จากการที่ศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ได้ไปศึกษาดูงานห้องสมุดมารวย เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2563 เวลา 10.00 น. – 12.00 น. ซึ่งเปิดให้บริการทุกวัน ตั้งแต่เวลา 08.30 – 21.00 น. นั้น สรุปการศึกษาดูงาน ได้ดังนี้
วิทยากรผู้นำชม คือ คุณณัฐยา ตันเจริญ ผู้ช่วยผู้จัดการ ส่วนงานห้องสมุดมารวย ได้ให้ข้อมูลว่า ห้องสมุดมารวย เป็นห้องสมุดเฉพาะทางด้านตลาดทุนครบวงจรแห่งแรกในประเทศไทยที่ทันสมัย ด้วยหนังสือและสื่อความรู้ด้านการเงิน การลงทุนมากกว่า 20,000 รายการ พร้อมยกระดับสู่การเป็นห้องสมุดดิจิทัลด้านตลาดทุนชั้นนำระดับประเทศ เพื่อให้นักลงทุน ผู้ประกอบวิชาชีพด้านตลาดทุน และประชาชนทั่วไปสามารถเข้าถึงองค์ความรู้ด้านตลาดทุนได้อย่างรวดเร็วและทั่วถึง ตามเป้าหมาย คือ
ประชาชนทั่วไป เริ่มต้นเรียนรู้การวางแผนการเงินและการบริหารเงินให้งอกเงย
นักลงทุน เริ่มต้นลงทุนศึกษาปัจจัยพื้นฐานและต่อยอดการลงทุนแนวเทคนิค
ผู้ประกอบวิชาชีพ ก้าวสู่การเป็นผู้แนะนำการลงทุน นักวิเคราะห์ และนักวางแผนการเงิน
ผู้ประกอบการ ก้าวสู่การเป็นผู้ประกอบการที่มีแนวคิดใหม่ และนำนวัตกรรมมาใช้ขับเคลื่อนองค์กร
ในภาพรวมตลาดหลักทรัพย์ มีหน้าที่หลักคือ 1) Exchange Function หา Product ต่าง ๆ ให้นักลงทุน 2) Education นักลงทุน และบุคคลทั่วไปที่สนใจ อยากมีความรู้ไปบริหารจัดการการเงินของตน ซึ่งในส่วนของงานห้องสมุดทำหน้าที่ในส่วนของการให้ความรู้ (Education) ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ งานบริการ และการจัดสรรทรัพยากรสารสนเทศ
ทรัพยากรสารสนเทศที่ให้บริการ
ทรัพยากรสารสนเทศมีมากกว่า 20,000 รายการ 80% เป็น Core Subject ด้านการเงิน การลงทุน การบริหารธุรกิจ ส่วนอีก 20% เป็น Support Core Subject ได้แก่ การพัฒนาตนเอง ไอที ภาษา วรรณกรรม หนังสือเด็ก รูปแบบการให้บริการยังไม่สามารถปรับเปลี่ยนเป็นดิจิทัล หรืออิเล็กทรอนิกส์ ได้ทั้งหมด เนื่องจากผู้ใช้บริการยังมีทั้งคนรุ่นเก่า และรุ่นใหม่ Read the rest of this entry »
จากการไปศึกษาดูงานที่ห้องสมุดมารวย ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และ Unmanned Library ภายใต้ชื่อ “Chula Ultimate X Library” โดย สำนักงานวิทยทรัพยากร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2563 ทำให้รู้สึกและมีความเห็นว่า ศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ก็มีสื่อทรัพยากรสารสนเทศดิจิทัล หรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ที่พัฒนาเองและที่ซื้อมาให้บริการ อยู่พอสมควร น่าจะได้มีการรวบรวมและแนะนำ ให้เป็นที่รู้จัก และจะได้มีการเข้าถึงในวงกว้างมากขึ้น
สื่ออิเล็กทรอนิกส์ของศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ที่จะขอแนะนำ ขอแบ่งเป็น
1. สื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่ศูนย์บรรณสารสนเทศพัฒนาเอง
2. สื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่ศูนย์บรรณสารสนเทศจัดซื้อมาให้บริการ
