SIDEBAR
»
S
I
D
E
B
A
R
«
การสงวนรักษาทรัพยากรสารสนเทศในรูปแบบดิจิทัล (Digital Preservation) : ตัวช่วยในการอนุรักษ์
กันยายน 17th, 2016 by supaporn

การสงวนรักษาทรัพยากรสารสนเทศในรูปแบบดิจิทัล (Digital Preservation) : ตัวช่วยในการอนุรักษ์ เป็นหัวข้อหนึ่งในหลักสูตรการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การสงวนรักษาทรัพยากรสารสนเทศจากตัวเล่มสู่ดิจิทัลเพื่อความยั่งยืน บรรยายโดย อาจารย์ราชบดินทร์ สุวรรณคัณฑิ นักวิชาการอาวุโส ฝ่ายสื่อวิทยาศาสตร์ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดยอาจารย์ได้นำความรู้มาบรรยาย ในประเด็นต่อไปนี้

  1. ทรัพยากรสารสนเทศและทรัพยากรสารสนเทศดิจิทัล
  2. การสงวนรักษาทรัพยากรสารสนเทศในรูปแบบดิจิทัล
  3. กระบวนการสงวนรักษาทรัพยากรสารสนเทศในรูปแบบดิจิทัล
  4. ตัวอย่างหอจดหมายเหตุดิจิทัลและพิพิธภัณฑ์ดิจิทัล
  5. การพัฒนา “คลังสารสนเทศดิจิทัล” เริ่มต้นอย่างไร?

เริ่มต้น วิทยากรให้ความหมาย คำว่า “ทรัพยากรสารสนเทศ” ใน 2 มุมมอง คือ ความหมายในแง่ขององค์กร และของบุคคล กล่าวคือ ทรัพยากรสารสนเทศ (Information Resources) ในมุมมองขององค์กร หมายถึง ข้อมูล ข่าวสาร ความรู้ ความคิด ประสบการณ์ ที่ได้มีการรวบรวม กลั่นกรอง เรียบเรียง หรือประมวลผลไว้ โดยใช้ภาษา สัญลักษณ์ รูปภาพ รหัส แล้วนำมาบันทึกด้วยวิธีการต่างๆ ลงวัสดุชนิดต่างๆ เพื่อจัดเก็บ หรือเผยแพร่ให้ผู้รับได้ทราบ เพื่อประโยชน์ในการเรียนรู้ หรือความบันเทิง ขณะที่ ทรัพยากรสารสนเทศในมุมมองของบุคคล เน้นในเรื่องของความทรงจำของบุคคลนั้น เป็นความทรงจำที่มีความหมาย มีความสำคัญ หรือถูกด้วยปัจจัยต่างๆ โดยผู้เป็นเจ้าของของความทรงจำ เช่น ภาพถ่ายที่ถูกบันทึกลงในกระดาษ ภาพถ่ายในรูปแบบฟิล์ม ม้วนเทปวิดีโอ เทปบันทึกเสียง ภาพวาด สมุดบันทึก Sketchbook ฯลฯ ดังนั้น ทรัพยากรสารสนเทศ จึงแบ่งได้เป็น

ประเภทของทรัพยากรสารสนเทศ

ประเภทของทรัพยากรสารสนเทศ

ความหมายของ ทรัพยากรสารสนเทศดิจิทัล จึงหมายความถึง ทรัพยากรสารสนเทศที่มีรูปแบบที่เป็นดิจิทัล ไม่ว่าจะเกิดเป็นดิจิทัล หรือถูกแปลงให้เป็นดิจิทัล สามารถเข้าถึงได้โดยผ่านเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ คอมพิวเตอร์ หรือผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ที่ต้องเป็นเทคโนโลยีดิจิทัล เพราะว่า สามารถสืบค้นข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว ถูกต้อง ตรงกับความต้องการ สามารถจัดการกับข้อมูลจำนวนมากได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถขยายขอบเขตของการใช้งาน หรือการเข้าถึงข้อมูล ให้สามารถเข้าถึงได้ในวงกว้าง ในการสงวนรักษาทรัพยากรสารสนเทศในรูปแบบดิจิทัล จึงประกอบด้วย 3 กระบวนการ คือ

