ศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ มีภารกิจที่จะต้องบริหารจัดการ การจัดซื้อทรัพยากรสารสนเทศ เข้าห้องสมุดให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ รองรับกับคณะวิชาที่เปิดสอนในมหาวิทยาลัยโดยที่คณาจารย์และนักศึกษามี ส่วนร่วมในการพิจารณาหรือคัดเลือกหนังสือ การสั่งซื้อหนังสือบางครั้งจำเป็นต้องมีการยืมเงินทดรองจ่ายหรือเงินสดย่อย เพื่อนำไปจัดซื้อทรัพยากรสารสนเทศ
กรณียืมเงินทดรองจ่ายหรือเงินสดย่อยเพื่อนำไปจัดซื้อทรัพยากรสารสนเทศจากภายนอกสถานที่ มีขั้นตอนดังนี้ 1. ทำใบขออนุมัติจัดซื้อทรัพยากรสารสนเทศซึ่งใบขออนุมัติ ประกอบด้วย
1.1 ใบขอเบิกงบประมาณ (ซึ่งเอกสารนี้สามารถขอแบบฟอร์มได้จากกองแผนและพัฒนา
ใบขอเบิกงบประมาร
หมายเลข 1 ใส่เลขที่ออกของหน่วยงาน พร้อมวันที่ออก หมายเลข 2 ใส่ปีงบประมาณการศึกษา หมายเลข 3 ใส่ชื่อหน่วยงานที่ขอเบิกงบประมาณ หมายเลข 4 ใส่รายการเรื่องที่ต้องการขออนุมัติ หมายเลข 5 ลงนามผู้อำนวยการศูนย์บรรณสารสนเทศ
1.2 ใบขออนุมัติ
ใบขออนุมัติจัดซื้อตำราและ ทรัพยากรการเรียนรู้
หมายเลข 1 ใส่เลขที่ออกของหน่วยงาน พร้อมวันที่ออก หมายเลข 2 ใส่เลขที่ใบเสนอราคา หมายเลข 3 ใส่เครื่องหมายถูกด้านหน้าทรัพยากรที่ต้องการจัดซื้อ หมายเลข 4 ลงชื่อผู้ขออนุมัติ และชื่อหัวหน้าแผนกจัดหาฯ หมายเลข 5 ลงนามชื่อผู้อำนวยการศูนย์บรรณสารสนเทศ
Read the rest of this entry »
การแสดงข้อมูล สถิติในรูปแบบของตัวเลข กราฟ เพื่อสรุปข้อมูลต่าง ๆ ในภาพรวม (Dash Board) เพื่อประโยชน์ในการบริหารจัดการต่อไปนั้น เป็นสิ่งที่ผู้เขียนกำลังศึกษาฟังก์ชั่นงานในระบบ WMS (WorldShare Management Services) โดยการหาข้อมูลเกี่ยวกับ Analytics Reports เพื่อจะได้ทำสถิติการยืม-คืน และพบว่า มีฟังก์ชั่น Circulation Reports ที่สามารถทำ Circulation Dashboard ได้
รูปที่ 1 แสดงสถิติการยืมในรูปของ Dash Board
จากรูปที่ 1 จะเห็นได้ว่ายอดการจองหนังสือน้อย เนื่องจากขณะที่เขียนเป็นช่วงมหาวิทยาลัยปิดการเรียนการสอน ช่วง COVID-19 ห้องสมุดก็จะสามารถเห็นข้อมูลเหล่านี้และวางแผนกันต่อไปได้ Read the rest of this entry »
วิธีการ Shift row down และ Shift row up. ด้วยการแก้ไขการสลับบรรทัดใน Bibliographic Record ของระบบห้องสมุด WorldShare Management Services (WMS)
จากการที่ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการเปลี่ยน Location ของสาขาวิชา สหกิจศึกษา โครงงานพิเศษ และงานวิจัย ของนักศึกษาปริญญาตรีมาแก้ไขหมวดหมู่นั้น ได้พบว่าในบางส่วนของ Master record เช่น tag 700 ยังมีจุดที่ต้องสลับสับเปลี่ยนบรรทัด คือ การสลับบรรทัดขึ้นลงก่อนหลังในตำแหน่งที่ปรึกษาและที่ปรึกษาร่วมอยู่ ซึ่งต้องมีการแก้ไขในส่วนนี้ให้ถูกต้องตามตำแหน่งและหน้าที่ก่อนหลัง ดังนั้นจึงขออธิบายสัญลักษณ์ที่ทำการเปลี่ยนให้ tag ต่างๆ สลับบรรทัด คือ Shift row down กับ Shift row up. ในบรรทัดที่มีเครื่องหมาย ลูกศร ขึ้นลง ซึ่งจะทำให้การทำงานสะดวกและย่นระยะเวลาในการแก้ไขง่ายขึ้น โดยไม่ต้องพิมพ์หรือ copy วางให้สับสนบรรทัด ดังนี้
