SIDEBAR
»
S
I
D
E
B
A
R
«
ระบบจัดเก็บเอกสารของมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
ก.ค. 31st, 2017 by matupode

“เอกสาร” จัดว่าเป็นหลักฐานการดำเนินงานและกิจกรรมต่างๆ ของหน่วยงานหรือองค์กร เอกสารที่อยู่ระหว่างปฏิบัติงานจะมีคุณค่าบริหารงานในช่วงเวลานั้นๆ  แต่เมื่อสิ้นสุดการใช้งานที่เรียกว่า “เอกสารสิ้นกระแสการใช้” จะมีทั้งเอกสารที่ต้องทำลาย  และเอกสารสำคัญที่มีคุณค่าในด้านบริหารงาน คุณค่าด้านประวัติศาสตร์ คุณค่าด้านการศึกษาวิจัยต้องเก็บรักษาไว้ เราเรียกเอกสารนั้นว่า “เอกสารจดหมายเหตุ”

เมื่อปี พ.ศ.2540 ศาสตราจารย์ นายแพทย์เกษม วัฒนชัย เข้ารับตำแหน่งอธิการบดีมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ท่านได้เสนอขอจัดตั้งหอจดหมายเหตุต่อสภามหาวิทยาลัยฯ เพื่อเป็นแหล่งรวบรวมเอกสารที่สิ้นกระแสการใช้งานของหน่วยงานและเป็นเอกสารที่ได้รับการประเมินแล้วว่ามีคุณค่ามาจัดเก็บในหอจดหมายเหตุ และเล็งเห็นว่า การที่จะทำให้หอจดหมายเหตุมหาวิทยาลัยฯ เข้มแข็ง จะต้องมีเอกสารที่มีคุณค่าส่งมาเก็บได้อย่างต่อเนื่อง ท่านจึงได้วางระบบจัดเก็บเอกสารของมหาวิทยาลัยฯ ขึ้น โดยการแต่งตั้งคณะทำงานชุดต่างๆ จัดระบบเอกสารของมหาวิทยาลัยฯ ให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน ตั้งแต่การจัดระบบหมวดหมู่การจัดเก็บเอกสาร การกำหนดอายุเอกสาร การทำลายเอกสาร และการส่งมอบเอกสารให้กับหอจดหมายเหตุ ผ่านคณะทำงาน 3 ชุด คือ

  1. คณะกรรมการจัดระบบเอกสารของมหาวิทยาลัยฯ
  2. คณะกรรมการประเมินคุณค่าและกำหนดอายุการเก็บเอกสารของมหาวิทยาลัยฯ
  3. คณะกรรมการทำลายเอกสาร

Read the rest of this entry »

Something Nice for Your Mind ชอบ เล่มไหน หยิบยืม ได้เลย
มิ.ย. 22nd, 2017 by ปัญญา วงศ์จันทร์

การจัดแสดงหนังสือแนะนำ

Something nice for your mind

ศูนย์บรรณสารสนเทศ  ได้จัดกิจกรรมเชิงรุกโดยนำหนังสือมาจัดแสดงด้านหน้าศูนย์บรรณสารสนเทศ  โดยผู้อำนวยการศูนย์บรรณสารสนเทศ ได้ให้แนวคิดกับแผนกบริการสารสนเทศ ในการนำหนังสือจากการจัดซื้อจากงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ และงานสัปดาห์หนังสือนานาชาติ (Bangkok International Book Fair 2017) มาจัดแสดงทันที โดยลงรายการทางบรรณานุกรมของหนังสือ ให้พอเพียงกับที่จะออกให้บริการได้อย่างทันทีและรวดเร็ว หลังจากที่มาจัดแสดง มีการยืม และเมื่อมีการนำกลับมาคืนแล้ว จึงนำหนังสือเหล่านั้น ไปลงรายการทางบรรณานุกรมของหนังสือตามมาตรฐานของการลงรายการอย่างละเอียดต่อไป เนื่องจากหนังสือที่ออกจากงานสัปดาห์หนังสือฯ เหล่านี้ จะเป็นหนังสือออกใหม่ เพื่อให้ทันกับการเปิดตัวในงานที่มีผู้คนจำนวนมากสนใจติดตามว่ามีหนังสือชื่อเรื่องใดบ้างที่จะออกมาในช่วงนี้ ถ้ามีการจัดซื้อมาแล้ว แต่รอกระบวนความครบถ้วนของการจัดการหนังสือตามระบบห้องสมุด หนังสือใหม่ๆ ดังกล่าว อาจจะเป็นหนังสือเก่า ที่ไม่น่าติดตามแล้วแต่อย่างใด Read the rest of this entry »