สื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่ศูนย์บรรณสารสนเทศพัฒนาเอง หมายถึง สื่ออิเล็กทรอนิกส์ทรือฐานข้อมูลที่เก็บสื่ออิเล็กทรอนิกส์หรือสื่อดิจิทัล ที่ศูนย์บรรณสารสนเทศ หรือมหาวิทยาลัยพัฒนาเอง โดยครอบคลุมถึงการดิจิไทซ์เอกสาร พัฒนาระบบเพื่อให้สืบค้น และเข้าถึงได้ นำเผยแพร่ขึ้นเว็บไซต์ ได้แก่
1. ฐานข้อมูลหนังสือพิมพ์จีนในประเทศไทย เป็นฐานข้อมูลหนังสือพิมพ์จีนในประเทศไทย ที่ศูนย์บรรณสารสนเทศ ดิจิไทซ์และให้บริการตั้งแต่ฉบับปี 2464 จนถึง ปี 2530 และยังดิจิไทซ์อย่างต่อเนื่อง สามารถอ่านรายละเอียดของประวัติความเป็นมาได้จากบทความ ความร่วมมือระหว่างศูนย์บรรณสารสนเทศกับหอสมุดแห่งชาติ ที่ https://lib-km.hcu.ac.th/library-cooperation-national-library-thailand-hcu เป็นฐานข้อมูลระบบปิด นักวิจัยหรือผู้ที่ต้องการศึกษาค้นคว้าสามารถติดต่อมาที่ศูนย์บรรณสารสนเทศ เพื่อขออนุญาตการเข้าใช้
2. หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ มูลนิธิป่อเต็กตึํง โรงพยาบาลหัวเฉียว สามารถเข้าอ่านได้ที่ https://lib-km.hcu.ac.th/index.php/e-book-hcu
หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ของ มฉก. / มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง
Read the rest of this entry »
ศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ได้เข้าศึกษาดูงาน Chula UltimateX Library ณ อาคารจามจุรี 10 ภายใต้การบริหารของสำนักงานวิทยทรัพยากร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2563 เวลา 13.30-16.00 น. ซึ่งเป็นต้นแบบห้องสมุดแบบ Unmanned Library โดย ศูนย์บรรณสารสนเทศ ได้รับเกียรติจากผู้อำนวยการสำนักงานวิทยทรัพยากร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รองศาสตราจารย์ ดร.อมร เพชรสม และทีมงาน เป็นผู้บรรยาย
สำนักงานวิทยทรัพยากร เปิดตัว Chula UltimateX Library ห้องสมุดที่ให้บริการในรูปแบบ Unmanned Library แห่งแรกของประเทศไทย ณ บริเวณชั้น 2 และชั้น M2 อาคารเฉลิมราชกุมารี 60 พรรษา (อาคารจามจุรี 10) เปิดให้บริการ วันจันทร์ – วันศุกร์ เวลา 09.00 – 19.00 น. วันเสาร์ – วันอาทิตย์ เวลา 09.00 – 18.00 น. และช่วงการสอบจะขยายเวลาจนถึง 21.00 น. ทุกวันจันทร์ – วันอาทิตย์ Read the rest of this entry »
จากการปฏิบัติงานวิเคราะห์หมวดหมู่และลงรายการบรรณานุกรมทรัพยากรสารสนเทศภาษาจีนเข้าระบบห้องสมุดอัตโนมัติ WorldShare Management Services-WMS ที่ศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ทรัพยากรสารสนเทศภาษาจีนที่ห้องสมุดนำข้อมูลเข้าในระบบ WMS เขตข้อมูลชื่อผู้แต่ง (tag 100) และเขตข้อมูลชื่อเรื่อง (tag 245) จะต้องสะกดออกเสียงตามระบบ pinyin ชื่อผู้แต่ง (tag 100) จะต้องลงรายการเป็นอักษรจีน และ ต้องเพิ่ม tag 100 อีกเพื่อแปรอักษรจีนเป็นคำสะกดตามระบบ pinyin โดยอิงหลักเกณฑ์ตาม ALA-LC และ ชื่อเรื่อง (tag 245) จะเขียนเป็นอักษรจีน และเพิ่ม tag 245 อีกเช่นกัน เพื่อแปรอักษรจีนเป็นคำสะกดตาม ระบบ pinyin โดยเขียนสะกดแยกคำออกจากกัน แต่เนื่องจากโดยทั่วไปการสะกดคำตามระบบ pinyin จะสะกดตามที่นิยมเขียนเป็นคำศัพท์ที่ติดกัน เช่น 外国 เขียนสะกดตามระบบ pinyin เป็น waiguo หรือ 文化 จะเขียนเป็น wenhua จะไม่เขียนแยกเป็น wai guo หรือ wen hua
