หลังจากที่อบรมการเป็นผู้ตรวจประเมินห้องสมุดสีเขียวของเครือข่ายห้องสมุดสีเขียวเมื่อวันที่ 29-30 มกราคม 2561 พร้อมกับการทดสอบความรู้ในเรื่องการประหยัดพลังงานและเกณฑ์การตรวจในหมวดต่างๆ ไปแล้วนั้น กิจกรรมของการเป็นผู้ตรวจ ต่อจากนั้น จึงเริ่มจากการฝึกว่าที่ผู้ตรวจประเมินห้องสมุดสีเขียวกับห้องสมุดที่เสนอชื่อรับการตรวจห้องสมุดสีเขียวในรอบปีที่ 3 โดยว่าที่ผู้ตรวจจะต้องฝึกการตรวจประเมินห้องสมุดจำนวน 2 แห่ง มี ในการลงสนามว่าที่ผู้ตรวจของผู้เขียนครั้งนี้ มีผู้ช่วยศาสตราจารย์ รัตนวรรณ มั่งคั่ง ผู้อำนวยการศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะด้านกลยุทธ์เพื่อธุรกิจที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นประธานในการตรวจ ประกอบด้วยทีมผู้ตรวจ ได้แก่ ดร. อารีย์ ธัญกิจจานุกิจ ผู้ช่วยอธิการบดี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ นางสาวรุ่งทิพย์ ห่อวโนทยาน ประธานมาตรฐานวิชาชีพ คนที่ 2 สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย เและนางสาว ธนาภรณ์ ฉิมแพ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ร่วมเป็นพี่เลี้ยงในการตรวจ
ในการตรวจจะแบ่งหน้าที่ตามเกณฑ์ที่ผู้ตรวจมีความเชี่ยวชาญ ตามเกณฑ์การพัฒนาห้องสมุดสีเขียว ข้อกำหนด แนวทางเชิงปฏิบัติ และวิธีการตรวจประเมิน พ.ศ. 2559 โดยหลักๆ เช่น ทางด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม นโยบาย เครือข่ายและห้องสมุด และตัวบ่งชี้ต่างๆ เช่น ผู้ช่วยศาสตราจารย์ รัตนวรรณ มั่งคั่ง จะตรวจหมวด 2 (โครงสร้างพื้นฐานทางด้านกายภาพและเทคโนโลยีที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม) หมวด 3 (การจัดการทรัพยากรและพลังงาน), และหมวด 4 (การจัดการของเสียและมลพิษ) ดร. อารีย์ ธัญกิจจานุกิจ จะรับตรวจในหมวดที่ 1 ทั่วไป และ หมวดที่ 5 การบริหารจัดการและการให้บริการห้องสมุด เพื่อส่งเสริมการอนุรักษพลังงานและสิ่งแวดล้อม คุณรุ้งทิพย์ ห่อวโนทยาน รับตรวจในหมวดหมวดที่ 7 เครือข่ายและความร่วมมือระหว่างห้องสมุด และคุณธนาภรณ์ ฉิมแพ รับตรวจในที่ 6 บทบาทของบคลากรห้องสมุดและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง และหมวดที่ 8 การประเมินคุณภาพห้องสมุดสีเขียว แต่ทั้งนี้ อาจจะมีการสลับหมวดหรือเพิ่มเติมหมวดในการตรวจกันบ้างในกรณีที่ผู้ตรวจบางท่านติดภารกิจ
