สำหรับเวลาพักผ่อนหรือช่วงเวลาว่าง ๆ ของหลาย ๆ คนนั้น เชื่อว่าบางคนชอบเอาเวลาในช่วงนี้ไปหาอะไร ๆ มาอ่าน มาดูเพลิน ๆ ไปตามเรื่องมากกว่าการออกไปเที่ยวช้อปปิ้ง (Shopping) หรือการทำกิจกรรมอื่น ๆ ส่วนใหญ่การอ่านหรือการดูเหมือนจะใกล้เคียงกันมาก บางอย่างอาจดูได้อย่างเดียว เช่น ดูเพื่อให้เกิดความบันเทิง, ดูเพื่อให้ได้รับรู้ข่าวสาร แต่บางอย่างเมื่อดูแล้วก็ต้องอ่านไปด้วยจึงจะได้รับความรู้และความบันเทิง หรือที่เรียกว่าเกิด “อรรถรสในการอ่าน” อย่างนี้เป็นต้น ทราบกันหรือไม่ว่า หากเรารู้จักอ่านอย่างถูกต้องก็จะช่วยปกป้องสุขภาพของเราไปด้วยค่ะ
อ่านอย่างไร? เรียกว่า อ่านถูกต้อง
พฤติกรรมการอ่าน, ความเหมาะสมของท่าทางการอ่าน
การอ่านที่ถูกต้อง ควรนั่งหลังตรง ไม่เกร็งเกินไป เลือกเก้าอี้ที่มีพนักพิงและเท้าแขนให้เหมาะสมกับร่างกาย นั่งแล้วรู้สึกสบายในการถือหนังสืออ่าน มีความผ่อนคลายได้ดี ควรถือหนังสือในระดับที่ห่างจากสายตาไม่น้อยกว่า 30 เซนติเมตร และหนังสือควรอยู่ในแนวตั้ง ทำมุมประมาณ 40-80 องศากับโต๊ะ หรือตามลักษณะทางกายภาพของผู้อ่าน ซึ่งในลักษณะเช่นนี้จะทำให้อ่านหนังสือได้สบายตาที่สุด ไม่ปวดเมื่อยร่างกาย ทำให้อ่านได้นานและดีต่อสุขภาพ
สภาวะแวดล้อมที่เหมาะสมกับการอ่าน
การอ่านเพื่อให้มีความสุข ควรอ่านในมุมที่เราชอบ มุมที่เรารู้สึกผ่อนคลายมากที่สุด เป็นมุมที่เงียบสงบ อากาศปลอดโปร่งถ่ายเทสะดวก เป็นห้องอ่านหนังสือแบบชิล ๆ ภายในห้องควรมีหน้าต่างที่สามารถเปิดรับแสง รับลม มีบรรยากาศที่สดชื่นโอบล้อมกับธรรมชาติได้ดี ไม่ควรอ่านในขณะที่เราเคลื่อนไหว เช่น การเดิน การอ่านบนรถขณะที่รถกำลังวิ่ง หรืออ่านในสถานที่ที่มีความพลุกพล่าน หรือมีเสียงดังรบกวนมาก ซึ่งจะทำให้ขาดสมาธิในการอ่านได้
แสงสว่างที่ควรใช้ในการอ่าน ควรเป็นแสงธรรมชาติที่อ่านแล้วทำให้เราเห็นได้ชัดเจน สบายตา ไม่ควรใช้แสงที่สว่างจ้าเกินไป หรือมืดเกินไป แต่ถ้ามีความจำเป็นต้องใช้แสงจากหลอดไฟฟ้า ควรใช้หลอดไฟที่มีแสงแบบ Continuous Spectrum เหมือนแสงอาทิตย์ธรรมชาติ เพื่อให้ได้แสงสว่างอย่างต่อเนื่อง ไม่กระพริบ เช่น หลอดตะเกียบ หรือหลอด LED
ความเหมาะสมของตัวอักษร
อักษรที่ใช้ในการพิมพ์หนังสือในปัจจุบันมีขนาดที่แตกต่างกัน การใช้อักษรที่มีขนาดเล็กหรือใหญ่จนเกินไป จะเป็นปัญหาต่อระบบการอ่าน คือ เล็กมากเกินก็จะทำให้อ่านยาก ใหญ่เกินไปจะทำให้สายตาไม่สามารถจับโฟกัสได้ชัดเจน ทำให้อ่านไม่รู้เรื่อง ฉะนั้นขนาดอักษรที่ถูกต้องและเหมาะสมกับการอ่านมากที่สุดคือ ขนาดอักษรไม่ควรเล็กกว่า 14 พอยต์ (Point)
