ผู้เขียนได้รับเกียรติจากสำนักงานวิทยทรัพยากร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในการเชิญเข้าร่วมงานเปิดตัว คลังความรู้ดิจิทัล King Chulalongkorn Digital Archives ในงานจุฬาลงกรณ์ราชบรรณาลัย เนื่องในโอกาสครบรอบ 100 ปี แห่งการประดิษฐานจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วันอังคารที่ 28 มีนาคม 2560 และชมนิทรรศการ พร้อมกับฟังเสวนาวิชาการ
ผู้เขียนตอบรับเข้าร่วมงานทันที่ที่ได้รับบัตรเชิญ ด้วยความเป็นชาวจุฬาฯ และเป็นบุคลากรที่เคยปฏิบัติงานของสำนักงานวิทยทรัพยากร หรือหอสมุดกลาง หรือสถาบันวิทยบริการ มาเพื่อสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และเพื่อชื่นชมความสำเร็จในการคลังดิจิทัลนี้สำเร็จ แม้ว่าจะใช้เวลาร่วม 7 ปี และยังต้องดำเนินการต่อเนื่อง ด้วยเมื่อครั้งยังปฏิบัติงานโครงการนี้ ได้มีการดำริ แต่ยังไม่ได้ดำเนินการแต่อย่างใด และจำได้ว่าเป็นแผนการที่มีเป้าหมายในวันที่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยครบ 100 ปี จนเป็นคลังดิจิทัลให้เป็นที่ประจักษ์แล้ววันนี้ ที่สามารถเข้าถึงได้ที่ http://kingchulalongkorn.car.chula.ac.th รวมพระราชนิพนธ์ จดหมายเหตุราชกิจรายวัน และพระราชหัตถเลขาต่างๆ ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่มีการจัดพิมพ์เป็นเล่มหนังสือตั้งแต่เล่มแรกจนถึงเล่มสุดท้ายในรัชสมัย ซึ่งเก็บรักษาไว้ในสำนักงานวิทยทรัพยากร และให้บริการมากกว่า 130 เล่ม และยังดำเนินการอย่างต่อเนื่อง
สำนักงานวิทยทรัพยากร จัดงานนี้ได้อย่างประสบความสำเร็จ อธิการบดี ศ. ดร. บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ ประธานในพิธีเปิดกล่าวชื่นชม คลังดิจิทัล King Chulalongkorn Digital Archives นี้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในการที่จะใกล้ชิดสังคม และนำความรู้สู่สังคมมากขึ้น พร้อมกับการชมนิทรรศการที่รังสรรค์ให้เห็นความสำคัญและยิ่งใหญ่ของพระราชนิพนธ์ที่มีจำนวนและทรงคุณค่า การเสวนาทางวิชาการ สร้างความซาบซึ้งในพระมหากรุณาธิคุณ พระอัจฉริยภาพของพระองค์ท่านเป็นอย่างยิ่ง หนังสือหลายเล่มที่ถูกนำมาพูดถึง ทำให้มีความคิดอยากหวนกลับไปอ่านอีก หรือติดตามหามาอ่าน
การเสวนาทางวิชาการ
เมื่อประธานในพิธีกล่าวเปิดงานแล้ว ได้มีการชมนิทรรศการ จุฬาลงกรณ์ราชบรรณาลัย ซึ่งจัดที่ศูนย์ศิลป์ชั้น 7 การจัดนิทรรศการ จัดได้อย่างงดงามมาก กล่าวถึงประวัติการก่อตั้งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ด้วยพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว แสดงเป็นลักษณะ Timeline ในแต่ละช่วงเวลา มีหนังสือพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 5 ที่รวบรวมและนำมาจัดแสดงไว้อย่างน่าตื่นตา ตื่นใจเป็นอันมาก
พระราชปณิธาน (ส่วนหนึ่งของนิทรรศการ)
พระบรมฉายาลักษณ์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในห้องนิทรรศการ
พระราชนิพนธ์ที่นำมาจัดแสดง
เพดาน ทำเป็นรูป เลข ๕ เพื่อสื่อถึงพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕
Read the rest of this entry »
