SIDEBAR
»
S
I
D
E
B
A
R
«
การฟื้นฟูสภาพผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อม
ก.พ. 21st, 2016 by rungtiwa

การฟื้นฟูสภาพผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อม

Rehabilitation of Elders with Dementia

บทคัดย่อ:

ภาวะสมองเสื่อมเป็นโรคเรื้อรังที่พบมากในผู้สูงอายุ เป็นกลุ่มอาการที่มีสาเหตุจากความผิดปกติของการทำงานของสมองด้านการรู้คิดและสติปัญญา โดยมีการเสื่อมของความจำเป็นอาการเด่น และมีอาการเปลี่ยนแปลงทางด้านพฤติกรรม บุคลิกภาพ และอารมณ์ ผู้ที่มีภาวะสมองเสื่อมจะมีความบกพร่องทางด้านการรับรู้ ทักษะการใช้ภาษา ทักษะการคิด และการตัดสินใจ แต่ไม่มีการสูญเสียระดับความรู้สึกตัว อาการของภาวะสมองเสื่อมจะมีความรุนแรงเพิ่มขึ้นเป็นระยะๆ จากระยะเริ่มแรกที่มีอาการเล็กน้อย เป็นระยะกลางที่มีอาการระดับปานกลาง และต่อมาเป็นระยะสุดท้ายซึ่งมีอาการสมองเสื่อมรุนแรงมาก ในผู้สูงอายุไทย สามารถประเมินภาวะสมองเสื่อมเบื้องต้นได้จากแบบประเมินภาวะสมองเสื่อม แบบประเมินสมรรถภาพในเชิงปฏิบัติ (Activity of Daily Living Index) และแบบทดสอบสภาพสมองเบื้องต้นฉบับภาษาไทย (Mini–Mental State Examination – Thai) การศึกษาวิจัยในระยะหลังได้พัฒนาและทดสอบประสิทธิภาพของโปรแกรมการ Read the rest of this entry »

กระเทียมกับการต้านอนุมูลอิสระ
ก.พ. 21st, 2016 by rungtiwa

กระเทียมกับการต้านอนุมูลอิสระ

Garlic and Antioxidation

บทคัดย่อ:

อนุมูลอิสระเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดภาวะชราและโรคต่างๆ ทั้งโรคหัวใจและหลอดเลือดความเสื่อมของเซลล์ประสาท การอักเสบ และโรคมะเร็ง S-allylcysteine (SAC) และ S-allylmercaptocysteine (SAMC) เป็นสารเคมีหลักที่พบในกระเทียม มีบทบาทในการต้านอนุมูลอิสระช่วยป้องกันไม่ให้ผนังของหลอดเลือดชั้นในถูกทำลายซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดโรคหลอดเลือดแข็ง ออกฤทธิ์โดยจับกับอนุมูลอิสระหรือเพิ่มการทำงานของสารต้านอนุมูลอิสระภายในเซลล์ ได้แก่ ซูเปอร์ออกไซด์ดิสมิวเทส (superoxide dismutase) คะตะเลส (catalase) กลูตาไธโอนเปอร์ออกซิเดส (glutathione peroxidase) และกลูตาไธโอน (glutathione) นอกจากนี้อนุมูลอิสระรวมทั้งไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ (H2O2) และ TNF-α ยังมีผลกระตุ้น nuclear factor kappa B (NF-κB) ซึ่งเป็น transcription factor ทำให้มีการสร้าง adhesion molecules คือ VCAMP-1 และ ICAMP-1 เพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้เกิดการสะสมของสารต่างๆ ที่ผนังหลอดเลือด ในที่สุด จะเกิดภาวะหลอดเลือดแข็งและ
การตายของเซลล์ SAC และ SAMC สามารถยับยั้งขบวนการดังกล่าวได้โดยไปลดการสร้างไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์หรือลดการหลั่ง TNF-α และยังไปมีผลยับยั้ง activator protein-1(AP-1) และ c-Jun N-terminal kinases (JNKs) ซึ่งทำหน้าที่ควบคุมการสร้างโปรตีน จึงทำให้การสร้าง NF-κB ลดลง ดังนั้น กระเทียมจึงมีประโยชน์อย่างมากในการช่วยป้องกันผลเสียจากอนุมูลอิสระและป้องกันการเกิดภาวะหลอดเลือดแข็ง