หมึกพิมพ์หรือสีของตัวหนังสือ
ในปัจจุบัน เราจะเห็นว่า หมึกที่ใช้ในการพิมพ์มีหลากสี สามารถปรับเปลี่ยนได้ตามความต้องการขึ้นอยู่กับผู้พิมพ์ว่าเขาต้องการจะสื่อหรือเน้นอะไร แต่ส่วนมากแล้วตัวหนังสือที่ใช้ในการพิมพ์ มักจะใช้หมึกสีเข้ม เช่น สีดำ เพื่อให้ตัวอักษรลอยเด่นจากพื้นกระดาษ จะทำให้อ่านได้ง่ายขึ้น หรือสังเกตแบบง่าย ๆ คือ ตัวหนังสือที่เราใช้อ่านควรจะเป็นสีเข้มกว่าพื้นหลังนั่นเอง
กระดาษพิมพ์
โดยทั่วไปกระดาษพิมพ์ มักจะนิยมพิมพ์บนกระดาษสีพื้น ซึ่งสีที่เหมาะสมที่สุด ควรเป็นสีตุ่น ๆ สักหน่อย เช่น สีขาวนวล ๆ หรือสีอ่อน ๆ ซึ่งเป็นสีที่มีการสะท้อนแสงน้อย เพื่อเป็นการถนอมสายตาเวลาอ่าน
ขนาดรูปเล่ม
ลักษณะของขนาดรูปเล่มหนังสือ หรือวัตถุที่เราจะอ่าน ควรมีขนาดที่เหมาะสมกับการหยิบจับได้ถนัดมือ ไม่ควรมีขนาดเล็กหรือใหญ่จนเกินไป เพราะจะทำให้ขาดความสมดุลในการอ่าน หรือเสียบุคลิกในการอ่านได้
สุดท้ายนี้ขอฝากบรรดานักอ่านหรือผู้ที่รักการอ่านทั้งหลาย ถ้าจะอ่านอย่างมีความสุข สนุกไปกับการอ่านทุกครั้งต้องดูแลรักษาสุขภาพของตนเองด้วนนะคะ…
แหล่งที่มา :
Mendeley (www.mendeley.com) เป็นเครื่องมือออนไลน์จาก ELSEVIER ที่พัฒนาขึ้นเพื่อช่วยสนับสนุนนักวิจัยในการทำวิจัย ช่วยอำนวยความสะดวกในกระบวนการต่างๆ ของการทำวิจัย โดยเปิดให้ทุกท่านใช้งานได้ฟรีไม่มีค่าใช้จ่าย ซึ่งมีวิธีการใช้งาน ดังนี้
1. การสมัครสมาชิก 2. การใช้งานเครื่องมือช่วยทำวิจัย 3. การสืบค้นเอกสาร
Read the rest of this entry »
Kahoot เป็นเครื่องมือสร้างคำถามออนไลน์แบบฟรี สามารถใช้งานได้ผ่าน Smartphone หรือ Notebook, Desktop, Tablet ที่เชื่อมต่อกับ Internet ผู้ถามกับผู้ตอบต้องอยู่ในที่เดียวกัน เมื่อเข้าสู่ชุดคำถามใน Kahoot จะมีการแสดงจำนวนผู้เข้าร่วมเล่น ผลการตอบคำถามในแต่ละครั้ง จะแสดงลำดับของผู้เข้าร่วมตอบคำถาม แบบทันที หลังตอบคำถามเสร็จ สามารถนำ Kahoot มาใช้ในชั้นเรียนหรือบรรณารักษ์ สามารถใช้เพื่อประกอบการจัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้สารสนเทศ หรือกิจกรรมต่างๆ ของห้องสมุดที่ต้องการให้ผู้ใช้บริการมีส่วนร่วมในการตอบคำถามได้
วิธีใช้ Google form สร้างแบบสอบถามออนไลน์
