ศูนย์บรรณสารสนเทศ เป็นศูนย์รวมทรัพยากรสารสนเทศเพื่อการค้นคว้าและเรียนรู้ด้านจีนศึกษาและวิทยาศาสตร์สุขภาพ ดังนั้น ในการจัดหาทรัพยากรสารสนเทศ จึงต้องมีการบริหารจัดการเพื่อให้สอดคล้องกับงบประมาณที่ได้รับจากมหาวิทยาลัย ศูนย์บรรณสารสนเทศ ใช้ระบบห้องสมุด WorldShare Management Services (WMS) เพื่อบริหารจัดการตั้งแต่งบประมาณ การจัดเก็บระเบียนทรัพยากร การให้บริการยืม-คืน และงานอื่น ๆ ที่สนับสนุนงานของศูนย์บรรณสารสนเทศ
งบประมาณที่ได้รับจากมหาวิทยาลัย เริ่มตั้งแต่ตั้งแต่ 1 สิงหาคม – 31 กรกฏาคม (เริ่มนับตามปีการศึกษา) แผนกจัดหาและวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ สามารถดำเนินการจัดทำงบประมาณ โดยยึดหลักเกณฑ์ ดังนี้
หลักเกณฑ์การจัดทำงบประมาณ
การจัดสรรงบประมาณในระบบ WorldShare Management Services WMS ใน Module Acquisition มีวิธีการดังนี้
1. เข้าระบบ WMS ในส่วนของผู้ปฏิบัติงาน เลือก Module Acquisition
หน้าจอจะปรากฎดังนี้
2. คลิก Budget เพื่อเข้าไปจัดการเรื่องงบประมาณ
Read the rest of this entry »
ศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ มีภารกิจที่จะต้องบริหารจัดการ การจัดซื้อทรัพยากรสารสนเทศ เข้าห้องสมุดให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ รองรับกับคณะวิชาที่เปิดสอนในมหาวิทยาลัยโดยที่คณาจารย์และนักศึกษามี ส่วนร่วมในการพิจารณาหรือคัดเลือกหนังสือ การสั่งซื้อหนังสือบางครั้งจำเป็นต้องมีการยืมเงินทดรองจ่ายหรือเงินสดย่อย เพื่อนำไปจัดซื้อทรัพยากรสารสนเทศ
กรณียืมเงินทดรองจ่ายหรือเงินสดย่อยเพื่อนำไปจัดซื้อทรัพยากรสารสนเทศจากภายนอกสถานที่ มีขั้นตอนดังนี้ 1. ทำใบขออนุมัติจัดซื้อทรัพยากรสารสนเทศซึ่งใบขออนุมัติ ประกอบด้วย
1.1 ใบขอเบิกงบประมาณ (ซึ่งเอกสารนี้สามารถขอแบบฟอร์มได้จากกองแผนและพัฒนา
ใบขอเบิกงบประมาร
หมายเลข 1 ใส่เลขที่ออกของหน่วยงาน พร้อมวันที่ออก หมายเลข 2 ใส่ปีงบประมาณการศึกษา หมายเลข 3 ใส่ชื่อหน่วยงานที่ขอเบิกงบประมาณ หมายเลข 4 ใส่รายการเรื่องที่ต้องการขออนุมัติ หมายเลข 5 ลงนามผู้อำนวยการศูนย์บรรณสารสนเทศ
1.2 ใบขออนุมัติ
ใบขออนุมัติจัดซื้อตำราและ ทรัพยากรการเรียนรู้
หมายเลข 1 ใส่เลขที่ออกของหน่วยงาน พร้อมวันที่ออก หมายเลข 2 ใส่เลขที่ใบเสนอราคา หมายเลข 3 ใส่เครื่องหมายถูกด้านหน้าทรัพยากรที่ต้องการจัดซื้อ หมายเลข 4 ลงชื่อผู้ขออนุมัติ และชื่อหัวหน้าแผนกจัดหาฯ หมายเลข 5 ลงนามชื่อผู้อำนวยการศูนย์บรรณสารสนเทศ
