ศูนย์บรรณสารสนเทศ มีหน้าที่หลัก คือ การให้บริการทรัพยากรสารสนเทศ ให้กับผู้ใช้บริการ และมีหน้าที่หลักอีกส่วนหนึ่งที่จำเป็นและสำคัญ คือการจัดซื้อหนังสือและทรัพยากรสารสนเทศเข้าห้องสมุดให้เนื้อหาตรงตามกับคณะที่เปิดสอน และตรงตามกับผู้ใช้บริการต้องการ
มหาวิทยาลัยจึงมีนโยบายให้คณะแต่ละคณะส่งรายชื่อหนังสือและทรัพยากรสารสนเทศตามที่คณาจารย์คัดเลือกส่งมายังห้องสมุดเพื่อทำการจัดซื้อ เมื่อทางห้องสมุดได้รายชื่อหนังสือและทรัพยากรสารสนเทศที่ต้องการจัดซื้อ จะตรวจสอบฐานข้อมูลหนังสือและทรัพยากรสารสนเทศ หากห้องสมุดยังไม่มีหนังสือและทรัพยาการสารสนเทศเล่มใด ก็จะดำเนินการสั่งซื้อ โดยตรวจสอบว่าหนังสือและทรัพยากรสารสนเทศเล่มใดสามารถซื้อได้จากร้านค้าไหน เพื่อทำการติดต่อไปยังร้านค้าที่ขายหนังสือและทรัพยากรสารสนเทศเพื่อส่งรายการหนังสือและทรัพยากรสารสนเทศไปให้ทำการเสนอราคา Read the rest of this entry »
Something nice for your mind
ศูนย์บรรณสารสนเทศ ได้จัดกิจกรรมเชิงรุกโดยนำหนังสือมาจัดแสดงด้านหน้าศูนย์บรรณสารสนเทศ โดยผู้อำนวยการศูนย์บรรณสารสนเทศ ได้ให้แนวคิดกับแผนกบริการสารสนเทศ ในการนำหนังสือจากการจัดซื้อจากงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ และงานสัปดาห์หนังสือนานาชาติ (Bangkok International Book Fair 2017) มาจัดแสดงทันที โดยลงรายการทางบรรณานุกรมของหนังสือ ให้พอเพียงกับที่จะออกให้บริการได้อย่างทันทีและรวดเร็ว หลังจากที่มาจัดแสดง มีการยืม และเมื่อมีการนำกลับมาคืนแล้ว จึงนำหนังสือเหล่านั้น ไปลงรายการทางบรรณานุกรมของหนังสือตามมาตรฐานของการลงรายการอย่างละเอียดต่อไป เนื่องจากหนังสือที่ออกจากงานสัปดาห์หนังสือฯ เหล่านี้ จะเป็นหนังสือออกใหม่ เพื่อให้ทันกับการเปิดตัวในงานที่มีผู้คนจำนวนมากสนใจติดตามว่ามีหนังสือชื่อเรื่องใดบ้างที่จะออกมาในช่วงนี้ ถ้ามีการจัดซื้อมาแล้ว แต่รอกระบวนความครบถ้วนของการจัดการหนังสือตามระบบห้องสมุด หนังสือใหม่ๆ ดังกล่าว อาจจะเป็นหนังสือเก่า ที่ไม่น่าติดตามแล้วแต่อย่างใด Read the rest of this entry »
Introduction to IEEE & IEEE Xplore
IEEE เป็นองค์กรที่มีบทบาทในวงการค้นคว้าและงานวิจัยมายาวนาน โดยดำเนินกิจการใน 4 กิจกรรมหลัก ดังนี้
Read the rest of this entry »
จากหนังสือพิมพ์ไทยโพสต์ ได้เสนอข้อมูลห้องสมุดสีเขียว หรือ Green Library ที่ผ่านจาก สัมภาษณ์ ดร. อารีย์ ธัญกิจจานุกิจ ผู้อำนวยการสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ผู้ให้กำเนิดห้องสมุดสีเขียวในประเทศไทย และมีความร่วมมือกับเครือข่ายห้องสมุดสีเขียว มีเกณฑ์มาตรฐานห้องสมุดสีเขียว ที่ใช้เป็นเกณฑ์ในการตรวจประเมินห้องสมุดที่ขอรับการตรวจประเมิน และมีการสัมภาษณ์ห้องสมุดที่เข้าโครงการนำร่องในการตรวจประเมิน 10 แห่ง โดย ผู้อำนวยการหอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล ผู้อำนวยการศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ และ ผู้อำนวยการศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ติดตามอ่านรายละเอียด
