SIDEBAR
»
S
I
D
E
B
A
R
«
สหบรรณานุกรมห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาไทย Union Catalog of Thai Academic Libraries (UCTAL)
พ.ค. 13th, 2018 by jittiwan

แนวความคิดของการจัดทำสหบรรณานุกรมสำหรับห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาของประเทศไทย คือ การใช้รายการร่วมกัน อันจะช่วยรองรับการใช้ทรัพยากรร่วมกัน ลดความ ซ้ำซ้อนในการจัดทำรายการบรรณานุกรม และใช้ประโยชน์ในการยืมระหว่างห้องสมุดของสถาบันอุดมศึกษาไทย รวมทั้งอำนวยความสะดวกต่อผู้ใช้บริการ ทั้งนักศึกษา อาจารย์และนักวิชาการในการค้นหาหนังสือที่ต้องการโดย ที่ไม่ต้องเข้าเว็บไซต์ของแต่ละห้องสมุด ดังนั้นการจะทราบว่า ห้องสมุดแห่งใดมีทรัพยากรสารสนเทศรายการใดบ้าง จึงต้องมีการรวบรวมข้อมูลทางบรรณานุกรมของทรัพยากรสารสนเทศจากห้องสมุดแต่ละแห่ง

หน่วยวิจัยนวัตกรรมด้านสารสนเทศ สำนักวิชาสารสนเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ได้พัฒนาระบบฐานข้อมูล (Database System) ให้สามารถรองรับการดำเนินงานสหรายการ บรรณานุกรม (Union catalog) ของห้องสมุดสมาชิกเครือข่าย ThaiLis รวมทั้งพัฒนาโปรแกรมประยุกต์ (Application) บนพื้นฐานมาตรฐานสากลในการควบคุมรายการบรรณานุกรม (Bibliographic control) เพื่อให้ สามารถรองรับการทำรายการ การตรวจสอบและควบคุม และการใช้รายการร่วมกัน (Copy & Shared catalog) ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

วิธีค้นหาสหรายการบรรณานุกรม (Union catalog) 

ผู้ใช้บริการสามารถสืบค้นทรัพยากรสารสนเทศของห้องสมุดสมาชิกเครือข่าย ThaiLis ได้ดังนี้

1. เข้าไปที่ http://uc.thailis.or.th/main/index.aspx ค้นหาได้จากเขตข้อมูลที่กำหนดเป็นคำค้น เช่น ชื่อเรื่อง ชื่อผู้แต่ง ISBN หัวเรื่อง คำสำคัญ  Read the rest of this entry »

สร้างเอกสารออนไลน์กับ Google document
เม.ย. 25th, 2018 by Suvanrat Kraibutda

ในปัจจุบันเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทมากขึ้น การนำเอาเทคโนโลยีมาใช้ร่วมกับการทำงานจึงเป็นสิ่งที่ใกล้ตัว และหากมีสิ่งที่สามารถช่วยอำนวยความสะดวกได้มากกว่าเดิม ก็คุ้มค่าที่จะทดลองและนำมาใช้ วันนี้จึงขอนำเสนอการทำงานของ Google document งานเอกสาร จาก Google docs เว็บไซต์ที่รวบรวมงานเอกสารที่จำเป็น ไม่ว่าจะเป็น

  • Google document (เอกสาร)
  • Google Sheets (ชีต)
  • Google Slides (สไลด์)
  • Google Forms (ฟอร์ม)

page1
Google docs > https://www.google.com/intl/th_th/docs/about/

Google docs เปิดให้ใช้บริการฟรี สามารถทำได้ทั้งแบบออฟไลน์ และออนไลน์ เพียงมีบัญชี google account และอินเตอร์เน็ต ก็สามารถสร้าง แก้ไข และแชร์เอกสารให้เพื่อนได้ทันที โดยสามารถดึงข้อมูลจาก Google drive จากบัญชีเดียวกันมาใช้ได้เลย นอกจากนี้ยัง Google Document ยังมี Application ที่ทำให้ผู้ใช้สามารถทำงานผ่าน Smartphone อีกด้วย Read the rest of this entry »

