SIDEBAR
»
S
I
D
E
B
A
R
«
ผลของโปรแกรมแรงสนับสนุนทางสังคมต่อความไม่มั่นคง ในผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ได้รับการรักษาด้วยยาเคมีบำบัด
ก.พ. 11th, 2016 by supaporn

ผลของโปรแกรมแรงสนับสนุนทางสังคมต่อความไม่มั่นคง ในผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ได้รับการรักษาด้วยยาเคมีบำบัด (Effectiveness of Social Support Program on Vulnerability in Patient with Breast Cancer Receiving Chemotherapy)

บทคัดย่อ:

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงกึ่งทดลอง โดยใช้รูปแบบกลุ่มเดียว วัด 2 ครั้ง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะของความไม่มั่นคงและผลของโปรแกรมแรงสนับสนุนทางสังคม ต่อการลดความไม่มั่นคงในผู้ป่วยมะเร็งเต้านม ที่รับการรักษาด้วยยาเคมีบำบัดที่มารับบริการ ณ ศูนย์มะเร็ง โรงพยาบาลระดับตติยภูมิแห่งหนึ่งในภาคตะวันตก คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงตามคุณสมบัติที่กำหนดจำนวน34 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลประกอบด้วยแบบประเมินความไม่มั่นคง และโปรแกรมแรงสนับสนุนทางสังคม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาคือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและสถิติค่าที ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ ลักษณะความไม่มั่นคงของกลุ่มตัวอย่างพบว่า กลุ่มตัวอย่างรู้สึกกระวนกระวายใจกับผลการรักษามากที่สุดร้อยละ 64.71 (x–=1.44, S.D.=0.660) รองลงมาคือ รู้สึกถึงความไม่แน่นอนของระยะเวลาในการมีชีวิตอยู่ร้อยละ 61.76 (x–=1.50, S.D.=0.749) และรู้สึกว่าการเจ็บป่วยด้วยโรคนี้ต้องบอกให้สมาชิกในครอบครัวหรือบุคคลที่ไว้วางใจรับทราบคิดเป็นร้อยละ 61.76 (x–=3.29, S.D.=1.031) สิ่งที่ผู้ป่วยรู้สึกน้อยที่สุดคือ ไม่ต้องการพูดถึงการเจ็บป่วยครั้งนี้ร้อยละ 5.88 (x–=3.32, S.D.=0.912) ค่าคะแนนเฉลี่ยของความไม่มั่นคงก่อนและหลังให้โปรแกรมแรงสนับสนุนทางสังคมในกลุ่มตัวอย่างมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ p < .000 ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่า การใช้โปรแกรมแรงสนับสนุนทางสังคม ช่วยให้ความไม่มั่นคงในผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ได้รับการรักษาด้วยยาเคมีบำบัดลดลง ซึ่งสามารถนำไปประยุกต์ใช้ลดความไม่มั่นคงในผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่รับการรักษาด้วยยาเคมีบำบัดในหน่วยเคมีบำบัดต่อไป

This quasi-experimental research was a group pretest-posttest design. The purposes of this study were to explore the characteristics of vulnerability and the effect of social support program on vulnerability in people with breast cancer under chemotherapy. Thirty-four eligible patients with purposive sampling were recruited from a cancer center (a tertiary care hospital) located in the western part of Thailand. The tools were composed of a demographic information recording form, the vulnerability questionnaire, and social support program (SSP). Descriptive statistics including
percentages, means, and standard deviations and the paired t-test were used to analyze data. The results revealed that in terms of vulnerability, patients reported feelings affecting the treatment at most including anxiety feeling 64.71% (x–=1.44, S.D.=0.660), uncertain feeling 61.76% (x–=1.50, S.D.=0.749), the need to inform family members or trust persons 61.76 (x–=3.29, S.D.=1.031), respectively. Patients reported least scores of the item of not wanting to discuss about the symptom 5.88% (x–=3.32, S.D.=0.912). After receiving the social support program, the average score of vulnerability was significantly higher than that of before at the significant level of p<.000). SSP could decrease the vulnerability in patients with breast cancer under chemotherapy. Therefore, the SSP can be applied to lower the vulnerability of patients with breast cancer under chemotherapy in other centers.

นภรรสสร กูรมาภิรักษ์ นภาพร แก้วนิมิตชัย และ วนิดา ดุรงค์ฤทธิชัย. (2558). ผลของโปรแกรมแรงสนับสนุนทางสังคมต่อความไม่มั่นคง ในผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ได้รับการรักษาด้วยยาเคมีบำบัด. วารสาร มฉก. วิชาการ,19 (37), 105-116.