Free radicals are a major cause of aging and diseases, including cardiovascular,neurodegeneration and inflammatory diseases and cancer. S-allylcysteine (SAC) and S-allylmercaptocysteine (SAMC), the major compounds of garlic, are well known as playing an antioxidant action by scavenging reactive oxygen species (ROS), enhance activities of superoxide dismutase, catalase, glutathione peroxidase and glutathione in the cells. These mechanisms can prevent endothelial cells from injury by oxidized molecules which lead to atherosclerosis. Nuclear factor kappa B (NF-κB) is transcription factor activated by free radicals, hydrogen peroxide (H2O2) and TNF-α. Activation of NF-κB contributes to the expression of adhesion molecules such as VCAMP-1 and ICAMP-1. These events further accelerate the formation of atherogenic lesions and cell death. SAC and SAMC suppression of H2O2 production or decreased secreted TNF-α, and inhibit AP-1 and c-Jun N-terminal kinases (JNKs) that regulate protein synthesis, lead to reduce NF-κB. These data suggest that garlic and its main compounds, SAC and SAMC may be useful for the prevention of the effects of free radicals and atherosclerosis.

จันเพ็ญ บางสำรวจ. (2553). กระเทียมกับการต้านอนุมูลอิสระ. วารสาร มฉก.วิชาการ 14 (27), 113-122.

อ่านบทความฉบับเต็ม

 

ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน : ความสำคัญและการเตรียมความพร้อมของไทย
ก.พ. 21st, 2016 by rungtiwa

ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน : ความสำคัญและการเตรียมความพร้อมของไทย

Asian Economic Community : Importance and Thai Preparations

บทคัดย่อ:

ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน เป็น 1 ใน 3 เสาหลักของประชาคมอาเซียน และมีเป้าหมาย คือ 1) ตลาดและฐานการผลิตร่วม 2) การสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจของอาเซียน 3) การพัฒนาเศรษฐกิจอย่างเสมอภาค 4) การบูรณาการเข้ากับเศรษฐกิจโลก ประชาคม เศรษฐกิจอาเซียนอาจส่งผลกระทบทั้งทางบวกและทางลบซึ่งจะได้รับประโยชน์มากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับการเตรียมความพร้อมอย่างดีของทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นผู้ประกอบการในภาคเอกชนที่คงต้องเร่งปรับตัวเพื่อสร้างขีดความสามารถ เช่น การเร่งพัฒนาตราสินค้า การใช้เทคโนโลยีใหม่ในการผลิต และการพัฒนาในด้านนวัตกรรมใหม่ๆ ซึ่งจะช่วยสร้างจุดเด่นให้กับผลิตภัณฑ์ของไทย ส่วนภาครัฐก็ควรทำความเข้าใจและประชาสัมพันธ์ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนให้แก่ผู้ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งเตรียมมาตรการป้องกันเพื่อลดผลกระทบที่จะเกิดขึ้นได้ในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน Read the rest of this entry »

โพธิ์: จากพุทธคยาสู่หัวเฉียว
ก.พ. 21st, 2016 by rungtiwa

โพธิ์ : จากพุทธคยาสู่หัวเฉียว

Bodhi Tree from Bodh Gaya to Huachiew

บทคัดย่อ:

โพธิ์เป็นพันธุ์ไม้ตระกูลเดียวกันกับโพ ชาวพุทธถือว่าโพธิ์เป็นต้นไม้ประจำพระพุทธศาสนา เพราะเป็นต้นไม้ที่พระพุทธเจ้าประทับนั่งในขณะที่ตรัสรู้ชาวไทยพุทธนิยมนำโพธิ์สายพันธุ์พุทธคยามาปลูกไว้ตามวัดวาอารามทั่วไป เพื่อระลึกถึงการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า นอกจากนี้ต้นโพธิ์ยังเข้ามา
เกี่ยวข้องกับชีวิตและสังคมไทยในหลายเรื่อง โดยเฉพาะมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติได้กำหนดเอาต้นโพธิ์เป็นต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัย และสร้างประติมากรรมอันเป็นสัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัยภายใต้ชื่อว่าพระบรมโพธิสมภาร อันสื่อถึงพระบารมีของพระมหากษัตริย์ไทย และความสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณต่อพระมหากษัตริย์ไทยของผู้ก่อตั้งมหาวิทยาลัย อีกทั้งยังแสดงถึงเป้าหมายของการศึกษา คือ ความรุ่งเรืองทางปัญญาและคุณธรรมของเยาวชนที่เข้ามาศึกษาในมหาวิทยาลัยแห่งนี้ตามรอยโพธิญาณของพระพุทธเจ้าภายใต้ปรัชญาธรรมอันสูงส่งที่ว่า เรียนรู้เพื่อรับใช้สังคม ซึ่งเป็นแม่บทของการใช้องค์ความรู้และการดำเนินชีวิตตามปฏิปทาธรรมของหลวงปู่ไต้ฮงที่ยึดแนวพระดำรัสของพระพุทธเจ้าที่ทรงส่งพระสาวกไปทำงานให้พระศาสนา คือ การอนุเคราะห์ชาวโลกให้ได้รับประโยชน์และความสุข ดังนั้นเมื่อกล่าวโดยสรุปแล้วโพธิ์จึงเป็นสัญลักษณ์แห่งปัญญา ความบริสุทธิ์แห่งจิต และกรุณาที่แสดงออกมาในรูปของการบำเพ็ญประโยชน์ต่อโลก