Google Form ช่วยให้เราสร้างแบบสอบถามออนไลน์ หรือใช้สำหรับรวบรวมข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว โดยที่ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย ในการใช้งาน Google Form ผู้ใช้งานหรือผู้ที่จะสร้างแบบฟอร์มนั้นจะต้องมีบัญชีของ Gmail หรือ Account ของ Google เสียก่อน Google Form สามารถนำไปปรับประยุกต์ใช้งานได้หลายรูปแบบอาทิ เช่น การทำแบบฟอร์มสำรวจความคิดเห็น การทำแบบฟอร์มสำรวจความพึงพอใจ และการทำแบบฟอร์มลงทะเบียน เป็นต้น
เริ่มต้นใช้งาน Google form (เบื้องต้น) Read the rest of this entry »
ศูนย์บรรณสารสนเทศ จัดโครงการกิจกรรมปลูกจิตสำนึกการมีส่วนร่วมในการประหยัดพลังงานและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม เพื่อให้นักศึกษา อาจารย์ และบุคลากรของมหาวิยาลัย มีความรู้ ความตระหนัก ในการประหยัดพลังงานและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และเพื่อให้เป็นไปตามตามแผนกลยุทธ์ของศูนย์บรรณสารสนเทศ ในยุทธศาสตร์ที่ 6 มีการบริหารจัดการศูนย์บรรณสารสนเทศอย่างมีประสิทธิภาพ พอเพียง ตามหลักธรรมาภิบาล ในมาตรการที่ 3.2 ปลูกฝังจิตสำนึกการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมเพื่อส่วนรวม
สำนักงานเลขานุการ ได้รับมอบหมายในการจัดทำบอร์ดการประหยัดพลังงานและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ไว้ตรงบันได ขึ้น-ลง ชั้น 2 ของศูนย์บรรณสารสนเทศ
วัตถุประสงค์โครงการ
บอร์ดการประหยัดพลังงานและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
เนื้อหาภายในบอร์ดประกอบด้วย มาตรการประหยัดพลังงาน ซึ่งสรุปมาจากมาตรการประหยัดพลังงานของมหาวิทยาลัย ทั้ง 15 ข้อ (12 + 3) ดังนี้ Read the rest of this entry »
หลายท่านคงได้สังเกตเห็นลักษณะการใช้งานหนังสือภายในห้องสมุดกันมาบ้าง เช่น การหยิบหนังสือมาอ่านแล้ววางไว้ในห้องสมุดโดยไม่ยืมหนังสือออกไป ซึ่งการใช้งานในลักษณะนี้ จะส่งผลให้ทางห้องสมุดไม่ได้รับสถิติการยืมออก (check out) ของหนังสือเล่มดังกล่าว แต่ห้องสมุดสามารถเก็บสถิติการใช้หนังสือแต่ละเล่มที่มีการใช้แต่ไม่ได้ยืมออก โดยระบบห้องสมุด WorldShare Management Services (WMS) มีช่องทางให้สามารถดำเนินการดังกล่าว
เก็บสถิติการใช้งานภายในห้องสมุด กรณีที่ผู้ใช้ไม่หยิบหนังสือไปยืมออก โดย
– เข้าไปที่โมดู Circulation เลือกเมนู Check In – กำหนด Check In Mode เป็น Non Loan Return – แล้วค่อยทำการสแกนบาร์โค๊ดของหนังสือเล่มนั้น