ผ่านไปแล้วสำหรับการรับเกียรติบัตรการผ่านประเมินห้องสมุดสีเขียว ซึ่งจัดให้มี 2 วัน คือวันที่ 21 มีนาคม 2560 โดยสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ท่านนายกสภามหาวิทยาลัย กรุณาให้เกียรติเป็นประธานในการมอบเกียรติบัตรให้ห้องสมุดนำร่อง 10 แห่งในการตรวจการประเมิน รวมทั้งสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ที่เป็นห้องสมุดต้นแบบ รวมเป็น 11 แห่ง ประกอบด้วย
ศิลปวัฒนธรรม ฉบับนี้มีเนื้อหาน่าสนใจทีเดียวเพราะเป็นเรื่องเกี่ยวกับสถาบันการศึกษาที่มีชื่อเสียงรู้จักกันมายาวนาน คือ “จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย” เป็นมหาวิทยาลัยเก่าแก่ที่สุดของประเทศไทย เป็นมหาวิทยาลัยที่ นักเรียน ม.ปลาย ใฝฝันอยากจะเข้า จวบจนปัจจุบันครบ 100 ปี แห่งการสถาปนาจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย ในวันที่ 26 มีนาคม 2560 ศิลปวัฒนธรรม ฉบับเดือนมีนาคม 2560 จึงได้จัดทำขึ้นเป็นฉบับพิเศษ 100 ปีจุฬาฯ 1 ศตวรรษสถานศึกษาเพื่อการปฏิรูปสยาม สามารถหาอ่านได้จาก ชั้น 6 งานวารสารของศูนย์บรรณสารสนเทศ
นอกจากนี้ แล้ววารสารศิลปวัฒนธรรม ฉบับพิเศษในวาระ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ครบ 100 ปี ยังได้จัดทำเป็นฉบับอิเล็กทรอนิกส์ อีกด้วย สามารถดาวน์โหลดอ่านได้ที่ https://www.silpa-mag.com/club/miscellaneous/article_7569
จึงขอเชิญชวนทุกท่าน ไม่ว่าจะเป็นศิษย์เก่าหรือไม่ก็ตาม ความเป็นมาของมหาวิทยาลัยที่เก่าแก่ที่สุดของประเทศไทยนี้ มีความน่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง
ศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ได้จัดอบรมการใช้ VPN และการใช้ Dropbox ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมการจัดการความรู้ ศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียติ โดยจัดการอบรมออกเป็น 3 รุ่น ได้แก่ วันที่ 2, 16 และ 30 มีนาคม 2560 เพื่อให้สอดคล้องกับภารกิจของศูนย์บรรณสารสนเทศ ในการให้บริการฐานข้อมูลออนไลน์ที่บอกรับเป็นสมาชิก และเพื่อให้ผู้รับบริการสามารถใช้ฐานข้อมูลจากภายนอกมหาวิทยาลัยได้โดยผ่าน VPN โดยที่บุคลากรของศูนย์บรรณสารสนเทศ มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องการติดตั้ง VPN สรุปออกมาเป็นแนวทางในการปฏิบัติงาน และสามารถอธิบายให้กับผู้ใช้บริการได้
การอบรมการใช้ VPN และ Dropbox
นอกจากนี้ ศูนย์บรรณสารสนเทศ ยังได้จัดกิจกรรมการจัดการความรู้ในเรื่อง Dropbox ที่สามารถให้บุคลากรใช้ไฟล์ร่วมกันได้ โดยมีการจัดเก็บไฟล์ไว้ใน Dropbox ทำให้บุคลากรของศูนย์บรรณสารสนเทศ ทราบวิธีการใช้ วิธีการดึงไฟล์และการส่งไฟล์เมื่อมีการอัพเดทเกิดขึ้น
วันนี้ (20 มีนาคม 2560) ศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ โดย ผู้อำนวยการศูนย์บรรณสารสนเทศ และหัวหน้าแผนกจัดหาและวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ เป็นตัวแทนมอบหนังสือให้กับห้องสมุดเฉลิมพระเกียรติเรือนจำกลางสมุทรปราการ ซึ่งรับมอบโดย นายเกริกชัย นรสิงห์ นักวิชาการอบรมและฝึกวิชาชีพชำนาญการ และ นายเทอดศักดิ์ วิชะยะวงศ์ เจ้าพนักงงานราชทัณฑ์ปฎิบัติการ เรือนจำกลางสมุทรปราการ สำหรับหนังสือที่มอบให้ในครั้งนี้ มีจำนวน 691 รายการ เพื่อประโยชน์ต่อการเรียน การสอน และการศึกษาค้นคว้าของเจ้าหน้าที่และผู้ต้องขังต่อไป และจัดเป็นกิจกรรมในทุกปีที่ศูนย์บรรณสารสนเทศ จะส่งมอบหนังสือให้กับห้องสมุดเฉลิมพระเกียรติเรือนจำกลางสมุทรปราการ
