SIDEBAR
»
S
I
D
E
B
A
R
«
การจัดการ หนังสือ oversize
กรกฎาคม 20th, 2020 by chonticha

ห้องสมุดแต่ละแห่ง มักจะมีหนังสือที่มีหลาย ๆ ขนาด และมักจะมีหนังสือขนาดใหญ่หรือมีความกว้างมากกว่าปรกติ ทั้งนี้ การจัดหนังสือที่มีขนาดใหญ่หรือมีความกว้างมากกว่าหนังสือทั่วไป รวมกับหนังสือทั่วไป ก็ย่อมทำได้ และห้องสมุดส่วนใหญ่ก็มักจะจัดรวมกัน แต่การแยกหนังสือที่มีขนาดใหญ่หรือมีความกว้างมากกว่าปรกติ ออกจากชั้นหนังสือทั่วไป แยกออกมาเป็นมุมหนังสือที่มีขนาดใหญ่หรือ Oversize ก็จะทำให้การจัดชั้นหนังสือทั่วไปมีขนาดเท่า ๆ กัน ความกว้างของชั้นหนังสือ หรือความสูงของชั้นหนังสือเท่ากัน แลดูเป็นระเบียบ และเจ้าหน้าที่ ผู้จัดชั้นหนังสือก็ไม่ต้องขยับหรือขยายความกว้างของหนังสือบ่อย ๆ ถ้าต้องพบกับหนังสือที่มีความใหญ่หรือสูงหรือกว้างกว่าความสูงของชั้นหนังสือโดยทั่วไป

ตัวอย่างภาพหนังสือที่มีหลากหลายขนาดจัดรวมอยู่ด้วยกัน

ภาพที่ 1 หนังสือทุกขนาดจัดรวอยู่ในชั้นหนังสือเดียวกัน

การเปรียบเทียบกับหนังสือที่มีขนาดปกติให้เห็นความแตกต่างด้านความสูงของหนังสือ ดังภาพที่ 2

ภาพที่ 2 การแสดงให้เห็นความแตกต่างของขนาดของหนังสือ

หนังสือที่มีขนาดใหญ่พิเศษ ที่มีความสูง 35 เซนติเมตร ซึ่งบางเล่มไม่ได้มีความสูงมากแต่มีความกว้างมากกว่าปกติ ดังภาพที่ 3

ภาพที่ 3 ตัวอย่างหนังสือที่มีขนาดใหญ่หรือความกว้างมากกว่าปรกติ

ศูนย์บรรณสารสนเทศ ขอแนะนำ มุมหนังสือ oversize ที่จัดไว้เป็นมุมหนังสือขนาดใหญ่โดยเฉพาะ   โดยการคัดแยกหนังสือซึ่งมีความสูงเกินกว่า 30 เซนติเมตร และไม่สามารถจัดเรียงที่ชั้นหนังสือปกติได้ เพราะความสูงแตกต่างจากหนังสือเล่มอื่น ๆ มาก มีการติดแถบสีชมพู ที่สันหนังสือ เพื่อสะดวกในการค้นหาและการจัดเก็บ เพราะถ้าถูกจัดเก็บปนกับชั้นหนังสืออื่น ๆ ก็จะเห็นได้ชัดเจน

ทั้งนี้ เจ้าหน้าที่และผู้ใช้บริการสามารถดูข้อมูลบรรณานุกรมของหนังสือแต่ละเล่มว่า เป็นหนังสือที่มีขนาดใหญ่ และอาจจะถูกจัดเก็บแยกไว้ที่มุมหนังสือ Oversize จาก ข้อมูลคำอธิบายทางกายภาพ (หรือเขตข้อมูล 300) จะมีการกำหนดขนาดของตัวเล่มของหนังสือ ดังตัวอย่างตามภาพที่ 4

 

ภาพที่ 4 ข้อมูลทางบรรณานุกรม ในส่วนคำอธิบายทางกายภาพ

จะเห็นได้ว่าในวงกลมสีแดง จะลงข้อมูลว่า 35 ซม. ถือว่าหนังสือเล่มนี้อยู่ในเกณฑ์การจัดการหนังสือ oversize หนังสือเล่มนี้จึงถูกจัดอยู่ที่มุมหนังสือ oversize ซึ่งอยู่ในห้องหนังสืออ้างอิง ชั้น 3 และ ชั้น 4  ทางศูนย์บรรณสารสนเทศจึงติดสัญลักษณ์อย่างชัดเจน โดยจะทำการติดแถบสีชมพูที่สันหนังสือแต่ละเล่ม ดังภาพ

ภาพที่ 5 การจัดเรียงหนังสือขนาดใหญ่และติดแถบสีชมพู

หนังสือที่มีการติดแถบชมพู มีทั้งหนังสือภาษาไทย และภาษาต่างประเทศ ซึ่งจัดเก็บแยกชั้นกันอย่างชัดเจน ดังภาพ

ภาพที่ 6 การจัดชั้นหนังสือขนาดใหญ่แยกภาษา


Comments are closed

»  Substance:WordPress   »  Style:Ahren Ahimsa