SIDEBAR
»
S
I
D
E
B
A
R
«
ระบบห้องสมุด WorldShare Management Services หรือ WMS จุดเด่น/ความแตกต่าง (ตอนที่ 2)
พ.ค. 20th, 2018 by supaporn

ความแตกต่างที่เห็นได้ชัดในฐานะที่เคยทำงานด้านวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศหรือ Cataloging ก็คือ โมดูลในการลงรายการบรรณานุกรมนั้น ในระบบ WorldShare Management Services – WMS นั้น ให้ความสำคัญกับการทำเมทาดาทา การบริหารจัดการเมทาดาทา ขั้นตอนการทำงานในโมดูลเทาดาทาจึงมีแตกต่างจากโมดูล Cataloging ของระบบห้องสมุดโดยทั่วไป กล่าวคือ ในโมดูลเมทาดาทา (Metadata Module) ซึ่งเป็นโมดูลของการนำเข้าทรัพยากรสารสนเทศ หรือเดิมมักจะรู้จักกันในชื่อว่า Cataloging Module จะมีการบริหารจัดการข้อมูลทางบรรณานุกรม หรือเมทาดาทาที่มีประสิทธิภาพมากขึ้นกว่าเดิม และเนื่องจากเป็นการรวมรายการบรรณานุกรมทรัพยากรสารสนเทศของห้องสมุดที่เป็นสมาชิก OCLC มากกว่า 7,200 แห่งทั่วโลก จึงทำให้สถาปัตยกรรมหรือโครงสร้างการสร้างระเบียนข้อมูลทางบรรณานุกรมแตกต่างจากเดิมเพื่อให้สนับสนุนการทำงานที่เป็นระบบ World Cataloging ซึ่งก็คือ พัฒนาการของการเป็นระบบสหบรรณานุกรม หรือ Union Catalogue นั่นเอง

สถาปัตยกรรมหรือโครงสร้างระเบียนทางบรรณานุกรมของระบบ WMS เพื่อสนับสนุนการเชื่อมโยงกับ WorldCat นั้น จึงแบ่งได้เป็น 3 ส่วน ประกอบด้วย คือ

1. Master Record
2. Local Bibliographic Data (LBD)
3. Local Holding Record (LHR)

โครงสร้างระเบียนบรรณานุกรม

 

Master Record หมายถึง ระเบียนทางบรรณานุกรมของทรัพยากรสารสนเทศ ที่ห้องสมุดนำเข้าระบบเป็นแห่งแรก จะถือว่าระเบียนนั้น เป็นระเบียนหลัก ประกอบด้วยข้อมูลทางบรรณานุกรมทรัพยากรสารสนเทศที่นำเข้าตามหลักเกณฑ์การลงรายการทางบรรณานุกรมแบบ AACR2 และ MARC21 หรืออาจจะเป็น RDA ห้องสมุดอื่นที่จะนำเข้าในระบบ WorldCat และตรวจสอบความซ้ำซ้อนและพบว่ามีระเบียนทางบรรณานุกรมของทรัพยากรสารสนเทศที่จะนำเข้าอยู่แล้ว (Master record) สามารถใช้ Master record เพื่อเป็นระเบียนทางบรรณานุกรมของทรัพยากรสารสนเทศของห้องสมุดตนเองได้ โดยไม่ต้องลงข้อมูลทางบรรณานุกรมใหม่ แต่สามารถเพิ่มข้อมูลอื่นๆ ที่เป็นข้อมูลเฉพาะของห้องสมุดได้ในส่วนประกอบที่เรียกว่า Local Bibliographic Data (LBD) และใส่ข้อมูลเกี่ยวกับ item information ในส่วนประกอบที่เรียกว่า Local Holding Record (LHR)

Local Bibliographic Record (LBD) หมายถึง ข้อมูลทางบรรณานุกรมที่ห้องสมุดแห่งอื่นๆ ที่ใช้ Master record ร่วมกัน มีข้อมูลที่เป็นส่วนของห้องสมุดต้องการใส่ เช่น หัวเรื่อง (ที่กำหนดใช้ขึ้นเอง) หมายเหตุ (Note) ที่ห้องสมุดกำหนดขึ้นเอง ชื่อชุด ที่กำหนดเอง

Local Holding Record (LHR) หมายถึง ข้อมูลเกี่ยวกับ item ของระเบียนนั้นๆ ได้แก่ เลขหมู่ หมายเหตุ (ที่เกี่ยวกับหนังสือ) บาร์โคด ราคา การกำหนดการยืม การกำหนดการให้ทำสำเนา เป็นต้น