กระบวนการสงวนทรัพยากรสารสนเทศดิจิทัล

กระบวนการสงวนทรัพยากรสารสนเทศดิจิทัล

30

การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีในการสงวนทรัพยากรสารสนเทศ

ในเรื่องเทคโนโลยีสำหรับการแปลงข้อมูลให้อยู่ในรูปดิจิทัล (Digitization Technology) นั้น วิทยากรได้นำเสนอ การแปลงข้อมูลด้วยสแกนเนอร์ การแปลงข้อมูลด้วยกล้องถ่ายภาพดิจิทัล และ การแปลงข้อมูลด้วยกล้องหรือเครื่องเล่นวิดีโอ โดยอธิบายเทคโนโลยีแต่ละประเภท เทคนิควิธีการทำ ตัวอย่างประกอบของการแปลงข้อมูลแต่ละประเภท

เมื่อแปลงข้อมูลได้แล้ว จำเป็นต้องมีการบริหารจัดการข้อมูล (Information Management) โดยการใส่เมทาดาทา เพื่ออธิบายรายละเอียดต่างๆ ของข้อมูลที่จัดเก็บ เพราะเป็นเครื่องมือในการเข้าถึงข้อมูล สืบค้นข้อมูล รวมทั้งเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการบริหารจัดการข้อมูลในคลังข้อมูล เมทาดาทา นั้นแบ่งเป็น เมทาดาทาที่มาพร้อมกับข้อมูล เช่น การถ่ายภาพ จะมีเมทาดาทาของภาพที่ถ่ายเกิดขึ้นมา

เมทาดาทาของข้อมูลภาพถ่ายที่เกิดขึ้น

เมทาดาทาของข้อมูลภาพถ่ายที่เกิดขึ้น

และสร้างเมทาดาทาเพิ่มขึ้นเองอีก

เมทาดาทาที่สร้างเพิ่มขึ้น

เมทาดาทาที่สร้างเพิ่มขึ้น

ในส่วนที่ 3 ของกระบวนการสงวนทรัพยากรสารสนเทศ คือ รูปแบบของการเผยแพร่ข้อมูล ทางออนไลน์ คลังข้อมูล ระบบจัดแสดง (On-site Exhibition) Offline media หรือพิพิธภัณธ์เสมือน พร้อมนำเสนอการเผยแพร่ในรูปแบบต่างๆ มากมาย น่าตื่นตา ตื่นใจ และน่าสนใจเป็นอย่างมาก

รูปแบบการแสดงข้อมูล

รูปแบบการแสดงข้อมูล

วิทยากรปิดท้ายการบรรยาย ด้วย หัวข้อ การพัฒนา “คลังสารสนเทศดิจิทัล” เริ่มต้นได้อย่างไร ซึ่งสื่อสารออกมาโดยรูปแบบที่เข้าใจ ตามลำดับดังนี้

165

166

167

เป็นการสรุปจากการฟังบรรยาย ท่านสามารถดาวน์โหลดเอกสารประกอบการบรรยายและเอกสารอื่นๆ ของวิทยากรได้ที่  https://lib-km.hcu.ac.th/files/2016/seminar-2016Sep15-16/20160916-DigitalPreservation-Rachabadin.pdf

รายการอ้างอิง

ราชบดินทร์ สุวรรณคัณฑิ. (2559). การสงวนรักษาทรัพยากรสารสนเทศดิจิทัล : ตัวช่วยในการอนุรักษ์. เอกสารประกอบการบรรยายการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การสงวนทรัพยากรสารสนเทศจากตัวเล่มสู่ดิจิทัลเพื่อความยั่งยืน วันที่ 16 กันยายน 2559 ศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ.


Comments are closed

»  Substance:WordPress   »  Style:Ahren Ahimsa