ข้อสังเกตจากการปฏิบัติงาน คือ ทรัพยากรสารสนเทศภาษาจีนบางเล่มจะพิมพ์ชื่อเรื่องตามหลักทั่วไป คือเขียนติดกันในหน้า colophon (หมายถึง หน้าที่มีข้อมูลทางบรรณานุกรม ชื่อผู้แต่ง ชื่อเรื่อง และ ที่อยู่ของสำนักพิมพ์ เป็นต้น) ดังนั้น การลงรายการชื่อเรื่อง (tag 245 ) นอกจากเพิ่ม tag 245 เพื่อพิมพ์สะกดชื่อเรื่องเป็น pinyin ที่สะกดคำแยกกันแล้ว จะต้องลงรายการเพิ่มชื่อเรื่องในเขตข้อมูล 246 (tag 246) เพื่อสะกดชื่อเรื่อง pinyin ที่เขียนติดกันตามที่ปรากฏในหน้า colophon เพื่อให้สามารถสืบค้นชื่อเรื่องตามที่ใช้กันโดยทั่วไป
ศูนย์บรรณสารสนเทศ เป็นหน่วยงานที่ให้บริการทรัพยากรสารสนเทศ ในการนำทรัพยากรออกให้บริการ มีความจำเป็นที่จะต้องใช้วัสดุต่างๆ ในการจัดเตรียมการนำทรัพยากรสารสนเทศออกมาให้บริการแก่ผู้ใช้บริการหลาย ๆ อย่าง จึงต้องมีการเบิกวัสดุต่างๆ ซึ่งการเบิกวัสดุนั้น จะแบ่งเป็น วัสดุสำรองคลัง และวัสดุไม่สำรองคลัง
วัสดุสำรองคลัง หมายถึง รายการวัสดุที่ทางกองพัสดุมีจัดซื้อไว้แล้ว (ซึ่งทางกองพัสดุแจ้งไว้ปัจจุบันมี 39 รายการ)
วัสดุไม่สำรองคลัง หมายถึง รายการวัสดุที่ทางกองพัสดุจะต้อง ดำเนินการขออนุมัติจัดซื้อให้ เมื่อมีการเขียนเบิก
การเบิกจ่ายวัสดุสำรองคลัง
1. ให้แต่ละแผนกเขียนรายการมาในแบบฟอร์มขอเบิก ส่งมายังสำนักงานเลขานุการ
2. ผู้ทำหน้าที่เบิกพัสดุตรวจสอบงบประมาณในปีนั้นๆ (งบประมาณต้องไม่เกินตามที่จัดสรรให้)
3. ส่งใบเบิกเสนอผู้อำนวยการศูนย์บรรณสารสนเทศ เพื่อลงนามอนุมัติการเบิก
4. ผู้อำนวยการ อนุมัติการเบิกวัสดุแล้ว ทำการสแกนเอกสารและส่งเข้า Mail ของศูนย์บรรณสารสนเทศ เพื่อให้เจ้าหน้าที่ธุรการออกเลข เอกสารในระบบ Less paper เมื่อได้เลขที่ออกแล้วจึงนำเอกสารตัวจริงส่งไปยังผู้อำนวยการกองพัสดุ
5. ส่งใบเบิกวัสดุไปยังกองพัสดุแต่ละเดือนนั้น ต้องไม่เกินวันที่ 1 ของทุกเดือน
6.ได้รับวัสดุในวันศุกร์ที่ 2 ของเดือนหากการเขียนเบิกวัสดุ เกินวันที่ 1 ของเดือน ทางศูนย์บรรณสารสนเทศ จะได้รับวัสดุในวันศุกร์ที่ 2 ของเดือนถัดไป
7. การรับวัสดุ จะรับได้ที่ศูนย์หนังสือ มฉก. เมื่อรับวัสดุมาแล้ว จะจ่ายให้กับแผนก และมีผู้ลงนามการเบิกวัสดุไว้เป็นลายลักษณ์อักษรในการเบิก ในสมุดเบิกวัสดุ ของศูนย์บรรณสารสนเทศ จัดเตรียมไว้
8.เมื่อจ่ายวัสดุไปยังผู้ที่ขอเบิกวัสดุไว้เรียบร้อย ส่งต่อให้ผู้รับผิดขอบตัดงบประมาณให้ตรงกับแต่ละแผนกได้รับการจัดสรร และสรุปผลเป็นรายเดือน และเสนอผู้อำนวยการต่อไป Read the rest of this entry »