หนังสือประเภทสหกิจศึกษา โครงงานพิเศษและการวิจัย
มิ.ย. 21st, 2017 by ladda

ผู้เขียนได้รับผิดชอบงานหนังสือประเภทสหกิจศึกษา โครงงานพิเศษและการวิจัย ซึ่งเป็นงานของนักศึกษาปริญญาตรี ไม่ใช่ของอาจารย์ หรือ ปริญญาโท ดังนั้น จึงขออธิบายความเป็นมาให้ทราบที่มาที่ไปของงานชิ้นนี้ ว่าทำไมถึงต้องวิเคราะห์แยกออกมาจากงานวิทยานิพนธ์และภาคนิพนธ์ของนักศึกษาปริญญาโท และความแตกต่างกับปริญญาตรีของหนังสือสหกิจ โครงงานพิเศษและการวิจัยนี้ มีเนื้อหารายละเอียดแตกต่างกันอย่างไร มีชื่อว่าอะไรบ้าง การใช้ตัวย่อของการทำหนังสือประเภทนี้ ย่อมาจากอะไร มีประโยชน์อย่างไร  และเพื่อสะดวกในการสืบค้นเข้าถึงได้ง่าย สะดวก รวดเร็ว ดังนั้นจึงของชี้แจงความหมายของงานแต่ละประเภทดังนี้

1.งานสหกิจศึกษา สหกิจศึกษา (Co-operative Education: Co-op) เป็นระบบการศึกษาที่จัดให้มีการผสมผสาน ระหว่างการเรียนของนักศึกษาในห้องเรียนเข้ากับการปฏิบัติจริงในสถานประกอบการอย่างมีหลักการ และเป็นระบบเพื่อให้ได้ประสบการณ์ตรงโดยกำหนดให้นักศึกษาออกปฏิบัติงานในสถานประกอบการในฐานะเสมือนหนึ่งเป็นพนักงานชั่วคราว เต็มเวลาเป็นระยะเวลา 1 ภาคการศึกษาซึ่งนักศึกษาจะได้มีโอกาสสร้างความเข้าใจและคุ้นเคยกับโลกแห่งความเป็นจริงของการทำงานและการเรียนรู้เพื่อให้ได้มาซึ่งทักษะของงานอาชีพและทักษะด้านการพัฒนาตนเองเป็นการศึกษาที่บูรณาการการเรียนรู้ในสถานศึกษากับการให้นักศึกษาออกไปปฏิบัติงานจริงเต็มเวลา ณ สถานประกอบการ

หลักการและเหตุผล

สหกิจศึกษา เป็นระบบการศึกษาที่เน้นการปฏิบัติงานในองค์กรผู้ใช้บัณฑิตอย่างมีระบบโดยจัดให้มีการเรียนในสถานศึกษาร่วมกับการจัดให้นักศึกษาไปปฏิบัติงานจริง ณ สถานประกอบการที่ให้ความร่วมมือเพื่อนักศึกษาจะได้มีโอกาสสร้างความเข้าใจและคุ้นเคยกับโลกแห่งความเป็นจริงของการทำงานเพื่อให้ได้มาซึ่งการเรียนรู้และการพัฒนาทักษะทางวิชาชีพที่เป็นความต้องการของสถานประกอบการอันจะส่งผลให้นักศึกษาเป็นบัณฑิตที่มีคุณภาพสูงเป็นที่ต้องการของตลาดแรงงานมากขึ้นอีกทั้งเพื่อเป็นการส่งเสริมความสัมพันธ์และความร่วมมืออันดีระหว่างสถานศึกษากับองค์กรผู้ใช้บัณฑิตทำให้สถานศึกษาสามารถพัฒนาหลักสูตรได้ตลอดเวลา และสถานประกอบการก็จะได้แรงงานนักศึกษาร่วมงานตลอดปี ดังนั้น นักศึกษาสหกิจศึกษาจึงเปรียบเสมือนผู้แทนที่เป็นความภาคภูมิใจของมหาวิทยาลัย ที่จะสะท้อนให้เห็นคุณภาพของการจัดการเรียนการสอนของมหาวิทยาลัย และเป็นการเผยแพร่เกียรติคุณของมหาวิทยาลัย สู่สาธารณชนซึ่งก่อให้เกิดประโยชน์ต่อทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง

ฉะนั้นเพื่อความสะดวก ในการวิเคราะห์และให้หมวดหมู่ของวิชาสหกิจศึกษา จึงกำหนดให้ใช้อักษรย่อ (สห) แทนการให้หมวดหมู่ และตามด้วยชื่อหลักสูตรของสาขาวิชานั้นๆ เช่น หลักสูตรนิเทศศาสตร์บัณฑิต กลุ่มวิชาชีพด้านการออกแบบนิเทศศิลป์ วิชา CA4056 ตามด้วยชื่อผู้แต่ง และปี พ.ศ.  ส่วนสถานะของหนังสือสหกิจจัดวางอยู่ชั้นหนังสือทั่วไปชั้น 4 ดังนี้ Read the rest of this entry »

ความทรงจำบรรยากาศเก่าๆ บริเวณรอบ “สระน้ำ”
เม.ย. 22nd, 2017 by namfon

คิดถึงบรรยากาศเก่าๆ บริเวณรอบ “สระน้ำ” มักถูกเรียกขานกันว่า “สระมรกต” ณ บริเวณภายในมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ

18009954_1600761653275069_425858312_n

สระน้ำ หรือ “สระมรกต” ถ่ายปี พ.ศ. 2552

หลายท่านอาจจะคุ้นเคยกับบรรยากาศเหล่านี้มาก่อน หรือหลายคนอาจจะยังไม่เคยรู้จัก ไม่เคยเห็นมาก่อนด้วยซ้ำไป มาทำความรู้จักกันเลยดีกว่า ว่าอยู่ตรงส่วนไหนกัน จากความทรงจำบรรยากาศเก่าๆ บริเวณรอบ “สระมรกต”  ก่อนได้มีการปรับพื้นที่เป็นอาคารโภชนาการ 2 บริเวณด้านข้างสนามกีฬากลาง  มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ  ในปัจจุบันนี้

บริเวณโดยรอบ “สระมรกต” มักเป็นจุดรวมการนัดพบ รวมตัวกันของคณาจารย์ บุคลากรและนักศึกษา  เนื่องจาก “สระมรกต” อยู่ติดกับสนามกีฬา ดังนั้น บริเวณนี้เป็นศูนย์รวมของการจัดกิจกรรมนันทนาการต่างๆ เช่น เป็นจุดพบปะสังสรรค์ระหว่างกลุ่มนักศึกษา เพื่อนๆ รุ่นพี่ รุ่นน้อง และกิจกรรมที่มักจะจัดอยู่บ่อยครั้ง แต่ที่จัดเป็นประจำทุกปี คือ ประเพณีลอยกระทง จัดประกวดกระทง ประเภทต่างๆ  ประกวดสาวงาม นางนพมาศ ฯลฯ  โดยมีการจัดทำสะพานไม้เล็กๆ ยื่นลงไปบริเวณสระน้ำ “สระมรกต” ลงไปลอยกระทงได้  เพื่อเป็นการอนุรักษ์และสืบสานตามประเพณี  เป็นสระน้ำขนาดไม่ใหญ่มากนัก มีบัวสีสันสวยงาม น้ำใส บรรยากาศร่มรื่น  ลมพัดโชยอ่อน อากาศเย็นสบาย  และต่อมาภายหลังได้ทำสะพานสีแดง ข้ามผ่าน  และเดินไปมาได้  นักศึกษามักจะมาถ่ายภาพ  ทำกิจกรรมกันเป็นจำนวนมาก ภายหลังเมื่อ “สระมรกต” ได้มีการปรับพื้นที่เป็นอาคารโภชนาการ 2 จึงย้ายไปจัดประเพณีลอยกระทง ที่สระน้ำ  บริเวณภายในสวนสุขภาพ หน้าอาคารชิน โสภณพนิช แทน “สระมรกต”