ว่าที่ผู้ตรวจควรจะพิจารณาลงตรวจในหมวดที่มีความถนัด หรือสนใจ และควรจะเวียนตรวจในหมวดอื่นๆ ด้วย เพื่อจะได้ทดสอบความรู้ที่มีอยู่ ฝึกการตั้งคำถามฝึกการสังเกต ฝึกการพิจารณาหลักฐาน ฝึกการสรุปประเด็น การสรุปข้อสังเกต ฝึกการพิจารณาและอภิปรายประเด็นที่อาจจะมองเห็นต่างมุม ตลอดจนพิจารณาตัดสินว่า ควรจะให้คะแนนหรือไม่ อย่างไร ทั้งนี้ ประเด็นที่เห็น ที่คิด ควรจะได้มีการนำเสนอ เพื่อให้กลุ่มว่าที่ผู้ตรวจและผู้ตรวจทราบว่า คิดเห็นอย่างไร จะได้มีการปรับความคิด หรือการพูด การให้เหตุผลที่ดี ก่อนจะนำเสนอและสรุปเป็นคะแนนต่อไป Read the rest of this entry »
มาทำความรู้จัก App Digby ซึ่งเป็นแอปพลิเคชันสำหรับมือถือตัวช่วยในการใช้งานในห้องสมุดกันครับว่าช่วยสนับสนุนการใช้งานห้องสมุดอย่างไรบ้าง
1. เข้าถึงรายการบรรณานุกรมของหนังสือ
2. นำขึ้นชั้นหนังสือได้ตามเลขหมู่
3. ทำ Inventory ของหนังสือ
4. คืนออกจากระบบผู้ใช้บริการ
5. Capture หน้าจอของบรรณานุกรมช่วยลดในการจดทำให้ประหยัดกระดาษ
มาเรียนรู้ App Digby เพื่อเพิ่มความสะดวกในการทำงานกันนะครับ
ทำความรู้จัก App Digby
จากแอพ Digby นี้ ทาง OCLC ได้พัฒนาการใช้งานของแอพพลิเคชัน ให้มีประสิทธิ์ภาพมากขึ้นเพื่อความสะดวกในการทำงานในห้องสมุดหรือพกพาแอพพลิเคชัน Digby ไปใช้งานนอกห้องสมุดได้เพื่อเพิ่มความสะดวกในการทำงาน ผมหวังว่าทาง OCLC จะเพิ่มลูกเล่นเพิ่มขึ้น เช่น การยืม การชำระค่าปรับ หรือการจองหนังสือผ่านแอพพลิเคชันในอนาคต
บทความที่เกี่ยวข้อง
ขั้นตอนการเคลียร์รายการค่าปรับและส่งบิลค่าปรับให้สมาชิกผ่านทาง E-mail
วิธีและขั้นตอนการ Key Basic Tag ในการสร้าง Order
สถิติห้องสมุดกับงาน Circulation Events Detail Report ใน WMS
การจองทรัพยากรสารสนเทศผ่านระบบ WMS
Notification Alert
ขั้นตอนการตรวจรับและตรวจสอบหนังสือใหม่
วิธีการเปลี่ยน Status หนังสือส่งซ่อม
การพิมพ์สันหนังสือในระบบ WMS
ขั้นตอนการลงรายการสื่อโสตทัศนวัสดุ ประเภท Sound Recording
งานบริการรับแจ้งหนังสือหายในระบบ WMS
งานสร้างระเบียนสมาชิก
No Linguistic Content และ Undetermined สำคัญอย่างไร
การสร้างข้อมูลร้านค้า (New Vendor)
ขั้นตอนการทำการสั่งซื้อหนังสือ (Orders) ในระบบห้องสมุดอัตโนมัติ WMS
วิธีเก็บสถิติการใช้งานภายในห้องสมุด กรณีที่ผู้ใช้ไม่หยิบหนังสือไปยืมออก
คู่มือการใช้บริการ WorldShare Interlibrary Loan (WorldShareILL)
วิธียืมหนังสือต่อด้วยตนเองทางออนไลน์ (WMS)
คู่มือการปฏิบัติงานการยืม-คืนทรัพยากรสารสนเทศ ของระบบ WorldShare Management Services (WMS)
การลงรายการทางบรรณานุกรมทรัพยากรสารสนเทศในโมดูล Metadata ของระบบ WorldShare Management Services (WMS)