ระบบห้องสมุด WorldShare Management Services หรือ WMS จุดเด่น/ความแตกต่าง (ตอนที่ 1)
พ.ค. 18th, 2018 by supaporn

ถ้าจะกล่าวถึง ความแตกต่างของระบบห้องสมุด WorldShare Management Services หรือ WMS กับระบบห้องสมุดอัตโนมัติอื่นๆ อย่างไรบ้าง นั้น ข้อแรก คงต้องพูดถึง การเป็น Library Services Platform (LSP) ที่มีการพัฒนาไปจาก Library Integrated System (LIS)

ลักษณะขอ LIS เราน่าจะคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี เพราะเราใช้กันอยู่ในปัจจุบัน แต่การเป็น LSP นั้นมีลักษณะ

 

ลักษณะของ LSP

ลักษณะของ LSP

กล่าวคือ LSP ทำให้ห้องสมุดสามารถบริหารจัดการทรัพยากรสารสนเทศ สามารถขยายเนื้อหาที่มีรูปแบบหลากหลายทั้งฉบับพิมพ์ และฉบับอิเล็กทรอนิกส์ สนับสนุนกระบวนการจัดซื้อที่หลากหลาย การจัดซื้อสำหรับการเป็นเจ้าของอย่างถาวร ผ่านการจ่ายค่าอนุญาตหรือการเป็นสมาชิก เอื้อต่อการจัดการเมทาดาทาที่มีหลายเกณฑ์และเหมาะสมกับสื่อที่มีความแตกต่างกัน อย่างน้อย ตระกูล MARC หรือ Dublin Core รวมถึงการสนับสนุนการให้บริการที่บูรณาการกันโดยมีการใช้ API และโปรโตคอลอื่นๆ ที่สามารถใช้งานข้ามกันได้ (Interoperability) นอกจากนี้ LSP สนับสนุนการทำงานแบบ Multi-tenant กล่าวคือ ระบบซอฟต์แวร์ชุดเดียวแต่ให้บริการคนหลาย ๆ คนในขณะเดียวกันได้ โดยผู้ใช้ต่างห้องสมุดและมีข้อกำหนดของคุณสมบัติของระบบซอฟต์แวร์บางอย่างแตกต่างกันได้

หาอ่านโดยละเอียด ลึกๆ ได้จากหลายแหล่งค่ะ เช่น

https://journals.ala.org/index.php/ltr/article/view/5686/7063

https://www.niso.org/sites/default/files/stories/2017-09/FE_Grant_Future_Library_Systems_%20isqv24no4.pdf

http://helibtech.com/file/view/Rethinking_the_LSP_Jan2016a.pdf

 

 

แนะนำมุมหนังสือพลังงาน
พ.ค. 16th, 2018 by dussa

ศูนย์บรรณสารสนเทศ ให้บริการมุมหนังสือพลังงานเพื่อเพิ่มพูนความรู้เกี่ยวพลังงานและสิ่งแวดล้อมโดยจะนำหนังสือและสื่อความรู้ต่าง ๆ ซึ่ง ประกอบด้วย หนังสือ จุลสาร เกี่ยวกับ สิ่งแวดล้อม นิเวศวิทยา และพลังงาน นำมาจัดเป็น “มุมหนังสือพลังงาน” ที่บริเวณ ชั้น 4 อาคารบรรณสาร ผู้ใช้บริการสามารถยืมทรัพยากรได้ โดยตัวเล่มจะมีสัญลักษณ์ ติดแถบสติกเกอร์สีเขียวเข้มไว้มุมบนซ้ายมือ มุมหนังสือพลังงานดำเนินการแล้วเสร็จตั้งแต่วันที่ 4 พฤษภาคม 2561

 

มุมหนังสือพลังงาน ชั้น 4 Read the rest of this entry »

สหบรรณานุกรมห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาไทย Union Catalog of Thai Academic Libraries (UCTAL)
พ.ค. 13th, 2018 by jittiwan

แนวความคิดของการจัดทำสหบรรณานุกรมสำหรับห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาของประเทศไทย คือ การใช้รายการร่วมกัน อันจะช่วยรองรับการใช้ทรัพยากรร่วมกัน ลดความ ซ้ำซ้อนในการจัดทำรายการบรรณานุกรม และใช้ประโยชน์ในการยืมระหว่างห้องสมุดของสถาบันอุดมศึกษาไทย รวมทั้งอำนวยความสะดวกต่อผู้ใช้บริการ ทั้งนักศึกษา อาจารย์และนักวิชาการในการค้นหาหนังสือที่ต้องการโดย ที่ไม่ต้องเข้าเว็บไซต์ของแต่ละห้องสมุด ดังนั้นการจะทราบว่า ห้องสมุดแห่งใดมีทรัพยากรสารสนเทศรายการใดบ้าง จึงต้องมีการรวบรวมข้อมูลทางบรรณานุกรมของทรัพยากรสารสนเทศจากห้องสมุดแต่ละแห่ง