Bodhi Tree is a species of fig in the same family (Moraceae) as the Bo-Tree. This plant is considered sacred by the followers of Buddhism because Siddhartha Gautama is refered to have been sitting underneath a Bo-Tree when he was enlightened (Bodhi). Bodhi Trees has been involved in many aspects of Thai ways of life. Thai Buddhists usually plant the “Bodh Gaya” Bodhi Trees in the temples to remind themselves of Lord Buddha’s enlightenment. Huachiew Chalermprakiet University has also declared this tree as its official symbol. The university was established with the placement of “Phra Borom Bodhi Somparn” or “Golden Bodhi Tree” sculpture to represent the Royalty and gratitude of the Huachiew Chalermprakiet University founders. The sculpture signifies the university’s academic goals — the dawning light of the knowledge and the morals of the students. Following Lord Buddha’s teaching, the university has set its motto as “Learning to Serve Society”, meaning that the students should apply their knowledge to help other people in the society as demonstrated when the disciple monks were dispatched to explain the dharma to the populace. As a conclusion, the Bhodi Tree is a symbol of wisdom, purity, and kindness as reflected in the society-serving deeds.

ธีรโชติ เกิดแก้ว. (2553). โพธิ์ : จากพุทธคยาสู่หัวเฉียว. วารสาร มฉก.วิชาการ 14 (27), 69-84.

อ่านบทความฉบับเต็ม

ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการไม่ไปใช้บริการทางการแพทย์ที่สถานพยาบาลเครือข่ายของผู้ประกันตน
ก.พ. 21st, 2016 by rungtiwa

ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการไม่ไปใช้บริการทางการแพทย์ที่สถานพยาบาลเครือข่ายของผู้ประกันตน

Factors Related to the Non-Using Medical Services of Insured Persons

บทคัดย่อ:

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการไม่ไปใช้บริการทางการแพทย์ที่สถานพยาบาลเครือข่ายของผู้ประกันตน โดยศึกษาความสัมพันธ์ของปัจจัยต่าง ๆ ได้แก่ ปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยด้านการรับรู้ลักษณะการเจ็บป่วยและการประเมินการเจ็บป่วยในการตัดสินใจใช้บริการทางการแพทย์ ปัจจัยด้านการรับรู้สิทธิประโยชน์การใช้บริการทางการแพทย์ และปัจจัยด้านทัศนคติที่มีต่อสถานพยาบาลเครือข่าย นอกจากนี้ยังศึกษาคุณภาพบริการทางการแพทย์ของสถานพยาบาลเครือข่าย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ ผู้ประกันตนที่ขึ้นทะเบียนกับโรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวีณ ศรีราชา เป็นสถานพยาบาลคู่สัญญาหลักและมารับบริการทางการแพทย์กรณีผู้ป่วยนอกในโรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวีณ ศรีราชา ด้วยโรคที่สามารถรักษาได้ที่สถานพยาบาลเครือข่าย จำนวน 384 ราย เก็บข้อมูลระหว่างเดือนมีนาคมถึงสิงหาคม พ.ศ. 2550 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม 4 ชุด ที่มีค่าความเชื่อมั่น 0.78, 0.80, 0.76 และ 0.82 เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์

ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุระหว่าง 30-44 ปี สถานภาพสมรส (คู่) พักอาศัยอยู่ในอำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรีการศึกษาระดับมัธยมศึกษา รายได้เฉลี่ยต่อเดือน5,001-10,000 บาท รับบริการที่โรงพยาบาลด้วยอาการแสดงและสิ่งผิดปกติที่พบจากการตรวจทางคลินิก ไม่ได้ไปรับบริการจากที่อื่นก่อนมารับบริการในครั้งนี้ และทราบว่า ถ้าเลือกโรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวีณ ศรีราชา เป็นสถานพยาบาลหลักแล้ว สามารถไปใช้บริการสถานพยาบาลเครือข่ายได้ผู้รับบริการทราบข้อมูลสถานพยาบาลเครือข่ายจากบริษัท/หน่วยงานที่ทำงานอยู่ ช่วงเวลาที่กลุ่มตัวอย่างสะดวกไปใช้บริการทางการแพทย์ที่สถานพยาบาลเครือข่ายมากที่สุด คือ ช่วงเวลา 17.00 – 22.00 น. การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ อายุ สถานภาพสมรส ที่พักอาศัยระดับการศึกษา รายได้ พบว่า ไม่มีความสัมพันธ์กับการไม่ไปใช้บริการทางการแพทย์ที่สถานพยาบาลเครือข่าย ส่วนปัจจัยด้านการรับรู้ลักษณะการเจ็บป่วยและการประเมินการเจ็บป่วย ปัจจัยด้านการรับรู้สิทธิประโยชน์การใช้บริการทางการแพทย์และปัจจัยด้านทัศนคติที่มีต่อสถานพยาบาลเครือข่าย มีความสัมพันธ์กับการไม่ไปใช้บริการทางการแพทย์ที่สถานพยาบาลเครือข่าย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ α = 0.05 คุณภาพการบริการทางการแพทย์ของสถานพยาบาลเครือข่ายโดยรวมทุกด้าน อยู่ในระดับปานกลาง
The objectives of this study were to study factors related to the non-using medical services at network hospitals of insured persons registered at Queen Savang Vadhana Memorial Hospital with the relationship of relevant factors. The studied factors included the personal factor, the perception of illness and the illness evaluation prior to the medical service acceptation, the perceiving of the right factor of assertion under the network hospitals, the factor of attitude towards the network hospitals and the medical service quality. A total of 384 insured persons with mild and moderate illnesses who have registered at Queen Savang Vadhana Memorial Hospital were studied from March to August 2007. Four questionnaires were used by the interviewers as the research tools with reliabilities of 0.78, 0.80, 0.76 and 0.82 respectively.

Results showed that the majority of participants were female with married status. Their ages range from 30 to 44 years. Their residences were mostly located in Sriracha District, Chonburi province. Most of them finished high school level, and the average income is 5,001-10,000 bath per month. The illnesses, symptoms and abnormalities of the samples were confirmed by clinical checking. No other medical checking was made before receiving this medical service. The samples have know that they could receive the medical services from any other network hospitals under the condition of selecting the Queen Savang Vadhana Memorial Hospital as the main contractor. They learned the information of network hospitals from their current working companies. The most convenient time for receiving the medical services was 5.00-10.00 p.m.The analysis of relationship between sex, age, marital status, residence, education background and income found no association with non-using medical services at network hospitals. However, the illness perception, the illness evaluation, the perceiving of the right factors of assertion under the network hospitals and the factors of attitude towards network hospitals were found significantly relating to non-using medical services at α = 0.05. The overall medical service quality of the network hospitals was found fair.

กันต์กนิษฐ์ ชูวงศ์อภิชาต และ เสาวลักษณ์ ลักษมีจรัลกุล. (2553). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการไม่ไปใช้บริการทางการแพทย์ที่สถานพยาบาลเครือข่ายของผู้ประกันตน. วารสาร มฉก.วิชาการ 14 (27), 37-54.

อ่านบทความฉบับเต็ม

ประสิทธิผลของโปรแกรมส่งเสริมการดูแลตนเองต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองและระดับความดันโลหิตของผู้ป่วยความดันโลหิตสูงชนิดไม่ทราบสาเหตุในชุมชน
ก.พ. 21st, 2016 by rungtiwa

ประสิทธิผลของโปรแกรมส่งเสริมการดูแลตนเองต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองและระดับความดันโลหิตของผู้ป่วยความดันโลหิตสูงชนิดไม่ทราบสาเหตุในชุมชน

The Effectiveness of Self-Care Behavior Promoting Program on Self-Care Behavior and Blood Pressure Level in Essential Hypertensive Patients in Community

บทคัดย่อ:

การวิจัยกึ่งทดลองครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมส่งเสริมการดูแลตนเองต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองและระดับความดันโลหิตของผู้ป่วยความดันโลหิตสูงชนิดไม่ทราบสาเหตุ กลุ่มตัวอย่างคัดเลือกอย่างเจาะจงจากผู้ป่วยที่มีความดันโลหิตสูงเกินระดับ 1 ค่าความดันโลหิต 159/99 มิลลิเมตรปรอทขึ้นไป และมารับการตรวจรักษาที่สถานีอนามัยตำบลทับตีเหล็ก อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรีจำนวน 54 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วยโปรแกรมส่งเสริมการดูแลตนเองและแบบสอบถามพฤติกรรมดูแลตนเอง ซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาและความเที่ยง ได้ค่าสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาคเท่ากับ 0.78 การดำเนินการวิจัยเริ่มจากประเมินความดันโลหิตและพฤติกรรมการดูแลตนเอง จากนั้นดำเนินการตามโปรแกรม 4 ครั้ง คือ ครั้งที่ 1 ขั้นสลายพฤติกรรม และขั้นสร้างมนุษย์สัมพันธ์และเกิดปฏิสัมพันธ์ครั้งที่ 2 ขั้นสร้างมนุษย์สัมพันธ์และเกิดปฏิสัมพันธ์และขั้นสร้างสรรค์ก่อเกิดความคิดริเริ่ม ครั้งที่ 3 ขั้นสร้างสรรค์ก่อเกิดความคิดริเริ่มและขั้นการระดมความคิดครั้งที่ 4 ขั้นการระดมความคิดและขั้นประเมินผล ใช้ระยะเวลา 10 สัปดาห์จึงวัดความดันโลหิตและพฤติกรรมการดูแลตนเอง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบค่าที(paired t-test) ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05