รายการอ้างอิง
วรธาร. มาตรฐานห้องสมุดสีเขียว ก้าวสำคัญของห้องสมุดไทย. ไทยโพสต์ ฉบับวันพฤหัสบดี ที่ 8 มิถุนายน 2560 ปีที่ 15 ฉบับที่ 5236 หน้า M1
เครือข่ายความร่วมมือการใช้บริการและใช้ทรัพยากรสารสนเทศร่วมกัน
จากการที่ศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ (มฉก.) มีความร่วมมือทางวิชาการกับห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาในเครือข่ายประกันคุณภาพ และความร่วมมือทางวิชาการในการใช้ทรัพยากรร่วมกันกับสำนักงานวิทยทรัพยากร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นั้น ทำให้ประชาคม มฉก. ทั้งนักศึกษา อาจารย์ และบุคลากร สามารถใช้บริการของห้องสมุดในเครือข่ายดังกล่าว โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ได้แก่
โดยมีข้อปฏิบัติในการเข้าใช้บริการห้องสมุดร่วมกัน คือ
ระยะเวลาของข้อตกลงความร่วมมือฯ มีกำหนด 2 ปี คือ ตั้งแต่บัดนี้ จนถึงวันที่ 27 กันยายน 2561 (สำหรับการเข้าใช้ห้องสมุดในลำดับที่ 2-6) ส่วนสำนักงานวิทยทรัพยากร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นั้น (ไม่รวมห้องสมุดคณะ) มีกำหนด 3 ปี ตั้งแต่บัดนี้ จนถึงวันที่ 25 เมษายน 2563
สำนักงานวิทยทรัพยากร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดพิธีลงนามทางวิชาการการให้บริการสารสนเทศระหว่างห้องสมุดจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาเอกชน
สำนักงานวิทยทรัพยากร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดพิธีลงนามทางวิชาการการให้บริการสารสนเทศระหว่างห้องสมุดจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาเอกชน เมื่อวันอังคารที่ 25 เมษายน 2560 ณ ห้องประชุมชั้น 7 สำนักงานวิทยทรัพยากร เพื่อให้บริการวิชาการแก่นักศึกษา คณาจารย์ บุคลากรของสถาบันอุดมศึกษา และแบ่งปันการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรสารสนเทศร่วมกัน โดยสถาบันอุดมศึกษาทุกแห่งสามารถเข้าถึงแหล่งทรัพยากรสารสนเทศได้โดยตรงผ่าน website ของสำนักงานวิทยทรัพยากร จุฬาฯ เมื่อได้ข้อมูลทรัพยากรที่ต้องการแล้วจึงดำเนินการยืมระหว่างห้องสมุดต่อไป การแบ่งปันและร่วมกันใช้ทรัพยากรต่างๆ ของห้องสมุดในครั้งนี้ สำนักงานวิทยทรัพยากรจะบริหารจัดการด้วยมาตรฐานเดียวกันกับที่ดำเนินการกับห้องสมุดของสถาบันอุดมศึกษาอื่นๆ ของรัฐ โดยไม่คำนึงถึงขนาดหรือสถานที่ตั้งของห้องสมุดแต่ละแห่ง เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการแบ่งปันทรัพยากรห้องสมุด ลดความซ้ำซ้อน และลดภาระค่าใช้จ่ายด้านการดูแลบำรุงรักษาห้องสมุด
ศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติเข้าร่วมลงนามทางวิชการการใช้ทรัพยากรสารสนเทศร่วมกัน
ศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ เป็น 1 ใน 14 แห่งของห้องสมุดมหาวิทยาลัยเอกชน การลงนามความร่วมมือทางวิชาการเป็นปฐมฤกษ์ในครั้งนี้
ภาพประกอบ
รายละเอียดของข่าว
วันศุกร์ที่ 5 พฤษภาคม 2560 ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ ได้เปิด New TCDC Resource Center ณ อาคารไปรษณีย์กลาง ถนนเจริญกรุง หลังจากที่ย้ายจากสถานที่เดิม ศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ได้รับบัตรเชิญเข้าร่วมเป็นเกียรติในพิธีเปิดนี้ รีบตอบรับ เพราะอยากจะเห็นโฉมหน้าใหม่ การจัดพื้นที่การให้บริการ เคยประทับใจจากที่เดิม คิดว่าแห่งใหม่ก็ไม่แพ้กัน
บัตรเชิญ
ศูนย์บรรณสารสนเทศ ได้พาสถาปนิกจากกองอาคารและสถานที่ ของมหาวิทยาลัยไปด้วย เพราะมีโครงการจัดขยายพื้นที่ของศูนย์บรรณสารสนเทศ จัดทำเป็น Learning Space ให้กับผู้ใช้บริการ โดยเฉพาะกลุ่มนักศึกษา เพื่อฟังแนวความคิดในการจัดพื้นที่การใช้งาน
ตั้งแต่หน้าประตูทางเข้าตกแต่งด้วยดอกไม้ เก๋ๆ อย่างมีสไตล์ เมื่อลงทะเบียนและรับของที่ระลึกซึ่งเป็นหนังสือหลายเล่มน่าสนใจทีเดียวค่ะ แล้วก็ขึ้นไปชั้น 5 บริเวณครีเอทีฟ สเปซ ก่อนเข้าพิธีมีการรับประทานอาหารว่างกันไปพลางๆ แต่ส่วนใหญ่ ตื่นตาตื่นใจไปกับบรรยากาศ โดยรอบ และพูดคุยกับแขกท่านอื่นๆ มากกว่า ล้วนเป็นคนในวงการ กันเองทั้งนั้นค่ะ
ดอกไม้หน้าทางเข้า
จบลงไปอย่างสวยงามสำหรับโครงการ Be My Guest เพราะคุณคือคนพิเศษ ซึ่งแผนกบริการสารสนเทศ ศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ จัดขึ้นเมื่อวันที่ 21 – 23 มีนาคม 2560 ณ โถงชั้น 1 อาคารบรรณสาร เพื่อให้ผู้รับบริการมีความรู้ ความเข้าใจในทรัพยากรสารสนเทศ ที่ศูนย์บรรณสารสนเทศ จัดหาไว้ให้บริการ เพื่อให้ผู้รับบริการสามารถเข้าถึงองค์ความรู้ต่างๆ สามารถใช้บริการต่างๆ และก่อให้เกิดแนวความคิดในการเรียนการศึกษา ค้นคว้า ที่สอดคล้องกับการเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21 และเพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้ให้บริการและผู้รับบริการ สรุปง่ายๆ ก็เพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์งานบริการของศูนย์บรรณสารสนเทศ เพื่อเป็นการส่งเสริมการใช้ทรัพยากรสารสนเทศ นั่นเอง
กิจกรรมที่จัดขึ้นประกอบด้วย กิจกรรมบนเวที มีการเสวนาเรื่อง “อ่าน/เขียน อย่างไร …เพื่อให้เกิดแรงบันดาลใจ” โดยได้รับการสนับสนุนวิทยากรชื่อดัง จากสำนักพิมพ์สถาพร บุ๊คส์ การออกร้านจำหน่ายหนังสือจากสำนักพิมพ์ชื่อดังจำนวน 5 ร้าน บูธกิจกรรมบริการต่างๆ ของศูนย์บรรณสารสนเทศ ได้แก่ บูธบริการต่างๆของศูนย์บรรณสารสนเทศ บูธบริการสารสนเทศออนไลน์ บูธรักษ์โลก และบูธ DIY สุดชิค Read the rest of this entry »
ศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ได้จัดกิจกรรม Be My Guest เพราะคุณคือคนพิเศษ ขึ้นเมื่อวันที่ 21-23 มีนาคม 2560 เป็นเวลา 3 วัน โดยมีวัตถุประสงค์ดังนี้
คำว่า Be My Guest หมายถึง คุณ คือ แขกของเรา แต่ในความหมายของศูนย์บรรณสารสนเทศ คุณ คือ คนพิเศษของศูนย์บรรณสนเทศ ไม่ว่าจะเป็นนักศึกษา อาจารย์ และบุคลากร คือ ผู้ที่ศูนย์บรรณสารสนเทศต้องให้บริการด้วยจิตใจที่เต็มเปี่ยมด้วยบริการ พร้อมที่จะให้ข้อมูล ความรู้เพื่อส่งเสริมการใช้สารสนเทศที่ศูนย์บรรณสารสนเทศ จัดหาไว้ให้บริการ รวมทั้งเป็นการสร้างความตระหนักและกระตุ้นให้เกิดการอ่านและการใช้สารสนเทศเพื่อให้เกิดประโยชน์อย่างคุ้มค่า Read the rest of this entry »
ภารกิจของปิดมหาวิทยาลัยในช่วงเทศกาลสงกรานต์ คือ ภารกิจจัดซื้อหนังสือจากศูน (45th National Book Fair and 15th Bangkok International Book Fair 2017) ซึ่งกำหนดจัดให้มีระหว่างวันพุธที่ 29 มีนาคม – วันอาทิตย์ที่ 9 เมษายน 2560 รวม 12 วัน ตั้งแต่เวลา 10.00-21.00 น. ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์
วันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2560 เวลา 17.00 น. สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินเป็นประธานในพิธีเปิด ในการนี้ พระราชทานพระราชดำรัส เปิดงาน ความว่า “ขอแสดงความชื่นชมในความมุ่งมั่นของคณะผู้จัดงาน ที่ร่วมมือกันอย่างแข็งขันจัดงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติและสัปดาห์หนังสือนานาชาติต่อเนื่องทุกปีมาจนถึงปัจจุบัน เพื่อส่งเสริมและปลูกฝังวัฒนธรรมการอ่านให้แพร่หลายในสังคมไทย ด้วยจิตเจตนาที่จะสร้างสังคมไทยให้เป็นสังคมแห่งปัญญาที่เกิดจากการอ่านหนังสือ งานทุกครั้งมีผู้เข้าชมจำนวนมาก ที่ตั้งใจมาเลือกซื้อตามความสนใจ แสดงให้เห็นว่า แม้การอ่านจะมีวิวัฒนาการมาจนถึงขั้นอ่านได้จากอุปกรณ์สื่อสาร เช่นโทรศัพท์เคลื่อนที่ แต่ยังมีคนอีกมากที่นิยมอ่านหนังสือเล่มที่ให้รสชาติและความรู้สึกของการอ่านอย่างแท้จริง ในปัจจุบันหนังสือดีมีให้เลือกอย่างหลากหลาย ทั้งที่ให้ความรู้ ที่ช่วยเสริมสร้างความคิด และแรงบันดาลใจ ที่ช่วยกล่อมเกลาจิตใจ หรือที่ให้ความรื่นรมย์ใจ สำหรับผู้ที่ต้องการศึกษาศาสตร์ต่างๆ อย่างละเอียดลุ่มลึก ก็มีหนังสือที่เป็นตำรับชตำราให้เลือกสรรสืบค้น หนังสือจึงยังเป็นของมีค่า เป็นที่ต้องใจนักอ่านมาตลอด ตั้งแต่เริ่มแรกที่มีหนังสือเกิดขึ้น”
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินเป็นประธานในพิธีเปิด