การประเมินผลทางเทคนิคนิติวิทยาศาสตร์เพื่อตรวจหา และวิเคราะห์สารเสพติดจากการชันสูตรศพในประเทศไทย
Evaluation of Forensic Techniques for Postmortem Drug Detection and Identification in Thailand
Panthip Rattanasinganchan. (2559). การประเมินผลทางเทคนิคนิติวิทยาศาสตร์เพื่อตรวจหา และวิเคราะห์สารเสพติดจากการชันสูตรศพในประเทศไทย. วารสาร มฉก. วิชาการ, 19(38), 93-103.
บทคัดย่อ
Despite the extensive research done on forensic techniques for postmortem drug detection and identification, the unique perspective of developing countries has yet to be properly investigated. These are countries where drug fatalities are frequent, but available forensic resources are meager, especially when compared to such resources of more economically developed countries. This work attempts to address this issue by reviewing six of the most frequently used forensic techniques for postmortem drug detection and identification, and evaluate them based on a fixed set of objective criteria, including sensitivity, specificity, expertise cost and need for major instrumentation. The results are then compared qualitatively and used to develop alternative best-practice recommendations that align better with the socioeconomic realities of developing countries – with a particular focus on Thailand, a country with a major problem of drug abuse in the Southeast-Asian region. These recommendations may enable a more efficient allocation of forensic resources in countries that would benefit from it the most.
แม้จะมีการวิจัยอย่างกว้างขวางเกี่ยวกับเทคนิคการตรวจวิเคราะห์ทางนิติวิทยาศาสตร์ในการตรวจหายาเสพติดและการวิเคราะห์ยาเสพติดจากสิ่งส่งตรวจของศพแล้วก็ตาม แต่ในประเทศที่กำลังพัฒนายังไม่มีระบบที่เป็นมาตรฐานเดียวกันในการตรวจสอบอย่างเหมาะสม ประเทศเหล่านี้มีประชากรที่เสียชีวิตจากยาเสพติดเป็นจำนวนมาก แต่ทรัพยากรในการตรวจทางนิติเวชมีจำนวนน้อย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเทียบกับประเทศที่มีการพัฒนาทางเศรษฐกิจ บทความนี้จึงมีวัตถุประสงค์ในการช่วยลดปัญหานี้โดยการรวบรวมค้นคว้าเทคนิคการวิเคราะห์ทางนิติวิทยาศาสตร์มา 6 วิธี ซึ่งเป็นวิธีที่ใช้บ่อยในการตรวจหาและวินิจฉัยยาเสพติด และประเมินผลโดยใช้เกณฑ์ที่เป็นในการวิเคราะห์ ซึ่งประกอบด้วย ความไว ความจำเพาะ ความชำนาญของผู้ใช้งาน ราคา และความต้องการเครืองมือที่มีความสำคัญในการวิเคราะห์ การเปรียบเทียบดังกล่าวเป็นข้อมูลเชิงคุณภาพและใช้เพื่อการพัฒนาสำหรับเป็นคำแนะนำทางเลือกในการปฏิบัติที่ดีที่สุดและสอดคล้องกับความเป็นจริงทางสังคมและเศรษฐกิจของประเทศกำลังพัฒนา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศไทยซึ่งเป็นประเทศที่มีปัญหาทางด้านยาเสพติดอย่างมากในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ คำแนะนำเหล่านี้อาจช่วยให้การจัดสรรทรัพยากรทางนิติวิทยาศาสตร์มีประสิทธิภาพเพื่อที่ประเทศต่างๆ จะนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างสูงสุด
อ่านบทความฉบับเต็ม