ส่งมอบหนังสือให้กับห้องสมุดเฉลิมพระเกียรติเรือนจำกลางสมุทรปราการ
ส่งมอบหนังสือให้กับห้องสมุดเฉลิมพระเกียรติเรือนจำกลางสมุทรปราการ รับมอบโดยนายเกริกชัย นรสิงห์ นักวิชาการอบรมและฝึกวิชาชีพชำนาญการ และ นายเทอดศักดิ์ วิชะยะวงศ์ เจ้าพนักงงานราชทัณฑ์ปฎิบัติการ เรือนจำกลางสมุทรปราการ
เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2560 สำนักหอสมุดและคลังความรู้ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย ผู้อำนวยการ ดร. รุจเรขา วิทยาวุฑฒิกุล และทีมงาน พร้อมทั้งบรรณารักษ์ห้องสมุดคณะต่างๆ จำนวน 30 คน เข้าศึกษาดูงานมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ศูนย์บรรณสารสนเทศ ในหัวข้อ การบริหารมหาวิทยาลัยแบบเศรษฐกิจพอเพียง การประหยัดพลังงานด้วยคุณธรรม กิจกรรม 7 ส
ศูนย์บรรณสารสนเทศ ในฐานะผู้ประสานงานการศึกษาดูงานในครั้งนี้ ได้นำผู้บริหารและคณะผู้เยี่ยมชม เข้าพบผู้บริหารของมหาวิทยาลัย ประกอบด้วย ท่านอธิการบดี รองศาสตราจารย์ ดร. ประจักษ์ พุ่มวิเศษ รองอธิการบดี รองศาสตราจารย์ ดร. อุไรพรรณ เจนวาณิชยานนท์ รองอธิการบดี อาจารย์ ฉลอง แขวงอินทร์ และ อาจารย์สุวรรณี มงคลรุ่งเรือง ผู้อำนวยกองแผนและพัฒนา ร่วมให้การต้อนรับ โดยอธิการบดี ได้กล่าวสรุปในภาพรวมของมหาวิทยาลัยตั้งแต่ประวัติการก่อตั้ง การบริหารมหาวิทยาลัยโดยการน้อมนำพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เมื่อครั้งเสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดมหาวิทยาลัยเมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2537 “ขอให้ทำมหาวิทยาลัยแห่งนี้ให้ดี” การบริหารมหาวิทยาลัยด้วยคุณธรรม 6 ประการ ได้แก่ ขยัน อดทน ประหยัด เมตตา ซื่อสัตย์ กตัญญู พร้อมด้วยปณิธาน “เรียนรู้เพื่อรับใช้สังคม” เป็นแนวทาง
คณะผู้บริหารมหาวิทยาลัยให้การต้อนรับ
ถ่ายภาพร่วมกันทั้งสองฝ่าย
ศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ได้เข้าร่วมศึกษาดูงาน แลกเปลี่ยนเรียนรู้ และแบ่งปันประสบการณ์ในการดำเนินงานห้องสมุดสีเขียว กับห้องสมุดกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม เมื่อวันที่ 10 มกราคม พ.ศ 2560 รวมระยะเวลา 1 วัน เพื่อเป็นการเติมอาหารสมอง และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการเป็นหน่วยงานที่ผ่านการตรวจประเมินสำนักงานสีเขียว และกำลังเข้าสู่การตรวจประเมินห้องสมุดสีเขียว Read the rest of this entry »
วันที่ 1 มีนาคม 2560 ศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ร่วมกับบริษัท Advanced Media Services (AMS) จัดเสวนา เรื่อง Cloud Computing กับระบบห้องสมุดอัตโนมัติ โดยมีอธิการบดี รองศาสตราจารย์ ดร. ประจักษ์ พุ่มวิเศษ ให้แนวคิดการคัดเลือกระบบห้องสมุดอัตโนมัติ Andrew H. Wang, Vice President OCLC Asia Pacific และ Ms. Shu-En Tsai, Executive Director OCLC Asia Pacific มาบรรยายแบ่งปันประสบการณ์การ Implement ระบบห้องสมุด WMS ให้กับประเทศฟิลิปปินส์ รวมทั้ง อาจารย์ ดร. ทรงพันธ์ เจิมประยงค์ ภาควิชาบรรณารักษศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้บรรยายในเรื่อง Trends in Integrated Library System : A User’s Perspective