Acquisition Module เพื่อการจัดสรรงบประมาณ ในระบบห้องสมุด WMS เพื่อการจัดสรรงบประมาณ
การทำ Data Migration เข้า WorldShare Management Services (WMS)
ทำไมจึงเลือก WorldShare Management Services (WMS) : WMS ตอนที่ 5 การทำสัญญา
ทำไมจึงเลือก WorldShare Management Services – WMS ตอนที่ 4 การต่อรองราคา
ทำไมจึงเลือก WorldShare Management Services – WMS ตอนที่ 3
ทำไมจึงเลือก WorldShare Management Services – WMS ตอนที่ 2
ทำไมจึงเลือก WorldShare Management Services – WMS ตอนที่ 1
ในปีการศึกษา 2560 ประมาณเดือนพฤศจิกายน 2560 ศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ได้นำระบบห้องสมุดอัตโนมัติ WorldShare Management Services หรือ WMS มาช่วยในการบริการจัดงานห้องสมุด ทำให้ผู้ใช้บริการได้รับความสะดวกในการใช้บริการ โดยฟังก์ชั่นที่อำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้ ฟังก์ชั่น หนึ่งก็คือ การแจ้งเตือน หรือ Notification Alert เช่น การแจ้งเตือนเพื่อให้ผู้ใช้ทราบว่าหนังสือที่ยืมมาจะถึงกำหนดส่งคืน และให้ผู้ใช้พิจารณาตัดสินใจว่า จะนำมาคืนหรือยืมต่อ
ในฟังก์ชั่น Notification Alert นี้ มีการกำหนดให้มีการแจ้งเตือนทางอีเมล์ จำนวน 3 ครั้ง ได้แก่
ครั้งที่ 1 ก่อนถึงวันกำหนดส่ง 3 วัน
ครั้งที่ 2 วันกำหนดส่ง
ครั้งที่ 3 เลยกำหนดส่ง 1 วัน
การแจ้งเตือนครั้งที่ 1 ทำการแจ้งเตือน ก่อนกำหนดส่ง 3 วัน
ตัวอย่าง e-mail ของผู้ใช้บริการ ที่ได้รับการแจ้งเตือน
การแจ้งเตือนครั้งที่ 2 แจ้งเตือนวันกำหนดส่ง
การแจ้งเตือนครั้งที่ 3 แจ้งเตือนเลยกำหนดส่ง 1 วัน
ถ้าผู้ยืมต้องการยืมต่อสามารถยืมต่อด้วยตนเองได้ที่ การ log in เข้าระบบด้วย username และ password ของสมาชิกที่ใช้เข้า Wifi ของมหาวิทยาลัย ทั้งนี้ สามารถอ่านคู่มือการต่ออายุด้วยตนเองได้ที่ https://lib-km.hcu.ac.th/renew-wms/
กรณีที่ผู้ใช้บริการ เปลี่ยน e-mail ขอความร่วมมือในการแจ้งให้ศูนย์บรรณสารสนเทศทราบ เพื่อจะได้มีการปรับปรุงข้อมูลของผู้ใช้บริการ และระบบการแจ้งเตือน (Notification Alert) จะแจ้งไปยัง e-mail ที่ถูกต้องต่อไป
ขั้นตอนการเคลียร์รายการค่าปรับและส่งบิลค่าปรับให้สมาชิกผ่านทาง E-mail วิธีและขั้นตอนการ Key Basic Tag ในการสร้าง Order
เปิดเทอมแล้วมาโหลด APP ช่วยในการทำงานกันเถอะ
