I-School and Data Science: Knowledge and Experience from South Korea
สำนักหอสมุดแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ร่วมกับสาขาวิชาบรรณารักษศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จัดการสัมมนา เรื่อง I-School and Data Science: Knowledge and Experience from South Korea ณ ห้องกิจกรรม ชั้น 2 หอสมุดป๋วย อึ๊งภากรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2562 มีผู้เข้าร่วมฟังการบรรยาย ประมาณ 120 คน ประกอบด้วยการบรรยาย 5 หัวข้อ ได้แก่
I-school and Information Science Education in South Korea โดย Prof. Dr. Sam Oh (Sungkyunkwan University, South Korea Dean, SKKU Library)
Utilizing Library Data โดย Prof. Dr. Sam Oh (Sungkyunkwan University, South Korea Dean, SKKU Library)
บทบาทของบรรณารักษ์กับการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ: ประสบการณ์จากการวิจัย (Systematic review) โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์นฤตย์ นิ่มสมบุญ อาจารย์ประจำสาขาวิชาบรรณารักษศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
การออกแบบประสบการณ์ให้ผู้ใช้งานด้วยข้อมูลเชิงพฤติกรรม (UX Design using Library Analytics) โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์เอกรินทร์ ยลระบิล ผู้อำนวยการหอสมุดแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
การใช้แอปพลิเคชั่นไลน์แอดเพื่อยกระดับคุณภาพบริการ หอสมุดแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดย นางสาวกรวรรณ ดีวาจา บรรณารักษ์ห้องสมุดนงเยาว์ ชัยเสรี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
รองศาสตราจารย์ มานิตย์ จุมปา ได้บรรยาย เรื่อง เขียนผลงานวิชาการอย่างไร ไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ และไม่เป็นการลักลอกผลงาน (Plagiarism) โดยคณะนิติศาสตร์ และ ศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ได้จัดกิจกรรมนี้ เป็นการแลกเปลี่ยนความรู้ให้กับคณาจารย์ นักวิจัย และผู้มาประชุมเครือข่ายประกันคุณภาพ 6 สถาบัน ที่มาร่วมประชุมวันที่ 24 ธันวาคม 2561 ณ ห้องสื่อประสม (ห้องบรรยายพิเศษ 2) อาคารบรรณสาร มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
เขียนผลงานวิชาการอย่างไร ไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ และไม่เป็นการลักลอกผลงาน (Plagiarism)
โดยสรุปจากการฟังและจากเอกสารประกอบการบรรยาย ได้ดังนี้
วิทยากรแบ่งการบรรยายออกเป็น 3 ภาค คือ
ภาค 1 เรียนรู้จากข่าว โดยนำกรณีศึกษาต่าง ๆ ที่เป็นข่าวเกิดขึ้น เพื่อเป็นตัวอย่างสะท้อนให้เห็นความหมายของการลักลอกผลงาน ให้ชัดเจนขึ้น และให้เป็นข้อสังเกตว่า การละเมิดลิขสิทธิ์ผลงานของใครก็ตาม ต้องพิจารณาว่า ผลงานนั้นๆ มีลิขสิทธิ์หรือไม่ ตัวอย่างที่ยกมานั้น มีทั้งกรณีที่เป็นนักศึกษา อาจารย์ และประชาชนทั่วไป ที่มีการคัดลอกผลงานทางวิชาการของคนอื่นมาเขียน ไม่มีการอ้างอิงแหล่งที่มา และมีการตรวจสอบได้ รวมทั้งวิธีการพิจารณาของมหาวิทยาลัยแต่ละแห่ง เช่น มีทั้งการเพิกถอนปริญญา หรือบางกรณีเจ้าของผลงานไม่ติดใจ แต่ให้มหาวิทยาลัยดำเนินการตามมาตรการของมหาวิทยาลัยเอง ความเคลื่อนไหว และบทบาทของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น ที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) ในการให้นิสิต นักศึกษา พ้นสภาพความเป็นนักศึกษาทันที หาพบว่ามีการจ้าง หรือคัดลอกวิทยานิพนธ์ และสารนิพนธ์ และสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ในการพยายามหาเครื่องมือมาตรวจสอบการลอกเลียนทางวรรณกรรม Read the rest of this entry »