การแสดงข้อมูล สถิติในรูปแบบของตัวเลข กราฟ เพื่อสรุปข้อมูลต่าง ๆ ในภาพรวม (Dash Board) เพื่อประโยชน์ในการบริหารจัดการต่อไปนั้น เป็นสิ่งที่ผู้เขียนกำลังศึกษาฟังก์ชั่นงานในระบบ WMS (WorldShare Management Services) โดยการหาข้อมูลเกี่ยวกับ Analytics Reports เพื่อจะได้ทำสถิติการยืม-คืน และพบว่า มีฟังก์ชั่น Circulation Reports ที่สามารถทำ Circulation Dashboard ได้
รูปที่ 1 แสดงสถิติการยืมในรูปของ Dash Board
จากรูปที่ 1 จะเห็นได้ว่ายอดการจองหนังสือน้อย เนื่องจากขณะที่เขียนเป็นช่วงมหาวิทยาลัยปิดการเรียนการสอน ช่วง COVID-19 ห้องสมุดก็จะสามารถเห็นข้อมูลเหล่านี้และวางแผนกันต่อไปได้ Read the rest of this entry »
เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๓ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเฉลิมพระเกียรติ ก่อตั้งด้วยมูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง ในวาระครบรอบ ๘๐ ปี คณะกรรมการมูลนิธิฯ ได้มีมติความคิดเห็นตรงกัน ที่มูลนิธิฯ จะจัดให้มีการเฉลิมฉลองพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ที่ได้ทรงปกครองอาณาประชาราษฎร์ทุกหมู่เหล่า ทุกเชื้อชาติ ศาสนาให้มีความร่มเย็นสมานฉันท์ มีเจตจำนงที่จะช่วยส่งเสริมบำรุงการศึกษาระดับสูงของประเทศให้รุ่งเรืองขึ้น จึงเกิด “โครงการมหาวิทยาลัยของมูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง” โดย ดร.อุเทน เตชะไพบูลย์ ประธานคณะกรรมการอำนวยการ ได้บริจาคเงิน ๑๐๐ ล้านบาท เป็นท่านแรก และได้รณรงค์ขอรับสนับสนุนเงินบริจาค ผู้มีจิตศรัทธาทั้งภาครัฐและเอกชน จากนักธุรกิจ คหบดี ธนาคาร องค์การธุรกิจและองค์กรการกุศล ตลอดจนประชาชนชาวไทยและชาวต่างชาติ เรียกว่า “คณะผู้ก่อตั้ง” มหาวิทยาลัยฯ ตั้งแต่ ๑๐ ล้านบาทเป็นต้นไป ดร.สุขุม นวพันธ์ เป็นผู้หนึ่งที่ได้รับการเชิญให้ร่วมบริจาคด้วย โดย ดร.สุขุมฯ ได้ให้สัมภาษณ์ไว้ในหนังสือ ๙๐ ปี มูลนิธิป่อเต็กตึ๊งบนเส้นทางประวัติศาสตร์สังคมไทย : ประวัติศาสตร์จากคำบอกเล่า ความว่า
“…วันหนึ่ง คุณอุเทนกับผมเล่นกอล์ฟด้วยกัน ท่านบอกว่ากำลังดำริจะก่อตั้งมหาวิทยาลัยขึ้นแห่งหนึ่งชื่อหัวเฉียว และท่านเองก็จะบริจาคหอประชุมในนามบิดาท่าน ๑๐๐ ล้านบาท ผมก็เรียนท่านว่าเป็นความคิดและโครงการที่ดี ผมจะขอบริจาค ๒๐ ล้านบาท สร้างตึกห้องสมุดเพื่อเป็นที่ระลึกคุณพ่อผม ฉะนั้น คุณอุเทนถือว่าเป็นผู้บริจาครายแรก และผมก็เป็นผู้บริจาครายที่สอง …” Read the rest of this entry »