งานบริจาคหนังสือ…การให้การแบ่งปันความรู้ที่ไม่มีวันสิ้นสุด
มี.ค. 28th, 2018 by supachok

แผนกจัดหาและวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ ศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ  มีภาระกิจหลักในการเสาะแสวงหาทรัพยกรสารสนเทศ หนังสือ สื่อสิ่งพิมพ์ต่างๆ ทั้งภาษาไทย และภาษาต่างประเทศทั้งด้วยการจัดซื้อด้วยงบประมาณของมหาวิทยาลัย และการขอรับบริจาคจากหน่วยงานและองค์กรต่างๆ ทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย เพื่อนำทรัพยากรสารสนเทศต่างๆ มาให้บริการแก่ผู้ใช้บริการของมหาวิทยาลัยฯ ให้ครอบคลุมหลักสูตรที่มหาวิทยาลัยทำการเรียน การสอน การวิจัย รวมทั้งทรัพยากรสารสนเทศทั่วๆ ไป โดยสามารถค้นหาทรัพยากรสารสนเทศผ่านการสืบค้นระบบห้องสมุดอัตโนมัติ “WMS” หรือ WorldShare Management Services

สำหรับงานบริจาคของแผนกจัดหาฯ นั้นจะช่วยประหยัดงบประมาณด้านจัดซื้อได้มากทีเดียว หนังสือดีๆ มักจะผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนเข้ามาศูนย์บรรณสารสนเทศา ถ้ามีซ้ำและพิจารณาแล้วว่า มีจำนวนพอเพียง หรือทดแทนเล่มเก่าที่ชำรุดแล้ว จะบริจาคให้แก่หน่วยงานต่างๆ ต่อไป แต่คาดว่ายังมีหนังสือดีๆ ที่ยังไม่มีจึงต้องเสาะแสวงหาต่อไป

รูปแบบการรับบริจาคทรัพยากรสารสนเทศ Read the rest of this entry »

การใช้งานระบบ Offline Circulation WMS
มี.ค. 26th, 2018 by Tossapol Silasart

เมื่อศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ได้นำระบบ WorldShare Management Services (WMS) มาใช้นั้น จะมีบางช่วงที่ต้องยังต้องใช้ระบบ Offline คู่ขนาน หรือสำรอง เนื่องจาก

  • ระบบ Offline Circulation WMS จะใช้งานก็ต่อเมื่อ ระบบ WorldShare Circulation ปิดระบบชั่วคราว หรือระบบไม่พร้อมใช้งาน

โดยระบบ Offline Circulation WMS ได้ทำการติดตั้งโปรแกรมอยู่ที่เคาน์เตอร์บริการยืม – คืน ชั้น 1 ศูนย์บรรณสารสนเทศ Read the rest of this entry »

อ่านถูกต้อง…ปกป้องสุขภาพ
มี.ค. 26th, 2018 by suwanna

อ่านถูกต้อง…ปกป้องสุขภาพ

สำหรับเวลาพักผ่อนหรือช่วงเวลาว่าง ๆ ของหลาย ๆ คนนั้น เชื่อว่าบางคนชอบเอาเวลาในช่วงนี้ไปหาอะไร  ๆ มาอ่าน มาดูเพลิน ๆ ไปตามเรื่องมากกว่าการออกไปเที่ยวช้อปปิ้ง (Shopping) หรือการทำกิจกรรมอื่น ๆ ส่วนใหญ่การอ่านหรือการดูเหมือนจะใกล้เคียงกันมาก บางอย่างอาจดูได้อย่างเดียว เช่น ดูเพื่อให้เกิดความบันเทิง, ดูเพื่อให้ได้รับรู้ข่าวสาร แต่บางอย่างเมื่อดูแล้วก็ต้องอ่านไปด้วยจึงจะได้รับความรู้และความบันเทิง หรือที่เรียกว่าเกิด “อรรถรสในการอ่าน” อย่างนี้เป็นต้น ทราบกันหรือไม่ว่า หากเรารู้จักอ่านอย่างถูกต้องก็จะช่วยปกป้องสุขภาพของเราไปด้วยค่ะ