การทำ Data Migration คือ การโอนย้ายข้อมูลจากระบบเดิมไปยังระบบใหม่ ซึ่งมีขั้นตอน กระบวนการ และความสัมพันธ์ของข้อมูลระหว่างระบบเดิมกับระบบใหม่ที่ซับซ้อน ดังนั้น จึงต้องให้ความสำคัญกับรายละเอียดในทุกขั้นตอนของการทำ Data Migration
หลักจากที่ผู้บริหารตัดสินใจเปลี่ยนระบบห้องสมุดอัตโนมัติ จากระบบ Virtua ที่ใช้งานอยู่ ไปเป็น WorldShare Management Services (WMS) ทำให้ทีมงานผู้ใช้ระบบเดิมอยู่ กับ ทีมงานของผู้พัฒนา WMS จาก OCLC และตัวแทนจำหน่าย ต้องทำงานร่วมกัน เพื่อวางแผน วิเคราะห์ข้อมูล ประสานการดำเนินงาน และกำหนดรายละเอียดต่างๆ ที่จำเป็นในการโอนย้ายข้อมูลเข้า WMS โดยขั้นตอนหลัก ดังนี้ Read the rest of this entry »
การจัดทำคู่มือการปฏิบัติงาน Circulation ของระบบห้องสมุด WorldShare Management Services (WMS) เพื่อใช้เป็นแนวทางสำหรับผู้ที่ปฏิบัติงานในโมดูลดังกล่าว สามารถศึกษาได้ด้วยตนเอง ได้แก่ การยืม การคืน การคืนมีค่าปรับ การยืมต่อ การคืนหนังสือในตู้ การ Notes การรับแจ้งหนังสือหาย การสร้างระเบียนสมาชิก และการทำ Offline circulation เมื่อระบบขัดข้อง กระผมหวังว่าคู่มือการปฏิบัติงานจะกระชับ ชัดเจน เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติงานนะครับ รายละเอียดของ คู่มือปฏิบัติงาน ยืม-คืน WMS ตามไฟล์ที่แนบมานี้ครับ
บทความที่เกี่ยวข้อง
ขั้นตอนการเคลียร์รายการค่าปรับและส่งบิลค่าปรับให้สมาชิกผ่านทาง E-mail
วิธีและขั้นตอนการ Key Basic Tag ในการสร้าง Order
การจองทรัพยากรสารสนเทศผ่านระบบ WMS
เปิดเทอมแล้วมาโหลด APP ช่วยในการทำงานกันเถอะ
Notification Alert
ขั้นตอนการตรวจรับและตรวจสอบหนังสือใหม่
วิธีการเปลี่ยน Status หนังสือส่งซ่อม
การพิมพ์สันหนังสือในระบบ WMS
ขั้นตอนการลงรายการสื่อโสตทัศนวัสดุ ประเภท Sound Recording
งานบริการรับแจ้งหนังสือหายในระบบ WMS
งานสร้างระเบียนสมาชิก
No Linguistic Content และ Undetermined สำคัญอย่างไร
การสร้างข้อมูลร้านค้า (New Vendor)
งานตรวจสอบพันธะและลบระเบียนสมาชิก
ขั้นตอนการทำการสั่งซื้อหนังสือ (Orders) ในระบบห้องสมุดอัตโนมัติ WMS
วิธีเก็บสถิติการใช้งานภายในห้องสมุด กรณีที่ผู้ใช้ไม่หยิบหนังสือไปยืมออก
คู่มือการใช้บริการ WorldShare Interlibrary Loan (WorldShareILL)
การใช้งานระบบ Offline Circulation WMS