ผลการวิจัยพบว่า พฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยความดันโลหิตสูงจำแนกรายด้าน พบว่า ด้านการปฏิบัติตัวทั่วไปค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.0 (ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.4) ด้านการรับประทานยาและการเลือกอาหารค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.0 (ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.4) ด้านการออกกำลังกาย ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.2 (ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.7) และด้านการผ่อนคลายความเครียดค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.4 (ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.6) และหลังจากเข้าร่วมโปรแกรมส่งเสริมการดูแลตนเองพบว่า มีอาการเวียนศีรษะคิดเป็นร้อยละ 37.0 พฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วย การดูแลตนเองพบว่า อยู่ในระดับดีกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรม ค่าเฉลี่ยพฤติกรรมการดูแลตนเองในภาพรวมหลังเข้าโปรแกรมสูงกว่าก่อนเข้าโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ(p = 0.001) โดยพฤติกรรมการดูแลตนเองด้านการออกกำลังกายและด้านการผ่อนคลายความเครียดสูงกว่าก่อนเข้า โปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ(p = 0.001) ส่วนระดับความดันโลหิตหลังเข้าร่วมโปรแกรมผู้ป่วยมีค่าระดับความดันโลหิตระดับ 1 ร้อยละ 64.9 จึงพบว่า ระดับความดันโลหิตภายหลังเข้าร่วมโปรแกรมต่ำกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ(p = 0.001) โดยเฉพาะอย่างยิ่งค่าความดันซีสโตลิค

ผลการวิจัยเสนอแนะให้พยาบาลเวชปฏิบัติชุมชนและบุคลากรสาธารณสุขประยุกต์โปรแกรมส่งการการดูแลตนเองแก่ผู้ที่มีระดับความดันโลหิตสูงเกิน 1 ในชุมชนอื่น ๆ
The objective of this quasi – experimental research was to investigate the effectiveness of Self-care Behavior Promoting Program on self-care behavior and blood pressure level in essential hypertensive clients. The 54 purposive samplings were selected, have has level 1 higher blood pressure (>159/99 mmHg) and have been receiving hypertensive drugs at Tabteelek district health service center, amphur mueng, Supanburi province. The research instruments were Self-care Behavior Promoting Program and questionnaires related to self-care behaviors. The content validity and reliability of the questionnaire were tested, the alpha-coefficient was 0.78. The research processes were composed of blood pressure assessment, self-care behavior assessment, and self-care behavior promoting program implementation, respectively. The Self-care Behavior Promoting Program consisted of 4 stages of 10 trial weeks : 1) ice breaking and humanization with interaction, 2) humanization with interaction and creation, 3) creation and brain stroming, and 4) brain stroming and evaluation. Data were analyzed by percentage, average, standard deviation, and paired t-test.

Results of this research were found that self-care behaviors before implementing Self – Care Behavior Program, mean of their basic self-care behaviors was 3.0 (SD = 0.4), mean of drug administration and diet management was 3.0 (SD = 0.4) mean of their exercise behavior was 3.2 (SD = 0.7), and the mean of stress management was 3.4, (SD = 0.6) respectively. After the program, 37.0 percent had dizziness. All of patients’ self-care behaviors were better than before implementing program (p = 0.001). mean of exercise behavior and stress management was significantly different (p = 0.001). Also the level of blood pressure after implementing the program, 64.9 percent of patients had high blood pressure at level 1. There are, blood pressure level was lower after implementing the program, especially systolic score was significantly decreased (p = 0.001).

The suggestions from this research is that the community nurse practitioner and health care personnel should apply this program for level 1 the high blood pressure in other communities.

พัชราภัณฑ์ ไชยสังข์ จริยาวัตร คมพยัคฆ์ และ วนิดา ดุรงค์ฤทธิชัย. (2553). ประสิทธิผลของโปรแกรมส่งเสริมการดูแลตนเองต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองและระดับความดันโลหิตของผู้ป่วยความดันโลหิตสูงชนิดไม่ทราบสาเหตุในชุมชน. วารสาร มฉก.วิชาการ 14 (27), 21-36.