อ่านบทความฉบับเต็ม

การจัดการความเสี่ยงเพื่อป้องกันการเกิดภาวะหัวใจล้มเหลวซ้ำที่บ้านแบบมีส่วนร่วมโดยพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน
ก.พ. 11th, 2016 by supaporn

การจัดการความเสี่ยงเพื่อป้องกันการเกิดภาวะหัวใจล้มเหลวซ้ำที่บ้านแบบมีส่วนร่วมโดยพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน (Risk Management Participation for Preventing the Recurrent of Congestive Heart Failure at Home by Community Nurse Practitioners)

บทคัดย่อ:

การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยเสี่ยงที่มีผลต่อการเกิดภาวะหัวใจล้มเหลวซ้ำ พัฒนารูปแบบการจัดการความเสี่ยงร่วมกันระหว่างผู้ป่วย ครอบครัว และบุคลากรสาธารณสุข และเพื่อศึกษาผลของรูปแบบการจัดการความเสี่ยงที่พัฒนาขึ้นโดยพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน กลุ่มเป้าหมายหลัก คือ ผู้ป่วยโรคหัวใจขาดเลือดครั้งแรกอายุ 60 ปีขึ้นไป อาศัยประจำในชุมชนเซนต์หลุยส์ กรุงเทพมหานคร จำนวน 30 ราย กลุ่มเป้าหมายรอง ได้แก่ ครอบครัว/ผู้ดูแล แพทย์อายุรกรรมหัวใจ พยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน พยาบาลวิชาชีพ เภสัชกร นักโภชนาการ และนักกายภาพบำบัด เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม และการสังเกตแบบมีส่วนร่วม ได้ความแม่นตรงตามเนื้อหาเท่ากับ 0.92 และค่าความเชื่อมั่นโดยรวมเท่ากับ 0.88 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน paired t-test และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า ปัจจัยเสี่ยงที่มีผลต่อการเกิดภาวะหัวใจล้มเหลวซ้ำอย่างมีนัยสำคัญ คือ การรับรู้อุปสรรคในการป้องกันการเกิดภาวะหัวใจล้มเหลวซ้ำ สำหรับปัจจัยครอบครัว คือ การรับรู้ ความรุนแรงของภาวะหัวใจล้มเหลวซ้ำในผู้ป่วยรูปแบบการจัดการความเสี่ยงที่พยาบาลเวชปฏิบัติชุมชนโน้มน้าวให้พัฒนาขึ้น ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ 1) ร่วมกันรับรู้ปัจจัยเสี่ยง 2) ร่วมกันกำหนดบทบาทใหม่ในการประเมินหรือวิเคราะห์ความเสี่ยง 3) ลงมือปฏิบัติจัดการความเสี่ยงโดยผู้ป่วย ครอบครัว/ผู้ดูแล และบุคลากรสาธารณสุข 4) ติดตามผลลัพธ์การจัดการความเสี่ยงกิจกรรมที่ร่วมกันออกแบบ คือ คู่มือป้องกันและแนวปฏิบัติการจัดการความเสี่ยงเพื่อป้องกันภาวะหัวใจล้มเหลวซ้ำที่บ้านสำหรับบุคลากรสาธารณสุข ภายหลังการพัฒนารูปแบบ พบว่า ผู้ป่วยมีพฤติกรรมสุขภาพเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) น้ำหนักตัวลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) และการรับรู้อุปสรรคในการป้องกันภาวะลดลงอย่างมีนัยสำคัญ (p<0.05) ด้านครอบครัว/ผู้ดูแล พบว่า การรับรู้ความรุนแรงเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) และพฤติกรรมการป้องกันภาวะหัวใจล้มเหลวซ้ำในผู้ป่วยเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05)
The purpose of this action research aimed to study the risk factors of congestive heart failure recurrent situation, develop the system of risk management in parcipitation among patients, family and medical profession and study the result of the developed system by Community Nurse Practitioners. Major perspective samples were 30 ischemic heart disease’patients aged 60 years or higher resided in St.Louis community Bangkok Metropolitan. The first thing doctor found was the occurrence of CHF and treated was continuingly tor at least 1 year at St.Louis hospital. Minor perspective samples were relations , caregivers, cardiologist, community nurse practitioners, profesional nurses, pharmacists, nutritionists and physical therapists. Data collection was carried out using the questionnaires, interviews and participatory notifications. Data analysis was performed using paired t-test and content analysis.The result showed that the risk factors of CHF’s recurrent situation included patient and family factors. Patient factor was perceived barriers, family factor was perceived severity. The developed risk management system by Community Nurse Practitioners consisted 4 steps. First, know the risk factors together; secondly,set the new role for risk evaluation and analysis, thirdly, doing the risk management in action by relations caregivers and medical profession: and finally, follow the result of the risk managements. The risk management activity was the manual of the recurrent CHF prevention for patients, relations and caregivers, included the symptoms observation and symptoms of the recurrent situation at home, and the way to management risk of the recurrent situation for medical profession. After the system was developed, health behavior developed significantly (p<0.05); patient’s weight after developed system was reduced significantly (p<0.05), perceived barriers were reduced significantly (p<0.05), and relations and caregiver found that perceived severity was increased significantly (p<0.05).

นิตยา ทานันท์ วนิดา ดุรงค์ฤทธิชัย  กมลทิพย์ ขลังธรรมเนียม จิตร สิทธีอมร. (2558). การจัดการความเสี่ยงเพื่อป้องกันการเกิดภาวะหัวใจล้มเหลวซ้ำที่บ้านแบบมีส่วนร่วมโดยพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน. วารสาร มฉก. วิชาการ ,19 (37), 89-103.