ขั้นตอนที่ 1 ไปที่โมดูล Metadata แล้วค้นหาชื่อเรื่องที่ต้องการแก้ไข เช่น เรื่อง ยาอมสารสกัดหญ้าดอกขาว* Read the rest of this entry »
สิ่งพิมพ์ มฉก. คือสิ่งพิมพ์ที่ผลิตโดยหน่วยงานของมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ เช่น รายงานเอกสารการอบรม เอกสารประกอบการประชุม หลักสูตร หรือรายงานกิจกรรมต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัย เป็นต้น
เนื่องจากสิ่งพิมพ์ มฉก. ในศูนย์บรรณสารสนเทศ ให้บริการอยู่ที่ชั้นทั่วไปมีจำนวนมาก มากทั้งในจำนวนชื่อเรื่อง และจำนวนฉบับ และในปัจจุบัน มีเนื้อหาที่ไม่สอดคล้องกับการใช้ ทำให้ต้องพิจารณาทบทวนการจัดเก็บสิ่งพิมพ์ มฉก. อีกครั้ง โดยรวบรวมตั้งแต่ปีพิมพ์เริ่มต้น – ปัจจุบัน จัดเก็บเพียงจำนวน 1 ฉบับ ไว้ในหอจดหมายเหตุ เพื่อให้เป็นหลักฐานว่ามหาวิทยาลัยเคยมีการผลิตสิ่งพิมพ์ชื่อใดบ้าง ส่วนบางรายชื่อที่มีจำนวนมากเกินไป มีการพิจารณาจำหน่ายออกบ้าง ที่มีการให้บริการที่ชั้นทั่วไปพิจารณาจำนวนฉบับตามความเหมาะสมกับการใช้ ดังนั้น สิ่งพิมพ์ มฉก. ที่มีการจัดเก็บไว้หอจดหมายเหตุ จึงต้องมีการกำหนด Collection ไว้ในระบบ เพื่อให้ทราบว่า สามารถขอใช้บริการได้ที่หอจดหมายเหตุ ซึ่งหอจดหมายเหตุ มีระบบการจัดเก็บในลักษณะของจดหมายเหตุ และให้บริการเป็นชั้นปิด
ผู้เขียนได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบปรับเปลี่ยน Collection สิ่งพิมพ์ มฉก. ที่จัดเก็บไว้ในหอจดหมายเหตุ โดยมีหลักการปฎิบัติ คือ
1. สืบค้นรายการสิ่งพิมพ์ที่ต้องการจะปรับเปลี่ยนในฐานข้อมูลระบบ WorldShare Management Services (WMS) (ดังรูป)
2. ในส่วนของ LBD (ส่วนที่ 2) จะต้องแก้ไข จากเดิมที่มีการวิเคราะห์หมวดหมู่ใน 590 จะต้องปรับเปลี่ยนมาใช้ Tag. 592 โดยกำหนดคำว่า Arc. ซึ่งย่อมาจากคำว่า Archive หมายถึง จดหมายเหตุ เพื่อต้องการแจ้งให้ทราบว่า อยู่ที่หอจดหมายเหตุ (ดังรูป) Read the rest of this entry »
มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ได้เปิดการเรียนการสอนระดับบัณฑิตศึกษา เมื่อปี 2548 มีการเรียนการสอนทั้งสองวิทยาเขต คือ วิทยาเขตยศเส และวิทยาเขตบางพลี จัดแหล่งทรัพยากรสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการเรียนการสอน คือ ห้องสมุด ไว้ทั้งสองวิทยาเขต ปี 2562 ได้มีการปรับปรุงระบบการเรียนการสอนระดับบัณฑิตศึกษา และบางหลักสูตรของคณะพยาบาลศาสตร์ ซึ่งมีการเรียนการสอนอยู่ที่วิทยาเขตยศเส ให้มาเรียนรวมกันที่วิทยาเขตบางพลีเพียงแห่งเดียว ห้องสมุดที่วิทยาเขตยศเส จึงต้องมีการขนย้ายทรัพยากรสารสนเทศมาให้บริการที่ศูนย์บรรณสารสนเทศ วิทยาเขตบางพลี ทรัพยากรสารสนเทศที่มีในห้องสมุดยศเส นั้น เป็นหนังสือทางด้านพยาบาลศาสตร์เป็นส่วนมาก จึงต้องทำการขนย้ายกลับไป
แนวทางการพิจารณาหนังสือที่จะขนย้ายมาให้บริการที่ศูนย์บรรณสารสนเทศ วิทยาเขตบางพลี Read the rest of this entry »
นับได้ว่าในปัจจุบัน ไม่มีใครไม่รู้จัก [ส่อง] ส่องในที่นี้ผู้เขียนหมายถึง ส่อง QR Code ส่องหรือเรียกอย่างเป็นทางการว่าสแกน QR Code