หน่วยวิจัยนวัตกรรมด้านสารสนเทศ สำนักวิชาสารสนเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ได้พัฒนาระบบฐานข้อมูล (Database System) ให้สามารถรองรับการดำเนินงานสหรายการ บรรณานุกรม (Union catalog) ของห้องสมุดสมาชิกเครือข่าย ThaiLis รวมทั้งพัฒนาโปรแกรมประยุกต์ (Application) บนพื้นฐานมาตรฐานสากลในการควบคุมรายการบรรณานุกรม (Bibliographic control) เพื่อให้ สามารถรองรับการทำรายการ การตรวจสอบและควบคุม และการใช้รายการร่วมกัน (Copy & Shared catalog) ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

วิธีค้นหาสหรายการบรรณานุกรม (Union catalog) 

ผู้ใช้บริการสามารถสืบค้นทรัพยากรสารสนเทศของห้องสมุดสมาชิกเครือข่าย ThaiLis ได้ดังนี้

1. เข้าไปที่ http://uc.thailis.or.th/main/index.aspx ค้นหาได้จากเขตข้อมูลที่กำหนดเป็นคำค้น เช่น ชื่อเรื่อง ชื่อผู้แต่ง ISBN หัวเรื่อง คำสำคัญ  Read the rest of this entry »

สร้างเอกสารออนไลน์กับ Google document
เม.ย. 25th, 2018 by Suvanrat Kraibutda

ในปัจจุบันเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทมากขึ้น การนำเอาเทคโนโลยีมาใช้ร่วมกับการทำงานจึงเป็นสิ่งที่ใกล้ตัว และหากมีสิ่งที่สามารถช่วยอำนวยความสะดวกได้มากกว่าเดิม ก็คุ้มค่าที่จะทดลองและนำมาใช้ วันนี้จึงขอนำเสนอการทำงานของ Google document งานเอกสาร จาก Google docs เว็บไซต์ที่รวบรวมงานเอกสารที่จำเป็น ไม่ว่าจะเป็น

  • Google document (เอกสาร)
  • Google Sheets (ชีต)
  • Google Slides (สไลด์)
  • Google Forms (ฟอร์ม)

page1
Google docs > https://www.google.com/intl/th_th/docs/about/

Google docs เปิดให้ใช้บริการฟรี สามารถทำได้ทั้งแบบออฟไลน์ และออนไลน์ เพียงมีบัญชี google account และอินเตอร์เน็ต ก็สามารถสร้าง แก้ไข และแชร์เอกสารให้เพื่อนได้ทันที โดยสามารถดึงข้อมูลจาก Google drive จากบัญชีเดียวกันมาใช้ได้เลย นอกจากนี้ยัง Google Document ยังมี Application ที่ทำให้ผู้ใช้สามารถทำงานผ่าน Smartphone อีกด้วย Read the rest of this entry »

งานบริจาคหนังสือ…การให้การแบ่งปันความรู้ที่ไม่มีวันสิ้นสุด
มี.ค. 28th, 2018 by supachok

แผนกจัดหาและวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ ศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ  มีภาระกิจหลักในการเสาะแสวงหาทรัพยกรสารสนเทศ หนังสือ สื่อสิ่งพิมพ์ต่างๆ ทั้งภาษาไทย และภาษาต่างประเทศทั้งด้วยการจัดซื้อด้วยงบประมาณของมหาวิทยาลัย และการขอรับบริจาคจากหน่วยงานและองค์กรต่างๆ ทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย เพื่อนำทรัพยากรสารสนเทศต่างๆ มาให้บริการแก่ผู้ใช้บริการของมหาวิทยาลัยฯ ให้ครอบคลุมหลักสูตรที่มหาวิทยาลัยทำการเรียน การสอน การวิจัย รวมทั้งทรัพยากรสารสนเทศทั่วๆ ไป โดยสามารถค้นหาทรัพยากรสารสนเทศผ่านการสืบค้นระบบห้องสมุดอัตโนมัติ “WMS” หรือ WorldShare Management Services