อ่านอย่างไร? เรียกว่า อ่านถูกต้อง

พฤติกรรมการอ่าน, ความเหมาะสมของท่าทางการอ่าน

การอ่านที่ถูกต้อง ควรนั่งหลังตรง ไม่เกร็งเกินไป เลือกเก้าอี้ที่มีพนักพิงและเท้าแขนให้เหมาะสมกับร่างกาย นั่งแล้วรู้สึกสบายในการถือหนังสืออ่าน มีความผ่อนคลายได้ดี ควรถือหนังสือในระดับที่ห่างจากสายตาไม่น้อยกว่า 30 เซนติเมตร และหนังสือควรอยู่ในแนวตั้ง ทำมุมประมาณ 40-80 องศากับโต๊ะ หรือตามลักษณะทางกายภาพของผู้อ่าน ซึ่งในลักษณะเช่นนี้จะทำให้อ่านหนังสือได้สบายตาที่สุด ไม่ปวดเมื่อยร่างกาย ทำให้อ่านได้นานและดีต่อสุขภาพ

 

สภาวะแวดล้อมที่เหมาะสมกับการอ่าน

  • สถานที่และบรรยากาศการอ่าน

การอ่านเพื่อให้มีความสุข ควรอ่านในมุมที่เราชอบ มุมที่เรารู้สึกผ่อนคลายมากที่สุด  เป็นมุมที่เงียบสงบ อากาศปลอดโปร่งถ่ายเทสะดวก เป็นห้องอ่านหนังสือแบบชิล ๆ  ภายในห้องควรมีหน้าต่างที่สามารถเปิดรับแสง รับลม มีบรรยากาศที่สดชื่นโอบล้อมกับธรรมชาติได้ดี ไม่ควรอ่านในขณะที่เราเคลื่อนไหว เช่น การเดิน การอ่านบนรถขณะที่รถกำลังวิ่ง หรืออ่านในสถานที่ที่มีความพลุกพล่าน หรือมีเสียงดังรบกวนมาก ซึ่งจะทำให้ขาดสมาธิในการอ่านได้

  • แสงสว่าง

แสงสว่างที่ควรใช้ในการอ่าน ควรเป็นแสงธรรมชาติที่อ่านแล้วทำให้เราเห็นได้ชัดเจน สบายตา ไม่ควรใช้แสงที่สว่างจ้าเกินไป หรือมืดเกินไป  แต่ถ้ามีความจำเป็นต้องใช้แสงจากหลอดไฟฟ้า ควรใช้หลอดไฟที่มีแสงแบบ Continuous Spectrum เหมือนแสงอาทิตย์ธรรมชาติ เพื่อให้ได้แสงสว่างอย่างต่อเนื่อง ไม่กระพริบ เช่น หลอดตะเกียบ หรือหลอด LED

 

ความเหมาะสมของตัวอักษร

อักษรที่ใช้ในการพิมพ์หนังสือในปัจจุบันมีขนาดที่แตกต่างกัน การใช้อักษรที่มีขนาดเล็กหรือใหญ่จนเกินไป จะเป็นปัญหาต่อระบบการอ่าน คือ เล็กมากเกินก็จะทำให้อ่านยาก ใหญ่เกินไปจะทำให้สายตาไม่สามารถจับโฟกัสได้ชัดเจน ทำให้อ่านไม่รู้เรื่อง ฉะนั้นขนาดอักษรที่ถูกต้องและเหมาะสมกับการอ่านมากที่สุดคือ ขนาดอักษรไม่ควรเล็กกว่า 14 พอยต์ (Point)

