SIDEBAR
»
S
I
D
E
B
A
R
«
การพัฒนาและแก้ไขปัญหาชุมชน ด้วยการจัดการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวโดยชุมชน กรณีศึกษาตลาดน้ำบางน้ำผึ้ง อ.พระประแดง จ.สมุทรปราการ
กุมภาพันธ์ 21st, 2016 by rungtiwa

การพัฒนาและแก้ไขปัญหาชุมชน ด้วยการจัดการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวโดยชุมชน กรณีศึกษาตลาดน้ำบางน้ำผึ้ง อ.พระประแดง จ.สมุทรปราการ

Development and Problem Solving of a Community by Community Based Tourism Management : A case study of Bangnamphung Floating Market, Phrapadaeng District, Samut Prakan Province

บทคัดย่อ:

การศึกษาการพัฒนาและแก้ไขปัญหาชุมชน ด้วยการจัดการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวโดยชุมชนกรณีศึกษาตลาดน้ำบางน้ำผึ้ง อ.พระประแดง จ.สมุทรปราการ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพผสมผสานกับการสำรวจข้อมูลเชิงปริมาณ ประกอบด้วยการสังเกตแบบมีส่วนร่วม การสัมภาษณ์การเข้าร่วมกิจกรรมการสำรวจพื้นที่ และการใช้แบบสอบถาม เพื่อเก็บข้อมูลพื้นฐานของผู้จำหน่ายสินค้าและนักท่องเที่ยว

ผลการวิจัยพบว่า การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวตลาดน้ำบางน้ำผึ้ง ดำเนินการโดยองค์การบริหารส่วนตำบลบางน้ำผึ้ง สามารถแก้ไขปัญหาให้แก่ชุมชนเรื่องผลผลิตทางการเกษตรได้เพราะเป็นการสร้างอาชีพและรายได้ให้แก่ประชาชนในพื้นที่ ความสำเร็จดังกล่าวเป็นผลสืบเนื่องจากปัจจัยภายนอกซึ่งได้แก่ กระแสการส่งเสริมการท่องเที่ยวรูปแบบต่างๆ ของภาครัฐ ที่สร้างความต้องการในการท่องเที่ยวของภาคประชาชนอย่างต่อเนื่อง ควบคู่กับการส่งเสริมแหล่งท่องเที่ยวระดับท้องถิ่น โดยมีปัจจัยภายในคือ พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นสวนเกษตรดั้งเดิมแบบยกท้องร่อง ซึ่งเป็นพื้นที่อนุรักษ์ของภาครัฐมาตั้งแต่ปี 2520 และตั้งอยู่ใกล้กรุงเทพมหานคร ทั้งนี้การมีผู้นำอย่างเป็นทางการที่ดำรงตำแหน่งนายก อบต. ทำให้ สามารถจัดสรรงบประมาณเพื่อการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวได้อย่างต่อเนื่อง รวมถึงสามารถขยายผลการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวไปเชื่อมโยงกับการพัฒนาชุมชนในด้านต่างๆ ได้อย่างกว้างขวาง เช่น การพัฒนาด้านคมนาคม สาธารณูปโภคต่างๆ การรื้อฟื้นวัฒนธรรมประเพณีเป็นต้น ในส่วนของกระบวนการจัดการเพื่อบรรลุตามองค์ประกอบ 4 ด้านของการเป็นแหล่งท่องเที่ยว เชิงนิเวศ ได้แก่ (1) องค์ประกอบด้านพื้นที่ท่องเที่ยว (2) องค์ประกอบด้านการจัดการ (3) องค์ประกอบ ด้านกิจกรรมกระบวนการ และ (4) องค์ประกอบด้านการมีส่วนร่วมรวมถึงการประชาสัมพันธ์และการสร้างเครือข่ายความร่วมมือในการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวทั้งในและนอกพื้นที่ พบว่าทำได้ดีในองค์ประกอบที่ 1-3 หากแต่ต้องพัฒนาเพิ่มเติมในองค์ประกอบที่ 4 ด้านการมีส่วนร่วม และควรสร้างเครือข่ายความร่วมมือในการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวกับพื้นที่ตำบลใกล้เคียงให้มากขึ้น
Development and Problem Solving of a Community by Community Based Tourism Management : A case study of Bangnamphung Floating Market, Phrapadaeng District, Samut Prakan Province was a qualitative research combined with a quantitative survey. An observation of participants, interviews, activity participation, and local area survey were conducted simultaneously. Also a questionnaire was used to collect the basic data of both vendors and tourists at Bangnamphung Floating Market.The study revealed that the establishment and management of Bangnamphung Floating Market by The Administrative Organization of Tambon Bangnamphung (AOTB) assisted local people in selling their agricultural products, launching careers, and increasing their income. Such development success had been derived from an external factor which supports trends launched by the government in various types of tourism to steadily motivate people’s needs in travelling while simultaneously supporting local tourist attractions. Bangnamphung Floating Market is a natural tourist attraction with local distinctions. This Bangnamphung Floating Market was formed in an elevated agricultural area near Bangkok which has been conserved by the government since 1977. Apart from the advantages of its suitable location, its efficient leader also plays a vital role in the community. The Chairman of the Administrative Organization of Tambon Bangnamphung is the key person who mainly allocated the budget for developing the tourist attractions continuously and also widely extended the results of tourism development to link with development in other aspects such as transportation, infrastructure, and culture and custom restoration.

For the 4 components of Ecotourism (ecological tourism) namely, (1) Tourist’s allocated area, (2) Management, (3) Activity process, and (4) Participation including public relations and network making for developing tourist attractions both inside and outside the area, the first three components were very well performed. For the fourth component, some improvements are needed, especially in terms of increasing participation and network-making in developing tourist attractions within the districts nearby.

จริยาวัฒน์ โลหะพูนตระกูล. (2553). การพัฒนาและแก้ไขปัญหาชุมชน ด้วยการจัดการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวโดยชุมชน กรณีศึกษาตลาดน้ำบางน้ำผึ้ง อ.พระประแดง จ.สมุทรปราการ. วารสาร มฉก.วิชาการ 14 (27), 1-19.

อ่านบทความฉบับเต็ม

 


Comments are closed

»  Substance:WordPress   »  Style:Ahren Ahimsa