บทบาทของห้องสมุดมีการเปลี่ยนแปลงมากขึ้นเรื่อย ๆ จากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีเป็นสำคัญ รวมทั้งการเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21 ที่ทำให้ไลฟ์สไตล์การอ่านหนังสือ และการใช้ห้องสมุดเปลี่ยนไป
การใช้หนังสือในห้องสมุดลดลง เนื่องจากมีรูปแบบที่เป็นดิจิทัลเข้ามาแทนที่ ทำให้เข้าถึงได้ทางออนไลน์ บทบาทในการเน้นการยืมหนังสือเล่มจึงลดน้อยลง ลักษณะทางกายภาพเริ่มไม่ตอบสนองกับการใช้บริการในปัจจุบัน ห้องสมุดต้องปรับบทบาทเพื่อเสริมการเป็นแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ เป็นแหล่งเสริมทักษะการเรียนรู้ โดยเฉพาะสำหรับผู้ใช้ห้องสมุดที่อยู่ในยุคที่เกิดมาพร้อมกับสื่อดิจิทัล
ห้องสมุดมีการปรับเปลี่ยนการใช้ประโยชน์จากการใช้พื้นที่ (Space Utilization) เพื่อตอบสนองความต้องการพื้นที่ในการเรียนรู้ร่วมกัน การทำงานกลุ่ม การศึกษาค้นคว้าร่วมกัน เพื่อมุ่งส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ การแก้ปัญหา (Critical Thinking and Problem Solving) ความคิดสร้างสรรค์ (Creativity) การทำงานเป็นทีม (Collaboration ) รวมทั้งการสื่อสาร (Communication) และจากคำกล่าวของ จอห์น ซีลีย์ บราวน์, 2000 อ้างถึงใน วัฒนชัย วินิจจะกูล, 2560 น.61 ที่ว่า “การเรียนรู้ทุกประการเริ่มต้นที่การสนทนา” ทำให้ศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ได้ปรับพื้นที่เพื่อการเรียนรู้เพิ่มขึ้น
Zotero Connector คือ extension ที่ติดตั้งบน browser ไว้ใช้ทำงานร่วมกับโปรแกรม Zotero เพื่ออำนวยความสะดวกในการดาวน์โหลดและจัดเก็บไฟล์บทความพร้อมข้อมูลรายการอ้างอิง ในขณะที่ผู้ใช้กำลังสืบค้นข้อมูลและบันทึกไฟล์บทความจากฐานข้อมูลออนไลน์ต่างๆ ทั้งนี้ ก่อนจะติดตั้งส่วนขยาย Zotero Connector นี้ ท่านควรมีโปรแกรม Zotero ในเครื่องก่อน สามารถย้อนดูวิธีการติดตั้งโปรแกรม Zotero และ Add-In Zotero ใน Microsoft Word ได้ คลิกที่นี่
1. ไปที่ URL www.zotero.org/download คลิก Install Chrome Connector
แต่ถ้าจะติดตั้งบน browser รุ่นอื่น ให้คลิกที่ Zotero Connectors for other browsers
แล้วกดเลือก browser ที่ต้องการใช้งาน
ศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ มีความร่วมมือในหลาย ๆ ด้านกับหอสมุดแห่งชาติ เริ่มจากความร่วมมือเพื่อการดิจิไทซ์หนังสือพิมพ์จีนในประเทศไทย เพื่อเป็นการอนุรักษ์หนังสือพิมพ์จีนในประเทศไทย มีการจัดเก็บในระยะยาวและเพื่อให้สามารถสืบค้นได้ ศูนย์บรรณสารสนเทศ มีพัฒนาการความร่วมมือในด้านต่างๆ กับหอสมุดแห่งชาติ ดังนี้
ศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ มีการบันทึกความร่วมมือทางวิชาการกับหอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร ในโครงการจัดทำสำเนาหนังสือพิมพ์จีนในประเทศไทย ตั้งแต่ พ.ศ. 2460 ถึงปัจจุบัน เมื่อวันที่ 29 กันยายน 2551 ในการนำหนังสือพิมพ์ภาษาจีนเก่าทุกฉบับที่ตีพิมพ์ในประเทศไทย ทั้งรายวัน รายสองวัน และรายสัปดาห์ ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2460 เป็นต้นมา ซึ่งเป็นเอกสารอันมีคุณค่า เพื่อเป็นการอนุรักษ์และสงวนรักษาหนังสือพิมพ์จีน และเพื่อใช้ประโยชน์ในการศึกษาค้นคว้าวิจัย
