Dropbox เป็นหนึ่งในหลายบริการที่มีความนิยมเป็นอย่างมากในการจัดเก็บเอกสาร หรือไฟล์รูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ เช่น รูปภาพ เสียง วิดีโอ เป็นต้น Dropbox เป็นเครื่องมือที่ทำให้เราสามารถเรียกใช้ไฟล์งานต่างๆ ของเราได้ ทุกที่ ทุกเวลา ไม่ว่าเราจะอยู่ที่ไหนก็ตาม เพียงแค่เรามีอินเตอร์เน็ต โดยใช้ Notebook, PC หรือ Smartphone เราก็สามารถเข้าถึงไฟล์งานของเราได้อย่างง่ายดาย และไม่ว่าจะมีการเพิ่ม ลบ แก้ไข หรือแชร์ไฟล์เอกสารใดๆ เราก็สามารถทำได้ทันที
คุณสมบัติของโปรแกรม Dropbox
ขนาดพื้นที่ของ Dropbox ที่สามารถใช้ได้
ผู้ใช้จะได้รับพื้นที่ฟรี 2 GB หากต้องการเพิ่มพื้นที่ใน Dropbox สามารถทำได้ 2 วิธี ได้แก่ วิธีที่ 1 จ่ายค่าใช้บริการ มีรายละเอียดดังนี้
วิธีที่ 2 แนะนำให้ผู้อื่นที่ยังไม่เคยใช้ Dropbox ให้ใช้ Dropbox วิธีนี้ต้องอาศัยความอดทนมาก ขั้นตอนง่ายนิดเดียวแค่เราไปเชิญเพื่อนให้มาสมัคร Dropbox ผ่านลิ้งค์ของเรา จะได้เพิ่มคนละ 500 MB โดยเพิ่มได้สูงสุด 16 GB การหาลิ้งค์เชิญของเราก็ไปที่ https://www.dropbox.com/referrals ของบัญชีเรา ในช่อง “Copy Link” ด้านล่าง ถ้ามีคนกดที่ลิ้งค์นี้แล้วสมัครจนถึงขั้นตอนลงโปรแกรม Dropbox ลงคอมพิวเตอร์ เราจะได้ 500 MB และเพื่อนเราที่สมัครก็จะได้ 500 MB ด้วย
ขั้นตอนการ ลงทะเบียน Dropbox Read the rest of this entry »
ในการใช้งาน VPN ผ่านมือถือ Android จำเป็นต้องมีแอพพลิเคชั่น แนะนำให้ใช้แอพพลิเคชั่นนี้คะ ซึ่งตอนนี้มี เวอร์ชั่น 4.3
ขั้นตอนการโหลดแอพพลิเคชั่นดังนี้ Read the rest of this entry »
ในการจัดซื้อทรัพยากรสารสนเทศของศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ โดยเฉพาะหนังสือที่อยู่ในหลักสูตรต่างๆ อาจจะมีกระบวนการที่แตกต่างจากห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาอื่นๆ อาจเนื่องจาก มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ เป็นมหาวิทยาลัยขนาดกลาง จึงสามารถที่จะกำกับดูแล หรือร่วมพิจารณาการจัดซื้อหนังสือ เพื่อให้เกิดประโยชน์อย่างสูงสุด
โดยในการจัดซื้อหนังสือนั้น จะต้องผ่านการพิจารณาจากคณบดีแต่ละคณะ ซึ่งผู้เขียน มีหน้าที่ในการจัดซื้อ จะจัดทำรายชื่อหนังสือที่อาจารย์แต่ละท่านแต่ละคณะได้พิจารณาคัดเลือกจากร้านหนังสือ จากนั้้นทำบันทึกข้อความที่ได้รับการตรวจสอบจากฐานข้อมูลหนังสือที่พิจารณาคัดเลือกว่ามีอยู่ในห้องสมุดหรือไม่ กรณีที่ยังไม่มีหนังสือดังกล่าว จะดำเนินการทำบันทึกเสนอถึงคณบดีแต่ละคณะ และกำกับสาขาๆ ลงนามประธานคณะกรรมการวิชาการ และส่งกลับให้ศูนย์บรรณสารสนเทศ
เมื่อศูนย์บรรณสารสนเทศได้รับรายชื่อหนังสือที่ผ่านการพิจารณาจากคณบดีแต่ละคณะเรียบร้อยแล้ว จะดำเนินการติดต่อร้านค้าเพื่อส่งรายชื่อหนังสือ ขอใบเสนอราคาร้านค้าเพื่อตรวจสอบราคา และพิจารณาดำเนินการสั่งซื้อต่อไป