หมึกพิมพ์หรือสีของตัวหนังสือ

ในปัจจุบัน เราจะเห็นว่า หมึกที่ใช้ในการพิมพ์มีหลากสี สามารถปรับเปลี่ยนได้ตามความต้องการขึ้นอยู่กับผู้พิมพ์ว่าเขาต้องการจะสื่อหรือเน้นอะไร แต่ส่วนมากแล้วตัวหนังสือที่ใช้ในการพิมพ์ มักจะใช้หมึกสีเข้ม เช่น สีดำ เพื่อให้ตัวอักษรลอยเด่นจากพื้นกระดาษ จะทำให้อ่านได้ง่ายขึ้น หรือสังเกตแบบง่าย ๆ คือ ตัวหนังสือที่เราใช้อ่านควรจะเป็นสีเข้มกว่าพื้นหลังนั่นเอง

กระดาษพิมพ์

โดยทั่วไปกระดาษพิมพ์ มักจะนิยมพิมพ์บนกระดาษสีพื้น ซึ่งสีที่เหมาะสมที่สุด ควรเป็นสีตุ่น ๆ สักหน่อย เช่น สีขาวนวล ๆ หรือสีอ่อน ๆ ซึ่งเป็นสีที่มีการสะท้อนแสงน้อย เพื่อเป็นการถนอมสายตาเวลาอ่าน

ขนาดรูปเล่ม

ลักษณะของขนาดรูปเล่มหนังสือ หรือวัตถุที่เราจะอ่าน ควรมีขนาดที่เหมาะสมกับการหยิบจับได้ถนัดมือ ไม่ควรมีขนาดเล็กหรือใหญ่จนเกินไป เพราะจะทำให้ขาดความสมดุลในการอ่าน หรือเสียบุคลิกในการอ่านได้

สุดท้ายนี้ขอฝากบรรดานักอ่านหรือผู้ที่รักการอ่านทั้งหลาย ถ้าจะอ่านอย่างมีความสุข สนุกไปกับการอ่านทุกครั้งต้องดูแลรักษาสุขภาพของตนเองด้วนนะคะ…

แหล่งที่มา :

การใช้ Mendeley ช่วยทำงานวิจัย
มี.ค. 23rd, 2018 by pailin

Mendeley (www.mendeley.com) เป็นเครื่องมือออนไลน์จาก ELSEVIER ที่พัฒนาขึ้นเพื่อช่วยสนับสนุนนักวิจัยในการทำวิจัย ช่วยอำนวยความสะดวกในกระบวนการต่างๆ ของการทำวิจัย โดยเปิดให้ทุกท่านใช้งานได้ฟรีไม่มีค่าใช้จ่าย ซึ่งมีวิธีการใช้งาน ดังนี้

1. การสมัครสมาชิก 2. การใช้งานเครื่องมือช่วยทำวิจัย 3. การสืบค้นเอกสาร

Read the rest of this entry »

Kahoot!it
มี.ค. 23rd, 2018 by kamolchanok

kahootbb1

Kahoot เป็นเครื่องมือสร้างคำถามออนไลน์แบบฟรี สามารถใช้งานได้ผ่าน Smartphone หรือ Notebook, Desktop,  Tablet ที่เชื่อมต่อกับ Internet  ผู้ถามกับผู้ตอบต้องอยู่ในที่เดียวกัน เมื่อเข้าสู่ชุดคำถามใน  Kahoot  จะมีการแสดงจำนวนผู้เข้าร่วมเล่น  ผลการตอบคำถามในแต่ละครั้ง จะแสดงลำดับของผู้เข้าร่วมตอบคำถาม แบบทันที หลังตอบคำถามเสร็จ สามารถนำ Kahoot มาใช้ในชั้นเรียนหรือบรรณารักษ์ สามารถใช้เพื่อประกอบการจัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้สารสนเทศ หรือกิจกรรมต่างๆ ของห้องสมุดที่ต้องการให้ผู้ใช้บริการมีส่วนร่วมในการตอบคำถามได้

Read the rest of this entry »