อ่านบทความฉบับเต็ม

 

การสอนภาคปฏิบัติของพยาบาลพี่เลี้ยงและแนวทางการพัฒนาระบบพยาบาลพี่เลี้ยง คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
ก.พ. 11th, 2016 by supaporn

การสอนภาคปฏิบัติของพยาบาลพี่เลี้ยงและแนวทางการพัฒนาระบบพยาบาลพี่เลี้ยง คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ (Clinical Teaching of Preceptors and Directions for Preceptorship Development, Faculty of Nursing, Huachiew Chalermprakiet University)

บทคัดย่อ:

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยาย (descriptive research) มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาคุณภาพการสอนภาคปฏิบัติของพยาบาลพี่เลี้ยง กลุ่มตัวอย่างมี 2 กลุ่ม คือ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้เก็บข้อมูลเชิงปริมาณ จำนวน 227 ราย (นักศึกษาชั้นปีที่ 3 จำนวน 110 ราย นักศึกษาชั้นปีที่ 4 จำนวน 117 ราย) สำหรับกลุ่มตัวอย่างการเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพ จำนวน 29 ราย (นักศึกษาชั้นปีที่ 3 ที่เคยเรียนวิชาภาคปฏิบัติกับพยาบาลพี่เลี้ยง จำนวน 7 ราย อาจารย์ประธานรายวิชาปฏิบัติการการพยาบาล จำนวน 3 ราย พยาบาลพี่เลี้ยง จำนวน 10 ราย พยาบาลวิชาชีพที่เป็นผู้ร่วมงานกับพยาบาลพี่เลี้ยงอย่างน้อย 2 ปีจำนวน 4 ราย และหัวหน้าหอผู้ป่วยในแหล่งฝึกปฏิบัติที่มีพยาบาลพี่เลี้ยง จำนวน 5 ราย เครื่องมือที่ใช้ในส่วนของเชิงปริมาณ ได้แก่ แบบสอบถามคุณภาพการสอนภาคปฏิบัติของพยาบาลพี่เลี้ยง และเครื่องมือที่ใช้ในส่วนของเชิงคุณภาพ ได้แก่ แนวคำถามสำหรับการสัมภาษณ์เชิงลึก และแนวคำถามสำหรับการสนทนากลุ่ม ซึ่งเครื่องมือได้ผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหา (content validity) และทดสอบความเชื่อมั่น (reliability) ของแบบสอบถามคุณภาพการสอนภาคปฏิบัติของพยาบาลพี่เลี้ยงได้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค (Cronbach’s alpha coefficient) 0.95 การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้การวิเคราะห์ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ สถิติ MannWhitney U test ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพ ใช้การวิเคราะห์เนื้อหา (content analysis) ผลการวิจัย พบว่า คุณภาพการสอนภาคปฏิบัติของพยาบาลพี่เลี้ยงในด้านคุณลักษณะความเป็นครูโดยรวมอยู่ในระดับมาก (x– =4.48, SD=.494) และ ด้านการดำเนินการสอนของพยาบาลพี่เลี้ยง พบว่าเกือบทั้งหมดมีคุณภาพอยู่ในระดับมาก ถึง มากที่สุด คือ ความสามารถในการแก้ปัญหาการฝึกปฏิบัติของนักศึกษา (x– =4.54, SD=.583) รองลงมา คือ นักศึกษาได้รับความรู้ ประสบการณ์ และเกิดทักษะจากการฝึกปฏิบัติ (x– =4.46, SD=.549) นอกจากนี้ พบว่า นักศึกษาชั้นปีที่ 3 และ 4 มีคะแนนความคิดเห็นต่อคุณลักษณะความเป็นครูของพยาบาลพี่เลี้ยงและลักษณะการดำเนินการสอนภาคปฏิบัติโดยรวมแตกต่างกัน (p<.001) ส่วนผลการศึกษาเชิงคุณภาพประกอบด้วย 3 ประเด็นหลัก คือ ประเด็นหลักที่ 1 ปัญหาของพยาบาลพี่เลี้ยงในการสอนภาคปฏิบัติ ซึ่งประกอบด้วย 2 ประเด็นรอง คือ ปัญหาของการนิเทศนักศึกษา และ ปัญหาความรู้ทางทฤษฎีไม่ได้รู้ลึกซึ้งมาก ประเด็นหลักที่ 2 ความต้องการของพยาบาลพี่เลี้ยงในการพัฒนาการสอน ประกอบด้วย 1 ประเด็นรอง คือ ความต้องการที่จะพัฒนาความรู้และประเด็นหลักที่ 3 แนวทางในการพัฒนาพยาบาลพี่เลี้ยงให้มีประสิทธิภาพ ประกอบด้วย 2 ประเด็นรองคือ การได้มาซึ่งพยาบาลพี่เลี้ยง และระบบการเรียนการสอนและการติดตามผล

