่งวิธีการบันทึกข้อมูลการตอบคำถามมีขั้นตอน ดังนี้
1. กรอกข้อมูล ชื่อ-สกุล เจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการตอบคำถาม ซึ่งถ้ามีเครื่องหมาย ดอกจัน(*) หมายถึง จำเป็นต้องกรอกข้อมูล
2. กรอกข้อมูล ชื่อ-สกุล ของผู้ขอใช้บริการตอบคำถาม (เพื่อเป็นข้อมูลในการติดต่อภายหลังได้ แต่ถ้าผู้ใช้บริการไม่สะดวกให้ข้อมูลในส่วนนี้ ไม่ต้องใส่ข้อมูล)
Read the rest of this entry »
ศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ได้ให้บริการบอร์ดเกมเพิ่มจากทรัพยากรสารสนเทศประเภทหนังสือหรือสื่ออื่นๆ เนื่องจากบอร์ดเกมเป็นสื่อที่จะเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ได้ ซึ่งประโยชน์ที่ได้รับจากการเล่นเกมคือ พัฒนาสมองและไหวพริบ ทั้งการฝึกคิด และการวิเคราะห์ ช่วยเสริมทักษะความคิดสร้างสรรค์และเสริมสร้างจินตนาการ ทั้งยังเป็นการฝึกภาษาอังกฤษ
ศูนย์บรรณสารสนเทศจึงได้นำบอร์ดเกมมาให้บริการตั้งแต่เดือนกันยายน 2562 โดยให้บริการยืมบอร์ดเกม ที่เคาน์เตอร์บริการยืม-คืน ชั้น 1 มีจำนวนบอร์ดเกมที่นำมาให้บริการทั้งหมด 36 เกม จึงขอจัดอันดับบอร์ดเกมที่ถูกยืมมากที่สุด 10 อันดับ ในปีการศึกษา 2562 ดังนี้
การจัดเก็บสถิติการยืม บอร์ดเกมที่มีจำนวนการยืมมาก 3 อันดับแรก คือ UNO เกมเศรษฐี Time machine และ Exploding Kitten คิดว่าหลาย ๆ ท่านคงจะได้มีโอกาสเล่น 3 เกมเหล่านี้ กันบ้างแล้ว
ผู้เขียน มีหน้าที่ดูแลและอำนวยความสะดวกในการใช้ห้อง Study Room ซึ่งมีจำนวน 10 ห้อง ให้บริการที่ชั้น 4 ศูนย์บรรณสารสนเทศ มีผู้ขอใช้บริการแน่นตลอดทั้งปี ที่ผ่านมามักจะขอใช้เพื่อประชุม ติวหนังสือ ใช้เป็นที่สอบนักศึกษา ในปีนี้ เมื่อเกิดสถานการณ์โรคระบาดโควิด-19 ทำให้มหาวิทยาลัยปิดทำการชั่วคราว และปรับเป็นการสอนออนไลน์แทนที่
ศูนย์บรรณสารสนเทศ จึงขอความร่วมมือจากศูนย์ดิจิทัลเพื่อการศึกษาในการเดินสายเน็ตเวิร์คห้อง Study room ให้ แม้ว่าจะมี WiFi ให้บริการแล้วก็ตาม แต่เพื่อความมั่นใจในการสอนออนไลน์ จึงได้เพิ่มสาย LAN เพื่อให้อาจารย์มีความมั่นใจในการสอนออนไลน์แบบไม่สะดุดเพราะสัญญาณอินเทอร์เน็ต และเริ่มเปิดให้บริการเมื่อเดือนกรกฎาคม ที่ผ่านมา มีจำนวนการใช้ห้องเพื่อสอนออนไลน์สูงเป็นอันดับแรก (59 กลุ่ม / 66 คน) เนื่องจากอาจารย์ต้องการความเงียบกว่าห้องพักอาจารย์ที่คณะ และมีความเป็นสัดส่วน เสียงไม่รบกวนกัน ศูนย์บรรณสารสนเทศได้รับเสียงตอบรับในการขอใช้ห้องเพื่อสอนออนไลน์มากขึ้น ทั้งนี้ จะได้พิจารณาการเดินสายเน็ตเวิร์คเพิ่มเติม และอาจจะพิจารณาหาสถานที่เพิ่มเติม
จะเห็นได้ว่า ศูนย์บรรณสารสนเทศ ต้องมีการปรับตัว ปรับสถานที่ เพื่อให้เอื้อต่อการใช้ประโยชน์มากขึ้น
ให้บริการจองห้อง Study Room เพื่อสอนออนไลน์
Study room ชั้น 4 อาคารบรรณสาร ☎️ 1432 Learning Space ชั้น 1 อาคารบรรณสาร ☎️ 1332 ศูนย์ดิจิทัลเพื่อการศึกษา อาคารอำนวยการ ☎️ 1114/1149