ในปัจจุบัน ทั้งชาวจีนและญี่ปุ่นต่างถือวันที่ 7 เดือน 7 (七夕节 qī xī jié) เป็นวันแห่งความรักสืบเนื่องมาจากตำนานความรักอันน่าประทับใจของหนุ่มเลี้ยงวัวกับสาวทอผ้า ที่หนุ่มเลี้ยงวัวเกิดไปรักเทพธิดาทอผ้าที่เป็นนางฟ้าสูงศักดิ์ ทั้งสองแอบแต่งงานและมีลูกด้วยกัน 2 คนทำให้เง็กเซียนฮ่องเต้โกรธในความรักต่างชนชั้นนี้ และมีคำสั่งพรากคู่รักทั้งสองออกจากกัน แต่เจ้าแม่ซีหวังหมู่ (ชายาเง็กเซียน) สงสารจึงประทานพรให้ทั้งคู่ได้มาพบกันแค่ปีละครั้ง ในวันที่ 7 เดือน7 ในคืนนี้ชาวจีนจะมีการละเล่นมากมายที่เน้นไปทางการทดสอบฝีมือการบ้านการเรือนของหญิงสาว เช่น การทอดขนม และสนเข็ม เมื่อหนุ่มๆมาเห็นว่าสาวๆเก่งการบ้านการเรือนแบบนี้แล้วก็จะเร่งผู้ใหญ่ให้มาสู่ขอ
แต่เมื่อพันกว่าปีก่อน วันแห่งความรักของจีนคือวันเทศกาลโคมไฟ (元宵节 yuán xiāo jié) ซึ่งจะตรงกับวันที่ 15 เดือน 1 ตามปฏิทินจันทรคติ ชาวจีนจะนิยมทำขนมบัวลอย (汤圆 tāng yuán) รับประทานกันในครอบครัวก่อนออกไปชมโคมไฟที่ประดับประดากันอย่างสวยงามทั่วเมือง ในคืนนั้น ชาวจีนผู้เคร่งครัดเรื่องระยะห่างระหว่างชายหญิงจะยอมผ่อนปรน ให้หนุ่มสาวได้ออกจากบ้านไปพบเจอกัน และลูกสาวจะได้รับอนุญาตไม่ต้องกลับบ้านตลอดทั้งคืน เป็นเหตุให้หลังจากคืนวันเทศกาลโคมไฟจะมีพิธีแต่งงานตามมาอีกหลายบ้าน
บุคลากรจากแผนบริการสารสนเทศในแต่ละชั้น มีหน้าที่ในการรับหนังสือใหม่ที่ผ่านการวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศแล้ว เพื่อนำให้บริการต่อไป แต่ก่อนที่จะนำขึ้นให้บริการนั้น แผนกบริการสารสนเทศ จะมีการถูกสอบความถูกต้องของหนังสือ เช่น เลขเรียกหนังสือที่อาจจะผิดพลาดได้ กล่าวคือ สันหนังสืออาจจะมีเลขเรียกหนังสือต่างจากที่บันทึกในระบบห้องสมุด
แผนกบริการสารสนเทศ ศูนย์บรรณสารสนเทศ มีขั้นตอนในการตรวจสอบ ดังนี้
1.หนังสือที่ผ่านการ Catalog จากแผนกวิเคราะห์ฯ เรียบร้อยแล้ว หนังสือจะถูกส่งมายังแผนกบริการสารสนเทศ เพื่อขึ้นชั้นให้บริการ พร้อมแบบฟอร์มการส่งหนังสือ ดังภาพ
2.เมื่อตรวจเช็คจำนวนหนังสือแล้ว จึงนำตัวเล่มหนังสือนั้นๆ มาตรวจสอบความถูกต้องในระบบห้องสมุด WMS หรือ WorldShare Management Services ก่อนนำขึ้นชั้นหนังสือต่อไป
วิธีการตรวจสอบความถูกต้องในระบบ WMS Read the rest of this entry »
การซ่อมหนังสือ เป็นการบำรุงรักษาหนังสือของห้องสมุด หนังสือที่ผ่านการหยิบใช้งานบ่อยๆ อาจมีชำรุด เช่น สันหนังสือ ปกหนังสือ หรือ หน้าหนังสือ หลุดออกจากตัวเล่ม ตัวอย่างหนังสือที่ชำรุด ดังภาพ