This research was a descriptive research, which aimed to study the preceptors’quality of clinical teaching. The samples of the quantitative research part were 227 nursing students, which consisted of 110 junior nursing students, and 117 senior nursing students. The samples of the qualitative research part were 7 junior nursing students who used to study with preceptors, 3 nursing instructors who were heads of nursing practice course, 10 preceptors, 4 registered nurses who had worked with preceptors, and 5 head nurses who were in the ward that preceptors have worked. The instrument of the quantitative research was the preceptors’ quality of clinical teaching questionnaire, whereas the instruments of the qualitative research were in-depth interview guidelines, and focus group guidelines. These instruments were validated and tested. The Cronbach’s alpha coefficient of preceptors’ quality of clinical teaching questionnaire was 0.95. For data analysis, the quantitative research part applied frequency, mean, standard deviation, and Mann-Whitney U test, whereas content analysis was used as data analysis in the part of qualitative research. The results revealed that the overall of the preceptors’ quality of clinical teaching specially on teacher characteristics was high level (x–=4.48, SD=.494). For the process of the preceptors’ teaching, it was found that almost all of the processes were high to highest level of quality, especially on the ability to solve the problem of the nursing students’ during their practices (x–=4.54, SD=.583). The second high level of quality was the acquiring knowledge, experiences, and skills of nursing students from their practices (x–=4.46, SD=.549). The comparison between the junior nursing students’ opinions and the senior nursing students’ opinions on the preceptors’ quality of clinical teaching showed that there were overall differences between the opinions on the characteristics of being a teacher and the process of clinical teaching (p<.001). In qualitative findings, it was found that there were three themes. The first theme was the problems of the receptors in their clinical teaching, which consisted of the problem of supervising students, and the problem of not having profound theoretical knowledge. The second theme was the demand of preceptors in teaching development, which consisted of the demand of knowledge development. The third theme was the direction for preceptorship development to apply their clinical teaching effectively, which consisted of the processes of obtaining preceptors, and the systems of teaching-learning and evaluations.

 

กนกพร นทีธนสมบัติ รัชนี นามจันทรา พรศิริ พันธสี และ อิสรีย์ เหลืองวิลัย. (2558). การสอนภาคปฏิบัติของพยาบาลพี่เลี้ยงและแนวทางการพัฒนาระบบพยาบาลพี่เลี้ยง คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ. วารสาร มฉก. วิชาการ,19 (37), 71-88.

อ่านบทความฉบับเต็ม

ผลผลิตชีวมวลและประสิทธิภาพการบำบัดน้ำเสียของสาหร่ายสไปรูลินา TISTR 8222
ก.พ. 10th, 2016 by supaporn

ผลผลิตชีวมวลและประสิทธิภาพการบำบัดน้ำเสียของสาหร่ายสไปรูลินา TISTR 8222 (Biomass Production and Wastewater Treatment Efficiency of Spirulina TISTR 8222)

บทคัดย่อ:

