ผลการออกกำลังกายด้วยท่าฤๅษีดัดตนต่อความโค้ง และช่วงการเคลื่อนไหวของกระดูกสันหลังส่วนอกและเอว ในนักศึกษาหญิงระดับมหาวิทยาลัย
Effects of Ruesi-Dudton Exercise on Thoracolumbar Curvature and Range of Motion in Female University Students
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลระยะสั้นและระยะยาวของการออกกำลังกายด้วยฤๅษีดัดตนต่อการเคลื่อนไหวของลำตัวและมุมโค้งของกระดูกสันหลังส่วนอกและเอวในนักศึกษามหาวิทยาลัย เพศหญิงที่ไม่ได้ออกกำลังกายเป็นประจำ อายุ 18 – 25 ปี จำนวน 40 ราย อาสาสมัครได้รับการแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มออกกำลังกายและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 20 ราย โดยการสุ่ม อาสาสมัครกลุ่มออกกำลังกายได้รับการฝึกออกกำลังกายด้วยฤๅษีดัดตนเป็นเวลา 30 นาที/วัน จำนวน 3 วัน/สัปดาห์ ส่วนกลุ่มควบคุมไม่ได้รับการฝึกออกกำลังกายด้วยฤๅษีดัดตนระหว่างการเข้าร่วมการวิจัย อาสาสมัครทั้งสองกลุ่มได้รับการวัดมุมโค้งของกระดูกสันหลังส่วนอกและเอวและการเคลื่อนไหวของลำตัว 3 ครั้ง คือ ก่อนการวิจัย และหลังการเข้าร่วมการวิจัยในสัปดาห์ที่ 1 และ 6 ผลการศึกษา พบว่า ในสัปดาห์ที่ 1 อาสาสมัครกลุ่มทดลองสามารถแอ่นลำตัวได้มากกว่า และในสัปดาห์ที่ 6 อาสาสมัครมีมุมความโค้งของกระดูกสันหลังส่วนอกน้อยกว่า และสามารถแอ่น ก้ม และเอียงลำตัวได้มากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.01) ผลการวิจัยแสดงให้เห็นประโยชน์ของการออกกำลังกายด้วยฤๅษีดัดตนต่อมุมโค้งของกระดูกสันหลังและการเคลื่อนไหวของลำตัวในนักศึกษามหาวิทยาลัยเพศหญิงซึ่งเป็นกลุ่มที่มักมีการเคลื่อนไหวน้อยและกิจกรรมส่วนใหญ่ในท่านั่งงอตัวเป็นเวลานาน Read the rest of this entry »