หัวข้อดังกล่าว เป็นการจัดเสวนาแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ซึ่งจัดขึ้นเพื่อเป็นการเปิดตัวระบบห้องสมุด WorldShare Management Services (WMS) อย่างเป็นทางการของศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ เมื่อวันที่ 20 มกราคม 2561 โดยบริษัท แอดวานซ์ มีเดีย เซอร์วิส (Advance Media Service-AMS) ได้จัดสัมมนาแลกเปลี่ยนประสบการณ์ เรื่อง OCLC’s integrated management platform, WorldShare Management Services (WMS) สามารถช่วยตอบโจทย์ในปัจจุบันของห้องสมุดได้อย่างไร เพื่อให้ห้องสมุดที่สนใจ เข้าร่วมฟัง
OCLC’s Integrated Management Platform, WorldShare Management Services (WMS) สามารถช่วยตอบโจทย์ในปัจจุบันของห้องสมุดได้อย่างไร
ในการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ดังกล่าว ได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์ ดร. ประจักษ์ พุ่มวิเศษ อธิการบดีมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ให้เกียรติเป็นประธานกล่าวต้อนรับ และกล่าวถึงการนำระบบห้องสมุดอัตโนมัติ WorldShare Management Services (WMS) มาใช้เป็นแห่งแรกในประเทศไทย และทีมงาน AMS ได้มาอัพเดท feutures ใหม่ ๆ ของ WMS ที่เป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติงานของห้องสมุด สุดท้ายเป็นการแบ่งปันประสบการณ์ในการนำระบบ WMS มาใช้ที่ศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ พร้อมสาธิตระบบให้แก่ผู้สนใจเข้าฟัง ณ ห้องสื่อประสม (ห้องบรรยายพิเศษ 2) ศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ Read the rest of this entry »
ประธานคณะกรรมการดำเนินการด้านการจัดการพลังงานและสิ่งแวดล้อม นำโดย อาจารย์ฉลอง แขวงอินทร์ รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ คณะทำงานด้านการจัดการพลังงานและสิ่งแวดล้อม จากทุกหน่วยงานของมหาวิทยาลัยฯ จำนวน 60 คน ซึ่งมหาวิทยาลัยฯ มีการดำเนินงานด้านการจัดการพลังงานและสิ่งแวดล้อมมาอย่างต่อเนื่อง ในปีการศึกษา 2559-2561 มีโครงการที่มุ่งเน้นด้านการจัดการพลังงานและสิ่งแวดล้อมแบบมีส่วนร่วมให้แก่นักศึกษาและบุคลากรในมหาวิทยาลัยฯ ประกอบด้วย กิจกรรมแบบมีส่วนร่วมที่มุ่งเน้นด้านการประหยัดพลังงานและดูแลสิ่งแวดล้อม กิจกรรมการศึกษาดูงานอาคาร สำนักงานประหยัดพลังงาน เป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินการโครงการดังกล่าว ในปีการศึกษา 2561 ได้เข้าเยี่ยมชม ศึกษาดูงาน ณ อาคารศูนย์การเรียนรู้ กฟผ. สำนักงานกลาง จังหวัดนนทบุรี เมื่อวันอังคารที่ 11 ธันวาคม 2561 เวลา 09.00-12.00 น.
อาคารศูนย์การเรียนรู้ กฟผ. สำนักงานกลาง หรือ EGAT Learning Center เป็นโครงการที่กฟผ. มุ่งทำขึ้นภายใต้ยุทธศาสตร์การแบ่งปันองค์ความรู้สู่สังคม ให้เป็นแหล่งเรียนรู้ด้านพลังงานของประเทศไทยและพลังงานของโลก ตั้งแต่อดีต ปัจจุบัน และอนาคต ตั้งอยู่บนเนื้อที่ 18 ไร่ มีพื้นที่ 6,000 ตารางเมตร จำนวน 4 ชั้น เจ้าหน้าที่พาชมบริเวณด้านหน้าทางขึ้นเป็นสวนแนวตั้ง ประดับด้วยพรรณไม้ประเภทไม้พุ่ม ไม้เลื้อย ที่มีความทนทานต่อแสงแดดเหมาะสมกับสภาพแวดล้อม เช่น ฟิโลเดนดรอนสีทอง สีเขียว (Philodendron) เฟิร์น เป็นต้น บริเวณด้านหน้าประตูทางขึ้นมีตราสัญลักษณ์ของ กฟผ. มองลงไปเบื้องหน้าริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณเชิงสะพานพระราม 7 และภายในบ่อบำบัด จะเห็นว่าในบ่อมีน้ำสีเขียว เรียกว่าบ่อซึม สามารถใช้น้ำที่บำบัดแล้ว นำมาหมุนเวียนใช้ต่อได้
สวนแนวตั้งและตราสัญลักษณ์ กฟผ.