จบลงไปอย่างสวยงามสำหรับโครงการ Be My Guest เพราะคุณคือคนพิเศษ ซึ่งแผนกบริการสารสนเทศ ศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ จัดขึ้นเมื่อวันที่ 21 – 23 มีนาคม 2560 ณ โถงชั้น 1 อาคารบรรณสาร เพื่อให้ผู้รับบริการมีความรู้ ความเข้าใจในทรัพยากรสารสนเทศ ที่ศูนย์บรรณสารสนเทศ จัดหาไว้ให้บริการ เพื่อให้ผู้รับบริการสามารถเข้าถึงองค์ความรู้ต่างๆ สามารถใช้บริการต่างๆ และก่อให้เกิดแนวความคิดในการเรียนการศึกษา ค้นคว้า ที่สอดคล้องกับการเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21 และเพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้ให้บริการและผู้รับบริการ สรุปง่ายๆ ก็เพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์งานบริการของศูนย์บรรณสารสนเทศ เพื่อเป็นการส่งเสริมการใช้ทรัพยากรสารสนเทศ นั่นเอง
กิจกรรมที่จัดขึ้นประกอบด้วย กิจกรรมบนเวที มีการเสวนาเรื่อง “อ่าน/เขียน อย่างไร …เพื่อให้เกิดแรงบันดาลใจ” โดยได้รับการสนับสนุนวิทยากรชื่อดัง จากสำนักพิมพ์สถาพร บุ๊คส์ การออกร้านจำหน่ายหนังสือจากสำนักพิมพ์ชื่อดังจำนวน 5 ร้าน บูธกิจกรรมบริการต่างๆ ของศูนย์บรรณสารสนเทศ ได้แก่ บูธบริการต่างๆของศูนย์บรรณสารสนเทศ บูธบริการสารสนเทศออนไลน์ บูธรักษ์โลก และบูธ DIY สุดชิค Read the rest of this entry »
ศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ได้จัดกิจกรรม Be My Guest เพราะคุณคือคนพิเศษ ขึ้นเมื่อวันที่ 21-23 มีนาคม 2560 เป็นเวลา 3 วัน โดยมีวัตถุประสงค์ดังนี้
คำว่า Be My Guest หมายถึง คุณ คือ แขกของเรา แต่ในความหมายของศูนย์บรรณสารสนเทศ คุณ คือ คนพิเศษของศูนย์บรรณสนเทศ ไม่ว่าจะเป็นนักศึกษา อาจารย์ และบุคลากร คือ ผู้ที่ศูนย์บรรณสารสนเทศต้องให้บริการด้วยจิตใจที่เต็มเปี่ยมด้วยบริการ พร้อมที่จะให้ข้อมูล ความรู้เพื่อส่งเสริมการใช้สารสนเทศที่ศูนย์บรรณสารสนเทศ จัดหาไว้ให้บริการ รวมทั้งเป็นการสร้างความตระหนักและกระตุ้นให้เกิดการอ่านและการใช้สารสนเทศเพื่อให้เกิดประโยชน์อย่างคุ้มค่า Read the rest of this entry »
ภารกิจของปิดมหาวิทยาลัยในช่วงเทศกาลสงกรานต์ คือ ภารกิจจัดซื้อหนังสือจากศูน (45th National Book Fair and 15th Bangkok International Book Fair 2017) ซึ่งกำหนดจัดให้มีระหว่างวันพุธที่ 29 มีนาคม – วันอาทิตย์ที่ 9 เมษายน 2560 รวม 12 วัน ตั้งแต่เวลา 10.00-21.00 น. ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์
วันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2560 เวลา 17.00 น. สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินเป็นประธานในพิธีเปิด ในการนี้ พระราชทานพระราชดำรัส เปิดงาน ความว่า “ขอแสดงความชื่นชมในความมุ่งมั่นของคณะผู้จัดงาน ที่ร่วมมือกันอย่างแข็งขันจัดงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติและสัปดาห์หนังสือนานาชาติต่อเนื่องทุกปีมาจนถึงปัจจุบัน เพื่อส่งเสริมและปลูกฝังวัฒนธรรมการอ่านให้แพร่หลายในสังคมไทย ด้วยจิตเจตนาที่จะสร้างสังคมไทยให้เป็นสังคมแห่งปัญญาที่เกิดจากการอ่านหนังสือ งานทุกครั้งมีผู้เข้าชมจำนวนมาก ที่ตั้งใจมาเลือกซื้อตามความสนใจ แสดงให้เห็นว่า แม้การอ่านจะมีวิวัฒนาการมาจนถึงขั้นอ่านได้จากอุปกรณ์สื่อสาร เช่นโทรศัพท์เคลื่อนที่ แต่ยังมีคนอีกมากที่นิยมอ่านหนังสือเล่มที่ให้รสชาติและความรู้สึกของการอ่านอย่างแท้จริง ในปัจจุบันหนังสือดีมีให้เลือกอย่างหลากหลาย ทั้งที่ให้ความรู้ ที่ช่วยเสริมสร้างความคิด และแรงบันดาลใจ ที่ช่วยกล่อมเกลาจิตใจ หรือที่ให้ความรื่นรมย์ใจ สำหรับผู้ที่ต้องการศึกษาศาสตร์ต่างๆ อย่างละเอียดลุ่มลึก ก็มีหนังสือที่เป็นตำรับชตำราให้เลือกสรรสืบค้น หนังสือจึงยังเป็นของมีค่า เป็นที่ต้องใจนักอ่านมาตลอด ตั้งแต่เริ่มแรกที่มีหนังสือเกิดขึ้น”
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินเป็นประธานในพิธีเปิด
Read the rest of this entry »
ผ่านไปแล้วสำหรับการรับเกียรติบัตรการผ่านประเมินห้องสมุดสีเขียว ซึ่งจัดให้มี 2 วัน คือวันที่ 21 มีนาคม 2560 โดยสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ท่านนายกสภามหาวิทยาลัย กรุณาให้เกียรติเป็นประธานในการมอบเกียรติบัตรให้ห้องสมุดนำร่อง 10 แห่งในการตรวจการประเมิน รวมทั้งสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ที่เป็นห้องสมุดต้นแบบ รวมเป็น 11 แห่ง ประกอบด้วย
วันนี้ (20 มีนาคม 2560) ศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ โดย ผู้อำนวยการศูนย์บรรณสารสนเทศ และหัวหน้าแผนกจัดหาและวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ เป็นตัวแทนมอบหนังสือให้กับห้องสมุดเฉลิมพระเกียรติเรือนจำกลางสมุทรปราการ ซึ่งรับมอบโดย นายเกริกชัย นรสิงห์ นักวิชาการอบรมและฝึกวิชาชีพชำนาญการ และ นายเทอดศักดิ์ วิชะยะวงศ์ เจ้าพนักงงานราชทัณฑ์ปฎิบัติการ เรือนจำกลางสมุทรปราการ สำหรับหนังสือที่มอบให้ในครั้งนี้ มีจำนวน 691 รายการ เพื่อประโยชน์ต่อการเรียน การสอน และการศึกษาค้นคว้าของเจ้าหน้าที่และผู้ต้องขังต่อไป และจัดเป็นกิจกรรมในทุกปีที่ศูนย์บรรณสารสนเทศ จะส่งมอบหนังสือให้กับห้องสมุดเฉลิมพระเกียรติเรือนจำกลางสมุทรปราการ
ส่งมอบหนังสือให้กับห้องสมุดเฉลิมพระเกียรติเรือนจำกลางสมุทรปราการ
ส่งมอบหนังสือให้กับห้องสมุดเฉลิมพระเกียรติเรือนจำกลางสมุทรปราการ รับมอบโดยนายเกริกชัย นรสิงห์ นักวิชาการอบรมและฝึกวิชาชีพชำนาญการ และ นายเทอดศักดิ์ วิชะยะวงศ์ เจ้าพนักงงานราชทัณฑ์ปฎิบัติการ เรือนจำกลางสมุทรปราการ