ผู้เขียน ทำหน้าที่ลงรายการบรรณานุกรมในส่วนของหนังสือ นวนิยายและเรื่องสั้น ทำให้เห็นถึงพัฒนาการของหนังสือนวนิยาย เช่น QR Code ทดลองอ่าน ของสำนักพิมพ์ต่างๆ จากทางด้านหลังของปกหนังสือ QR Code ทดลองอ่านนี้ วิธีการสแกน QR Code ก็ง่าย ๆ เพียงแค่เอากล้องไปส่องหรือจ่อที่ QR Code ที่เราต้องการสแกน เมื่อสแกนสำเร็จ ก็จะมีข้อความ หรือลิงค์ หรือข้อมูลที่อยู่ใน QR Code ขึ้นมา แตะที่ลิงค์ก็จะเข้าไปที่สำนักพิมพ์นั้น ๆ เช่น สำนักพิมพ์สถาพรแล้วลิงค์ไปยังนวนิยายเล่มที่เราทำการสแกน ในนั้นมีเนื้อเรื่องของนวนิยายให้เราได้ทดลองอ่านกันประมาณ 40 กว่าหน้าเลยที่เดียว บางเรื่องก็มีให้ทดลองอ่านเยอะมาก แถมยังได้ทดลองอ่านได้วิเคราะห์พิจารณาว่าเรื่องนี้ตรงกับความต้องการของเราหรือเปล่า ถ้าทดลองอ่านแล้วยังไม่โดนใจ ก็สแกน QR Code เล่มต่อไปมาทดลองอ่านได้อีก สแกน QR Code ไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะได้นวนิยายเล่มที่ถูกใจ สามารถตอบโจทย์ความต้องการของผู้ที่นิยมและชื่นชอบทางด้านหนังสือนวนิยายได้เป็นอย่างดีในระดับหนึ่ง ทางศูนย์บรรณสารสนเทศ จึงจัดให้บริการหนังสือนวนิยายใหม่ๆ สามารถหายืมได้ที่ “มุมคนรักนิยาย” ที่ชั้น 1 ของศูนย์บรรณสารสนเทศ เรามีไว้ให้บริการ มากมายหลายเรื่อง
ตัวอย่างการ สแกน QR Code ของหนังสือนวนิยาย
รูปภาพที่ 1 หนังสือนวนิยายที่ต้องการ สแกน
ศูนย์บรรณสารสนเทศ จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ หรือ Knowledge Sharing เพื่อตอบโจยท์ยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย ข้อที่ 6 บริหารจัดการมหาวิทยาลัยและสิ่งแวดล้อมอย่างมีประสิทธิภาพ พอเพียง ตามหลักธรรมาภิบาล ในมาตรการ ข้อที่ 2.5 สนับสนุนส่งเสริมให้ทุกหน่วยงานมีการดำเนินการจัดการความรู้ (KM) เพื่อมุ่งสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้ (LO)
ดังนั้น คณะกรรมการจัดการความรู้ศูนย์บรรณสารสนเทศ จึงมติเห็นว่า บุคลากรในหลายแผนกไม่มีความรู้ หรือความชำนาญในการเขียนโครงการ ซึ่งเป็นเรื่องจำเป็น ควรเรียนรู้ไว้ และจำเป็นที่จะต้องเขียนโครงการให้เป็น จึงได้กำหนดหัวข้อการอบรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ “การเขียนโครงการ” ในวันที่ 16, 30 ตุลาคม 2562 เวลา 13.00-15.30 ณ ห้องประชุม 212 ชั้น 2 อาคารบรรณสาร
ผู้เขียนได้เข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าว โดยสรุป องค์ความรู์จากวิทยากร คือ ผู้อำนวยการศูนย์บรรณสารสนเทศ มีดังนี้
โครงการ หมายถึง การวางแผนล่วงหน้าที่จัดทำขึ้นอย่างมีระบบ ประกอบด้วยกิจกรรมย่อยหลายกิจกรรมที่ต้องใช้ทรัพยากรในการดำเนินงาน และคาดหวังที่จะได้ผลตอบแทนอย่างคุ้มค่า แต่ละโครงการมีเป้าหมายเพื่อการผลิตหรือการให้บริการเพื่อเพิ่มพูนสมรรถภาพของแผนงาน การเขียนโครงการจึงเป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่งของการวางแผนที่จะทำให้องค์กรบรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมาย โครงการที่ดำเนินการ ต้องมีความเชื่อมโยกับยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัย ยุทธศาสตร์ของศูนย์บรรณสารสนเทศ แผนปฏิบัติงานของศูนย์บรรณสารสนเทศ ดังภาพ