ถอดรหัสความหมายภาพมงคลตรุษจีน บรรยายโดย ดร.เจษฎา นิลสงวนเดชะ อาจารย์ประจำคณะมนุษยศาสตร์และประยุกต์ศิลป์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เมื่อวันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2563 ณ ห้อง 1111 C ชั้น 11 อาคาร ซี.พี.ทาวเวอร์ ถ.สีลม กทม. จัดโดย อาศรมสยาม-จีนวิทยา วิทยากรได้นำภาพมงคลต่าง ๆ มาเป็นตัวอย่าง และกล่าวถึงที่มาของภาพ ซึ่งภาพมงคลของจีนแต่ละภาพ ล้วนต้องมีความหมาย
ภาพมงคล (จี๋เสียงถูอ้าน (ถูอ้าน = ภาพ)) คือ ภาพที่เป็นศิริมงคล สิ่งที่นำมา เพื่อความเป็นมงคล ของจีนต้องนำมาในสิ่งที่ต้องการ คำว่า จี๋เสียง เริ่มใช้สมัยจ้านกว๋อ จนถึงสมัยราชวงศ์ถัง เป็นเรื่องราวความสุข วาสนา มงคล กุศลธรรม คำว่า เสียง เป็นมิติหมายแห่งความปิติยินดี เฉลิมฉลอง มีความหมายเหมือนกับภาษาไทย คือ สิริมงคล เหตุที่นำมาซึ่งความเจริญ ภาพวาดมงคลนี้ ใช้ติดในเทศกาลตรุษจีน เป็นภาพงานฝีมือ ใช้เวลาในการวาด 4-5 เดือน จึงมีราคาสูง กลายเป็นของขวัญล้ำค่า ภาพที่ติดให้เห็นทั่วไป มักจะเป็นภาพพิมพ์จากภาพวาด ภาพเหล่านี้แฝงอยู่ในชีวิตประจำวันของจีน ไม่ว่าจะเป็นข้าวของเครื่องใช้ ลายผ้า ภาพวาด ลายตุ๊กตา ลายกระเป๋า ภาพมงคลของจีน ภาพต้องมีความหมาย ความหมายต้องเป็นมงคล ภาพที่เป็นมงคล ต้องมีมงคล 4 ประการ คือ ฟู่ (ทรัพย์สินเงินทอง) กุ้ย (ล้ำค่า มีค่ามาก) โซ่ว (อายุยืนยาว) สี่ (ยินดี)
คนจีนทำความสะอาดบ้านแล้วจะหาซื้อภาพ (ภาพที่วาดในกระดาษ (เหนียนฮว้า = จื่อฮว้า)) มาติด ประดับประดา เนื้อหายุคแรกจะเป็นเทพเจ้า เช่น เทพทวารบาล เพื่อป้องกันสิ่งที่ไม่ดีเข้ามา ติดที่หน้าพระราชวัง พระตำหนักต่างๆ
วิทยากรได้นำภาพจากหมู่บ้านหยางหลิ่วชิง (หยาง คือ ต้นหยาง หลิ่วชิง คือ มีความเขียวขจี) เมืองเทียนจิน อยู่ใกล้ปักกิ่ง เป็นหมู่บ้านที่ทำภาพวาดทั้งหมู่บ้าน ทุกบ้านมีความถนัดในการวาดภาพ ลงสี ระบายสี แต่ทุกวันนี้ ก็จะลดน้อยลง มีกระดาษ ที่ใช้เขียนพู่กันจีน สารส้ม ใส่ในสี เพราะสีจะไม่หลุดง่าย น้ำหมึก สีหลากหลาย เน้น ยี่ห้อตราหัวม้า เพราะคงทน สีฉูดฉาดสวยงาม
ขั้นตอนการทำมี 5 ขั้นตอน ดังนี้
ทั้งนี้สามารถติดตามชมการบรรยายได้ที่
คลิปบรรยาย
หรือ https://www.youtube.com/watch?v=DCU5Y6m_hQE
ผู้เขียนได้รับมอบหมายให้ทำการเปลี่ยน Location ของหนังสือจากศูนย์บรรณสารสนเทศ (วข.ยศเส) มาที่ศูนย์บรรณสารสนเทศ (บางพลี) โดยระบุตำแหน่งหนังสือและสถานที่จัดวางหนังสือเล่มนั้น ๆ เพื่อให้ทราบแหล่งจัดเก็บสารสนเทศดังกล่าว โดยได้ทำการโอนย้ายข้อมูลบาร์โค้ดหนังสือในแต่ละเล่มเพื่อความถูกต้องและสมบูรณ์ ซึ่งมีขั้นตอนและรายละเอียดดังนี้