เมื่อผู้ดูแลความเรียบร้อยประจำพื้นที่ พบหนังสือชำรุด จะเก็บหนังสือเล่มนั้นๆ มาเพื่อซ่อมแซมหนังสือที่ชำรุดเสียหายให้กลับคืนสู่สภาพปกติ เพื่อพร้อมที่จะนำออกให้บริการต่อไปจึงต้องมีการ เปลี่ยน Status ของหนังสือ เพื่อให้ผู้ใช้บริการทราบว่าหนังสือเล่มนั้นๆ ยังไม่พร้อมให้บริการ โดยจะปรากฏ ที่หน้าจอ การสืบค้น ดังนี้ “Repair Room”
เมื่อหนังสือได้รับการซ่อมแซมเสร็จเรียบร้อยแล้ว ต้องเปลี่ยน Status เพื่อแจ้งให้ผู้ใช้บริการทราบว่าหนังสือเล่มนั้นๆ พร้อมให้บริการแล้ว โดยจะปรากฏ ที่หน้าจอ การสืบค้น ดังนี้ “Available”
Read the rest of this entry »
ในระบบห้องสมุด WorldShare Management Services หรือ WMS มีฟังก์ชั่น ในการพิมพ์สันหนังสือได้ โดยใช้คำสั่ง Label and Export List สำหรับการพิมพ์สันหนังสือ หรือเลขเรียกหนังสือที่บรรณารักษ์กำหนดไว้สำหรับหนังสือเล่มนั้นๆ ตามขั้นตอนดังนี้
ขอนำความรู้และประสบการณ์จากการทำสมุดโน้ต โดยนำวัสดุจากของเหลือใช้ มาแบ่งปันกันครับ
อุปกรณ์
1. ส.ค.ส เก่าที่ใช้แล้ว
2. กระดาษ A4 หรือ กระดาษสี
3. แม๊กเย็บกระดาษ
4. คัตเตอร์ตัดกระดาษ
วิธีทำ
1.นำส.ค.ส และกระดาษA4 มาพับครึ่ง Read the rest of this entry »
เนื่องจากผู้เขียนได้รับมอบหมายให้เข้าร่วมกิจกรรมแลกเปลี่ยนการเรียนรู้ครั้งที่2 เรื่องปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงานกิจกรรมคุณภาพ 7 สของหน่วยงานปีการศึกษา 2560 จึงขอสรุปผลการเข้าร่วมกิจกรรม เพื่อเป็นการแบ่งปันประสบการณ์ ดังนี้
วัตถุประสงค์
มีการจัดแบ่งกลุ่มเป็น 4 กลุ่มหารือโดยมีประเด็นในการหารือ
จากนั้นได้มีการแยกกลุ่มออกเป็น 4 กลุ่มโดยการจับสลากเลือกกลุ่มที่จะอยู่โดยศูนย์บรรณสารฯอยู่กลุ่มที่3 มีคณะศิลปศาสตร์ คณะนิติศาสตร์ กองคลัง และกองกลางได้มีการสรุปหัวข้อที่ได้รับของแต่ละกลุ่มดังนี้ Read the rest of this entry »
หลายๆ คนอาจจะกำลังมองหา วิธีการ แคปหน้าเว็บไซต์แบบยาวๆ ให้ได้ทั้งหน้า โดยที่เราไม่ต้องคอยเลื่อน Scroll Mouse มาแคป ทีละส่วนๆ ต่อๆกัน หลายท่านอาจไม่เคยใช้ เพราะโดยทั่วไปการแคปหน้าเว็บไซต์จะแคปเฉพาะ หน้าต่างเต็มหน้าจอคอมพิวเตอร์เท่านั้น เนื่องจากหน้าเว็บนั้นยาวเกินขนาดเบราว์ของเรานั่นเอง แต่ถ้าเราอยากแคปหน้าเว็บไซต์ยาวมากและดูสวยด้วยละก็ สามารถทำได้แล้วด้วย โปรแกรม Full Page Screen Capture เป็นเครื่องมือตัวหนึ่ง ที่อยู่บนเว็บเบราว์เซอร์ Google Chrome เว็บสโตร์
วิธีดาวน์โหลดและวิธีใช้งาน Full Page Screen Capture
1. เปิดเว็บบราวเซอร์ Google Chrome ขึ้นมา
2. ให้เราเข้า ไปที่ –> Chrome เว็บสโตร์ <– แล้วพิมพ์ค้นหาคำว่า Full Page Screen Capture Read the rest of this entry »