อ่านบทความฉบับเต็ม

 

การพัฒนาและแก้ไขปัญหาชุมชน ด้วยการจัดการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวโดยชุมชน กรณีศึกษาตลาดน้ำบางน้ำผึ้ง อ.พระประแดง จ.สมุทรปราการ
ก.พ. 21st, 2016 by rungtiwa

การพัฒนาและแก้ไขปัญหาชุมชน ด้วยการจัดการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวโดยชุมชน กรณีศึกษาตลาดน้ำบางน้ำผึ้ง อ.พระประแดง จ.สมุทรปราการ

Development and Problem Solving of a Community by Community Based Tourism Management : A case study of Bangnamphung Floating Market, Phrapadaeng District, Samut Prakan Province

บทคัดย่อ:

การศึกษาการพัฒนาและแก้ไขปัญหาชุมชน ด้วยการจัดการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวโดยชุมชนกรณีศึกษาตลาดน้ำบางน้ำผึ้ง อ.พระประแดง จ.สมุทรปราการ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพผสมผสานกับการสำรวจข้อมูลเชิงปริมาณ ประกอบด้วยการสังเกตแบบมีส่วนร่วม การสัมภาษณ์การเข้าร่วมกิจกรรมการสำรวจพื้นที่ และการใช้แบบสอบถาม เพื่อเก็บข้อมูลพื้นฐานของผู้จำหน่ายสินค้าและนักท่องเที่ยว

ผลการวิจัยพบว่า การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวตลาดน้ำบางน้ำผึ้ง ดำเนินการโดยองค์การบริหารส่วนตำบลบางน้ำผึ้ง สามารถแก้ไขปัญหาให้แก่ชุมชนเรื่องผลผลิตทางการเกษตรได้เพราะเป็นการสร้างอาชีพและรายได้ให้แก่ประชาชนในพื้นที่ ความสำเร็จดังกล่าวเป็นผลสืบเนื่องจากปัจจัยภายนอกซึ่งได้แก่ กระแสการส่งเสริมการท่องเที่ยวรูปแบบต่างๆ ของภาครัฐ ที่สร้างความต้องการในการท่องเที่ยวของภาคประชาชนอย่างต่อเนื่อง ควบคู่กับการส่งเสริมแหล่งท่องเที่ยวระดับท้องถิ่น โดยมีปัจจัยภายในคือ พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นสวนเกษตรดั้งเดิมแบบยกท้องร่อง ซึ่งเป็นพื้นที่อนุรักษ์ของภาครัฐมาตั้งแต่ปี 2520 และตั้งอยู่ใกล้กรุงเทพมหานคร ทั้งนี้การมีผู้นำอย่างเป็นทางการที่ดำรงตำแหน่งนายก อบต. ทำให้ สามารถจัดสรรงบประมาณเพื่อการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวได้อย่างต่อเนื่อง รวมถึงสามารถขยายผลการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวไปเชื่อมโยงกับการพัฒนาชุมชนในด้านต่างๆ ได้อย่างกว้างขวาง เช่น การพัฒนาด้านคมนาคม สาธารณูปโภคต่างๆ การรื้อฟื้นวัฒนธรรมประเพณีเป็นต้น ในส่วนของกระบวนการจัดการเพื่อบรรลุตามองค์ประกอบ 4 ด้านของการเป็นแหล่งท่องเที่ยว เชิงนิเวศ ได้แก่ (1) องค์ประกอบด้านพื้นที่ท่องเที่ยว (2) องค์ประกอบด้านการจัดการ (3) องค์ประกอบ ด้านกิจกรรมกระบวนการ และ (4) องค์ประกอบด้านการมีส่วนร่วมรวมถึงการประชาสัมพันธ์และการสร้างเครือข่ายความร่วมมือในการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวทั้งในและนอกพื้นที่ พบว่าทำได้ดีในองค์ประกอบที่ 1-3 หากแต่ต้องพัฒนาเพิ่มเติมในองค์ประกอบที่ 4 ด้านการมีส่วนร่วม และควรสร้างเครือข่ายความร่วมมือในการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวกับพื้นที่ตำบลใกล้เคียงให้มากขึ้น
Development and Problem Solving of a Community by Community Based Tourism Management : A case study of Bangnamphung Floating Market, Phrapadaeng District, Samut Prakan Province was a qualitative research combined with a quantitative survey. An observation of participants, interviews, activity participation, and local area survey were conducted simultaneously. Also a questionnaire was used to collect the basic data of both vendors and tourists at Bangnamphung Floating Market.The study revealed that the establishment and management of Bangnamphung Floating Market by The Administrative Organization of Tambon Bangnamphung (AOTB) assisted local people in selling their agricultural products, launching careers, and increasing their income. Such development success had been derived from an external factor which supports trends launched by the government in various types of tourism to steadily motivate people’s needs in travelling while simultaneously supporting local tourist attractions. Bangnamphung Floating Market is a natural tourist attraction with local distinctions. This Bangnamphung Floating Market was formed in an elevated agricultural area near Bangkok which has been conserved by the government since 1977. Apart from the advantages of its suitable location, its efficient leader also plays a vital role in the community. The Chairman of the Administrative Organization of Tambon Bangnamphung is the key person who mainly allocated the budget for developing the tourist attractions continuously and also widely extended the results of tourism development to link with development in other aspects such as transportation, infrastructure, and culture and custom restoration.

