SIDEBAR
»
S
I
D
E
B
A
R
«
ความแตกต่างของผลกระทบต่อการอยู่รอดของมะเร็งท่อน้ำดี จากการกระตุ้นด้วยทูเมอร์เนโครซิสแฟคเตอร์อัลฟา
กุมภาพันธ์ 10th, 2016 by supaporn

Differential Effects of TNF-alpha on the Viability of Cholangiocarcinoma Cell Lines (ความแตกต่างของผลกระทบต่อการอยู่รอดของมะเร็งท่อน้ำดี จากการกระตุ้นด้วยทูเมอร์เนโครซิสแฟคเตอร์อัลฟา)

บทคัดย่อ:

The objective of this study is to investigate the sensitivity of cholangiocarcinoma (CCA) cells to TNF-alpha-induced apoptosis. Two cell lines established from Thai patients with cholangiocarcinoma, KKU-100 and KKU-M213, expressed TNF-alpha receptors I (TNFRI) and II (TNFRII) as shown by RT-PCR. These cells were subsequently subjected to a high dose of TNF-alpha (160 ng/ml) for 24 hours before the cytotoxicity was assessed by MTT assay. Neither KKU-100 nor KKU-M213 showed any sign of cytotoxicity by TNF-alpha, despite the presence of TNF-alpha receptors. Lack of effects on cell survival by TNF-alpha was further confirmed by DAPI staining which showed absence of condensed and fragmented nuclei, characteristics of apoptotic cells. These data indicated that the cholangiocarcinoma cell lines were resistant to apoptosis induced by TNF-alpha.

งานวิจัยในครั้งนี้มีจุดประสงค์ในการทดสอบผลของทูเมอร์เนโครซิสแฟคเตอร์อัลฟา (tumor necrosis factor-alpha) ต่อความไวต่อการเกิดอะโพโทซิส (apoptosis) ในเซลล์มะเร็งท่อน้ำดี โดยทำการทดสอบในเซลล์มะเร็งท่อน้ำดีเพาะเลี้ยงของคนไทยสองชนิด คือ KKU-100 และ KKU-M213 เมื่อทดสอบโดยวิธี RT-PCR พบว่ามีแสดงออกของตัวรับ (receptor) ทูเมอร์เนโครซิสแฟคเตอร์อัลฟาทั้ง TNFRI และ TNFRII เซลล์มะเร็งท่อน้ำดีทั้งสองชนิดนี้ถูกนำไปบ่มกับทูเมอร์เนโครซิสแฟคเตอร์ อัลฟาที่ความเข้มข้น 160 ng/mL เป็นเวลา 24 ชั่วโมง และทดสอบความเป็นพิษต่อเซลล์โดยใช้วิธี MTT พบว่าทูเมอร์เนโครซิ-สแฟคเตอร์อัลฟาไม่ทำให้เกิดความเป็นพิษต่อเซลล์เพาะเลี้ยงทั้งสองชนิด แม้ว่าจะพบตัวรับต่อทูเมอร์เนโครซิสแฟคเตอร์อัลฟา นอกจากนี้ การทดสอบยืนยันผลของทูเมอร์เนโครซิสแฟคเตอร์อัลฟาต่อการอยู่รอดโดยวิธีการย้อมนิวเคลียสด้วย DAPI ในเซลล์มะเร็งท่อน้ำดี พบว่า ทูเมอร์เนโครซิสแฟคเตอร์อัลฟาไม่สามารถกระตุ้นให้เกิดลักษณะเซลล์หดตัว และการแตกของนิวเคลียส ซึ่งเป็นลักษณะของอะโพโทซิสในเซลล์มะเร็งท่อน้ำดีเพาะเลี้ยงทั้งสองชนิดเช่นกัน ดังนั้น จึงสรุปได้ว่า เซลล์มะเร็งท่อน้ำดีทั้งสองชนิดมีความต้านทานต่อการเกิดอะโพโทซิสในภาวะที่กระตุ้นด้วยทูเมอร์เนโครซิสแฟคเตอร์อัลฟา

Panthip Rattanasinganchan and  Rutaiwan Tohtong. (2558). Differential Effects of TNF-alpha on the Viability of Cholangiocarcinoma Cell Lines. วารสาร มฉก. วิชาการ,19 (37), 25-38.

อ่านบทความฉบับเต็ม


Comments are closed

»  Substance:WordPress   »  Style:Ahren Ahimsa