เสวนา เรื่อง Cloud Computing กับระบบห้องสมุดอัตโนมัติ
ติดตามภาพประกอบและเอกสารการประกอบสัมมนา
ผู้เขียนได้เข้าร่วมการประชุม Asia Pacific Regional Council Meeting 2016 หรือ APRC Meeting 2016 ภายใต้หัวข้อ เรื่อง Libraries at the Crossroads “Tracking Digital Footprints: Recognizing and Predicting User Behavior” และศึกษาดูงาน ระหว่างวันที่ 30 พฤศจิกายน และ 1-2 ธันวาคม พ.ศ. 2559 รวมระยะเวลา 3 วัน ณ Habour Grand Hotel เขตบริหารพิเศษฮ่องกงแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน จัดโดย Asia Pacific Regional Council (APRC) ร่วมกับ The University of Hong Kong Libraries โดยในการประชุมดังกล่าว มีตัวแทนจากห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาจากประเทศไทย ได่แก่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี มหาวิทยาลัยบูรพา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ รวมทั้งจากธนาคารแห่งประเทศไทย
ทีมจากประเทศไทยถ่ายภาพกับผู้บริหาร OCLC
การประชุมและศึกษาดูงาน สามารถสรุปประเด็นที่น่าสนใจได้ดังนี้ Read the rest of this entry »
ก่อนที่ผู้เขียนจะมาปฏิบัติงานในตำแหน่งบรรณารักษ์ วิเคราะห์และลงรายการทรัพยากรภาษาจีน ที่ ศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ์ ผู้เขียนได้ปฏิบัติงานที่ฝ่ายบริหารจัดการทรัพยากรสารสนเทศ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยรับผิดชอบการลงรายการและวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ และ ก่อนหน้านั้นได้ปฏิบัติงานในห้องสมุดสาขาหลายแห่งของสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เนื่องจากผู้เขียนมีพื้นความรู้ภาษาจีน จึงได้ช่วยบรรณารักษ์ฝ่ายบริหารจัดการทรัพยากรฯ ของ สำนักหอสมุด แปรภาษาจีนเป็นอักษรโรมัน ซึ่ง ในระยะแรก ๆ ผู้เขียนจะแปรภาษาจีนเป็นอักษรโรมัน โดย ใช้ระบบการสะกดออกเสียงตามระบบ Pinyin และ เขียนคำศัพท์ตามคำศัพท์ภาษาจีนเช่น คำว่า ภาษาจีน (汉语)จะแปรเป็นอักษรโรมันตามระบบ Pinyin อ่านว่า hanyu ซึ่งจะเขียนติดกัน แต่หลังจากที่ผู้เขียนได้มาปฏิบัติงานที่ ฝ่ายบริหารจัดการทรัพยากรฯ สำนักหอสมุด และ รับผิดชอบงานการลงรายการและวิเคราะห์ทรัพยากรภาษาต่างประเทศ โดย รวมถึงภาษาจีนนั้น ผู้เขียนพบว่า การลงรายการทรัพยากรภาษาจีนของ OCLC จะสะกดออกเสียงตามระบบ Pinyin โดยสะกดแยกคำออกจากกัน เช่น คำว่า ภาษาจีน(汉语)จะสะกดเป็น Han yu โดยเขียนแยกกัน และ ใช้ H เป็นอักษรตัวใหญ่ ตามหลักของการเชียนภาษาอังกฤษ โดยใช้อักษรตัวแรกเป็นตัวใหญ่ เช่น English, Chinese และ ชื่อประเทศ ชื่อมณฑล ชื่อเมือง ก็จะเขียนอักษรตัวแรกเป็นตัวใหญ่ และ เขียนติดกัน เช่น คำว่าประเทศจีน (中国)จะสะกดและเขียนเป็น Zhongguo ปักกิ่ง (北京)สะกดและเขียนเป็น Beijing เป็นต้น หลังจากผู้เขียนได้อ่านระบบการแปรอักษรจีนเป็นอักษรโรมันของ ALA-LC Romanization แล้ว จึงทราบความเป็นมาและรายละเอียดหลักเกณฑ์การแปรภาษาจีนเป็นอักษรโรมัน ดังนี้ การแปรภาษาจีนเป็นอักษรโรมันของ ALA-LC