For the 4 components of Ecotourism (ecological tourism) namely, (1) Tourist’s allocated area, (2) Management, (3) Activity process, and (4) Participation including public relations and network making for developing tourist attractions both inside and outside the area, the first three components were very well performed. For the fourth component, some improvements are needed, especially in terms of increasing participation and network-making in developing tourist attractions within the districts nearby.

จริยาวัฒน์ โลหะพูนตระกูล. (2553). การพัฒนาและแก้ไขปัญหาชุมชน ด้วยการจัดการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวโดยชุมชน กรณีศึกษาตลาดน้ำบางน้ำผึ้ง อ.พระประแดง จ.สมุทรปราการ. วารสาร มฉก.วิชาการ 14 (27), 1-19.

อ่านบทความฉบับเต็ม

 

การจัดการโลจิสติกสเพื่อสรางความไดเปรียบทางการแขงขัน : กรณีศึกษาบริษัท วี-เซิรฟ โลจิสติกส จำกัด
ก.พ. 21st, 2016 by rungtiwa

การจัดการโลจิสติกสเพื่อสรางความไดเปรียบทางการแขงขัน : กรณีศึกษาบริษัท วี-เซิรฟ โลจิสติกส จำกัด

Logistics Management for The Competitive Advantage : A Case Study of V-Serve Logistics Limited

 

สุนทรี เจริญสุข. (2555). การจัดการโลจิสติกสเพื่อสรางความไดเปรียบทางการแขงขัน : กรณีศึกษาบริษัท วี-เซิรฟ โลจิสติกส จำกัด. วารสาร มฉก. วิชาการ 15 (30), 119-137.

อ่านบทความฉบับเต็ม

การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตเฟอรนิเจอรไมดวยวิธีการพยากรณความตองการ
ก.พ. 21st, 2016 by rungtiwa

การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตเฟอรนิเจอรไมดวยวิธีการพยากรณความตองการ

The Productivity Improvement of Wood Furniture with Demand Forecasting Methods

 

ณรงคเดช เดชทวิสุทธิ์. (2555). การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตเฟอรนิเจอรไมดวยวิธีการพยากรณความตองการ. วารสาร มฉก. วิชาการ 15 (30), 107-117.

อ่านบทความฉบับเต็ม

โครงการพัฒนาคุณภาพอุตสาหกรรมอาหาร และผลิตภัณฑเกษตรแปรรูป OTOP จังหวัดนครนายก
ก.พ. 21st, 2016 by rungtiwa

โครงการพัฒนาคุณภาพอุตสาหกรรมอาหาร และผลิตภัณฑเกษตรแปรรูป OTOP จังหวัดนครนายก

Quality Development in Food Industry and Agricultural Processed Products (OTOP) at Nakhon Nayok Province

บทคัดย่อ:

โครงการวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อเตรียมความพร้อมของผู้ประกอบการในการพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์ OTOP ให้มีคุณภาพตามมาตรฐานที่กำหนด ในอันที่จะเพิ่มขีดความสามารถและศักยภาพรวมทั้งสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างผู้ประกอบการ OTOP หน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจ จากการพัฒนาสินค้าที่ต่อเนื่องครบวงจร โดยมีระเบียบวิธีการวิจัย ดังนี้ ประชากร คือ กลุ่มผู้ประกอบการ OTOP เป้าหมายจำนวน 15 กลุ่ม ตามการคัดสรรของสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดนครนายก ขั้นตอนการวิจัย ได้แก่ การเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับคุณภาพผลิตภัณฑ์ การนำผลิตภัณฑ์ของผู้ประกอบการเข้ารับการตรวจสอบคุณภาพ การสำรวจแหล่งผลิตสินค้าของชุมชนเปรียบเทียบกับเกณฑ์ GMP และการสัมภาษณ์บุคคลที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาคุณภาพอุตสาหกรรมอาหารและผลิตภัณฑ์เกษตรแปรรูป OTOP จังหวัดนครนายก เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบประเมินผลการฝึกอบรม แบบสำรวจ แบบตรวจสอบรายการ และแบบสัมภาษณ์ ผลการวิจัยพบว่า ในด้านระดับความรู้ความเข้าใจของผู้ประกอบการ OTOP ก่อนและหลังการฝึกอบรม ค่าเฉลี่ย และความเบี่ยงเบนมาตรฐาน มีการเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้น กล่าวคือ ระดับความรู้ที่ได้รับก่อนการฝึกอบรมอยู่ในระดับปานกลาง มีค่าเฉลี่ย (x–) เท่ากับ 1.71 แต่เมื่อได้รับการฝึกอบรมแล้วมีความรู้เพิ่มขึ้นในระดับมากมีค่าเฉลี่ย (x–) เท่ากับ 2.68 แสดงให้เห็นว่าการฝึกอบรมเป็นเครื่องมือสำคัญที่ทำให้ผู้ประกอบการธุรกิจชุมชนมีความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาคุณภาพอุตสาหกรรมอาหารและผลิตภัณฑ์เกษตรแปรรูปเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ เมื่อสรุปภาพรวมระดับความพึงพอใจของผู้เข้ารับการฝึกอบรมอยู่ในระดับมากที่สุด คือ มีค่าเฉลี่ย (x–) เท่ากับ 4.21 จากผลการตรวจสอบคุณภาพของผลิตภัณฑ์จากห้องปฏิบัติการปรากฏว่าผลิตภัณฑ์ทั้งหมดผ่านการตรวจสอบสอบ ในด้านศักยภาพของผลิตภัณฑ์ OTOP จากผลการสัมภาษณ์พบว่าจุดแข็งที่สำคัญ ได้แก่ ประการแรก การนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้ในการผลิตสินค้าและสร้างมูลค่าเพิ่มให้เกิดขึ้น ประการที่สอง จังหวัดนครนายกเป็นแหล่งพืชผลทางการเกษตรที่มีความอุดมสมบูรณ์ทำให้มีวัตถุดิบที่มีคุณภาพสำหรับการแปรรูปหรือถนอมอาหาร ประการที่สาม ชุมชนแต่ละกลุ่มได้รับความช่วยเหลือสนับสนุนจากหน่วยงานของทางราชการทั้งในด้านการพัฒนาคุณภาพของผลิต การจัดการธุรกิจ การออกแบบผลิตภัณฑ์ การสร้างช่องทางการตลาด สำหรับจุดอ่อนก็คือ ประการแรก ขาดการเสริมสร้างแนวความคิดในเชิงธุรกิจให้กับชุมชนหรือผู้นำชุมชน หลายชุมชนที่ยังมีจุดอ่อนไม่สามารถพัฒนาและยกระดับผลิตภัณฑ์ให้มีมาตรฐานและเป็นที่ยอมรับของตลาดประการที่สอง ชุมชนยังขาดการพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีหรือการใช้ความรู้ทางเทคนิคที่ทันสมัยมาใช้เพื่อช่วยในการผลิต รวมทั้งการสร้างนวัตกรรมใหม่ของผลิตภัณฑ์ยังอยู่ในขอบเขตที่จำกัด

The objective of this research is to study the preparations of OTOP product quality development by the entrepreneur in order to expand the network of entrepreneurs in cooperation with both public and private sectors. Research methodology was as follows : The subjects are selected among 15 groups of entrepreneurs from Nakhon Nayok Community Development Office. There are 4 steps in this research; quality assessment, product testing, comparing surveys, and interviewing the stakeholders. The research instruments consist of evaluation forms, conducting a survey, a checklist and an interview. The results of this research revealed that the entrepreneurs had a significantly lower understanding before the training with an average and standard deviation. For example, before the training the results show that they only have moderate understanding for (x– = 1.71) but after the training the results show that they have better understanding for (x– = 2.68). The finding of this research indicates that the training program can be used as an instrument to improve entrepreneurs knowledge, understanding and the mportance of quality development. The overall satisfaction of the activities is x– = 4.21 and the results of quality products laboratory testing is satisfactory. Moreover, the results of the interviews with the stakeholders give a lot of information about the OTOP products and its advantage. First of all, all value-added products produce from the wisdom of Nakhon Nayok community. Second, Nakhon Nayok has location for goods materials and natural products. Third, each community is supported by the local government in conducting quality development trainings, administration, product design, and expanding market distribution channels. There’s weakness on the other hand. In the community, there’s a shortage of leaders and lack of creative thinking business strategy such as a lack of technology development and technical know-how to increase productivity. Another weakness is that there is a restriction on new product innovation.

สุพิศพรรณ วัจนเทพินทร และชุติระ ระบอบ. (2555). โครงการพัฒนาคุณภาพอุตสาหกรรมอาหาร และผลิตภัณฑเกษตรแปรรูป OTOP จังหวัดนครนายก. วารสาร มฉก. วิชาการ 15 (30),  89-105.

อ่านบทความฉบับเต็ม

»  Substance:WordPress   »  Style:Ahren Ahimsa