หอจดหมายเหตุมีโครงการจัดทำหอเกียรติยศ (Hall of Fame) สำหรับผู้ก่อตั้งมหาวิทยาลัยฯ เช่น ดร. อุเทน เตชะไพบูลย์ และอธิการบดีมหาวิทยาลัยทุกท่าน ปัจจุบันมีทั้งหมด 6 ท่าน เผยแพร่ผ่าน เว็บไซต์ของหอจดหมายเหตุ https://lib-km.hcu.ac.th/hcu-archives/index.php/hall-of-fame ซึ่งปัจจุบันอยู่ระหว่างการรวบรวมข้อมูล
บัตรกำหนดส่ง ในหลายห้องสมุดยังคงใช้บัตรกำหนดส่งติดที่ข้างหลังตัวเล่มด้านในของหนังสือ แต่บางแห่งอาจจะไม่ใช้บัตรกำหนดส่งแล้ว เนื่องจากมีระบบห้องสมุดที่มีการบันทึกการยืมและคืนในระบบได้ทันที แต่การที่ยังต้องมีการใช้บัตรกำหนดส่งอยู่ในห้องสมุดบางแห่ง เพื่อ
1. ประทับวันกำหนดส่ง เพื่อจะได้เป็นการเตือนถึงวันกำหนดส่งให้ผู้ใช้ห้องสมุด
2. ใช้เป็นหลักฐานในการติดตามการทำงาน โดยการลงชื่อผู้ให้บริการไว้ที่ตราประทับวันที่กำหนดส่ง เนื่องจากปัญหาในการยืม คืน เข้าระบบ จะได้ติดตามได้ว่าเจ้าหน้าที่คนใดเป็นคนให้ยืมหรือคืน Read the rest of this entry »
ห้องสมุดใช้บาร์โคด เป็นเหมือนทะเบียนของหนังสือ เนื่องจากมีการลงรายการข้อมูลทางบรรณานุกรมของหนังสือในระบบห้องสมุดแล้ว และติดบาร์โคดเพื่อเป็นเลขทะเบียนของตัวเล่ม ไม่ต้องมาลงข้อมูลของหนังสือในสมุดทะเบียนเหมือนสมัยก่อนอีกต่อไป และใช้บาร์โคดเป็นตัวที่ให้เจ้าหน้าที่ใช้สำหรับการยืมออก หนังสือทะเบียนนี้ ออกไป และใช้ยืงบบาร์โคดของหนังสือกลับเข้ามาในระบบ เมื่อมีการคืนหนังสือ (ห้องสมุดส่วนใหญ่ จะใช้ RFID มาติดแทนบาร์โคดและเพื่อการยืม-คืนหนังสือ)
ผู้เขียน มีหน้าที่ในการติดบาร์โคดที่ตัวเล่ม ในกรณีที่เป็นหนังสือซ่อม จึงขอแบ่งปันวิธีการดังนี้
อุปกรณ์
1.บาร์โคดที่พิมพ์จากสติกเกอร์
2. สก๊อตเทปใส สำหรับติดทับบาร์โคด เพื่อกันไม่ให้บารโคดไม่หลุด หรือ ถูกแกะ หรือถูกเอาสีป้ายเล่น
ภาพที่ 1 บาร์โคดที่พิมพ์ออกมา
ห้องสมุดแต่ละแห่ง มักจะมีหนังสือที่มีหลาย ๆ ขนาด และมักจะมีหนังสือขนาดใหญ่หรือมีความกว้างมากกว่าปรกติ ทั้งนี้ การจัดหนังสือที่มีขนาดใหญ่หรือมีความกว้างมากกว่าหนังสือทั่วไป รวมกับหนังสือทั่วไป ก็ย่อมทำได้ และห้องสมุดส่วนใหญ่ก็มักจะจัดรวมกัน แต่การแยกหนังสือที่มีขนาดใหญ่หรือมีความกว้างมากกว่าปรกติ ออกจากชั้นหนังสือทั่วไป แยกออกมาเป็นมุมหนังสือที่มีขนาดใหญ่หรือ Oversize ก็จะทำให้การจัดชั้นหนังสือทั่วไปมีขนาดเท่า ๆ กัน ความกว้างของชั้นหนังสือ หรือความสูงของชั้นหนังสือเท่ากัน แลดูเป็นระเบียบ และเจ้าหน้าที่ ผู้จัดชั้นหนังสือก็ไม่ต้องขยับหรือขยายความกว้างของหนังสือบ่อย ๆ ถ้าต้องพบกับหนังสือที่มีความใหญ่หรือสูงหรือกว้างกว่าความสูงของชั้นหนังสือโดยทั่วไป
ตัวอย่างภาพหนังสือที่มีหลากหลายขนาดจัดรวมอยู่ด้วยกัน
ภาพที่ 1 หนังสือทุกขนาดจัดรวอยู่ในชั้นหนังสือเดียวกัน
การเปรียบเทียบกับหนังสือที่มีขนาดปกติให้เห็นความแตกต่างด้านความสูงของหนังสือ ดังภาพที่ 2 Read the rest of this entry »