วิธียืมหนังสือต่อด้วยตนเองทางออนไลน์ (WMS)
การลงรายการทางบรรณานุกรมทรัพยากรสารสนเทศในโมดูล Metadata ของระบบ WorldShare Management Services (WMS)
Acquisition Module เพื่อการจัดสรรงบประมาณ ในระบบห้องสมุด WMS เพื่อการจัดสรรงบประมาณ
การทำ Data Migration เข้า WorldShare Management Services (WMS)
ทำไมจึงเลือก WorldShare Management Services (WMS) : WMS ตอนที่ 5 การทำสัญญา
ทำไมจึงเลือก WorldShare Management Services – WMS ตอนที่ 4 การต่อรองราคา
ทำไมจึงเลือก WorldShare Management Services – WMS ตอนที่ 3
ทำไมจึงเลือก WorldShare Management Services – WMS ตอนที่ 2
ทำไมจึงเลือก WorldShare Management Services – WMS ตอนที่ 1
หลังจากเข้ารับการตรวจประเมินห้องสมุดสีเขียว ในโครงการนำร่องห้องสมุด 10 แห่ง เมื่อปี พ.ศ. 2559 นั้น ศูนย์บรรณสารสนเทศ ได้มีกิจกรรมร่วมกับเครือข่ายห้องสมุดสีเขียว ตามกำลังของศูนย์บรรณสารสนเทศ นอกเหนือจากการเข้าร่วมประชุมประจำปี การส่งแผนและผล ให้ทุกปี แล้ว ศูนย์บรรณสารสนเทศ ยังได้เข้ากิจกรรมอื่นๆ เช่น การเข้าร่วมการชดเชยคาร์บอนรายบุคคล การเข้าอบรมเป็นผู้ตรวจประเมินห้องสมุดสีเขียว ด้วยมีความคิดเห็นว่า หลังจากการผ่านการตรวจประเมินแล้ว น่าจะขยับมาเป็นผู้ตรวจและน่าจะเป็นแรงหนึ่งในการเป็นผู้ตรวจประเมินให้กับเครือข่ายฯ จึงได้สมัครเข้ารับการอบรม ระหว่างวันที่ 29-30 มกราคม 2561 ได้รับความรู้และแนวทางในการจะต้องเป็นผู้ตรวจอย่างเต็มที่ และจะเป็นผู้ตรวจทั้งที จึงต้องผ่านการสอบด้วย
ก่อนการอบรม มีพิธีลงนามความร่วมมือทางวิชาการด้านการพัฒนาเครือข่ายห้องสมุดสีเขียว ครั้งที่ 5 ด้วย นับว่าตอนนี้ เครือข่ายเพิ่มจำนวนร่วม 50 แห่ง หลังจากนั้น จึงเริ่มการอบรม ซึ่งประกอบด้วยหัวข้อ ต่อไปนี้
เมื่อมีการนำระบบ WorldShare Management Services (WMS) เข้ามาใช้กับงานห้องสมุดของศูนย์บรรณสารสนเทศ ทำให้งานวารสารมีแนวคิดริเริ่มพัฒนารูปแบบของการทำงานและการให้บริการวารสารเพื่อการค้นคว้า สอดคล้อง และก้าวตามทันยุคสมัยของการใช้อุปกรณ์การสื่อสารในยุคปัจจุบัน และเป็นการเข้าถึงสื่อความรู้ เพื่อเพิ่มความสะดวกและรวดเร็ว ให้กับผู้ใช้บริการวารสารของศูนย์บรรณสารสนเทศ
งานวารสารเริ่มปรับปรุงการให้บริการ หรือ Work process เพื่อให้ผู้ใช้บริการเข้าถึงตัวเล่มได้ง่ายขึ้น โดยเริ่มจาก
วารสารที่ทำ QR Code เพื่อให้สแกนและเข้าให้เข้าถึงเนื้อหาได้ทันที