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยในการเพาะเลี้ยง ปริมาณผลผลิตชีวมวลที่ได้จากการเพาะเลี้ยง ประสิทธิภาพการบำบัดน้ำเสีย และวิธีการเก็บเกี่ยวผลผลิตชีวมวลของสาหร่ายสไปรูลินา สายพันธุ์ TISTR 8222 โดยการศึกษาแบ่งเป็น 3 ส่วน ได้แก่ 1) การเพาะเลี้ยงด้วยอาหารที่มีสารอินทรีย์ (ซีโอดี) เป็นส่วนประกอบในปริมาณ 120, 220 และ 320 มิลลิกรัมต่อลิตร 2) การทดลองบำบัดน้ำเสียโดยใช้แบบจำลองการบำบัดน้ำเสียแบบเปิดและแบบเปิดเติมอากาศ 4 ชุดทดลอง คือ ชุดทดลองแบบเปิดเติมอากาศที่มีการเพิ่มแสงประดิษฐ์ ชุดทดลองแบบเปิดที่มีการเพิ่มแสงประดิษฐ์ ชุดทดลองแบบเปิดเติมอากาศที่ใช้แสงธรรมชาติ และชุดทดลองแบบเปิดที่ใช้แสงธรรมชาติ 3) การศึกษาวิธีเก็บเกี่ยวผลผลิตชีวมวลของสาหร่ายสไปรูลินาด้วยวิธีจาร์เทส จากผลการวิจัย พบว่า ปัจจัยหลักในการเพาะเลี้ยง ได้แก่ ปริมาณแสงสว่างในช่วง 3,620-3,980 ลักซ์ โดยไม่จำเป็นต้องมีแหล่งคาร์บอน และสามารถทำการเพาะเลี้ยงได้ที่อุณหภูมิห้อง (26-30˚ องศาเซลเซียส) ซึ่งจากผลการทดลองเพิ่มแหล่งคาร์บอนในรูปของซีโอดี พบว่า ไม่สามารถช่วยเพิ่มผลผลิตชีวมวลของสาหร่ายสไปรูลินาได้ โดยปริมาณผลผลิตชีวมวลเมื่อทำการเพาะเลี้ยงเป็นระยะเวลา 27 วัน มีค่าเท่ากับ 1,731, 1,996 และ 1,637 มิลลิกรัมต่อลิตร อัตราการเพิ่มผลผลิตชีวมวลเท่ากับ 52.0, 61.5 และ 47.7 มิลลิกรัมต่อลิตรต่อวัน สำหรับชุดการทดลองที่มีสารอินทรีย์เป็นส่วนประกอบในอาหารที่ใช้ในการเพาะเลี้ยง 120, 220 และ 320 มิลลิกรัมต่อลิตร ตามลำดับ และสามารถประมาณการปริมาณผลผลิตชีวมวลได้โดยใช้สมการเส้นตรงหลังจากทำการเพาะเลี้ยงได้ 5 วัน นอกจากนี้ ผลการศึกษาประสิทธิภาพการบำบัดน้ำเสียของสาหร่ายสไปรูลินาโดยใช้ระบบบำบัดแบบเปิดและแบบเปิดเติมอากาศ เมื่อทำการบำบัดเป็นระยะเวลา 19 วัน โดยใช้น้ำเสียที่ผ่านการฆ่าเชื้อ พบว่า สามารถบำบัดซีโอดีได้ ร้อยละ 80, 82, 87 และ 83 บำบัดทีเคเอ็นได้ ร้อยละ 84, 91, 89 และ 40 และบำบัดฟอสฟอรัสทั้งหมดได้ ร้อยละ 32, 38, 25, และ 43 สำหรับชุดการทดลองที่ใช้น้ำเสียที่ไม่ผ่านการฆ่าเชื้อมีประสิทธิภาพการบำบัดซีโอดี ร้อยละ 79, 78, 83 และ 86 บำบัดทีเคเอ็น ร้อยละ 85, 89, 80 และ 51 และบำบัดฟอสฟอรัส ร้อยละ 31, 0, 0 และ 22 สำหรับชุดการทดลองที่ 1-4 ตามลำดับ ทั้งนี้ จากการใช้การตกตะกอนด้วยเฟอริคคลอไรด์และสารส้ม ในการเก็บเกี่ยวผลผลิตชีวมวลของสาหร่ายสไปรูลินาพบว่า ปริมาณที่เหมาะสม คือ 150 และ 200 มิลลิกรัมต่อลิตร

This research is an experimental research. The purpose of the research was to study the cultivation factors, the obtained biomass production, the wastewater treatment efficiency, and the harvest biomass of Spirulina TISTR 8222. The study consisted of three parts ; 1) the cultivation by using of medium contains organics (COD) in 120, 220, and 320 mg/L. 2) the testing of wastewater treatment by using of wastewater treatment model in open system and open-aerated system including four sub model types such as the model of open-aerated with the additional of artificial light, the model of open system with the additional of artificial light, the model of open-aerated with the natural light, and the model of open system with the natural light. The third part is the study of Spirulina biomass harvesting using Jar-test technique. From the results, it was found that the main factor for cultivation consisted of the light intensity in the range of 3,620-3,980 lux without any requirement for carbon source, and it could be cultivated under room temperature (26-30˚ºC). The result of carbon source addition in term of COD revealed that it did not help to increase Spirulina biomass production. After 27 days of cultivation, the biomass production was achieved at 1,731, 1,996, and 1,637 mg/L with the growth rate of 52.0, 61.5, and 47.7 mg/L/d for the treatment of organics containing in cultivated medium of 120, 220, and 320 mg/L,
respectively. The amount of biomass production could be predicted after 5 days of cultivation by using linear equation. Moreover, the study of wastewater treatment efficiency of Spirulina with the open and aerated-open treatment system showed that after 19 days of treatment using autoclaved wastewater, the COD removal of 80, 82, 87, and 83 percent, the TKN removal of 84, 91, 89, and 40 percent and the total phosphorus removal of 32, 38, 25, and 43 percent were achieved. For the treatment using non autoclaved wastewater, the COD removal of 79, 78, 83, and 86 percent, the TKN removal of 85, 89, 80, and 51 percent and the total phosphorus removal of 31, 0, 0, and 22 percent were observed for the treatment 1-4, respectively. Nevertheless, the testing of precipitation by ferric chloride and alum for harvesting of biomass production of Spirulina indicated that the appropriated dose was 150 and 200 mg/L.

 

ธีระพงษ์ บ้างบุญเรือง, ประวิทย์ คงจันทร์, นุชนาถ แช่มช้อย. (2558). ผลผลิตชีวมวลและประสิทธิภาพการบำบัดน้ำเสียของสาหร่ายสไปรูลินา TISTR 8222. วารสาร มฉก. วิชาการ,19 (37), 55-70.