ก่อนที่ผู้เขียนจะมาปฏิบัติงานในตำแหน่งบรรณารักษ์ วิเคราะห์และลงรายการทรัพยากรภาษาจีน ที่ ศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ์ ผู้เขียนได้ปฏิบัติงานที่ฝ่ายบริหารจัดการทรัพยากรสารสนเทศ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยรับผิดชอบการลงรายการและวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ และ ก่อนหน้านั้นได้ปฏิบัติงานในห้องสมุดสาขาหลายแห่งของสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เนื่องจากผู้เขียนมีพื้นความรู้ภาษาจีน จึงได้ช่วยบรรณารักษ์ฝ่ายบริหารจัดการทรัพยากรฯ ของ สำนักหอสมุด แปรภาษาจีนเป็นอักษรโรมัน ซึ่ง ในระยะแรก ๆ ผู้เขียนจะแปรภาษาจีนเป็นอักษรโรมัน โดย ใช้ระบบการสะกดออกเสียงตามระบบ Pinyin และ เขียนคำศัพท์ตามคำศัพท์ภาษาจีนเช่น คำว่า ภาษาจีน (汉语)จะแปรเป็นอักษรโรมันตามระบบ Pinyin อ่านว่า hanyu ซึ่งจะเขียนติดกัน แต่หลังจากที่ผู้เขียนได้มาปฏิบัติงานที่ ฝ่ายบริหารจัดการทรัพยากรฯ สำนักหอสมุด และ รับผิดชอบงานการลงรายการและวิเคราะห์ทรัพยากรภาษาต่างประเทศ โดย รวมถึงภาษาจีนนั้น ผู้เขียนพบว่า การลงรายการทรัพยากรภาษาจีนของ OCLC จะสะกดออกเสียงตามระบบ Pinyin โดยสะกดแยกคำออกจากกัน เช่น คำว่า ภาษาจีน(汉语)จะสะกดเป็น Han yu โดยเขียนแยกกัน และ ใช้ H เป็นอักษรตัวใหญ่ ตามหลักของการเชียนภาษาอังกฤษ โดยใช้อักษรตัวแรกเป็นตัวใหญ่ เช่น English, Chinese และ ชื่อประเทศ ชื่อมณฑล ชื่อเมือง ก็จะเขียนอักษรตัวแรกเป็นตัวใหญ่ และ เขียนติดกัน เช่น คำว่าประเทศจีน (中国)จะสะกดและเขียนเป็น Zhongguo ปักกิ่ง (北京)สะกดและเขียนเป็น Beijing เป็นต้น หลังจากผู้เขียนได้อ่านระบบการแปรอักษรจีนเป็นอักษรโรมันของ ALA-LC Romanization แล้ว จึงทราบความเป็นมาและรายละเอียดหลักเกณฑ์การแปรภาษาจีนเป็นอักษรโรมัน ดังนี้ การแปรภาษาจีนเป็นอักษรโรมันของ ALA-LC
เมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2559 เวลา 9.00-12.00 น. ศูนย์บรรณสารสนเทศ โดย ผู้อำนวยการศูนย์บรรณสารฯ นางสาวสุภาพร ชัยธัมมะปกรณ์ได้เป็นวิทยากรในกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับสถาบันพัฒนาวิชาการ (สพว.) ซึ่งผู้อำนวยการ โดย ผศ. ดร. วุฒิพงษ์ ทองก้อน มีความสนใจในการนำโปรแกรม Dokuwiki ที่ศูนย์บรรณสารสนเทศ ใช้อยู่ มาประยุกต์ใช้กับกิจกรรมของ สพว. ต่อไป
ถ่ายภาพร่วมกันหลังบรรยายเสร็จ
เนื่องจาก วิกิ เป็นเว็บไซต์ที่เกิดขึ้นในช่วง Web 2.0 จึงได้มีการบรรยายนำในเรื่องของประวัติและพัฒนาการของ Web ในแต่ละยุค จาก Web 1.0-Web 4.0 จากนั้นจึงได้นำเข้าสู่โปรแกรม Dokuwiki และการใช้งานของศูนย์บรรณสารสนเทศ เช่น การใช้ในการประชุม การใช้ในการจัดเก็บเอกสารภายในของศูนย์ฯ ผลจากการใช้ทำให้ศูนย์บรรณสารสนเทศ มีกระบวนการจัดเก็บไฟล์เอกสารที่มีระบบมากขึ้น ค้นหาไฟล์เอกสารต่างๆ ได้ง่ายขึ้น สามารถใช้เป็นแหล่งจัดเก็บเอกสารในระบบประกันคุณภาพ แหล่งจัดเก็บเอกสารเพื่อใช้ในการประเมินต่างๆ และทำให้ลดการใช้กระดาษลงได้อีก
เอกสารประกอบการบรรยาย