ภาพถ่ายปี พ.ศ. 2554

นักศึกษาถ่ายภาพบนสะพาน ภาพปี พ.ศ. 2554

บริเวณรอบ “สระมรกต” ยังมีสวนไผ่ประดับ โต๊ะม้าหินสำหรับพักผ่อน ด้านทิศใต้ ติดกับทางเดิน Cover Way  ส่วนด้านทิศเหนือ ตรงหัวมุมทางเดินมีห้องน้ำ ชาย-หญิง   และถัดไปมีซุ้มอ่านหนังสือ  มักจะมีนักศึกษาแวะเวียนมานั่งเป็นกลุ่มๆ อย่างต่อเนื่อง กลุ่มเล็ก กลุ่มใหญ่บ้างแล้วแต่จำนวนสมาชิก เพื่อทำกิจกรรม อ่านหนังสือ ติวหนังสือ และพักผ่อนกันตามอัธยาศัย

ซุ้มอ่านหนังสือ

ซุ้มอ่านหนังสือ

วันเวลาที่ผ่านไป สถานที่เหล่านั้นไม่อาจหวนคืนกลับมาดังเดิมได้  แต่ละแห่งมักมีการปรับเปลี่ยนไปตามกาลเวลา ความเหมาะสม  และความคุ้มค่าประโยชน์การใช้สอย  แต่ผู้เขียนเชื่อว่าหลายท่านอาจยังระลึก นึกถึงและอยู่ในความทรงจำสถานที่เหล่านี้เช่นเดียวกัน  ที่ยังพอจำได้  ยังไม่ได้ลืมเลือนหายไป

รายการอ้างอิง

ภาพ ศูนย์เทคโนโลยีการศึกษา

ภาพ หอจดหมายเหตุ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ

แนวปฏิบัติการพยาบาลสำหรับผูปวยผาตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ: จากการสังเคราะหงานวิจัยสูการนำไปปฏิบัติ
มี.ค. 5th, 2017 by rungtiwa

แนวปฏิบัติการพยาบาลสำหรับผูปวยผาตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ : จากการสังเคราะหงานวิจัยสูการนำไปปฏิบัติ

The Clinical Nursing Practice Guideline for Patients with Coronary Artery Bypass Grafting : Research Synthesis for Application

 

วนิดา ดุรงคฤทธิชัย ณัฐณภัทร วัฒนเดชาสกุล รัชนี ผิวผอง และสุวรรณี มงคลรุงเรือง. (2559). แนวปฏิบัติการพยาบาลสำหรับผูปวยผาตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ : จากการสังเคราะหงานวิจัยสูการนำไปปฏิบัติ. วารสาร มฉก.วิชาการ 20(39), 143-156.

อ่านบทความฉบับเต็ม

 

ผลของการใชโอโซนรวมกับความรอนในการกำจัดเชื้อ Salmonella Typhimurium, Escherichia coli และ Saccharomyces cerevisiae ในน้ำตาลสด น้ำลำไย และน้ำมะพราว
มี.ค. 5th, 2017 by rungtiwa

ผลของการใชโอโซนรวมกับความรอนในการกำจัดเชื้อ Salmonella Typhimurium, Escherichia coli และ Saccharomyces cerevisiae ในน้ำตาลสด น้ำลำไย และน้ำมะพราว

Combination Effect of Ozone and Heat Treatments for the Inactivation of Salmonella Typhimurium, Escherichia coli and Saccharomyces cerevisiae in Coconut Syrup,
Dried Longan Drink and Coconut Juice

 

วรพรรณี เผาทองศุข และจำรูญศรี พุมเทียน . (2559). ผลของการใชโอโซนรวมกับความรอนในการกำจัดเชื้อ Salmonella Typhimurium, Escherichia coli และ Saccharomyces cerevisiae ในน้ำตาลสด น้ำลำไย และน้ำมะพราว. วารสาร มฉก.วิชาการ 20 (39), 119-131.