อ่านบทความฉบับเต็ม

ความแตกต่างของผลกระทบต่อการอยู่รอดของมะเร็งท่อน้ำดี จากการกระตุ้นด้วยทูเมอร์เนโครซิสแฟคเตอร์อัลฟา
ก.พ. 10th, 2016 by supaporn

Differential Effects of TNF-alpha on the Viability of Cholangiocarcinoma Cell Lines (ความแตกต่างของผลกระทบต่อการอยู่รอดของมะเร็งท่อน้ำดี จากการกระตุ้นด้วยทูเมอร์เนโครซิสแฟคเตอร์อัลฟา)

บทคัดย่อ:

The objective of this study is to investigate the sensitivity of cholangiocarcinoma (CCA) cells to TNF-alpha-induced apoptosis. Two cell lines established from Thai patients with cholangiocarcinoma, KKU-100 and KKU-M213, expressed TNF-alpha receptors I (TNFRI) and II (TNFRII) as shown by RT-PCR. These cells were subsequently subjected to a high dose of TNF-alpha (160 ng/ml) for 24 hours before the cytotoxicity was assessed by MTT assay. Neither KKU-100 nor KKU-M213 showed any sign of cytotoxicity by TNF-alpha, despite the presence of TNF-alpha receptors. Lack of effects on cell survival by TNF-alpha was further confirmed by DAPI staining which showed absence of condensed and fragmented nuclei, characteristics of apoptotic cells. These data indicated that the cholangiocarcinoma cell lines were resistant to apoptosis induced by TNF-alpha.

งานวิจัยในครั้งนี้มีจุดประสงค์ในการทดสอบผลของทูเมอร์เนโครซิสแฟคเตอร์อัลฟา (tumor necrosis factor-alpha) ต่อความไวต่อการเกิดอะโพโทซิส (apoptosis) ในเซลล์มะเร็งท่อน้ำดี โดยทำการทดสอบในเซลล์มะเร็งท่อน้ำดีเพาะเลี้ยงของคนไทยสองชนิด คือ KKU-100 และ KKU-M213 เมื่อทดสอบโดยวิธี RT-PCR พบว่ามีแสดงออกของตัวรับ (receptor) ทูเมอร์เนโครซิสแฟคเตอร์อัลฟาทั้ง TNFRI และ TNFRII เซลล์มะเร็งท่อน้ำดีทั้งสองชนิดนี้ถูกนำไปบ่มกับทูเมอร์เนโครซิสแฟคเตอร์ อัลฟาที่ความเข้มข้น 160 ng/mL เป็นเวลา 24 ชั่วโมง และทดสอบความเป็นพิษต่อเซลล์โดยใช้วิธี MTT พบว่าทูเมอร์เนโครซิ-สแฟคเตอร์อัลฟาไม่ทำให้เกิดความเป็นพิษต่อเซลล์เพาะเลี้ยงทั้งสองชนิด แม้ว่าจะพบตัวรับต่อทูเมอร์เนโครซิสแฟคเตอร์อัลฟา นอกจากนี้ การทดสอบยืนยันผลของทูเมอร์เนโครซิสแฟคเตอร์อัลฟาต่อการอยู่รอดโดยวิธีการย้อมนิวเคลียสด้วย DAPI ในเซลล์มะเร็งท่อน้ำดี พบว่า ทูเมอร์เนโครซิสแฟคเตอร์อัลฟาไม่สามารถกระตุ้นให้เกิดลักษณะเซลล์หดตัว และการแตกของนิวเคลียส ซึ่งเป็นลักษณะของอะโพโทซิสในเซลล์มะเร็งท่อน้ำดีเพาะเลี้ยงทั้งสองชนิดเช่นกัน ดังนั้น จึงสรุปได้ว่า เซลล์มะเร็งท่อน้ำดีทั้งสองชนิดมีความต้านทานต่อการเกิดอะโพโทซิสในภาวะที่กระตุ้นด้วยทูเมอร์เนโครซิสแฟคเตอร์อัลฟา

Panthip Rattanasinganchan and  Rutaiwan Tohtong. (2558). Differential Effects of TNF-alpha on the Viability of Cholangiocarcinoma Cell Lines. วารสาร มฉก. วิชาการ,19 (37), 25-38.

อ่านบทความฉบับเต็ม

การศึกษาค่าทางโลหิตวิทยาในนักศึกษาชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
ก.พ. 10th, 2016 by supaporn

การศึกษาค่าทางโลหิตวิทยาในนักศึกษาชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ (Hematological Studies in the First Year Students at Huachiew Chalermprakiet University)

บทคัดย่อ:

การศึกษาวิจัยเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาค่าพารามิเตอร์ต่าง ๆ ของผลการตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือดในนักศึกษาชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ 2) หาอัตราการตรวจพบความผิดปกติของค่าพารามิเตอร์ต่าง ๆ ของผลความสมบูรณ์ของเม็ดเลือดในนักศึกษาชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ 3) ให้นักศึกษาตระหนักถึงความสำคัญของสุขภาพและความสำคัญของการตรวจสุขภาพประจำปี ผู้วิจัยได้ศึกษาค่าทางโลหิตวิทยาในนักศึกษาชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ปีการศึกษา 2554 และ 2555 จำนวน 3,849 ราย เป็นเพศชาย 733 ราย และเพศหญิง 3,116 ราย ด้วยเครื่องวิเคราะห์เซลล์เม็ดเลือดอัตโนมัติเพื่อเก็บข้อมูลทางโลหิตวิทยา ผลการศึกษา พบว่า 2,182 ราย (ร้อยละ 56.7) มีผลตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือดอยู่ในเกณฑ์ปกติ เมื่อนำข้อมูลทางโลหิตวิทยามาแยกตามพารามิเตอร์ต่าง ๆ กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษามีค่า hemoglobin ที่อยู่นอกช่วงค่าอ้างอิงจำนวน 791 ราย (ร้อยละ 20.5) โดยแยกเป็นผู้ที่มีค่าต่ำกว่าช่วงอ้างอิงจำนวน 787 ราย (ร้อยละ 20.4) และพบผู้ที่มีค่าสูงกว่าช่วงอ้างอิงจำนวน 4 ราย (ร้อยละ 0.1) พบค่า hematocrit ที่อยู่นอกช่วงค่าอ้างอิงจำนวน 710 ราย (ร้อยละ 18.4) โดยผู้ที่มีค่าต่ำกว่าช่วงอ้างอิง มีจำนวน 702 ราย (ร้อยละ 18.2) และผู้ที่มีค่าสูงกว่าช่วงอ้างอิงจำนวน 8 ราย (ร้อยละ 0.2) มีค่า PLT count ที่อยู่นอกช่วงค่าอ้างอิงจำนวน 44 ราย (ร้อยละ 1.1) ผลการตรวจ white blood cell count พบค่า ที่อยู่นอกช่วงค่าอ้างอิงจำนวน 195 ราย (ร้อยละ 5.1) จากผลการตรวจการนับแยกชนิดเม็ดเลือดขาว พบว่ามีค่า neutrophil ที่อยู่นอกช่วงค่าอ้างอิงจำนวน 737 ราย (ร้อยละ 19.1) มีค่า lymphocyte ที่อยู่นอกช่วงค่าอ้างอิงจำนวน 399 ราย (ร้อยละ 10.4) และมีค่า eosinophil ที่อยู่นอกช่วงค่าอ้างอิงจำนวน 120 ราย (ร้อยละ 3.1) โดยไม่พบค่า monocyte และค่า basophil ที่อยู่นอกช่วงค่าอ้างอิง โดยสรุป จากการพบนักศึกษาซึ่งมีผลการตรวจ CBC บางพารามิเตอร์อยู่นอกช่วงค่าอ้างอิงโดยรวมสูงถึงร้อยละ 43.3 ดังนั้น การตรวจสุขภาพเบื้องต้นก่อนเข้าการศึกษาจึงมีประโยชน์ ช่วยให้นักศึกษาตระหนักถึงความสำคัญของสุขภาพ อีกทั้งยังเป็นการเตรียมความพร้อมก่อนเข้าการศึกษาอีกด้วย

The purposes of this research were 1) to study hematological parameters in complete blood count results among the first year students at Huachiew Chalermprakiet University 2) to study the prevalence of abnormalities in hematological parameters among the first year students at Huachiew Chalermprakiet University 3) to raise health awareness among students and emphasize the necessity of yearly check up. The researchers studied hematological values among first year students in Huachiew Chalermprakiet University during academic year 2011 and 2012 using an automated analyzer. Samples were three thousand eight hundred and forty-nine subjects who attended the orientation week. It was found that 2,182 (56.7%) subjects had normal CBC. There were 791 (20.5%) subjects having hemoglobin outside normal range; 787 subjects (20.4%) had results lower than reference range and 4 subjects (0.1%) had results higher than reference range. Sevenhundred and ten (20.5%) subjects were found to have hematocrit outside normal range; 702 subjects (18.2%) had results lower than reference range and 8 subjects (0.2%) had results higher than reference range. Moreover, it was also found that 44 subjects (1.1%) had abnormal platelet values while 195 subjects (5.1%) had abnormal white blood cell values. Evaluation of blood smear showed that 737 subjects (19.1%) showed abnormal neutrophil values, 399 subjects (10.4%) had lymphocyte value out of reference range, 120 subjects (3.1%) had abnormal eosinophil value, but no monocyte or basophil were found abnormal. Interestingly, 1,667 subjects (43.3%) had one or more parameters outside normal ranges. In sum, this study showed that a basic check up is essential and it emphasized the importance of student health awareness.

นนทยา ทางเรือ และสุชา จุลสำลี. (2558). การศึกษาค่าทางโลหิตวิทยาในนักศึกษาชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ. วารสาร มฉก. วิชาการ,19 (37), 15-24.