สำหรับงานบริจาคของแผนกจัดหาฯ นั้นจะช่วยประหยัดงบประมาณด้านจัดซื้อได้มากทีเดียว หนังสือดีๆ มักจะผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนเข้ามาศูนย์บรรณสารสนเทศา ถ้ามีซ้ำและพิจารณาแล้วว่า มีจำนวนพอเพียง หรือทดแทนเล่มเก่าที่ชำรุดแล้ว จะบริจาคให้แก่หน่วยงานต่างๆ ต่อไป แต่คาดว่ายังมีหนังสือดีๆ ที่ยังไม่มีจึงต้องเสาะแสวงหาต่อไป

รูปแบบการรับบริจาคทรัพยากรสารสนเทศ Read the rest of this entry »

การใช้งานระบบ Offline Circulation WMS
มี.ค. 26th, 2018 by Tossapol Silasart

เมื่อศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ได้นำระบบ WorldShare Management Services (WMS) มาใช้นั้น จะมีบางช่วงที่ต้องยังต้องใช้ระบบ Offline คู่ขนาน หรือสำรอง เนื่องจาก

  • ระบบ Offline Circulation WMS จะใช้งานก็ต่อเมื่อ ระบบ WorldShare Circulation ปิดระบบชั่วคราว หรือระบบไม่พร้อมใช้งาน

โดยระบบ Offline Circulation WMS ได้ทำการติดตั้งโปรแกรมอยู่ที่เคาน์เตอร์บริการยืม – คืน ชั้น 1 ศูนย์บรรณสารสนเทศ Read the rest of this entry »

การใช้ Mendeley ช่วยทำงานวิจัย
มี.ค. 23rd, 2018 by pailin

Mendeley (www.mendeley.com) เป็นเครื่องมือออนไลน์จาก ELSEVIER ที่พัฒนาขึ้นเพื่อช่วยสนับสนุนนักวิจัยในการทำวิจัย ช่วยอำนวยความสะดวกในกระบวนการต่างๆ ของการทำวิจัย โดยเปิดให้ทุกท่านใช้งานได้ฟรีไม่มีค่าใช้จ่าย ซึ่งมีวิธีการใช้งาน ดังนี้

1. การสมัครสมาชิก 2. การใช้งานเครื่องมือช่วยทำวิจัย 3. การสืบค้นเอกสาร

Read the rest of this entry »

Google form สร้างแบบสอบถามออนไลน์ (เบื้องต้น)
มี.ค. 15th, 2018 by chanunchida

วิธีใช้ Google form สร้างแบบสอบถามออนไลน์

Google Form ช่วยให้เราสร้างแบบสอบถามออนไลน์ หรือใช้สำหรับรวบรวมข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว โดยที่ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย ในการใช้งาน Google Form ผู้ใช้งานหรือผู้ที่จะสร้างแบบฟอร์มนั้นจะต้องมีบัญชีของ Gmail หรือ Account ของ Google เสียก่อน Google Form สามารถนำไปปรับประยุกต์ใช้งานได้หลายรูปแบบอาทิ เช่น การทำแบบฟอร์มสำรวจความคิดเห็น การทำแบบฟอร์มสำรวจความพึงพอใจ และการทำแบบฟอร์มลงทะเบียน เป็นต้น

เริ่มต้นใช้งาน Google form (เบื้องต้น) Read the rest of this entry »

วิธีเก็บสถิติการใช้งานภายในห้องสมุด กรณีที่ผู้ใช้ไม่หยิบหนังสือไปยืมออก
มี.ค. 2nd, 2018 by pailin

หลายท่านคงได้สังเกตเห็นลักษณะการใช้งานหนังสือภายในห้องสมุดกันมาบ้าง เช่น การหยิบหนังสือมาอ่านแล้ววางไว้ในห้องสมุดโดยไม่ยืมหนังสือออกไป ซึ่งการใช้งานในลักษณะนี้ จะส่งผลให้ทางห้องสมุดไม่ได้รับสถิติการยืมออก (check out) ของหนังสือเล่มดังกล่าว แต่ห้องสมุดสามารถเก็บสถิติการใช้หนังสือแต่ละเล่มที่มีการใช้แต่ไม่ได้ยืมออก  โดยระบบห้องสมุด WorldShare Management Services (WMS) มีช่องทางให้สามารถดำเนินการดังกล่าว

เก็บสถิติการใช้งานภายในห้องสมุด กรณีที่ผู้ใช้ไม่หยิบหนังสือไปยืมออก โดย

– เข้าไปที่โมดู Circulation เลือกเมนู Check In
– กำหนด Check In Mode เป็น Non Loan Return
– แล้วค่อยทำการสแกนบาร์โค๊ดของหนังสือเล่มนั้น

Read the rest of this entry »

»  Substance:WordPress   »  Style:Ahren Ahimsa