อ่านบทความฉบับเต็ม

 

การสำรวจปญหาและพฤติกรรมการใชยาผลิตภัณฑเสริมอาหารและสมุนไพรของผูสูงอายุ กรณีศึกษาชุมชนศีรษะจรเขนอย จังหวัดสมุทรปราการ
มี.ค. 5th, 2017 by rungtiwa

การสำรวจปญหาและพฤติกรรมการใชยาผลิตภัณฑเสริมอาหารและสมุนไพรของผูสูงอายุ กรณีศึกษาชุมชนศีรษะจรเขนอย จังหวัดสมุทรปราการ

The Survey of Medicine, Food Supplement and Herbal Products Used Problems Among Elderly A Case Study at the Community of Tumbon Srisa Chorakhe Noi, Samut Prakan Province

ปิยะวัน วงษบุญหนัก ปวีณา วองตระกูล หรรษา มหามงคล และวรัญญา เนียมขำ . (2559). การสำรวจปญหาและพฤติกรรมการใชยาผลิตภัณฑเสริมอาหารและสมุนไพรของผูสูงอายุ กรณีศึกษาชุมชนศีรษะจรเขนอย จังหวัดสมุทรปราการ. วารสาร มฉก.วิชาการ 20 (39), 97-108.

อ่านบทความฉบับเต็ม

 

ปจจัยที่มีความสัมพันธกับความฉลาดทางอารมณของนักศึกษาในหลักสูตรสายวิทยาศาสตรสุขภาพ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
มี.ค. 5th, 2017 by rungtiwa

ปจจัยที่มีความสัมพันธกับความฉลาดทางอารมณของนักศึกษาในหลักสูตรสายวิทยาศาสตรสุขภาพ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ

Factors Affecting Emotional Quotient of Students in Health Science Curriculums at Huachiew Chalermprakiet University

 

นิลาวรรณ งามขำ ปทุมมาศ กั้นหยั่นทอง อติญญา สุสิวงศ กนกวรรณ จิตระบูรณ พิมพณัฐชยา นุชสิริ นิตยา ชัยชนะ พรอารดา อยูรักษ อาภรณ บุญฉิม และศุภักษณา สรรพลุน. (2559).
ปจจัยที่มีความสัมพันธกับความฉลาดทางอารมณของนักศึกษาในหลักสูตรสายวิทยาศาสตรสุขภาพ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ. วารสาร มฉก.วิชาการ 20(39), 45-56.

อ่านบทความฉบับเต็ม

 

ความสัมพันธระหวางระดับไกลเคตฮีโมโกลบินและภาวะไมโครอัลบูมินในปสสาวะของผูปวยโรคเบาหวาน
มี.ค. 5th, 2017 by rungtiwa

ความสัมพันธระหวางระดับไกลเคตฮีโมโกลบินและภาวะไมโครอัลบูมินในปสสาวะของผูปวยโรคเบาหวาน

The Relationship Between Glycated Hemoglobin (HbA1C) and Microalbuminuria in Diabetes Patients

 

นนทยา ทางเรือ เทศทัศน คำบุดดี และอรุณ สารพงษ์. (2559). ความสัมพันธระหวางระดับไกลเคตฮีโมโกลบินและภาวะไมโครอัลบูมินในปสสาวะของผูปวยโรคเบาหวาน. วารสาร มฉก.วิชาการ 20 (39), 31-43.

อ่านบทความฉบับเต็ม

 

พฤติกรรมปองกันภาวะแทรกซอนของผูปวยโรคเบาหวานที่มารับบริการโรงพยาบาลสงเสริมสุขภาพตำบลแหงหนึ่ง อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ
มี.ค. 5th, 2017 by rungtiwa

พฤติกรรมปองกันภาวะแทรกซอนของผูปวยโรคเบาหวานที่มารับบริการโรงพยาบาลสงเสริมสุขภาพตำบลแหงหนึ่ง อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ

Behavior in Prevention of Complications of Diabetic Patients in a Health Promoting Hospital, Bang Phli District, Samutprakan Province

 

ตวงพร กตัญุตานนท จินตนา เทพพันธ สุพรรณี ฉ่ำเย็นอุรา เบญจมาภรณ จันทหงษ สุภาพร บุญอินทร เพ็ญพิสุทธิ์ แหนมเชย รัชฎาพร ทองประดับ และอรณิชา วังคีรี. (2559). พฤติกรรมปองกันภาวะแทรกซอนของผูปวยโรคเบาหวานที่มารับบริการโรงพยาบาลสงเสริมสุขภาพตำบลแหงหนึ่ง อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ. วารสาร มฉก.วิชาการ 20 (39), 15-29.

อ่านบทความฉบับจริง

 

»  Substance:WordPress   »  Style:Ahren Ahimsa