1.เข้าระบบ World Share Management Services (WMS) https://hcu.share.worldcat.org/wms/cmnd/ แล้ว Login จะปรากฏหน้าจอดังนี้ Read the rest of this entry »
วิธีการ Shift row down และ Shift row up. ด้วยการแก้ไขการสลับบรรทัดใน Bibliographic Record ของระบบห้องสมุด WorldShare Management Services (WMS)
จากการที่ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการเปลี่ยน Location ของสาขาวิชา สหกิจศึกษา โครงงานพิเศษ และงานวิจัย ของนักศึกษาปริญญาตรีมาแก้ไขหมวดหมู่นั้น ได้พบว่าในบางส่วนของ Master record เช่น tag 700 ยังมีจุดที่ต้องสลับสับเปลี่ยนบรรทัด คือ การสลับบรรทัดขึ้นลงก่อนหลังในตำแหน่งที่ปรึกษาและที่ปรึกษาร่วมอยู่ ซึ่งต้องมีการแก้ไขในส่วนนี้ให้ถูกต้องตามตำแหน่งและหน้าที่ก่อนหลัง ดังนั้นจึงขออธิบายสัญลักษณ์ที่ทำการเปลี่ยนให้ tag ต่างๆ สลับบรรทัด คือ Shift row down กับ Shift row up. ในบรรทัดที่มีเครื่องหมาย ลูกศร ขึ้นลง ซึ่งจะทำให้การทำงานสะดวกและย่นระยะเวลาในการแก้ไขง่ายขึ้น โดยไม่ต้องพิมพ์หรือ copy วางให้สับสนบรรทัด ดังนี้
ขั้นตอนที่ 1 ไปที่โมดูล Metadata แล้วค้นหาชื่อเรื่องที่ต้องการแก้ไข เช่น เรื่อง ยาอมสารสกัดหญ้าดอกขาว* Read the rest of this entry »
การสืบค้นวิทยานิพนธ์ ทำได้หลายวิธี แล้วแต่ความถนัด หรือเทคนิคของแต่ละคน ในบางครั้ง อาจจะมีความต้องการสืบค้นว่า วิทยานิพนธ์ในสาขาที่ศึกษาอยู่นั้น มีรายชื่อใดบ้าง แต่ทั้งนี้ การสืบค้นด้วยสาขาวิชา หรือหลักสูตร ต้องขึ้นอยู่กับว่าในระเบียนการลงรายการวิทยานิพนธ์นั้น มีการใส่ข้อมูลสาขาวิชา หรือหลักสูตร เป็นคำค้นด้วยหรือไม่
ศูนย์บรรณสารสนเทศ ได้อำนวยความสะดวกในการค้นหาวิทยานิพนธ์ ให้ได้ตรงตามสาขาวิชาที่เปิดให้มีการเรียนการสอนในมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ จึงขอแนะนำวิธีการสืบค้นวิทยานิพนธ์ จากสาขาวิชา โดยมีแนวทางดังนี้
ตัวอย่าง คำค้นที่เลือกใช้โดยต้องการค้นวิทยานิพนธ์ การสอนภาษาจีน ใช้คำค้นคือ Teaching Chinese (Huachiew Chalermprakiet Unversity) ที่ subject แล้ว search ปรากฎหน้าจอที่ 2 Read the rest of this entry »
สิ่งพิมพ์ มฉก. คือสิ่งพิมพ์ที่ผลิตโดยหน่วยงานของมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ เช่น รายงานเอกสารการอบรม เอกสารประกอบการประชุม หลักสูตร หรือรายงานกิจกรรมต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัย เป็นต้น
