SIDEBAR
»
S
I
D
E
B
A
R
«
ผลการออกกำลังกายด้วยท่าฤๅษีดัดตนต่อความโค้ง และช่วงการเคลื่อนไหวของกระดูกสันหลังส่วนอกและเอว ในนักศึกษาหญิงระดับมหาวิทยาลัย
กันยายน 12th, 2016 by rungtiwa

ผลการออกกำลังกายด้วยท่าฤๅษีดัดตนต่อความโค้ง และช่วงการเคลื่อนไหวของกระดูกสันหลังส่วนอกและเอว ในนักศึกษาหญิงระดับมหาวิทยาลัย

Effects of Ruesi-Dudton Exercise on Thoracolumbar Curvature and Range of Motion in Female University Students

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลระยะสั้นและระยะยาวของการออกกำลังกายด้วยฤๅษีดัดตนต่อการเคลื่อนไหวของลำตัวและมุมโค้งของกระดูกสันหลังส่วนอกและเอวในนักศึกษามหาวิทยาลัย เพศหญิงที่ไม่ได้ออกกำลังกายเป็นประจำ อายุ 18 – 25 ปี จำนวน 40 ราย อาสาสมัครได้รับการแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มออกกำลังกายและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 20 ราย โดยการสุ่ม อาสาสมัครกลุ่มออกกำลังกายได้รับการฝึกออกกำลังกายด้วยฤๅษีดัดตนเป็นเวลา 30 นาที/วัน จำนวน 3 วัน/สัปดาห์ ส่วนกลุ่มควบคุมไม่ได้รับการฝึกออกกำลังกายด้วยฤๅษีดัดตนระหว่างการเข้าร่วมการวิจัย อาสาสมัครทั้งสองกลุ่มได้รับการวัดมุมโค้งของกระดูกสันหลังส่วนอกและเอวและการเคลื่อนไหวของลำตัว 3 ครั้ง คือ ก่อนการวิจัย และหลังการเข้าร่วมการวิจัยในสัปดาห์ที่ 1 และ 6 ผลการศึกษา พบว่า ในสัปดาห์ที่ 1 อาสาสมัครกลุ่มทดลองสามารถแอ่นลำตัวได้มากกว่า และในสัปดาห์ที่ 6 อาสาสมัครมีมุมความโค้งของกระดูกสันหลังส่วนอกน้อยกว่า และสามารถแอ่น ก้ม และเอียงลำตัวได้มากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.01) ผลการวิจัยแสดงให้เห็นประโยชน์ของการออกกำลังกายด้วยฤๅษีดัดตนต่อมุมโค้งของกระดูกสันหลังและการเคลื่อนไหวของลำตัวในนักศึกษามหาวิทยาลัยเพศหญิงซึ่งเป็นกลุ่มที่มักมีการเคลื่อนไหวน้อยและกิจกรรมส่วนใหญ่ในท่านั่งงอตัวเป็นเวลานาน

The purpose of this study was to investigate short and long term effects of Ruesi-Dudton exercise on the range of motion (ROM) of the trunk and thoracolumbar curvature of 40 female university students, who are between 18 to 25 years old, and did not routinely exercise. The subjects were randomly arranged into exercise and control groups. The subjects in the exercise group participated in a 30-minute Ruesi-Dadton exercise program, 3 days a week for six weeks, whereas the subjects in the control group did not receive any exercise program. Every subject was measured for the thoracolumbar curvature and ROM of the trunk 3 times before participating in the study, after 1 and 6 weeks, respectively. After the first week, subjects in the exercise group had significantly greater ROM of trunk extension. After 6 weeks, these subjects had significantly less thoracic kyphosis and greater ROM of trunk extension, flexion and lateral flexion than those in the control group (p<0.01). The results indicated the benefits of Ruesi-Dadton
exercise on thoracic curvature and trunk movements in female university students who commonly had minimal physical activities and prolonged sitting posture.

ณัฏฐ์ศศิ ชูกิจรุ่งโรจน์ และดวงพร เบญจนราสุทธิ์. (2559). ผลการออกกำลังกายด้วยท่าฤๅษีดัดตนต่อความโค้ง และช่วงการเคลื่อนไหวของกระดูกสันหลังส่วนอกและเอว ในนักศึกษาหญิงระดับมหาวิทยาลัย. วารสาร มฉก. วิชาการ, 19(38), 21-34.

อ่านบทความฉบับเต็ม

 

 


Comments are closed

»  Substance:WordPress   »  Style:Ahren Ahimsa