ความพันธ์ที่เชื่อมโยงกับยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัย
ผู้ที่เกี่ยวข้องในการทำโครงการ มีดังนี้
ความสัมพันธ์กับผู้ที่เกี่ยวข้องในการทำโครงการ
ในการอบรม การเขียนโครงการครั้งนี้ ยึดแนวทางปฎิบัติตามแบบฟอร์มที่ทางกองแผนและพัฒนา มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ คือ แบบ 103 From-project-103 ซึ่งมีส่วนประกอบ ดังนี้ Read the rest of this entry »
โปรแกรม Adobe Premiere Pro เป็นโปรแกรมในการตัดต่อวิดีโอ ผมจึงขอแนะนำวิธีการใช้งานและเทคนิคในเบื้องต้นดังนี้
1.หลังจากที่เปิดโปรแกรมขึ้นมา คลิกที่ New Project
2.เลือกที่อยู่ไฟล์พร้อมตั้งชื่อผลงาน จากนั้นคลิก OK Read the rest of this entry »
ศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ มีภารกิจที่จะต้องบริหารจัดการการจัดซื้อหนังสือเข้าห้องสมุดให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ รองรับกับคณะวิชาที่เปิดสอนในมหาวิทยาลัย และเพื่อความสอดคล้องกับพันธกิจและประเด็นยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัย ข้อที่ 1 คือ พัฒนามหาวิทยาลัยให้เป็นศูนย์กลางการศึกษาด้านจีน และวิทยาศาสตร์สุขภาพ และสอดคล้องกับยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย ข้อที่ 1 สร้างความเข้มแข็งทางด้านจีนศึกษาและวิทยาศาสตร์สุขภาพ จึงได้จัดกิจกรรมเพื่อให้คณาจารย์และนักศึกษามีส่วนร่วมในการพิจารณาหรือคัดเลือกหนังสือ โดยประหยัดเวลาในการเดินทาง ประหยัดค่าใช้จ่ายในการไปร้านหนังสือ ได้ช่วยพิจารณาหรือคัดเลือกหนังสือเข้าห้องสมุดได้ตรงกับหลักสูตรที่สอน หรือความต้องการในการอ่านเพื่อเพิ่มพูนความรู้ โดยในปีการศึกษา 2562 กำหนดจัดกิจกรรมสัปดาห์คัดเลือกหนังสือเข้าห้องสมุดจำนวน 2 ครั้ง ระหว่างวันที่ 2-6 ก.ย.62 และวันที่ 4-8 พฤษภาคม 2563 และเพื่อให้อาจารย์ บุคลากร และนักศึกษา ได้หนังสือที่ตรงกับความต้องการในการเรียนการสอน การปฏิบัติงาน และการเสริมสร้างพัฒนาคุณภาพชีวิต
วัตถุประสงค์ของการจัดกิจกรรม คือ
1. เพื่อให้คณาจารย์นักศึกษา และบุคลากร มีส่วนร่วมในการพิจารณาหรือคัดเลือกหนังสือ 2. เพื่อให้คณาจารย์นักศึกษา และบุคลากร มีความพึงพอใจในการพิจารณาหรือคัดเลือกหนังสือ 3. เพื่อเป็นการบริการเชิงรุก ในการนำหนังสือมาให้พิจารณาคัดเลือกโดยไม่ต้องเดินทางไปถึงร้านหนังสือ Read the rest of this entry »
คงปฏิเสธไม่ได้ว่าการนำเสนอข้อมูลข่าวสารในยุคปัจจุบันมีรูปแบบการนำเสนอที่เปลี่ยนไป รวมทั้งการแนะนำหนังสือ ต้องมีความน่าสนใจ สั้น กะทัดรัดและไม่ใช้เวลาในการอ่านนานเกินไป ผู้เขียนได้รับความกรุณาจากผู้อำนวยการศูนย์บรรณสารสนเทศ และคุณทศพล ศิลาศาสตร์ นักเทคโนโลยีสารสนเทศ แผนกทรัพยากรการเรียนสารสนเทศ แนะนำการใช้โปรแกรม PowerPoint และการใส่ดนตรีประกอบการนำเสนอ การแปลงไฟล์ข้อมูลเป็นวีดิโอ ตลอดจนเนื้อหาที่จะใส่ในวีดีโอ ซึ่งมีขึ้นตอนในการนำเสนอแบบง่ายๆ ดังนี้
วิธีทำมีดังนี้