SIDEBAR
»
S
I
D
E
B
A
R
«
ขั้นตอนการให้บริการการยืมระหว่างห้องสมุด (WorldShare Interlibrary Loan)
มิถุนายน 16th, 2018 by navapat

การยืมระหว่างห้องสมุด (WorldShare Interlibrary Loan) หรือ ILL แบ่งการยืมเป็น 2 ประเภทคือ
1. Borrowing Requests หมายถึง ห้องสมุดเป็นผู้ยืม
2. Lending Requests หมายถึง ห้องสมุดเป็นผู้ให้ยืม

1. Borrowing Requests

เมื่อนักศึกษา อาจารย์ หรือบุคลากรของมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ มีความประสงค์จะขอยืมทรัพยากรสารสนเทศ ที่ไม่มีให้บริการอยู่ในศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ผู้รับผิดชอบงานบริการยืมระหว่างห้องสมุด จะดำเนินการตามขั้นตอนดังนี้

1. ค้นหารายชื่อทรัพยากรสารสนเทศ ที่ผู้ใช้ต้องการว่ามีให้บริการอยู่ที่ห้องสมุด/สถาบันการศึกษาใด และห้องสมุด/สถาบันการศึกษานั้นๆ มีนโยบายในการให้ยืมอย่างไร เช่น จำนวนรายการที่ให้ยืม ระยะเวลาการให้ยืม จำนวนครั้งในการยืมต่อ ค่าบริการในการยืม หรือทำสำเนาเอกสาร และค่าบริการในการจัดส่ง โดยพิจารณาเลือกห้องสมุดในประเทศไทย และมีความร่วมมือระหว่างห้องสมุดฯ กับศูนย์บรรณสารสนเทศก่อน เช่น มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฯลฯ ถ้าเป็นห้องสมุด/สถาบันการศึกษาต่างประเทศ ต้องคำนวณค่าใช้จ่ายเป็นดอลล่าสหรัฐ

2. แจ้งให้ผู้ขอใช้บริการทราบผ่านทางโทรศัพท์ หรือ E – mail address ว่าศูนย์บรรณสารสนเทศ เป็นเพียงตัวกลางในการยืมคืนให้ และผู้ขอใช้บริการต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริงทั้งหมดเอง

3. เมื่อผู้ขอใช้บริการปฏิเสธการรับผิดชอบค่าใช้จ่าย เจ้าหน้าที่จะดำเนินการยกเลิกคำร้อง แต่ถ้าผู้ขอใช้บริการยินดีรับเงื่อนไขดังกล่าว ผู้ขอใช้บริการต้องยืนยันกลับมาเป็นลายลักษณ์อักษร เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบจะดำเนินการยืมให้ต่อไป

2. Lending Requests

เมื่อผู้ขอใช้บริการจากห้องสมุด/สถาบันการศึกษาอื่นๆ ทั้งภายในและต่างประเทศ มีความประสงค์จะขอยืมทรัพยากรสารสนเทศที่มีอยู่ในศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ผู้รับผิดชอบงานบริการยืมระหว่างห้องสมุด จะดำเนินการตามขั้นตอนดังนี้

1. ตรวจสอบว่าห้องสมุด/สถาบันการศึกษาใดเป็นผู้ยืม ถ้าผู้ยืมเป็นห้องสมุด/สถาบันการศึกษาภายในประเทศ สามารถให้ยืมได้ โดยเกณฑ์การให้ยืมเป็นไปตามประกาศมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ที่ 137/2560 ลงวันที่ 27 ธันวาคม 2560 เรื่อง การกำหนดอัตราการจัดเก็บค่าบริการยืมระหว่างห้องสมุด พ.ศ. 2560 ยกเว้นมหาวิทยาลัยที่มีความร่วมมือระหว่างห้องสมุดฯ เช่น มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยฯ ไม่คิดค่าใช้จ่าย

2. กรณีผู้ยืมเป็นห้องสมุด/สถาบันการศึกษาต่างประเทศ ให้พิจารณาเป็นกรณีๆ ไป โดยพิจารณาจาก

2.1 ความน่าเชื่อถือของห้องสมุด/สถาบันการศึกษานั้นๆ
2.2 ทรัพยากรสารสนเทศที่ยืมนั้น เป็นหนังสือหายาก ปีที่ตีพิมพ์ใหม่ มีประวัติการใช้มากน้อยเพียงใด และค่าธรรมเนียมการยืมครอบคลุมค่าใช้จ่ายจริงที่เกิดขึ้น
2.3  กรณีศูนย์บรรณสารสนเทศ ไม่ให้ยืม ต้องให้เหตุผลประกอบ เช่น

  • เป็นหนังสืออ้างอิง / หนังสือหายาก ใช้เฉพาะในห้องสมุด
  • ปีที่ตีพิมพ์ยังเป็นฉบับใหม่ล่าสุดในห้องสมุด
  • หนังสืออยู่ในกระบวนการการยืม ยังไม่ถึงกำหนดส่งคืน
  • ฯลฯ

Comments are closed

»  Substance:WordPress   »  Style:Ahren Ahimsa