อ่านบทความฉบับเต็ม

ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านนักศึกษาและด้านการจัดการเรียนการสอนกับความสุขในการเรียนรู้รายวิชาปฏิบัติการการพยาบาลพื้นฐานของนักศึกษาพยาบาล คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
ก.พ. 9th, 2016 by supaporn

ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านนักศึกษาและด้านการจัดการเรียนการสอนกับความสุขในการเรียนรู้รายวิชาปฏิบัติการการพยาบาลพื้นฐานของนักศึกษาพยาบาล คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ  (Student and Teaching Factors in Correlation with Happy Learning in Fundamentals of Nursing, Practicum of Nursing Students, Faculty of Nursing, Hauchiew Chalermprakiet University)

บทคัดย่อ:

การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านนักศึกษา และปัจจัยด้านการจัดการเรียนการสอนกับความสุขในการเรียนรู้ของนักศึกษาต่อการเรียนการสอนภาคปฏิบัติรายวิชาปฏิบัติการการพยาบาลพื้นฐาน 2) ศึกษาอำนาจการทำนายของปัจจัยด้านนักศึกษาและด้านการจัดการเรียนการสอนต่อความสุขของนักศึกษาในการเรียนรู้รายวิชาปฏิบัติการการพยาบาลพื้นฐาน กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต ชั้นปีที่ 2 ภาคการศึกษาที่ 2 ปีการศึกษา 2554 มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ จำนวน 127 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบประเมินความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนการสอน การรับรู้ความสามารถในการเรียนรู้ และความสุขในการเรียนรู้ ที่ผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหา (content validity) และทดสอบความเชื่อมั่น (reliability) ได้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาช (Cronbach’s alpha coefficient) เท่ากับ 0.91, 0.93 และ 0.94 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที (t) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One- way ANOVA) สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (Correlation Coefficient) ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression) ผลการศึกษา พบว่า ความพึงพอใจของนักศึกษาต่อการเรียนการสอน และความสุขในการเรียนรู้ อยู่ในระดับมาก ส่วนการรับรู้ความสามารถในการเรียนรู้อยู่ในระดับปานกลาง (–X ± SD = 4.24±±0.40, 4.12±±0.45 และ 3.57±±0.43 ตามลำดับ) นักศึกษาที่สอนโดยอาจารย์ประจำ มีคะแนนความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนการสอนมากกว่านักศึกษาที่สอนโดยพยาบาลพี่เลี้ยงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t=2.00, p=.024) การรับรู้ความสามารถของนักศึกษาในการเรียนรู้ และคะแนนความสุขในการเรียนรู้รายวิชาปฏิบัติการการพยาบาลพื้นฐาน เมื่อจำแนกตามผู้สอนที่เป็นอาจารย์ประจำและพยาบาลพี่เลี้ยง แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนการสอนและการรับรู้ความสามารถในการเรียนรู้ มีความสัมพันธ์ทางบวกกับความสุขในการเรียนรู้รายวิชาปฏิบัติการพยาบาลพื้นฐานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r=0.62, p<.001 เท่ากัน) รวมทั้งการรับรู้ความสามารถในการเรียนรู้ซึ่งเป็นปัจจัยด้านนักศึกษาและความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนการสอนรายวิชาปฏิบัติการการพยาบาลพื้นฐานซึ่งเป็นปัจจัยด้านการจัดการเรียนการสอนสามารถร่วมกันทำนายความสุขในการเรียนรู้รายวิชาปฏิบัติการพยาบาลพื้นฐานได้ร้อยละ 48.60 (R2 = 0.486 p<.001)
The purposes of this descriptive research were to study the correlation between students and teaching factors and happy learning in the Fundamentals of Nursing a practicum of nursing students in the Faculty of Nursing, Hauchiew Chalermprakiet University as well as to study the prediction power of these factors on happy learning. The samples consisted of 127 second year students of academic year in 2011. The satisfaction of teaching, learning ability perception and happy learning were assessed by self-report questionnaire which statistically has good content validity and reliability (Conbrach’s alpha = 0.91, 0.93 and 0.94, respectively. Data were analyzed by descriptive statistics, independent t-test, one way ANOVA, Pearson’s product moment correlation and stepwise multiple regression. The results showed that the student’s satisfaction with
teaching and the joy of learning were at a high level while student’s learning ability perception was at moderate level (–X ± SD = 4.24±±0.40, 4.12±±0.45 and 3.57±±0.43 respectively). The level of satisfaction in teaching of students who were taught by instructors had higher rating than students taught by Nursing Clinical Instructors (statistically significant at t=2.00, p=.024). As well as, the students’ learning ability perception and happy learning do not have statistically significant difference. In addition, the students’ satisfaction in teaching and the learning ability perception positively correlated with happy learning (statistically significant at r=0.62, p<.001 both). The happy learning was predicted by students’ satisfaction in teaching and learning ability perception was 48.60 (R2 = 0.486, p<.001)

นพนัฐ จำปาเทศ  วิญญ์ทัญญู บุญทัน และ พรศิริ พันธสี. (2558). ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านนักศึกษาและด้านการจัดการเรียนการสอนกับความสุขในการเรียนรู้รายวิชาปฏิบัติการการพยาบาลพื้นฐานของนักศึกษาพยาบาล คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ. วารสาร มฉก. วิชาการ,19 (37),  1-14.

อ่านบทความฉบับเต็ม

»  Substance:WordPress   »  Style:Ahren Ahimsa