การลงนามความร่วมมือระหว่างสำนักหอสมุดแห่งชาติและมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ณ ห้องรับรอง ชั้น 4 อาคารอำนวยการ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
การลงนามความร่วมมือการทำสำเนาหนังสือพิมพ์ภาษาจีนในประเทศไทย ระหว่างสำนักหอสมุดแห่งชาติและมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
สาระสำคัญของบันทึดข้อตกลงความร่วมมือ เรื่อง การทำสำเนาหนังสือพิมพ์ภาษาจีนในประเทศไทย ระหว่าง กรมศิลปากร กับ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ Read the rest of this entry »
การลงรายการทางบรรณานุกรมในระบบฐานข้อมูลห้องสมุดอัตโนมัตินั้น การลงรายละเอียดของสารบัญหนังสือก็เป็นส่วนสำคัญเช่นกัน เนื่องจากข้อมูลเหล่านี้จะสามารถทำให้ผู้ใช้ได้ทราบข้อมูลเนื้อหาของหนังสือเล่มนั้น ๆ และสามารถใช้เป็นคำค้นในการสืบค้นได้อีกด้วย โดยกำหนดการลงข้อมูลในเขตข้อมูลที่เรียกว่า Tag 505 (Formatted Contents Note) : ข้อมูลจากหน้าสารบัญ
ลักษณะการลงข้อมูล สามารถลงข้อมูลที่เป็นแบบสมบูรณ์ หรือแบบย่อ หรือลงเป็นบางส่วนก็ได้ ซึ่งบรรณารักษ์จะเป็นผู้พิจารณาในการลงข้อมูล เช่น หนังสือมีเนื้อหาสารบัญที่สำคัญและเป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้อย่างมาก ก็จะลงข้อมูลที่เป็นแบบสมบูรณ์ หรือ หนังสือบางเล่มเนื้อหาสารบัญมีข้อมูลที่แยกย่อยมากจนเกินไป และสามารถตัดข้อความออกได้ บรรณารักษ์ก็สามารถพิจารณาลงข้อมูลแบบลงบางส่วนได้ เป็นต้น
การลงข้อมูลในเขตนี้ ตามหลักเกณฑ์การลงรายการ MARC21 กำหนดตัวบ่งชี้เพื่อเป็นการบอกลักษณะของสารบัญที่นำมาลง ดังนี้
Fist indicator
0 สารบัญสมบูรณ์ (ส่วนใหญ่ใช้ตัวบ่งชี้ ตัวนี้)
1 สารบัญไม่สมบูรณ์
2 สารบัญบางส่วน (ส่วนใหญ่ใช้ตัวบ่งชี้ ตัวนี้)
Second indicator
– (เว้นว่าง) Basic (ส่วนใหญ่ใช้ตัวบ่งชี้ ตัวนี้)
0 Enhance
ศูนย์บรรณสารสนเทศ มีการเก็บค่าปรับแก่ผู้ใช้บริการที่ค้างส่งหนังสือเกินกำหนดต่างๆ เพื่อนำส่งกองคลัง และกองคลังได้จัดสรรเป็นทุนการศึกษาให้กับนักศึกษาของมหาวิทยาลัยต่อไป
ทางศูนย์บรรณสารสนเทศ มีขั้นตอนการดำเนินงาน ดังนี้ (ซึ่งเป็นกระบวนการที่กระชับมากขึ้น เนื่องจากมีการปรับวิธีการเก็บค่าปรับส่งกองคลัง ซึ่งสามารถดูรายละเอียดได้จาก ขั้นตอนการเคลียร์รายการค่าปรับและส่งบิลค่าปรับให้สมาชิกผ่านทาง E-mail) ทำให้กระบวนการส่งค่าปรับถึงกองคลัง เหลือเพียง 3 ขั้นตอน ดังนี้
รายงานค่าปรับ
2. เขียนใบเสร็จค่าปรับยอดรวมทั้งหมดของแต่ละวันที่จะส่งค่าปรับ
ใบเสร็จรับเงินค่าปรับ ยอดรวม
3. นำเสนอผู้อำนวยการเพื่อลงนามอนุมัตินำส่งค่าปรับ
เสนอค่าปรับเพื่อส่งต่อกองคลัง
4. นำเงินพร้อมเอกสารที่มีการอนุมัติลงนามพร้อมเงินค่าปรับส่งกองคลัง กองคลังคืนสำเนาเพื่อเก็บเป็นหลักฐานของการส่งเงินค่าปรับในแต่ละครั้ง