แสงเงาของผู้เยี่ยมชม
Read the rest of this entry »
กิจกรรมพิธีลงนามความร่วมมือจัดตั้งมุมสารสนเทศไต้หวันระหว่างหอสมุดกลางแห่งชาติไต้หวัน (National Central Library, Taiwan ROC : NCL) และ สำนักงานวิทยทรัพยากร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (Signing and Opening Ceremony of the Taiwan Resource Center for Chinese Studies (TRCCS) @ CU Library จัดโดยสำนักงานวิทยทรัพยากร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อ วันอังคารที่ 30 ตุลาคม 2561
กิจกรรมนี้ ประกอบด้วย
จากการเข้าร่วมกิจกรรมครั้งนี้ ทำให้ได้รับทราบโครงการความร่วมมือจัดตั้งมุมสารสนเทศไต้หวัน ระหว่าง หอสมุดกลางแห่งชาติไต้หวัน (National Central Library, Taiwan R.O.C. : NCL) และ สำนักงานวิทยทรัพยากร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ชมการจัดมุมทรัพยากรสารสนเทศไต้หวัน และ ชมนิทรรศการ “ไทยวิจิตรตระการ-ตำนานไทยในรอยรำลึกไต้หวัน” (The Beauty and Grace of Thailand – An Exhibition of Thailand in Taiwan Memory) และ ได้ฟังการบรรยาย เรื่อง Taiwan Lecture on Chinese Studies ; Thai images in Taiwan (ภาษาอังกฤษ) โดย Prof. Pei-hsiu Chen ผู้อำนวยการภาควิชาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา มหาวิทยาลัยแห่งชาติจี้หนาน
วิทยากร Prof. Pei-hsiu Chen
เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2561 มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติได้จัดพิธีรับมอบหนังสือชุด “รวมผลงานของพระมหาเถระซิงหวิน”《星云大师全集》จากมูลนิธิแสงพุทธธรรม ประเทศไทย (国际佛光会泰国协会)ณ ห้องบรรยายพิเศษ 2 (ห้องสื่อประสม) อาคารบรรณสาร มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ โดยมีท่านอธิการบดี รองศาสตราจารย์ ดร. ประจักษ์ พุ่มวิเศษ เป็นผู้รับมอบจาก พระอาจารย์ซินติ้ง(心定法师)ผู้ร่วมในพิธีมีทั้งผู้แทนจากมูลนิธิแสงธรรมประเทศไทย และ จากไต้หวัน รวมทั้ง ผู้อำนวยการศูนย์บรรณสารสนเทศ และ เจ้าหน้าที่ของศูนย์บรรณสารสนเทศ
จากภาพจะเห็นหนังสือชุด“รวมผลงานของพระมหาเถระซิงหวิน”《星云大师全集》ทั้งหมด 365 เล่ม วางเรียงรายอยู่บนโต๊ะ และ ที่ผนังห้องจะเห็นรูปภาพของพระอาจารย์ซิงหวิน ที่มีใบหน้ายิ้มแย้มเปี่ยมด้วยความกรุณา ทำให้บรรยากาศในห้องเต็มไปด้วยความปิติยินดี Read the rest of this entry »
佛光山曼谷文教中心送来了一份珍贵的书籍——《星云大师全集》。今天(2018年6月28日)是学校图书馆举办接受《星云大师全集》赠送仪式的重要日子,叶校长欢欣接受法露喜雨,主要来宾有主持赠书的心定法师、本地及台湾的居士代表、图书馆馆长、图书馆同仁等,济济一堂。
礼堂布置简单庄严,讲台前三百六十五册全集排列桌上,堂皇壮观。壁上悬挂着一脸和蔼笑容的大师巨像,为场面带来慈祥欢乐的气氛。星云大师是现德高望重的佛教大师。不单佛教界乃至其他领域,有着及其崇高的地位。
大师现年九十二岁、出家八十年、弘法六十多年,毕生奉献于弘扬“人间佛教”。
据资料显示:大师江苏扬州(江都)人,出生于1927年8月19日,十二岁时便在南京栖霞寺随志开上人出家,承继临济宗第四十八代传人。后来入栖霞律学院、焦山佛学院研修佛学。1949年春,组织僧侣救护队到台湾。1967年创建佛光山,并出任佛光山寺第一、二、三任住持。