เนื่องจากสิ่งพิมพ์ มฉก. ในศูนย์บรรณสารสนเทศ ให้บริการอยู่ที่ชั้นทั่วไปมีจำนวนมาก มากทั้งในจำนวนชื่อเรื่อง และจำนวนฉบับ และในปัจจุบัน มีเนื้อหาที่ไม่สอดคล้องกับการใช้ ทำให้ต้องพิจารณาทบทวนการจัดเก็บสิ่งพิมพ์ มฉก. อีกครั้ง โดยรวบรวมตั้งแต่ปีพิมพ์เริ่มต้น – ปัจจุบัน จัดเก็บเพียงจำนวน 1 ฉบับ ไว้ในหอจดหมายเหตุ เพื่อให้เป็นหลักฐานว่ามหาวิทยาลัยเคยมีการผลิตสิ่งพิมพ์ชื่อใดบ้าง ส่วนบางรายชื่อที่มีจำนวนมากเกินไป มีการพิจารณาจำหน่ายออกบ้าง ที่มีการให้บริการที่ชั้นทั่วไปพิจารณาจำนวนฉบับตามความเหมาะสมกับการใช้ ดังนั้น สิ่งพิมพ์ มฉก. ที่มีการจัดเก็บไว้หอจดหมายเหตุ จึงต้องมีการกำหนด Collection ไว้ในระบบ เพื่อให้ทราบว่า สามารถขอใช้บริการได้ที่หอจดหมายเหตุ ซึ่งหอจดหมายเหตุ มีระบบการจัดเก็บในลักษณะของจดหมายเหตุ และให้บริการเป็นชั้นปิด
ผู้เขียนได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบปรับเปลี่ยน Collection สิ่งพิมพ์ มฉก. ที่จัดเก็บไว้ในหอจดหมายเหตุ โดยมีหลักการปฎิบัติ คือ
1. สืบค้นรายการสิ่งพิมพ์ที่ต้องการจะปรับเปลี่ยนในฐานข้อมูลระบบ WorldShare Management Services (WMS) (ดังรูป)
2. ในส่วนของ LBD (ส่วนที่ 2) จะต้องแก้ไข จากเดิมที่มีการวิเคราะห์หมวดหมู่ใน 590 จะต้องปรับเปลี่ยนมาใช้ Tag. 592 โดยกำหนดคำว่า Arc. ซึ่งย่อมาจากคำว่า Archive หมายถึง จดหมายเหตุ เพื่อต้องการแจ้งให้ทราบว่า อยู่ที่หอจดหมายเหตุ (ดังรูป) Read the rest of this entry »
มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ได้เปิดการเรียนการสอนระดับบัณฑิตศึกษา เมื่อปี 2548 มีการเรียนการสอนทั้งสองวิทยาเขต คือ วิทยาเขตยศเส และวิทยาเขตบางพลี จัดแหล่งทรัพยากรสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการเรียนการสอน คือ ห้องสมุด ไว้ทั้งสองวิทยาเขต ปี 2562 ได้มีการปรับปรุงระบบการเรียนการสอนระดับบัณฑิตศึกษา และบางหลักสูตรของคณะพยาบาลศาสตร์ ซึ่งมีการเรียนการสอนอยู่ที่วิทยาเขตยศเส ให้มาเรียนรวมกันที่วิทยาเขตบางพลีเพียงแห่งเดียว ห้องสมุดที่วิทยาเขตยศเส จึงต้องมีการขนย้ายทรัพยากรสารสนเทศมาให้บริการที่ศูนย์บรรณสารสนเทศ วิทยาเขตบางพลี ทรัพยากรสารสนเทศที่มีในห้องสมุดยศเส นั้น เป็นหนังสือทางด้านพยาบาลศาสตร์เป็นส่วนมาก จึงต้องทำการขนย้ายกลับไป
แนวทางการพิจารณาหนังสือที่จะขนย้ายมาให้บริการที่ศูนย์บรรณสารสนเทศ วิทยาเขตบางพลี Read the rest of this entry »