Google form สร้างแบบสอบถามออนไลน์ (เบื้องต้น)
มี.ค. 15th, 2018 by chanunchida

วิธีใช้ Google form สร้างแบบสอบถามออนไลน์

Google Form ช่วยให้เราสร้างแบบสอบถามออนไลน์ หรือใช้สำหรับรวบรวมข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว โดยที่ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย ในการใช้งาน Google Form ผู้ใช้งานหรือผู้ที่จะสร้างแบบฟอร์มนั้นจะต้องมีบัญชีของ Gmail หรือ Account ของ Google เสียก่อน Google Form สามารถนำไปปรับประยุกต์ใช้งานได้หลายรูปแบบอาทิ เช่น การทำแบบฟอร์มสำรวจความคิดเห็น การทำแบบฟอร์มสำรวจความพึงพอใจ และการทำแบบฟอร์มลงทะเบียน เป็นต้น

เริ่มต้นใช้งาน Google form (เบื้องต้น) Read the rest of this entry »

การจัดบอร์ดการประหยัดพลังงานและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
มี.ค. 14th, 2018 by chanunchida

ศูนย์บรรณสารสนเทศ จัดโครงการกิจกรรมปลูกจิตสำนึกการมีส่วนร่วมในการประหยัดพลังงานและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม เพื่อให้นักศึกษา อาจารย์ และบุคลากรของมหาวิยาลัย มีความรู้ ความตระหนัก ในการประหยัดพลังงานและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และเพื่อให้เป็นไปตามตามแผนกลยุทธ์ของศูนย์บรรณสารสนเทศ ในยุทธศาสตร์ที่ 6 มีการบริหารจัดการศูนย์บรรณสารสนเทศอย่างมีประสิทธิภาพ พอเพียง ตามหลักธรรมาภิบาล ในมาตรการที่ 3.2 ปลูกฝังจิตสำนึกการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมเพื่อส่วนรวม

สำนักงานเลขานุการ  ได้รับมอบหมายในการจัดทำบอร์ดการประหยัดพลังงานและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ไว้ตรงบันได ขึ้น-ลง ชั้น 2 ของศูนย์บรรณสารสนเทศ

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. เพื่อปลูกจิตสำนึกแก่ นักศึกษา อาจารย์และบุคลากรมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติในการประหยัดพลังงานและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อ
  2. เพื่อให้ความรู้ และสร้างความตระหนักในการประหยัดพลังงานและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

energysaving

บอร์ดการประหยัดพลังงานและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

เนื้อหาภายในบอร์ดประกอบด้วย มาตรการประหยัดพลังงาน ซึ่งสรุปมาจากมาตรการประหยัดพลังงานของมหาวิทยาลัย ทั้ง 15  ข้อ (12 + 3) ดังนี้ Read the rest of this entry »

วิธีเก็บสถิติการใช้งานภายในห้องสมุด กรณีที่ผู้ใช้ไม่หยิบหนังสือไปยืมออก
มี.ค. 2nd, 2018 by pailin

หลายท่านคงได้สังเกตเห็นลักษณะการใช้งานหนังสือภายในห้องสมุดกันมาบ้าง เช่น การหยิบหนังสือมาอ่านแล้ววางไว้ในห้องสมุดโดยไม่ยืมหนังสือออกไป ซึ่งการใช้งานในลักษณะนี้ จะส่งผลให้ทางห้องสมุดไม่ได้รับสถิติการยืมออก (check out) ของหนังสือเล่มดังกล่าว แต่ห้องสมุดสามารถเก็บสถิติการใช้หนังสือแต่ละเล่มที่มีการใช้แต่ไม่ได้ยืมออก  โดยระบบห้องสมุด WorldShare Management Services (WMS) มีช่องทางให้สามารถดำเนินการดังกล่าว

เก็บสถิติการใช้งานภายในห้องสมุด กรณีที่ผู้ใช้ไม่หยิบหนังสือไปยืมออก โดย

– เข้าไปที่โมดู Circulation เลือกเมนู Check In
– กำหนด Check In Mode เป็น Non Loan Return
– แล้วค่อยทำการสแกนบาร์โค๊ดของหนังสือเล่มนั้น

Read the rest of this entry »

»  Substance:WordPress   »  Style:Ahren Ahimsa