大师以其“人间佛教”理念付诸实践,致力于社会,文化、教育、慈善等事业,不分贫贱富穷,一律平等提携共创人间幸福境地。因此,大师先后在世界各地创建二百余所道场、创办美术馆、图书馆、出版社、书局、中华学校、佛教丛林佛教学院六所,幼儿园、小学、中学、大学等数十所,如智光中学、普门中学等;高等学府有南华大学、佛光大学等。大师曾主编《人生》、《今日佛教》、《觉世》月刊等佛教刊物。 Read the rest of this entry »
ตามที่ได้รับมอบหมายให้จัดทำรายงานการใช้ทรัพยากรสารสนเทศ ของศูนย์บรรณสารนั้น เพื่อให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของศูนย์บรรณสารสนเทศ ในการอนุรักษ์พลังงาน ในตารางการใช้ทรัพยากรสารสนเทศ มีรายละเอียดต่างๆ ดังนี้
1. ตารางสรุปการใช้ไฟฟ้า น้ำประปา อาคารบรรณสาร 2. กราฟแสดงทิศทางการใช้พลังงานไฟฟ้าและน้ำประปา อาคารบรรณสาร 3. วิธีการคำนวณน้ำหนักกระดาษ อาคารบรรณสาร 4. ข้อมูลการใช้ทรัพยากรและการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก อาคารบรรณสาร 5. การวิเคราะห์ข้อมูลก๊าซเรือนกระจก อาคารบรรณสาร 6. ปริมาณขยะ อาคารศูนย์บรรณสารสนเทศ
มารู้จักวิธีการคำนวณรายงานการใช้ทรัพยากรสารสนเทศกันเถอะ….
ประโยชน์ที่ได้จากการทำรายงานฉบับนี้ ทำให้ทราบถึงปริมาณการใช้ค่าไฟฟ้า ค่าน้ำประปา และกระดาษ ของอาคารบรรณสาร หากมีการเพิ่มขึ้นของทรัพยากรดังกล่าว จะได้หาปัญหาของการเพิ่มขึ้นของทรัพยากรนั้น เช่น การช่วยรณรงค์ การประหยัดน้ำ ประหยัดไฟฟ้า ลดปริมาณขยะ และรวมถึงการร่วมแรงร่วมใจกันใช้กระดาษรีไซเคิลนำมาพิมพ์เอกสาร ทั้งนี้กิจกรรมดังกล่าวมาข้างต้น ได้มีอยู่ในมาตรการการประหยัดพลังงานด้วยคุณธรรมของมหาวิทยาลัย 15 ข้อ
เนื่องจากผู้เขียนได้รับมอบหมายให้เข้าร่วมกิจกรรมแลกเปลี่ยนการเรียนรู้ครั้งที่2 เรื่องปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงานกิจกรรมคุณภาพ 7 สของหน่วยงานปีการศึกษา 2560 จึงขอสรุปผลการเข้าร่วมกิจกรรม เพื่อเป็นการแบ่งปันประสบการณ์ ดังนี้
วัตถุประสงค์
มีการจัดแบ่งกลุ่มเป็น 4 กลุ่มหารือโดยมีประเด็นในการหารือ
จากนั้นได้มีการแยกกลุ่มออกเป็น 4 กลุ่มโดยการจับสลากเลือกกลุ่มที่จะอยู่โดยศูนย์บรรณสารฯอยู่กลุ่มที่3 มีคณะศิลปศาสตร์ คณะนิติศาสตร์ กองคลัง และกองกลางได้มีการสรุปหัวข้อที่ได้รับของแต่ละกลุ่มดังนี้ Read the rest of this entry »
สำนักงานเลขานุการ ศูนย์บรรณสารสนเทศ ได้จัดโครงการ “กิจกรรมการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ” ซึ่งโครงการดังกล่าว จัดขึ้นเพื่อให้เป็นไปตามแผนกลยุทธ์ ศูนย์บรรณสารสนเทศ ยุทธศาสตร์ที่ 6 เรื่อง การบริหารจัดการศูนย์บรรณสารสนเทศ อย่างมีประสิทธิภาพ พอเพียง ตามหลักธรรมาภิบาล ในมาตรการที่ 2.6 บริหารจัดการเพื่อมุ่งสู่มหาวิทยาลัยคุณธรรมและคุณภาพอย่างยั่งยืน (Life Long Quality) โดยรวมถึง การมีสุขภาพที่ดี (Life Long Health Quality) ซึ่งมีระยะเวลาการจัดกิจกรรมตลอดปีการศึกษา 2560 Read the rest of this entry »